ประดู่

ชื่อวิทยาศาสตร: Pterocarpus indicus Willd.
วงศ์:
LEGUMINOSAE
ชื่อสามัญ
:
Angsana, Red Sandalwood,
ฤดูกาลออกดอก:
เดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม
ส่วนที่มีกลิ่นหอม
: ดอก














 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร: ประดู่เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 5-10 ม. ปลายกิ่งห้อยลงไม่เป็นระเบียบบริเวณชายพุ่ม ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีน้ำตาลแตกสะเก็ด ใบเป็นใบประกอบแบบขนชั้นเดียว กว้าง 10-16 ซม. ยาว 17-23 ซม. หูใบเป็นรูปหอกแกมรูปแถบปลายแหลม ก้านใบยาว 6-9 ซม. ตัวใบประกอบด้วย แกนกลางยาว 11-14 ซม. ก้านใบย่อยยาวประมาณ 0.5 ซม. ใบย่อยมีจำนวน 5-13 คู่เรียงสลับกัน กว้าง 3-4 ซม. ยาว 5-7 ซม. มีลักษณะเป็นรูปไข่ ฐานใบกลม ขอบเรียบ ปลายแหลม เนื้อใบหนาคล้ายกระดาษ เกลี้ยง ผิวใบด้านบนเป็นมัน ดอกเป็นดอกช่อแบบช่อกระจะ กว้าง 15-16 ซม. ยาว 25-28 ซม. ก้านช่อยาว 10-12 ซม. มีใบประดับ ยาว 2.5-4 มม. รูปแถบแกมรูปหอก ก้านดอกย่อย ยาวประมาณ 7 มม. ดอกย่อยกว้าง 0.5-0.6 ซม. ยาว 1-1.5 ซม. มีใบประดับลักษณะเดียวกับปรากฏที่ก้านช่อแต่หลุดร่วงง่าย ดอกย่อยประกอบด้วย กลีบเลี้ยงมีจำนวน 5 กลีบ เชื่อมติดกัน ลักษณะเป็นรูประฆัง ปลายแยก 5 แฉก แต่ละแฉกทู่ กลีบดอกมีจำนวน 5 กลีบแยกกัน มีสีเหลืองเข้ม แบ่งเป็น กลีบกลาง ยาว 0.5-1 ซม. รูปกลมแกมรูปไข่กลับ กลีบคู่ล่าง ยาว 0.4-0.5 ซม. รูปกลมรี กลีบคู่ข้างยาว 0.2-0.4 ซม. รูปรี เกสรเพศผู้มี 10 อัน เกสรเพศเมียมีจำนวน 1 อัน อยู่เหนือวงกลีบ ผลเป็นผลแห้งไม่แตก แบบฝักถั่วรูปร่างกลมแบน มีส่วนแผ่เป็นปีกค่อนข้างหนาโดยรอบ มี 1 เมล็ด


Hosted by www.Geocities.ws

1