เสาสัญญาน






จัดทำโดย

นายธนพงศ์สุวรรณนคร รหัสนักศึกษา162404710030
นายณัฐกิตติ์ ขวัญดี รหัสนักศึกษา162404710029
อาจารย์ผู้สอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สัญญา ผาสุข




องค์ประกอบของสถานีฐาน

1.เสาสัญญาณ ตัวเสาตัวนี้มีราคาแพง
2.สายอากาศ (Antenna) เอาไว้ รับ/ส่งสัญญาณคลื่นวิทยุ ตามทิศทางที่หันไป
3.สาย feeder เป็นสายนำสัญญาณที่มาจากสายอากาศเข้ามาที่อุปกรณ์ BTS
4.surg protection ไว้กันภัยที่เกิดจาก ฟ้าผ่า
5.อุปกรณ์ BTS เป็นตัวกลางในการรับ/ส่ง สัญญาณ ระหว่าง เครือข่าย กับผู้ใช้งาน เพื่อควบคุมการทำงานระหว่าง สถานีฐานกับเครื่องโทรศัพท์ ที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของสถานี
6.rectifier สำหรับแปลงไฟให้กับตัวอุปกณ์ภายในสถานีฐาน เพราะอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ได้ใช้ไฟกระแสสลับ (AC) โดยตรง
7.battery สำรอง สำหรับป้องกันในกรณีที่ไฟฟ้าดับ ซึ่งโดยปกติจะสามารถจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ ในสถานีฐานได้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้ทันต่อการแก้ไขปัญหา
8.อุปกรณ์สื่อสัญญาณ (Transmission) เป็นอุปกรณ์ที่นำสัญญาณจากภายนอกสถานีฐาน ซึ่งเป็นสัญญาณที่วิ่งในเครือข่ายของระบบเข้ามาที่สถานีฐานโดยจะนำไปต่อเข้ากับ อุปกรณ์สถานีฐาน
9.แอร์ เนื่องจากอุปกรณ์ทั้งหลายในสถานีฐาน เมื่อทำงานอยู่จะมีความร้อนมาก อุปกรณ์ต่าง ๆ ร้อนมาก อาจทำให้เสียได้ เลยต้องเปิดแอร์ด้วย ปกติจะใช้ 2 ตัวสำหรับสลับกันเปิดใช้งานและในกรณีที่เสียไป 1 ตัว
10.ชุดอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้า เช่น เบรกเกอร์ เพื่อจ่ายไฟฟ้า AC เข้ามายังอุปกรณ์สถานี แต่จะเข้าไปที่ rectifier เพื่อแปลงไฟให้เหมาะสมก่อน



เสาโทรคมนาคมแบบ Self Support


รูปแบบของเสาโทรคมนาคมประเภทนี้เป็นเสาสูง มีฐานที่กว้างใหญ่ รองรับอุปกรณ์ทุกขนาดได้ดี นิยมใช้ในไทย มีความสูง 30 -120 เมตร มีหลายแบบตามการใช้งาน มีทั้ง 3 ขา 4 ขา มีบันไดให้ปีน ด้านในเสา มีแพรตฟอร์มให้พักเป็นระยะ มีความแข็งแรงมั่นคงมาก โดยถูกออกแบบให้ตั้งยืนได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องมีสายยึดโยงกับโครงเสากับพื้นที่ติดตั้ง จึงมีความเหมาะสมสำหรับการติดตั้งเสา โทรคมนาคมบนบริเวณที่มีพื้นที่จำกัดตั้งอยู่บนพื้นดินแนวราบ เสาโทรคมนาคมแบบนี้ต้องสามารถยืนได้อย่างนิ่งและมั่นคง เพื่อรองรับแรงลมพายุ และสามารถรับน้ำหนักอุปกรณ์ส่งสัญญาณได้ มากกว่าเสาโทรคมนาคมคมรูปแบบอื่นๆซึ่งจะทำให้การรับและส่งสัญญาณโทรคมนาคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เสา Self Supporting

เป็นเสาสูง มีฐานที่กว้าง ความสูงขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า มีโครงสร้างทั้งแบบ 3 ขา 4 ขา มีความแข็งแรงมั่นคงมาก ไม่ต้องมีสายยึดโยงกับโครงเสากับพื้นที่ติดตั้ง เหมาะสมสำหรับการติดตั้งเสาโทรคมนาคมบนพื้นดินแนวราบ



RRU


RRU หรือ Remote Radio Unit มีหน้าที่แปลง สัญญาณ จาก Modem หรือ BBU ที่ส่งมาทางใยแก้วนำแสงติดตั้งบนเสาสูงเพื่อออกอากาศความถี่วิทยุที่ความถี่มือถือ 850Mhzหรือ900Mhz หรือ 1800Mhzหรือ2100Mhz ทางเสาอากาศที่เห็นเป็นแท่งยาวๆสีเท่าหรือสีขาวเพื่อส่งไปยังเครื่องโทรศัพท์มือถือและรับสัญญาณจากเครื่องโทรศัพท์กลับส่งลงมาที่BBUผ่านIP LANกลับไปยังชุมสายหน้าตาที่เห็นคือจะติดตั้งอยู่ด้านล่างแท่งเสาอากาศเป็นกล่องสี่เหลี่ยมมีครีบ ระบายความร้อนเพราะเป็นเครื่องส่งวิทยุจึงร้อน



BBU


BBU คือBaseBandUnitมีหน้าที่เป็นModemสื่อสารกับชุดเครื่องส่งวิทยุหรือRRUและควบคุมการทางานของRRUเป็นอุปกรณ์ที่มีPortเส้นใยแก้วนำแสงต่อไปที่RRUบนเสาหรือส่งไปที่RRUที่ติดตั้งห่างไกลออกไปได้โดยปกติ1BBUจะควบคุมกับRRUได้3หรือ6ตัวBBUมีอีกชื่อว่าMasterUnitการเรียกจะแล้วแต่ผู้ผลิตBBUมีขนาด2Uหรือ3Uติดตั้งบนRackมาตราฐาน19นิ้วและจะต่อเข้ากับSwitchIP LAN เพื่อส่งกลับข้อมูลไปยังชุมสายเพื่อจะกระจายไปยังสถานีอื่นๆ



หัวล่อฟ้า (Lightning Air-terminal)


1. หัวล่อฟ้า ในกรณีที่เกิดฟ้าผ่าขึ้นหัวล่อฟ้าจะเป็นตำแหน่งที่เราต้องการให้ฟ้ามาผ่าลง ดังนั้นหัวล่อฟ้าจึงควรติดอยู่ในตำแหน่งที่สูงสุดเท่าที่จะสามารถทำได้ เช่น อยู่เหนือจากจุดที่สูงที่สุดของอาคาร ( เสาอากาศทีวี, เสาอากาศวิทยุ, แท๊งค์น้ำ ฯลฯ ) ขึ้นไปอย่างน้อย 2 เมตร (ตามมาตรฐานของบริษัทสตาบิล) ตัวหัวล่อฟ้าควรทำด้วยโลหะที่มีคุณสมบัติการเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี ทนต่อการหลอมละลาย เช่น แท่งทองแดง แท่งสเตนเลส แท่งทองแดงชุบดีบุก แท่งเหล็ก หรือวัสดุตัวนำอื่นๆ ซึ่งการพิจารณาวัสดุที่นำมาใช้ สามารถพิจารณาได้จากพื้นที่ที่ติดตั้ง เช่น กรณีอยู่ใกล้ทะเลควรใช้วัสดุที่สามารถทนการกัดกร่อนได้ดี หรือพิจารณาจากงบประมาณที่ตั้งไว้เป็นต้น การติดตั้งหัวล่อฟ้าจะต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของหัวล่อฟ้าเชื่อมต่อกับตัวอาคาร ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบจากฟ้าผ่า ที่อาจเกิดขึ้นกับตัวอาคารและระบบไฟฟ้าในอาคารของท่านตัวหัวล่อฟ้าควรมีลักษณะเป็นปลายแหลม เนื่องจากจะมีคุณสมบัติในการถ่ายเทประจุไฟฟ้าในอากาศได้ดี และควรมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 3/8 นิ้ว ยาวไม่น้อยกว่า 10 นิ้ว ( ตามมาตรฐาน UL96) ทั้งนี้เพื่อให้สามารถรองรับกระแสฟ้าผ่าขนาดใหญ่ได้ดี



ตัวนำลงดิน (Down Conductor/Down Lead)


2. ตัวนำลงดิน ควรใช้สายตัวนำที่มีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้าได้ดี ทนต่อการหลอมละลาย เช่นสายไฟ THW, สายทองแดงเปลือย, สายเหล็ก หรือสายตัวนำอื่นๆ ขนาดพื้นที่หน้าตัดไม่น้อยกว่า 70 มม2.(ตามมาตรฐานของบริษัทสตาบิล) ซึ่งการพิจารณาวัสดุที่นำมาใช้ สามารถพิจารณาได้จากพื้นที่ เช่นกรณีอยู่ใกล้ทะเลควรใช้วัสดุ ที่สามารถทนการกัดกร่อนได้ดี พิจารณาจากความยากง่ายในการติดตั้ง และจากงบประมาณที่ตั้งไว้เป็นต้น การต่อลงดินควรหาแนวเดินสาย ( จากหัวล่อฟ้าจนถึงแท่งกราวนด์ฟ้าผ่า ) ที่สั้นที่สุดและเป็นแนวเส้นตรงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งนี้เพื่อลดการเกิด Flash over เข้าบริเวณด้านข้างของอาคาร การต่อสายตัวนำลงดินควรใช้ Down-lead Support ชนิดลูกถ้วย Ceramic ในการยึดสาย ทั้งนี้เพื่อให้ระบบนำลงดิน แยกจากตัวอาคารได้อย่างแท้จริง



พิกัดที่ตั้งเสาสัญญาณ