จดหมายติดต่อหน่วยงาน
โดย : เครือข่ายแก้ไขปัญหาพิษสารตะกั่วต่อสุขภาพและสภาพแวดล้อม บริเวณแม่น้ำแม่กลองตอนบน


วันที่ 28 มีนาคม 2544 เรื่อง : ขอความกรุณาช่วยเหลือชาวบ้านหมู่บ้านคลิตี้ล่าง จ.กาญจนบุรี


ที่ 0111/2544
เครือข่ายแก้ไขปัญหาพิษสารตะกั่วต่อสุขภาพและสภาพแวดล้อม
บริเวณแม่น้ำแม่กลองตอนบน
211/2 ซ.งามวงศ์วาน 31 อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000





28 มีนาคม 2544


เรื่อง ขอความกรุณาช่วยเหลือชาวบ้านหมู่บ้านคลิตี้ล่าง จ.กาญจนบุรี

เรียน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข

สิ่งที่ส่งมาด้วย 1. สรุปสาระสำคัญการสัมมนาเรื่อง นโยบายและแนวทางแก้ไขปัญหาพิษสารตะกั่ว ต่อสุขภาพและสภาพแวดล้อม
...................... บริเวณแม่น้ำแม่กลองตอนบน 1 ชุด
...................... 2. ปาฐกถา ของ ศาตราจารย์ นายแพทย์ ประเวศ วะศี 1 ชุด

........... ตามที่เกิดกรณีโรงแต่งแร่ตะกั่วปล่อยน้ำทิ้งลงสู่ลำห้วยคลิตี้เป็นเวลากว่า 20 ปี เป็นเหตุให้สัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า ตลอดจนประชาชนที่ใช้น้ำเจ็บป่วยล้มตายเป็นจำนวนมาก กระทรวงสาธารณสุขได้ตรวจสอบการปนเปื้อนสารตะกั่วในลำห้วยคลิตี้ อำเภอทองผาภูมิ และอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ได้พบการปนเปื้อนของสารตะกั่วสูงมาก ทั้งในน้ำผิวดิน ตะกอนธารน้ำ และสัตว์น้ำ โดยได้ตรวจสอบและดำเนินการแก้ไขมาเป็นลำดับ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2541 จนถึงปัจจุบัน
........... แต่ปัญหายังมิได้บรรเทาลงนัก เนื่องจากในระหว่างปี 2542-2544 ยังพบชาวบ้านเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอีกถึง 8 ราย แบ่งเป็นผู้ใหญ่ 4 ราย เด็ก 4 ราย นอกจากนี้ยังพบชาวบ้านมีอาการผิดปกติต่างๆนานาเพิ่มขึ้น อาทิ เด็กเกือบทั้งหมู่บ้านมีสติปํญญาต่ำกว่าเด็กโดยทั่วไป เด็กบางคนมีอาการขาดการควบคุม กระตือรือล้นผิดปกติ เด็กหลายคนเซื่องซึม หลายคนมีอาการซีดอย่างชัดเจน บางคนมีอวัยวะผิดปกติ เช่น เด็กผู้หญิงมีแต่รูปัสสาวะ แต่ไม่มีช่องคลอด ผู้ใหญ่และเด็กหลายคนมีอาการบวม เป็นต้น
........... เครือข่ายแก้ไขปัญหาพิษสารตะกั่วต่อสุขภาพและสภาพแวดล้อม บริเวณแม่น้ำแม่กลองตอนบน ซึ่งประกอบด้วยภาครัฐบาล องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสาธารณสุข และองค์กรท้องถิ่น ใคร่ขอเสนอความเห็นเพื่อพิจารณาในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพแก่ชาวบ้านคลิตี้ล่างดังนี้
........... 1. ต้องรักษาชาวบ้านที่มีอาการผิดปกติทุกคนอย่างเร่งด่วน ไม่ว่าอาการจะเกิดจากพิษสาร ตะกั่วหรือไม่
........... 2. ต้องรักษาด้วยการลดระดับตะกั่วในเลือดของชาวบ้านทุกคน
........... 3. การรักษาชาวบ้านต้องรักษาแบบองค์รวม คือรักษาทั้งชุมชน ไม่ใช่เพียงรักษาเฉพาะราย
........... 4. ต้องส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อศึกษาวิจัยหาข้อมูลการเจ็บป่วยของชาวบ้านอย่างละเอียด

จึงเรียนมาเพื่อทราบและโปรดพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ

(นายสุรพงษ์ กองจันทึก)
ผู้ประสานงานเครือข่าย







เครือข่ายแก้ไขปัญหาพิษสารตะกั่วต่อสุขภาพและสภาพแวดล้อม บริเวณแม่น้ำแม่กลองตอนบน

1. โครงการประชาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
2. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
3. มูลนิธิสุขภาพไทย
4. มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
5. มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์
6. มูลนิธิโลกสีเขียว
7. มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ
8. ศูนย์ศึกษากะเหรี่ยงและพัฒนา
9. กลุ่มอนุรักษ์กาญจน์
10. กลุ่มศึกษาและรณรงค์มลภาวะอุตสาหกรรม
11. กลุ่มอนุรักษ์วังศาลา กาญจนบุรี
12. ชมรมรักษ์กาญจน์ สถาบันราชภัฏกาญจนบุรี
13. เครือข่ายชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงภาคตะวันตก
ประสานงาน : นางสาวพจศนา บุญทอง โทรศัพท์ / โทรสาร 9525060-2

© 2000-2001 by Karen Studies and Development Centre. Report technical problems to [email protected]. This document was build on: 22/06/2001 . Best view in IE4x or higher,800x600 pix.Font Medium.
Hosted by www.Geocities.ws

1