ครุฆ Garuda

 

ครุฆ Garuda

 

ตำนาน "ครุฑ "ไทย

ตามคติไทยโบร่ำโบราณนั้นเชื่อว่า "ครุฑ เป็นพญาแห่งนกที่เป็นพาหนะของ พระนารายณ์ มีรูปเป็นครึ่งนกอินทรีย์ ที่ได้รับการประทานพรให้เป็นอมตะ เป็น!ที่มี ขนาดใหญ่ที่มีอานุภาพมากมาย มีพละกำลังมหาศาล แข็งแรง สามารถบินได้รวดเร็ว ทั้งยังมีสติปัญญาเฉียบแหลม เฉลียวฉลาด อ่อนน้อม ถ่อมตน และมีสัมมาคารวะ น่าสรรเสริญ ด้วยฤทธานุภาพของพญาครุฑนี้เอง จึงได้มีมีการรูปครุฑ มาเป็นตรา ประจำแผ่นดิน สืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณกาลทั่วไทย และต่างประเภท พอจะแบ่งได้ 5 ประเภทคือ

1. ตัวเป็นคนอย่างธรรมดาทั่วๆ ไป แต่มีปีก
2. ตัวเป็นคนหัวเป็นนก
3. ตัวเป็นคน หัวและขาเป็นนก
4. ตัวเป็นนก หัวเป็นคน
5. รูปร่างเหมือนนกทั้งตัว

เมื่อลักษณะของครุฑแตกต่างกันหลายแบบ จึงทำให้ช่างถ่ายทอดออกมาแปลก แตกต่างกัน โดยเฉพาะนิ้วที่น่าสังเกตคือ ชนิดตัวเป็นคน หัวและขาเป็นนก บางแห่งทำมือ เป็นมือมนุษย์มี 5 นิ้ว ส่วนเท้าคล้ายเท้าสิงห์ มี 5 นิ้ว เช่น ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และเรือรูป!เป็นต้น จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ประเทศไทยได้เริ่มนำครุฑมาใช้ เป็นตราประจำแผ่นดิน หรือพระราชลัญจกร ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยได้นำแบบ อย่างการใช้ตรามาจากประเทศจีน จากจดหมายเหตุของ ลาลูแบร์ ได้ปรากฏหลักฐานว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น ขุนนางผู้ใหญ่ที่มีสิทธิ์ อำนาจ ให้คำวินิจฉัยต่างก็จะมีตรา ประจำแผ่นดิน เป็นของตนเอง ซึ่งพระมหากษัตริย์จะเป็นผู้ พระราชทานให้ ส่วนพระมหากษัตริย์เองก็ทรงมี ตราประจำ พระองค์ โดยที่ไม่ได้มอบหมายให้ใครรักษาไว้ ซึ่งในจดหมายเหตุก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นรูป อะไร แต่พอสันนิษฐานได้ว่าน่าจะเป็น "ตราครุฑพ่าห์ ที่เป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ทั้งนี้เพื่อให้เข้ากับคตินิยม ในสมัยนั้นที่ถือเอาองค์พระมหากษัตริย์เป็นผู้ที่มีบุญบารมี เทียบเท่าพระนารายณ์ผู้มีครุฑเป็นพาหนะ ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ ในช่วงรัชกาลที่ 2 พระองค์ทรงพระกรุณาให้ใช้รูป "ครุฑยุดนาคเป็นพระราชสัญลักษณ์ ประจำพระองค์ แทนพระบรมภิไธยว่า "ฉิม" ตามความหมายของวรรณคดีไทย คือ พญาครุฑซึ่งใน เทพนิยายเทวะกำเนิดเป็นเทพองค์หนึ่งที่ทรงมหิทธานุภาพยิ่ง แต่ยอมเป็นเทพพาหนะ สำหรับพระนารายณ์ปกติอยู่ที่วิมารฉิมพลี แต่เมื่อเปลี่ยนรัชกาลก็ได้มีการปรับเปลี่ยน ตราพระราชสัญจกร ใหม่ทุกครั้ง ครั้นพอถึงสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ จึงได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมนริศรานุวัตติวงศ์ ทรงเขียน ตราครุฑถวายใหม่ โดยไม่ต้องมีพระนารายณ์ และยกนาคออกเสีย เพราะรูปพระครุฑเดิมเป็นครุฑจับนาคเพื่อเป็นอาหาร ส่วนมือที่กางอยู่ ให้รำตามแบบครุฑเขมร และดัดแปลงลายกนกเป็นเปลวไฟจนถึง รัชการที่ 6 พระองค์ได้ทรงเห็นว่าตราประจำแผ่นดิน ซึ่งใช้สำหรับประทับกำกับ พระปรมาภิไธยในหนังสือสำคัญของแผ่นดินนั้น ต้องสร้างใหม่ทุกครั้งที่เปลี่ยนรัชการ พระองค์จึงได้ทรงโปรดฯ ให้พระเทวาภินิมมิตต์ (ฉาย ภินิมมิตต์) เป็นผู้เขียนถวาย โดยยังคงใช้ตราครุฑเช่นเดียวกับรัชกาลที่ 5 เพียงแต่เพิ่มพระปรมาภิไธยตามขอบ พระราชลัญจกร และเปลี่ยนพระปรมาภิไธยที่ขอบพระราชลัญจกร ให้ตรงตามรัชกาล เท่านั้น พร้อมกับให้ยึดถือเป็นแบบอย่างต่อมาจนถึงปัจจุบัน
นอกจากภาพครุฑปรากฎอยู่ในเอกสารทางราชการ สถานที่ราชการ และธนบัตร หรือเหรียญที่ระลึกแล้วเรายังคุ้นเคยกับ "ครุฑ ในรูปแบบต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ภาพแกะสลัก และปูนปั้นตามหน้าบันของโบสถ์วิหาร ศาลาการ เปรียญ และวัตถุมงคล เป็นต้น หรือแม้กระทั่งบริษัทห้างร้านใหญ่ๆ บางแห่ง ธนาคาร ต่างๆ ก็จะมีรูปครุฑ และข้อความว่า "โดยได้รับพระ บรมราชานุญาติ" ระดับอยู่ด้านหน้าที่เรียกว่า "พระครุฑพ่าห์" หรือเครื่องหมายตราตั้ง ซึ่งถือเป็น สัญลักษณ์ที่บ่งบอกความเชื่อถือ และเกียรติภูมิอัน สูงสุดที่น้อยรายจะได้รับ เพราะต้องฝ่าระเบียบการ ขอพระราชทานตราตั้ง ซึ่งได้ประกาศไว้ใน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 56 เมื่อปี 2482 โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้จะได้รับนั้นจะต้องอยู่ในฐานะนิติบุคคล หรือได้จด ทะเบียนแล้ว โดยชอบด้วยกฎหมาย มีฐานะการเงินดี เป็นที่น่าเชื่อถือของมหาชน มาช้านาน ประกอบการค้า ขายโดยสุจริต ตั้งมั่นในศีลธรรม ไม่มีหนี้สินรุงรัง นอกจากนี้ยังเคยติดต่อกับกรมกองต่างๆ ในราชสำนัก มาก่อน ฯลฯ ส่วนจะได้รับพระราชทานตราตั้ง หรือไม่นั้นสุดแล้วแต่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว จะทรงราชดำริเห็นสมควร และเมื่อได้รับพระบรมราชานุญาติ นายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้ออกหนังสือตราตั้งให้ ดังนั้นตราตั้งดังกล่าวจึงถือเป็นของ พระราชทาน เฉพาะบุคคลที่แสดงให้เป็นถึงคุณงามความดี และเป็นเกียรติยศอันล้ำค่า ที่จะต้องดำรงรักษาไว้ และข้อมูลดังกล่าว ของ!หิมพานต์ตำนานอมตะ ที่มีประวัติความ เป็นมาจากคติความเชื่อของบรรพบุรุษ ได้ถูกสะสมถ่ายทอดเป็นเรื่องราวเล่ากล่าวขาน วิวัฒนาการผ่านกาลเวลาจนกลายเป็นตราประจำแผ่นดินในามของ "พระครุฑพ่าห์" ซึ่งเปี่ยมไปด้วย คุณค่า ความขลัง ศักดิ์สิทธิ์ ยิ่งใหญ่อลังการ และสัญลักษณ์สูงสุดสู่ ประเทศไทยตราบจนทุกวันนี้

Back

 

 

 


 
 
BY ขจรศักดิ์ เลาห์สัฒนะ
Hosted by www.Geocities.ws

1