ความเป็นมาของปัญหา

               ในปัจจุบันหอมไม่ว่าจะเป็นหอมแดงหรือหอมแบ่งเป็นสินค้าทางการเกษตรที่มีปริมาณ การผลิตการซื้อขายกันมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอำเภอลับแลจังหวัดอุตรดิตถ์มีการ เพาะปลูกกันสูงมากกว่าในทุกอำเภอในจังหวัดเดียวกันเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ ให้แก่ชาวอำเภอลับแลมากเลยทีเดียวหอมแดงและหอมแบ่งนั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ หลายอย่างไม่ว่าจะนำไปประกอบอาหารทำให้มีรสชาดดีอาหารมีกลิ่นหอมหอมแดง และหอมแบ่งมีการเพาะปลูกเพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีตหอมแดงและหอมแบ่งจึงเป็นพืชผล ทางการเกษตรที่มีตลาดรองรับมากสามารถสร้งรายได้ให้แก่หมูบ้านและชุมชนของเกษตร ได้มากมายจากความต้องการของเกษตรในการปลูกหอมกันมากเกษตรกรจึงต้องเก็บ เชื้อพันธุ์ของหอมไว้เพื่อรอการนำไปเพาะปลูกต่อไปในการเก็บเชื้อพันธุ์หอมเกษตรกรจึง ต้องมีวิธีการในการเก็บเชื้อพันธุ์หอมโดยการผสมหอมที่เตรียมไว้กับสารเคมีบางตัวที่มี ฤทธิ์ในการป้องกันการเกิดเชื้อราและการเน่าเสีย         
  ทั้งนี้เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้อุปกรณ์ในการผสมสารเคมีเหล่านี้ไม่มีความปลอดภัยและไม่
รัดกุมเท่าที่ควรทำให้มีการฟุ้งกระจายของสารเคมีเพราะโดยส่วนใหญ่แล้วเกษตรกร จะใช้วิธีการนำเอาภาชนะฝาเปิดมาใช้ในการผสมสารเคมีเป็นส่วนใหญ่จึงทำให้เกิด เป็นอันตรายต่อสุขภาพและความล่าช้าในการทำงาน

จุดมุ่งหมายของการวิจัย

     1. เพื่อเพิ่มปริมาณของการผสมเชื้อพันธุ์หอมให้ทันกับความต้องการของเกษตรกร      
     2. เพื่อลดแรงงานในการผสมสารเคมีในแต่ละครั้ง
     3. เพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายของสารเคมีขณะผสมเชื้อพันธุ์ในแต่ละครั้ง
     4. เพื่อลดเวลาและเพิ่มความสะดวกสบายในการผสมเชื้อพันธุ์หอมในแต่ละครั้ง

ขอบเขตของการวิจัย

     1. สร้างเครื่องผสมสารเคมสำหรับุ์หอมแบบไฟฟ้า  1 เครื่อง
     2. หาประสิทธิภาพของเครื่องผสมสารเคมีสำหรับหอมแบบไฟฟ้า

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

     1. คาดว่าจได้เครื่องผสมสารเคมีสำหรับหัวหอม เป็นเครื่องต้นแบบ 1 เครื่อง
     2. คาดว่าจะทำให้ลดการฟุ้งกระจายของสารเคมีได้
     3. คาดว่าจะทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ในการผสมและบรรจุถุง
     4. คาดว่าจะเป็นการลดการใช้แรงงานในการผสม เชื้อพันธุ์หอม
      5. คาดว่าจะใช้เวลาในการผสมที่แน่นอนขึ้น

วิธีการใช้เครื่อง

    
1. นำหอมที่ต้องการผสมใส่ลงในถังผสมตามปริมาณที่ใช้พร้อมทั้งใส่สารเคมีและปูนขาวตามอัตราส่วนที่เครื่องกำหนด
     2. เปิดเบรคเกอร์ที่สวิทช์ POWER
     3. ปิดปุ่มสวิทช์ของ Timer ตามเวลาที่กำหนดไว้ดังขนาดของหัวหอมที่ใส่ไว้
     4. เมื่อเครื่องหยุดแล้วให้ปลดล็อคที่ถังออกแล้วกด S2 เพื่อเทหัวหอมลงกะบะรองรับหัวหอมเพื่อรอการบรรจุ
     5. นำถุงที่จะใส่หอมมารองรับหอมโดยกดปุ่ม Limit Switch ตรงปากทางออกของเครื่องหัวหอมพอแล้วก็ปล่อย Limit Switch ออก

คุณลักษณะเครื่องผสมสารเคมีสำหรับหอมแบบใช้ไฟฟ้า

     1. ทำงานแบบตั้งเวลาได้ 0 - 15 นาที
     2. ทำงานนอกสถานที่ได้ เช่น ทุ่งนา ง่ายต่อการใช้งาน
     3. สามารถบรรจุถุงได้สะดวก ง่ายต่อการบรรจุ
     4. ลดการฟุ้งกระจายของสารเคมี ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ใช้งาน
     5. มีความสะดวกรวดเร็วในการผสมและบรรจุถุง


งบประมาณที่ใช้ในการสร้างเครื่องผสมสารเคมีสำหรับหอมแบบใช้ไฟฟ้า

1. มอเตอร์กระแสตรงขนาด 12 โวล์ท จำนวน 2 เครื่อง ราคา 750   บาท
2. แบตเตอร์รี่รถยนต์ ขนาด 12 VDC 80Ah จำนวน 1 ลูก ราคา 1000 บาท
3. ถังพลาสติก ขนาด 60 ลิตร  จำนวน 1 ลูก  ราคา 100   บาท
4. เหล็กโครงสร้าง    ราคา 500   บาท
5. สายไฟ   ราคา 150   บาท
6. ไทม์เมอร์แบบนาฬิกา จำนวน 1 เครื่อง  ราคา 425   บาท
7. อุปกรณ์อื่นๆ    ราคา 1500 บาท

รวมทั้งหมด

 

         4425 บาท

     

  





รูปเครื่องผสมสารเคมีสำหรับหัวหอม
แบบใช้ไฟฟ้า


รูปแสดงถึงการใช้แรงงานคน ในการผสมสารเคมี ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

รูปแสดงถึงการใช้แรงงานคนในการ
ผสมสารเคมี ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

รูปขั้นตอนการดำเนินการ



รูปขณะกำลังวัดหาขนาดโครงสร้าง



รูปขณะทำการตกแต่งขึ้นโครงสร้างของเครื่อง

    

ตารางแสดงผลการทดลอง การผสมสารเคมีสำหรับหอม

ปริมาณหอม ( Kg.)

กระแส

(A)

แรงดัน

(V)

เวลา

(S)

ปริมาณปูนขาว

(g)

ปริมาณสารเคมี

(g)

ความเร็วรอบ

ถังผสม (rpm)

ความเร็วรอบของสายพานลำเลียง (rpm)

0

2

12

0

0

0

10

13

5

4

10.1

60

50

15

8

13

10

3.63

10.05

120

100

30

8

13

15

3.03

9.93

180

150

45

8

13

20

2.16

9.93

240

200

60

8

13

Chick !!! ตารางแสดงผลการทดลองโดยละเอียด

                คณะผู้จัดทำ          
    
นายนที     มูลแก้ว  
    นายนที     สว่างศรี  
          นายสมยศ หม่อนสอน      
    นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอุตสาหกรรม 
เอกไฟฟ้าเทคโนโลยี
  สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์

อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ชัชพล เกษวิริยะกิจ

Hosted by www.Geocities.ws

1