สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงเสด็จมาที่เมืองลับแล และได้ทรงพระนิพนธ์ไว้ดังนี้คือ          

  " เมืองลับแล อยู่ทางทิศตะวัตกเมืองอุตรดิตถ์ ต่อเทีอกเขาแดนเมืองแพร่ มีถนนแต่เมืองอุตรดิตถ์ ไประยะทาง ประมาณ 8 กิโลเมตร ก็ถึง
เมืองลับแล ทำเลท้องที่เมืองลับแล เป็นแอ่งอยู่ในระหว่างเขา มีที่ลุ่มที่ดอน สลับกันไปหลายดอน และมีลำห้วยผ่านมาในท้องที่ลุ่มนั้น พวก

ชาวเมืองทำทำนบเรียกว่า " ฝาย "  กั้นลำธารทดน้ำแล้วขุดเหมือง ชักน้ำไปตามเรือกสวน ที่ดินเมืองลับแลจึงอุดมด้วยกสิกรรมทั้ง ทำนา และ

ปลูกต้นไม้ต่างๆ บางอย่างไม่งอกงามในเมืองอื่น ที่ใกล้เคียงกัน เช่น ทุเรียนและลางสาด เป็นต้น ก็มีผลบริบรูณ์ ที่เมืองลับแล จึงเกิดเป็นโภคทรัพย์

ของพวกชาวเมือง แต่ชาวเมืองลับแลเป็นไทยเหนือ เช่น เดียวกับพวกชาวเมืองแพร่ และเมืองน่าน เป็นต้น

        เมืองลับแลไม่มีวัตถุโบราณ อันใดให้แลเห็น เค้าเงื่อนไขว่าจะเป็นเมืองเก่า ในทำเนียบก็ว่าเป็นแต่เมืองขึ้นของเมืองพิชัยแต่คงเป็นเมืองมา

ตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เพราะมีชื่อปรากฏในพงศาวดารสมัยแรกตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานี เมื่อพิจารณาดูภูมิประเทศที่กับพวกชาวเมือง

ประกอบกันสันนิษฐานว่าเมืองลับแล เดิมเห็นจะเป็นที่ตั้งซ่อนพวก ชาวเมืองแพร่ เมืองน่าน ที่หนีข้าศึกหรือความเดือดร้อนด้วยเหตุอื่น พากันพอยพ

ครอบครัวมาตั้งซุ่มซ่อนหาเลี้ยงชีพอยู่ในที่นั้น ด้วยเป็นป่าดง และอยู่ชายแดนเมืองแพร่และเมืองพิชัยทั้ง 2 ฝ่ายครั้งนานมา ผู้อื่นเห็นเป็นที่หาเลี้ยง

ชีพได้สะดวก ก็อพยพกันมาตั้งภูมิลำเนามากขึ้นทุกที จนถึงตั้งเป็นเมืองขึ้นของเมืองพิชัย อย่างเป็นอำเภอหนึ่ง มาแต่โบราณเหมือนกับที่เป็นอยู่บัดนี้

            ชื่อที่เรียกว่าเมืองลับแล สมกับภูมิเมืองยิ่งนัก มีคำกล่าวกันมาแต่ก่อนมาถ้าผู้ที่อยู่ที่อื่นไปยังเมืองลับแล พระไทรเจ้าป่ามักบันดาลมิให้เห็นผู้

คนพลเมืองและที่สุดอาจปิดบังหนทางเสียมิให้กลับอกมาได้ ความที่กล่าวนี้ประหลาดที่เป็นความจริงทั้งสองข้อ  ด้วยพวกชาวเมืองลับแลมักหวาดหวั่น

ครั้นครามคนต่างเอง เห็น่จะเป็นนิสัยสืบมาตั้งแต่แรกหนีมาตั้งซุ่มซ่อนอยู่ ณ ที่นั้น คงเคยถูกมูลนายหรือผู้มีอำนาจติดตามมาค้นคว้าจับกุม จึงเลย

สั่งสอน กันจนเป็นคติมาถ้าเห็นผู้มีกำลังและอำนาจไปถึงเมืองลับแล มักหลงทางกลับมาไม่ได้ นั้นเป็นความจริง เพราะทำเลที่เมืองอยู่ระหว่างเขามีที่
เนินกับที่ต่ำสลับกันไป จึงสั่งสอนกันต่อมา พวกชาวเมืองก็มักหลบหนีเข้าป่ามิใคร่พบปะเพิ่งจะหายกลัวเป็นปกติ เมื่อตั้งมณฑลเทศาภิบาลในรัชกาล
ที่ 5 ข้อที่ว่าถ้าคนต่างเมืองผ่าน เข้าไปมักหลงทางนอกจากมีเนินสลับซับซ้อนแล้ว จะตั้งหน้าเดินไปทิศไหนก็ผ่าทุ่งนา พ้นทุ่งนาไปก็ถึงชายที่ดอนเป็น
ที่บ้านและเรือกสวนไปก็มีชายเขา หรือที่โคกอันเป็นป่าดง ถ้าเดินเลียบ เข้าหรือตัดตรงไปก็ถึงเรือกสวน แล้วก็ถึงบ้านและทุ่งนาทางอื่นอีก ถ้าขึ้นเดิน
เรื่อยไปก็เลยเข้าป่าดงต้นเขต เมืองอื่นอีก ถ้าเลียบเลาะ อยู่แต่ตามเรือกสวนไร่นาก็วกวนไม่มีที่สิ้นสุด ใครไม่มีคนนำทางอาจจะหลงได้จริง 
ดังกล่าวมา แต่เดี๋ยวนี้ตั้งแต่ทำถนนไปจากเมืองอุตรดิตถ์แล้ว ข้อความที่ว่าผีบังตาให้หลงทางก็หมดไปอีกข้อหนึ่ง
 
 

อ้างอิงจาก       ฟู บุญถึง และคณะ . ( ม.ป.ป.) . ลับแลหรือจะแลลับ , สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอลับแล

Hosted by www.Geocities.ws

1