กำเนิดทะเลทรายซาฮาร่า

 

กำเนิดซาฮาร่า



ทะเลทราย ดินแดนที่แห้งแล้งจัดจนพืชและ!หรือแม้กระทั่งคนแทบจะไม่สามารถดำรงชีวิต
อยู่ได้ เพราะที่นี่มีแต่ความร้อนและเนินทรายเท่านั้น ด้วยสภาพที่ไร้น้ำฝน(ถึงแม้จะมีฝนตกบ้าง
อากาศที่ร้อนจัดก็ได้ทำให้น้ำฝนระเหยไปก่อนที่จะตกลงถึงพื้นทราย) และอุณหภูมิที่ร้อนจัดนี่
เอง ความชื้นสัมพัทธ์ของทะเลทรายจึงเกือบเท่ากับศูนย์ตลอดทั้งปี แต่ทะเลทรายก็ยังมีโอเอซิส
(oasis)ที่เกิดจากฝนที่เป็นห่าฝนเท่านั้น ซึ่งห่าฝนนี้เมื่อตกถึงทรายแล้วจะไหลซึมลงใต้ดินเป็น
น้ำบาดาล และไหลสู่โอเอซิสซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์กลางทะเลทรายในที่สุด
แม้จะมีทะเลทรายอยู่มากมายทั่วโลก แต่ก็ไม่มีทะเลทรายที่ไหนที่มีอาณาเขตกว้างขวางเท่ากับ
ซาฮาร่า(Sahara)ซาฮาร่ามีเนื้อที่ประมาณ 9.3 ล้านกิโลเมตร(เท่ากับประเทศสหรัฐอเมริกา)
ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกาแม้จะเป็นที่ราบแต่ก็มีภูเขาสูงอยู่บ้าง เช่นภูเขา Ahaggar
ที่สูงประมาณ 3,300 เมตร และทางตอนเหนือจะมีแหล่งโอเอซิสมากกว่าทางตอนใต้ ซึ่งแหล่งน้ำ
นี้เป็นมีพื้นที่เพาะปลูกพืช เช่นข้าวสาลี ข้าวบาเลย์ องุ่น มะกอก และปาล์มด้วย โดยน้ำในการทำ
เกษตรนี้มาจากภูเขาที่อยู่ไกลออกไปประมาณ 400 กิโลเมตร ไม่เพียงแต่การเกษตรและแหล่งน้ำ
เท่านั้น ซาฮาร่ายังมีแหล่งน้ำมัน ที่นี่จึงมีการใช้รถยนต์เป็นพาหนะแทนอูฐที่ใช้กันมา
ในทะเลทรายนี้ ยังมีเมืองโบราณที่ถูกทรายทับถมหลายเมือง และนักโบราณคดียังได้ขุดพบเมล็ด
พืชจากโบราณสถานที่อยู่ตามบริเวณต่างๆของซาฮาร่า จึงเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าในอดีต
เมื่อ 9,000-6,000 ปีก่อนนี้ ซาฮาร่าเปรียบได้กับสวนสวรรค์แห่งอีเดน ที่เต็มไปด้วยต้นไม้ พืช
พันธุ์ และหญ้าเขียวขจีขึ้นอย่างอุดมสมบูรณ์ซึ่งหลักฐานที่บ่งชี้ถึงความเป็นสวนสวรรค์นี้ทำให
้นักภูมิศาสตร์นอกจากจะมีคำถามว่า ทะเลทรายเกิดขึ้นได้อย่างไรแล้ว แต่ยังมีความสงสัยด้วยว่า
ทำไมทุกวันนี้ที่ซาฮาร่าถึงมีแต่ทราย กับทราย
โดยการวิจัยของ Potsdam Institute for Climate Impact Research ในประเทศ
เยอรมนี ได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับทะเลทรายซาฮาร่าถึงการวิเคราะห์เมล็ดพืชโบราณเหล่านั้น
ทำให้รู้ว่าเมื่อก่อนประมาณ 6,000-7,000 ปี ซาฮาร่ามีอากาศอบอุ่น และยังมีป่าต้นไม้เป็น
จำนวนมาก แต่เมื่อผ่านไปประมาณ 2,00 ปีได้เกิดเหตุการณ์ภัยแล้งรุนแรงที่กินเวลานานกว่า
400 ปีอันเกิดจากแกนของโลกได้เปลี่ยนระดับการเอียง คือได้ลดลงจาก 24.14 องศามาเป็น
23.45 องศา ทำให้ฤดูร้อนในซีกโลกทางเหนือมีอุณหภูมิลดลง เพราะแสงอาทิตย์ตกกระทบ
พื้นผิวโลกส่วนนี้น้อยลง ส่งผลให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในซาฮาร่าต้องอพยพออกไปหาที่อยู่อาศัยและ
แหล่งทำมาหากินแห่งใหม่ตามลุ่มแม่น้ำไนล์ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออก
ทั้งนี้การวิจัยยังพบถึงผลกระทบของกระแสน้ำในมหาสมุทร และอากาศบริเวณเหนือทวีปแอฟริกา
ซึ่งเป็นที่ตั้งของซาฮาร่า รวมทั้งลมมรสุมที่พัดมาจากมหาสมุทรอินเดียในระหว่างภัยร้ายที่รุนแรง
นี้ พบว่าพายุที่คอยนำฝนมาตกได้อ่อนแรงลงมากจนไม่สามารถพาฝนมาตกที่ซาฮาร่าได้มากเหมือน
ก่อน ด้วยเหตุนี้ต้นไม้และพืชต่างๆจึงล้มตาย ส่งผลต่อเนื่องไปถึงการเก็บความชื้นของดินก็ย่อมน้อย
ลงด้วย แล้วในที่สุดต้นไม้ของซาฮาร่าก็ค่อยๆสาบสูญจนหมดและกลายเป็นซาฮาร่า ทะเลทรายที่
ี่ใหญ่ที่สุดในโลก

 

 

 


 
 
BY ขจรศักดิ์ เลาห์สัฒนะ
Hosted by www.Geocities.ws

1