สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าให้ตั้งหัวเมืองอุตรดิตถ์ขึ้น เมื่อราว พ.ศ. 2430 และให้เมืองอุตรดิตถ์เป็นเมืองขึ้นของเมืองพิชัย 
และเมืองลับแลก็เป็นเมืองหนึ่งที่เป็นเมืองขึ้นของเมืองพิชัยด้วย แต่เมืองพิชัยตอนนั้น แบ่งการปกครองออกเป็น 5 อำเภอ เชื่อกันว่าตอนนั้น ที่ว่า
การอำเภอตั้งอยู่ที่เมืองทุ่งยั้ง หรือตำบลทุ่งยั้งจนถึง พ.ศ. 2444 พระพิศาลคีรีได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเมืองทุ่งยั้งไปตั้งที่ม่อนจำศีล ต่อมาย้ายไปตั้งที่
บ้านพักนายอำเภอลับแล เมื่อ พ.ศ. 2457   ต่อมา พระศรีพนมมาศ นายอำเภอคนแรกของเมืองลับแลจึงย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่ม่อนสามิทร์แทน
ซึ่งเป็นที่ว่าการอำเภอลับแลในปัจจุบัน   
            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเมืองลับแลเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2444  พระราชหัตถเลขาของพระองค์ ตอนหนึ่งมีดังนี้
         " เมื่อวันที่ 24 เวลาเข้า 1 โมง ได้ขึ้นม้าเจ้านครลำปาง ตั้งแต่ริมน้ำขึ้นไปเป็นที่น้ำท่วมแลเป็นป่าแดงแล้วจึงถึงป่าไม้ ซึ่งเป็นที่ร่มมากว่าแล้ง 
ป่าไม้ริม ถนนนี้เขาได้ห้ามไว้ข้างละ 5 เส้น ไม่ให้ผู้ใดตัด พออกจากป่าก็ถึงท้องนาเมืองลับแล แลเห็นภูเขาตั้งเป็นคันเทือกใหญ่ยาวที่ปากถนนนั้นก็มี
บ้านเรือนตั้งขึ้นมากมายหลายหลัง แต่พอพ้นจากป่านี้ไปภูมิประเทศก็เปลี่ยน แลดูเหมือนประเทศชวาในมณฑลเปรียงคาร์ ถนนผ่านไปในท้องนามี
สายน้ำไปริมทางบ้านข้ามไปข้าง เป็นน้ำซึ่งปิดด้วยฝายให้ล้นมาตามลำราง เมื่อจะเปิดเข้านาแห่งใหม่ ก็ตั้งทำนบเล็กๆ ให้น้ำล้นถึงนาได้ เมือน้ำมาก
ไปก็ไขเปิดให้ตกไปเสียได้ ต้นข้าวในท้องนาอ้วน และวงใหญ่งามสะพรั่งสุดสายตาดีกว่าที่ชวา แต่กระนั้นพวกราษฏรยังพูดว่า ปีนี้ฝนน้อยไปไม่งาม
เหมือนเมื่อปีกลาย การที่น้ำน้อยไปฤามากไปไม่เป็นอันตรายถึงทำให้นาเสียข้าวในนานั้นเอง คงจะได้ข้าวอยู่เสมอ เว้นไว้แต่ถ้าฝนงามดีกอข้าวก็
ยิ่งใหญ่งามมากขึ้น 
              เมื่อสุดที่นาก็ถึงหมู่บ้าน ซึ่งล้วนเป็นสวนต้นผลไม้มีหมากเป็นต้น ปลูกเยียดยัดกันเต็มแน่ไปในหมู่บ้านเช่นนี้ก็คล้ายกับชวา
แต่ของเราดีกว่าที่ล้วน แต่เป็นผลไม้มีผลทั้งสิ้นและเป็นหมู่ใหญ่กว่าที่ตามถนนที่กั้นรั้ว และปลูกเรื่อยเป็นบ้านๆ ติดกันไป แปลกอย่างเดียวแต่
เพียงเรือนสูงกับเรือนต่ำเท่านั้น แต่เป็นเรือนหลังใหญ่ๆ เสาโตๆ ไม่มีเรือนไม้ไผ่ เมื่อเข้าในหมู่บ้านแล้วก็กลับออกท้องนาเช่นนั้นไปตลอดจตถึง
เขาที่ว่าการอำเภอ ตั้งที่เขาจำศีลเป็นเขาย่อม แต่ตั้งอยู่ในกลางทุ่งล้อมรอบงามดี เข้าตั้งพลับกลาบนยอดเขานั้น ซึ่งได้ขุดเป็นรางน้ำ เดินรอบเขาแล
มีทางขึ้นหลายทาง ขึ้นได้ด้วยม้าบนพลับพลานั้นแลเห็นแผ่นดินล้อมรอบเป็นที่งดงามมากราษฏรได้ตั้งกระบวนนั้นถึง 25 เชือก ราษฏร ได้ขึ้นมาหา
เป็ฯอันมาก แจกเสมาและแจกเงินตามสมควร ได้ปักหลักตรงกลางยอดเขานั้นไว้ เพื่อ่จะสร้างลับแล ซุ้มน้อยด้วยศิลาแลง อันมีมากอยู่ในแถบนั้น
แล้วจะเชิญพระเหลือ ซึ่งจะได้สร้างขึ้นใหม่ด้วยทองชนวนพระชินราช ซึ่งหล่อใหม่ตามแบบองค์เดิมขึ้นมาไว้เป็นที่สักการะบูชาในเมืองลับแล นั้น 
               ครั้นกินข้าวกลางวันแล้วมีเทศน์เรืองพระแท่นศิลาอาสน์กัณฑ์ 1 ออกจากเขาจำศีล เพื่อจะไปดูฝายต้นน้ำระยะทางสัก 50 เส้นเศษ 
อันการที่ทำฝายนั้นเขาก็ฉลาดทำมากใช้หลักไม้สักเล็กๆ ปักเรียงตลอดขวางลำห้วยลงไปเป็นชั้นๆให้ลาดเขาลงไปคล้ายรูปลอกที่กั้นด้วย
ซีเมนต์ล้วนขนาบด้วยไม้ไผ่ทั้งลำ กรุด้วยกิ๊กไม้กรวดทรายฝายนั้นกว้างกั้นน้ำอยู่ประมาณสัก 6 วา 7 วา น้ำไหลสูงกว่านอกฝาย 4 ศอกเศษ 
เกือบ 5 ศอก ถ้ามากก็ไหลข้ามฝายไปฝายเล็กลำห้วยกว้างประมาณ 7 วา 8 วา ฝายใหญ่ๆ ยังมีอีกหลายฝาย แต่ระยะห่างไกลเวลาไม่พอ
 จะไปดูในเมืองลับแลนี้ว่ามีประมาณสัก30 ฝาย กลับโดยทางเดินมาจนถึงแยกถนนศรีพนม จึงได้เลี้ยวไปตามถนนศรีพนม 
ถนนนี้ไปในระหว่างท้องนาและสวนจนสิ้นเขตเมืองลับแล  " 
 
 

อ้างอิงจาก       ฟู บุญถึง และคณะ . ( ม.ป.ป.) . ลับแลหรือจะแลลับ , สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอลับแล

Hosted by www.Geocities.ws

1