Home/ จดหมายถึงหน่วยงานรัฐ/ บทความ/ ข่าวความเคลื่อนไหว/
กะเหรี่ยงคือใครมาจากไหน
ตำนานการเกิดของกะเหรี่ยง กะเหรี่ยงก่อนรัตนโกสินทร์
การอพยพครั้งใหญ่สู่ไทย กะเหรี่ยงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
กะเหรี่ยง-กรมป่าไม้ใครบุกรุกใคร
กะเหรี่ยงทำลายป่าจริงหรือ?
เชิงอรรถ
ที่ตั้งและประชากร
ประวัติหมู่บ้าน
วัฒนธรรมชุมชน
ประเพณี
ความเชื่อ
กฏระเบียบหมู่บ้าน
เหตุการณ์สำคัญของหมู่บ้าน สาธารณูปโภคและกองทุนชุมชน
กิจกรรมการเกษตรในรอบปี
คนละวัฒนธรรม
แต่งงานแบบกะเหรี่ยง
ปลูกตามธรรมชาติ
น้ำฝน-น้ำใจ
หมู่บ้านศิลปิน
การพัฒนาที่บ้านเจ้าวัด
ไหว้เจดีย์
ป่าของเรา
บุญข้าวใหม่
   มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
    thai ngos
   มูลนิธิเติมน้ำใจให้สังคม
    มูลนิธิโลกสีเขียว
    เครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
   สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อม
   2516.org
   มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
   คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ
   สำนักข่าวประชาธรรม
   สำนักนโยบายสังคมและเศรษฐกิจ
ลำดับการแก้ไขปัญหากรณีการปนเปื้อนสารตะกั่วที่หมู่บ้านคลิตี้ล่าง จังหวัดกาญจนบุรี, 2541 - 2544


วัน-เวลา การดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน
19 เมษายน 2541 ชาวบ้านคลิตี้ล่าง เขียนจดหมายร้องทุกข์ ถึงอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กรมควบคุมมลพิษส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบพบสารตะกั่วเกินค่ามาตรฐานหลายร้อยเท่า
22 เมษายน 2541 โรงแต่งแร่คลิตี้ ที่ถูกระบุว่าเป็นต้นเหตุของน้ำเสียปนเปื้อนสารตะกั่ว ถูกกรมทรัพยากรธรณีสั่งหยุดดำเนินการชั่วคราว และสั่งปรับเป็นเงิน 2,000 บาท (โทษปรับสูงสุด : ม.151 พรบ.แร่) จนกว่าจะดำเนินการปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียและฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้ โรงแต่งแร่หยุดดำเนินการจนถึงปัจจุบัน แต่ไม่มีการขนย้ายกองแร่ออกจากพื้นที่ ทำให้คงมีการชะล้างลงลำห้วย และมีการสะสมสารตะกั่วในลำห้วย
24 เมษายน 2541 กรมอนามัย ลงพื้นที่ตรวจคุณภาพน้ำห้วยคลิตี้ล่าง ครั้งที่ 1 พบสารตะกั่วเกินค่ามาตรฐานทั้งในน้ำ และในปลา
27 เมษายน 2541 กรมควบคุมมลพิษ ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพน้ำ ในลำห้วยคลิตี้ พบค่าตะกั่วเกินค่ามาตรฐานในน้ำและในตะกอนดิน
18 พฤษภาคม 2541 องค์กรเอกชน ยื่นจดหมายร้องเรียน ถึงคณะกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมาธิการฯ เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจงข้อมูล และมีการสำรวจพื้นที่ แต่ไม่มีการดำเนินการใด ๆ ตามมา
26 พฤษภาคม 2541 กรมควบคุมมลพิษ ลงพื้นที่ตรวจสอบน้ำครั้งที่ 2 สรุปว่า น้ำในลำห้วยมีการปนเปื้อนสารตะกั่วเกินค่ามาตราฐานน้ำผิวดินหลายเท่า และประเมินว่ามีตะกอนปนเปื้อนตะกั่วในลำน้ำ 15,000 ตัน แยกเฉพาะตะกั่วได้ 300 ตัน กรมควบคุมมลพิษสั่งให้เหมืองแร่ขุดลอกตะกอนขึ้นมาฝังกลบ (คำสั่งที่ให้ขุดลอกมาจากการเรียกร้องขององค์กรพัฒนาเอกชนด้วย) แต่การฝังกลบทำไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
28 พฤษภาคม 2541 องค์กรเอกชน จัดเสวนาเรื่อง ผลกระทบจากเหมืองแร่ กับอนาคตของป่ามรดกโลก มีข้อสรุปจากเวทีให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องประชุมตกลงเพื่อวางมาตรการรักษาป่ารอบเขตทุ่งใหญ่จากผลกระทบของการทำเหมืองแร่
19 มิถุนายน 2541 ประชุมคณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาการสะสมของตะกั่ว ในลำห้วยคลิตี้ ประชุมครั้งที่ 1 (เฉพาะส่วนราชการ) ที่ประชุมมีมติ ให้โรงแต่งแร่ ว่าจ้างบริษัทต่างประเทศ(เป็นวิศวกรของบริษัท) มาจัดทำแผนการขุดลอก และฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้
16 มิถุนายน 2541 คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก มีมติให้ยกเลิกกิจการเหมืองแร่ทั้งหมดในบริเวณโดยรอบเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร และสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม ในฐานะเลขานุการได้แจ้งมตินี้แก่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ยังไม่มีการดำเนินการจนถึงปัจจุบัน
28 มิถุนายน 2541 กรมควบคุมมลพิษ ลงพื้นที่ตรวจสอบน้ำครั้งที่ 3 พบว่าความเข้มข้นของตะกั่วกระจายลงมาทางใต้ลำห้วยมากยิ่งขึ้น
5 มกราคม 2542 คณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาการสะสมของตะกั่ว ในลำห้วยคลิตี้ ประชุมครั้งที่ 2 (เฉพาะส่วนราชการ) ที่ประชุมมีมติ ให้เร่งรัดดำเนินการจัดทำแผนการฟื้นฟูพื้นที่ การดำเนินการยังไม่เสร็จสิ้น และมีขัอขัดแย้งในการจัดการจากหลายฝ่ายจนถึงปัจจุบัน
8-9 กุมภาพันธ์ 2542 กรมอนามัย ลงพื้นที่ตรวจสุขภาพชาวบ้านคลิตี้ล่าง มีการเจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับตะกั่วในเลือด (ตรวจเลือดครั้งที่ 1) ชาวบ้านทุกคนมีค่าตะกั่วในเลือดสูง จนถึงระดับที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย และมีชาวบ้านหลายคนเจ็บป่วย โดยมีอาการสัมพันธ์กับโรคพิษสารตะกั่ว
6 พฤษภาคม 2542 คณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาการสะสมของตะกั่วในลำห้วยคลิตี้ ประชุมครั้งที่ 3 (เฉพาะส่วนราชการ) ที่ประชุมมีมติ อนุมัติให้ทำการขุดลอกลำห้วย คลิตี้ (KC2- KC4) และรับทราบผลการตรวจสอบสุขภาพของกรมอนามัย
29 มิถุนายน 2542 คณะทำงานเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาการสะสมของตะกั่ว ในลำห้วยคลิตี้ ประชุมครั้งที่ 4 ที่ประชุมมีมติ ให้เร่งศึกษาพื้นที่ฝั่งกลบ กลุ่มองค์กรเอกชนและเจ้าหน้าที่ของกรมควบคุมมลพิษลงพื้นที่ตรวจสอบ และพบว่าการดำเนินการฝังกลบไม่เป็นไปตามแผนการฟื้นฟูฯ คือเป็นเพียงขุดลอกตะกอนทิ้งบนริมตลิ่งเท่านั้น ไม่มีการฝังกลบตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง
12 ธันวาคม 2542 กรมควบคุมมลพิษ ลงพื้นที่ตรวจสอบน้ำครั้งที่ 4 พบว่าการสะสมของสารตะกั่วในลำห้วยยังมีระดับสูง
8-10 มีนาคม 2543 หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของกระทรวงสาธารณสุข มีการตรวจเลือดชาวบ้านคลิตี้ล่าง (ตรวจเลือดครั้งที่ 2) พบว่าตะกั่วในเลือดของชาวบ้านไม่ลดลง กลับเพิ่มสูงขึ้น
22-23 กันยายน 2543 เครือข่ายแก้ไขปัญหาพิษสารตะกั่วต่อสุขภาพ และสภาพแวดล้อมบริเวณแม่น้ำแม่กลองตอนบนพาสื่อมวลชนลงพื้นที่ดูสภาพข้อเท็จจริง และมีการจัดสัมมนาที่จังหวัดกาญาจนบุรี ในเวทีสัมมนา นพ.ประเวศ วะสี มึความเห็นต่อกรณีปัญหานี้ว่า ทางเจ้าของเหมืองแร่จะต้องรับผิดชอบต่อประชาชนที่เจ็บป่วยและการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม รวมถึงเสนอให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งรักษาชาวบ้าน พร้อมกับเสนอให้จัดทำพิพิธภัณฑ์สารตะกั่วเพื่อเป็นบทเรียนต่อกรณีปัญหานี้
3 ตุลาคม 2543 ใบอนุญาตขอแต่งแร่ เลขที่ 2/2537 ของโรงแต่งแร่คลิตี้ หมดอายุ หน่วยงานรัฐไม่จัดการให้มีการเคลื่อนย้ายโรงแต่งแร่และอุปกรณ์การทำเหมืองออกจากพื้น
6 ตุลาคม 2543 ถึง 31 มกราคม 2544 กรมการแพทย์ทำการเจาะเลือดตรวจหาระดับสารตะกั่วในเลือดของชาวบ้าน และให้ยาขับสารตะกั่วแก่เด็กในหมู่บ้านคลิตี้ล่าง รวมจำนวนประมาณ 30 ราย แพทย์ไม่ได้แจ้งผลการตรวจเลือดแก่ชาวบ้าน และมีการให้ยาเพียงไม่กี่วัน เด็กส่วนมากยังมีตะกั่วในเลือดสูงอยู่ และมีเด็กหลายรายมีอาการแพ้ยา และไม่สามารถรับประทานยาต่อได้ แต่ก็ไม่มีการดำเนินการแก้ปัญหาแต่อย่างใด ขณะเดียวกันก็ไม่มีการให้ยารักษาสำหรับผู้ใหญ่ที่มีตะกั่วในเลือด และมีหลายรายปรากฏอาการที่สัมพันธ์กับพิษของสารตะกั่ว แต่ไม่มีการวินิจฉัยจากกรมการแพทย์ว่า ชาวบ้านป่วยเป็นโรคพิษตะกั่วเรื้อรัง เครือข่ายแก้ปัญหาพิษสารตะกั่วฯ ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุขเพื่อขอทราบผลการตรวจเลือด แต่ไม่มีการเปิดเผยผลการตรวจจนปัจจุบัน
25-27 ตุลาคม 2543 ชาวบ้าน 8 รายที่เจ็บป่วย เข้ารับการตรวจและรักษาที่คลินิกอาชีวเวชศาสตร์ฯ โรงพยาบาลราชวิถี ด้วยตนเอง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญวินิจฉัยว่าเป็นโรคพิษตะกั่วเรื้อรัง และให้ยาขับพิษสารตะกั่ว ต่อมาพบว่าชาวบ้านมีอาการดีขึ้น และระดับตะกั่วในเลือดลดลงอย่างชัดเจน
4 พฤษภาคม 2544 จากการที่องค์กรเอกชนเรียกร้องความรับผิดชอบจากทางเหมืองแร่ให้ช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก เวลาผ่านไปกว่า10 เดือน บริษัทตะกั่วคอนเซนเตท จึงตัดสินใจมอบเงินจำนวน 1 ล้านบาทแก่ชาวบ้านคลิตี้ เพื่อเป็นกองทุนช่วยเหลือ หลังจากที่สื่อมวลชนนำเสนอข่าวอย่างต่อเนื่อง มีการส่งมอบเงินจำนวนนี้ให้ชาวบ้านตั้งเป็นกองทุน แต่อย่างไรก็ตาม มีการระบุว่าเงินจำนวนนี้เป็นเงินช่วยเหลือชาวบ้าน โดยไม่ยอมรับว่า การจ่ายเงินดังกล่าวเป็นการยอมรับผิดชอบของทางเหมืองแร่ และยังไม่มีการแสดงความรับผิดชอบ ในส่วนของการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในลำห้วย ทางเหมืองแร่ไม่แสดงความรับผิดชอบ
27 กรกฎาคม 2544 เครือข่ายแก้ปัญหาพิษตะกั่วฯ ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขทวงถามถึงผลการตรวจเลือดอีกครั้ง กระทรวงสาธารณสุขคงไม่มีคำตอบแก่เครือข่ายฯ จนปัจจุบัน
ปัจจุบัน หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ไม่มีการดำเนินการใดๆ เพื่อแก้ไขปัญหา ทั้งในเรื่องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของชาวบ้านอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ชาวบ้านคงต้องดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปนเปื้อนสารตะกั่วในระดับสูง โดยแผนการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมยังไม่รับการนำมาปฏิบัติ ทุกวันนี้คงมีชาวบ้านเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น-เสียชีวิตอยู่เป็นระยะ ๆ

© 2000-2001 by Karen Studies and Development Centre. Report technical problems to [email protected] . This document was build on: 22/06/2001 . Best view in IE4x or higher,800x600 pix.Font Medium.
Hosted by www.Geocities.ws