"กลับหน้าแรกคลิ๊กที่นี่.."
ที่ตั้งและประชากร
ประวัติหมู่บ้าน
วัฒนธรรมชุมชน
ประเพณี
ความเชื่อ
กฏระเบียบหมู่บ้าน
เหตุการณ์สำคัญของหมู่บ้าน สาธารณูปโภคและกองทุนชุมชน
กิจกรรมการเกษตรในรอบปี

ข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้านคลิตี้ล่าง


:: ประวัติหมู่บ้าน ::

        คลิตี้เป็นคำไทยที่เพี้ยนมาจากภาษากระเหรี่ยงว่าคี่ถี่ แปลว่าเสือโทน (เสือเมื่อโตเป็นหนุ่มจะแยกไปอยู่ลำพังตัวเดียว เรียกว่าเสือโทน) ภาษาไทยจึงเรียกว่าทุ่งเสือโทน ในสมัยก่อนบริเวณทุ่งแห่งนี้มีเสืออาศัยอยู่จำนวนมาก แต่มีเสือโทนตัวหนึ่งใหญ่ที่สุดพบเห็นรอยเท้าขนาดเท่าช้าง อาณาบริเวณการหากินครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ทุ่งใหญ่นเรศวร ลำคลองงู แม่น้ำแควใหญ่ และแม่น้ำแควน้อย

        ในอดีตตั้งหมู่บ้านย้ายไปมาในบริเวณแถบนี้มาหลายร้อยปี จนในที่สุดตั้งอยู่ที่ก้องหล้าและพุโพ่ ซึ่งห่างจากหมู่บ้านปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกประมาณ 7 กิโลเมตร ด้วยความเชื่ออยู่แล้วไม่มีความสุข จึงย้ายไปอยู่รวมกับบ้านคลิตี้บน ซึ่งที่ตั้งเดิมอยู่ตรงข้ามหน่วยป้องกันรักษาป่าที่ 8 (กจ.8) เข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร อยู่ได้พักหนึ่งจึงได้ย้ายกลับมาตั้งหมู่บ้านที่คลิตี้ล่างอีกครั้ง เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2440 โดยบรรพบุรุษ 4 ครอบครัวแรกเริ่มที่ยังสามารถให้ข้อมูลความเป็นมาของชุมชน ได้แก่ ครอบครัวลุงโอเมี๊ยะ ลุงกู้ ลุงมิอี และลุงขวย ปัจจุบันชุมชนอายุ 105 ปี ลักษณะบ้านเรือนสมัยก่อน จะเป็นบ้านที่ปลูกขึ้นด้วยไม้ไผ่ส่วนใหญ่ หลังคาใช้ใบหวายหรือหญ้าคาในการมุง เตาไฟจะอยู่บริเวณกลางบ้านเพื่อประกอบอาหารและให้ความอบอุ่นแก่สมาชิกในครอบครัว

ประวัติวัดคลิตี้ล่าง

       วัดคลิตี้ล่างสร้างตั้งแต่เริ่มมีหมู่บ้านปี พ.ศ.2440 โดยพระรูปแรกชื่อ เกียะโบ้วมาโร ต่อมามีพระรูปใหม่ชื่อ พู้ว์เกียะบือ (ย่องกิ่ว) ซึ่งบวชที่บ้านนาสวนในโบสถ์น้ำแล้วได้มาจำพรรษาที่วัดแห่งนี้ หลวงพ่อเกียะโบ้วมาโรจึงได้ไปจำพรรษาที่วัดคลิตี้บนซึ่งบ้านเกิด และมอบให้พระพู้ว์เกียะบือดูแลวัด จนมรณภาพตอนอายุ 76 ปี หลังจากนั้นก็มีพระสงฆ์ผลัดเปลี่ยนกันมาโดยตลอด

วิถีชีวิตชุมชน

คนในชุมชนบ้านคลิตี้ล่างการดำรงชีวิตเป็นแบบพอเพียง การหาของป่า การทำไร่ข้าวจะทำเพื่อกินเท่านั้น การทำการเกษตรเป็นแบบหมุนเวียน พืชหลักในไร่ได้แก่ ข้าว ถึงฤดูทำไร่ข้าวทุกครัวเรือนจะหยอดเมล็ดข้าวพร้อมเมล็ดผัก อันได้แก่ พริก แตงไทย แตงเปรี้ยว ผักกาดขาว ผักกาดเขียว ผักคะน้า ผักกวางตุ้ง ผักชีหอม ผักชีลาว ผักขี้โอ้ง และข้าวโพดฯลฯ ซึ่งเป็นผลผลิตทีไม่ใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้น ผักจะขึ้นพร้อมกับข้าว ผลผลิตจะออกตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม ผักที่กินไม่หมดจะดองใส่ไหไว้กินในหน้าแล้ง หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ ชาวบ้านจะเก็บพริกโดยมีพ่อค้ามารับซื้อถึงบ้าน
หน้าต่อไป > >
© 2000-2001 by Karen Studies and Development Centre. Report technical problems to [email protected] . This document was build on: 22/06/2001 . Best view in IE4x or higher,800x600 pix.Font Medium.
Hosted by www.Geocities.ws