ยาบ้า ยาอี ยาเค ยาเสพติดที่ควรรู้จักไว้

ยาบ้า คือยากลุ่ม Amphetamines ซึ่งมีหลายตัว เช่น Dextroamphetamine, Methamphetamine เรียกกันแต่เดิมว่า “ยาม้า” ยานี้เคยใช้เป็นยาสำหรับผู้ป่วยที่เป็น โรคผลอยหลับโดยไม่รู้ตัว (Narcolepsy) เด็กที่ไม่ชอบอยู่นิ่ง ขาดความตั้งใจ และสมาธิในการเรียน (Attention Deficit Disorder) และผู้ที่ต้องการ ลดน้ำหนัก แต่ปัจจุบันไม่ค่อย นำมาใช้กันแล้ว ยาบ้ามีประวัติที่มายาวนาน ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ใช้กระตุ้นความกล้าหาญ และความอดทน ของทหารทั้งสองฝ่าย โดยประมาณกันว่า มีการใช้ยาบ้ากว่า 72 ล้านเม็ด ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง แม้กระทั่งฮิตเลอร์ ก็ฉีดยาบ้าแทบทุกวัน หลังสงคราม การใช้ยาบ้า จึงเริ่มแพร่ขยายออกไปสู่สังคม สาเหตุที่เคยเรียกว่า ยาม้า สันนิษฐานได้หลายแง่ บ้างว่าคงมาจาก การที่เคยนำไปใช้ กระตุ้นม้าแข่งให้วิ่งเร็ว และอดทน บ้างว่าเนื่องจากทำให้ ผู้ใช้ยาคึกคะนองเหมือนม้า อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนมาเรียกเป็นยาบ้า ก็เพื่อจะเน้นความเป็นพิษของยา ซึ่งเมื่อใช้มากเกินขนาด หรือใช้ติดต่อกันนานๆ จะทำให้ผู้ใช้ยามีลักษณะ เหมือนคนบ้า และเนื่องจากกระบวน การสังเคราะห์สารนี้ไม่ซับซ้อน ปัจจุบันจึงมีการ ลักลอบสังเคราะห์ กันอยู่ในประเทศไทย
ยาอี (Ectasy) เป็นสารอนุพันธุ์ ตัวหนึ่งของยาบ้า เป็นสารที่ได้ จากการสังเคราะห์ทางเคมี โดยมีชื่อย่อ ทางเคมีเรียกว่า MDMA และไม่เคยใช้เป็นยาเลย ในสมัยหนึ่งนักเคมี ทดลองสังเคราะห์ สารที่มีโครงสร้างคล้ายยาบ้า มากมายหลายตัว โดยหวังว่าคงจะมีสักตัว ที่ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้ แต่กลับปรากฏว่าสารเหล่านั้น มักไม่ประโยชน์ แต่กลับมีผลเสีย ต่อจิตอารมณ์แทบทุกตัว สารอนุพันธุ์เหล่านี้ ปัจจุบันมีการลักลอบสังเคราะห์กัน ในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ และเรียกกันรวมๆ ว่า Designer Drugs ซึ่งหมายถึงสาร ที่พยายาม ดัดแปลงสูตรโครงสร้าง ทางเคมีจากสารเดิม ที่ถูกควบคุมโดยกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อใช้ทดแทน สารเดิมและหลีกเลี่ยงปัญหา ทางกฎหมาย
ส่วน ยาเค ซึ่งย่อมาจากเคตามีน (Ketamine) คือยาสลบชนิดหนึ่ง ที่ทางสัตวแพทย์ ใช้ฉีดสลบสัตว์ และแพทย์ใช้ฉีด ผู้ป่วยเด็กก่อนทำการ ผ่าตัดขนาดเล็ก ยานี้ไม่ทำให้หมดสติ แต่ทำให้ผู้ป่วยอยู่ใน ภาวะที่ร่างกายและจิตใจ เหมือนแยกจากกัน ไม่รับรู้ความเจ็บปวด ที่เกิดขึ้นจากการผ่าตัด ยานี้มีแหล่งที่มาจาก บริษัทผู้ผลิตยาซึ่งจำหน่าย เพื่อใช้ในโรงพยาบาล และปศุสัตว์ และบางส่วน ถูกลักลอบออกมา
ในปัจจุบันสาร และยาเหล่านี้ถูกนำมาใช้ ในทางที่ผิดกันมาก ทั้งโดยเจตนา และความรู้เท่าไม่ถึงการ ซึ่งทำให้เกิดปัญหา ต่อตัวผู้ใช้เอง และเกิดผลกระทบ ต่อสังคมอีกด้วย

ผลของยาบ้า ยาอี และยาเค ต่อร่างกาย และจิตใจเป็นอย่างไร ทำไมจึงนิยม นำมาใช้ในทางที่ผิด
ยาบ้ามีคุณสมบัติ กระตุ้นระบบประสาท และกระตุ้นจิตอารมณ์ อย่างรุนแรง โดยจะมีผลอยู่ได้นาน ประมาณ 4-6 ชั่วโมง หลังจากใช้ยา ผลเหล่านี้ได้แก่ ผลกระตุ้นต่อระบบประสาท ทำให้นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร การหายใจเร็วและแรง หัวใจเต้นเร็ว และแรง ความดันเลือดสูงขึ้น รูม่านตาขยาย
ผลกระตุ้นต่อจิตอารมณ์ ส่วนใหญ่เกิดในช่วงต้น หลังการใช้ยา ทำให้รู้สึกกระชุ่มกระชวย กระฉับกระเฉง รู้สึกตื่นตัว มีพลังมากขึ้น เกิดความมั่นใจ ซึ่งมักเป็นสาเหตุ ให้เกิดการใช้ยาในทางที่ผิด และติดยาโดยจิตใจ
ผลต่อพฤติกรรม ซึ่งเห็นได้ชัดในช่วงปลาย หลังการใช้ยา ทำให้พูดมาก ก้าวร้าว ย้ำคิดย้ำทำ กระวนกระวาย บางครั้งมีอาการประสาทหลอน ทางสายตาหรือทางหู
จากการที่ ยาบ้ากระตุ้นร่างกาย ให้ใช้พลังงานมากขึ้น แต่กลับทำให้เบื่ออาหาร และนอนไม่หลับ พลังงานสำรอง ของร่างกายจึงลดลง ดังนั้นหลังจากยาบ้า หมดฤทธิ์แล้วผู้ใช้ยา จะรู้สึกเหนื่อย และอ่อนเพลียเป็นเวลานาน รู้สึกหิวและอยากนอน ในกรณีที่ใช้ยาบ้าขนาดสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าใช้ต่อเนื่องหลายครั้ง อาจทำให้รู้สึกสับสน วิตกกังวลรุนแรง มีอาการประสาทหลอน และรู้สึกหวาดระแวงอย่างหนัก ซึ่งเป็นลักษณะคล้ายคนบ้า
ยาบ้านิยมใช้ ในหมู่ผู้ประกอบอาชีพ ใช้แรงงานเป็นส่วนใหญ่ มีการลักลอบจำหน่าย อยู่ตามแหล่ง ซึ่งเป็นที่รู้กันในหมู่ผู้ใช้ยา เช่น ตามปั้มน้ำมัน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยาบ้าเป็นยาเสพย์ติด ดังนั้น ทั้งการใช้ยา การมีไว้ในครอบครอง การผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก ล้วนมีความผิด ตามกฎหมายทั้งนั้น

ยาอีมีผลโดยทั่วไปคล้ายยาบ้า แต่มีผลทำให้เกิดประสาทหลอน รุนแรงกว่ายาบ้า ยาอีลักลอบใช้กันมาก ในหมู่นักศึกษา และวัยรุ่นในสังคมชั้นสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มักใช้ใน งานเลี้ยงส่วนตัวตามบ้าน งานเต้นรำโต้รุ่ง เพื่อเพิ่มเติม ความรู้สึกสนุกสนาน เคลิ้มสุข และเข้ากันได้ง่าย ยานี้ปัจจุบันยังต้อง ลักลอบนำเข้ามาจากต่างประเทศ และลักลอบซื้อกันในตลาดมืด ยาอีเป็นยาเสพย์ติด ประเภทเดียวกับยาบ้าเช่นกัน

ยาเคในปัจจุบัน ยังไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากโดยธรรมชาติ เป็นยาน้ำทำให้พกพา และใช้ไม่สะดวก ยาเคทำให้รู้สึกเหมือนว่า ร่างกายและจิตใจ แยกออกจากกัน (เปรียบเทียบคล้ายกับ ความรู้สึกเมื่อใกล้ตาย) และถ้าใช้ขนาดสูง ก็ทำให้หมดสติได้ แม้ยาเคจะไม่อยู่ในข่าย ยาเสพย์ติดแต่การใช้ยา ต้องมีใบสั่งแพทย์ และควรใช้โดยแพทย์ หรือสัตวแพทย์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งยานี้ก็เล็ดรอด ออกมานอกโรงพยาบาล หรือปศุสัตว์ได้

ยาบ้า ยาอี และยาเค ทำให้ติดยาได้ โดยทั่วไป ลักษณะการติดยา มีอยู่สองแบบคือ การติดโดยร่างกาย และการติดโดยจิตใจ
การติดโดยร่างกาย หมายถึงสภาวะที่ร่างกาย ทำหน้าที่ภายใต้อิทธิพล ของยาจนเคยชิน เมื่อหยุดใช้ยา ร่างกายจะทำหน้าที่ ดังเดิมไม่ได้ และเกิดอาการขาดยา หรือลงแดง (Withdrawal symptoms) รุนแรง ซึ่งมักเป็นอาการ ตรงข้ามกับผลของยา และเมื่อได้รับยาเดิม อาการก็จะหายไป ส่วนการติดโดยจิตใจ หมายถึงผู้ใช้พึงพอใจกับผล และความรู้สึกที่เกิดจากยา เมื่อหยุดใช้ยา มักไม่เกิดอาการขาดยา หรืออาการไม่รุนแรง แต่จะมีความรู้สึกอยาก หงุดหงิด และพยายามแสวงหายา มาใช้เหมือนเดิม ยาทั้งสามตัวนี้ ก่อให้เกิดการติดยาได้ทั้งนั้น แต่จะมีแนวโน้ม โอกาส และผลสืบเนื่อง แตกต่างกันไป ในสภาพปัจจุบัน ยาบ้าเป็นยา ที่ติดได้ง่ายที่สุด รองลงมาคือยาอี ส่วนยาเค ก็มีโอกาสติดได้ ยาบ้าทำให้ติดยา ได้ทั้งร่างกายและจิตใจ โดยอาการขาดยาบ้าได้แก่ อ่อนเพลียหมดเรี่ยวแรง หิวจัด นอนหลับลึก และยาวนานตั้งแต่ 24-48 ชั่วโมง ซึมเศร้าหดหู่ วิตกกังวล อาการทางจิตประสาท อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้ ไม่ใช่ข้ออ้างสำหรับ การใช้ยาบ้าต่อไป เพราะการเลิกยาบ้า เป็นวิธีแก้ปัญหา ที่ถาวรและดีกว่ามาก เมื่อเลิกยาบ้าได้ สุขภาพร่างกาย และจิตใจจะดีขึ้น สามารถแสวงหาความสุขอื่น ได้อีกมากมาย
ส่วนยาอีมีคุณสมบัติส่วนใหญ่เหมือนยาบ้า จึงทำให้เกิดการติดยาได้ และมีลักษณะ ของการติดยา คล้ายกับยาบ้า แต่การติดยาอี ยังไม่แพร่หลาย เหมือนยาบ้า ยังจำกัดในวงสังคมชั้นสูง เนื่องจากหาซื้อยาก และราคาแพงมาก
ยาเค เนื่องจากการใช้ยาเค ส่วนใหญ่มักใช้เป็นครั้งคราว ดังนั้นข้อมูล เกี่ยวกับการติดยาเค ยังมีจำกัด แต่ยานี้มีคุณสมบัติพื้นฐาน คล้ายยาเสพย์ติด โดยทั่วไป จึงคาดว่า ทำให้เกิดการติดยาได้
พิษของยาบ้า ยาอี และยาเคต่อผู้ใช้ยา ทั้งระยะเฉียบพลัน และเรื้อรังนั้น พิษของยาทั้งสามตัว แตกต่างกันไป โดยที่พิษของยาบ้า และยาอีจะคล้ายคลึงกัน ส่วนยาเคนั้น จะแตกต่างออกไป อย่างไรก็ดีข้อมูล เรื่องของยาอีและยาเค ยังมีจำกัด การใช้โดยการฉีด ทำให้เกิดการติดเชื้อ การอักเสบบริเวณที่ฉีด และเป็นหนทาง ติดโรคเอดส์ได้
ในกรณีที่ใช้ยาบ้าในขนาดสูง ในระยะเฉียบพลันจะทำให้ตัวร้อนเหมือนเป็นไข้ เหงื่อแตกพลั่ก ปากแห้ง ปวดศีรษะ ผิวหนังซีด ตาพร่า มึนงง หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันเลือดสูงฉับพลัน ตัวสั่น ควบคุมร่างกายไม่ได้ ชัก หมดสติ ในบางรายอาจเสียชีวิต จากเส้นเลือด ในสมองแตก หัวใจวาย การชัก หรือตัวร้อนจัด ถ้าหากใช้ยาต่อเนื่อง เป็นเวลานาน ยาบ้าทำให้เกิด ความผิดปกติทางจิต คล้ายกับคนบ้า ชนิดหวาดระแวง (Paranoid) และอาจก่อความรุนแรง หรืออาชญากรรมได้ ร่างกายจะทรุดโทรม อ่อนแอ เนื่องจากขาดอาหา รและขาดการพักผ่อน ทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย เช่น โรคติดเชื้อ ในบางครั้ง ผู้ที่ใช้ยาบ้า อาจจะทำงานหนักเกิน จนร่างกายรับไม่ไหว เกิดการบาดเจ็บหรือทุพลภาพได้
ยาอีมีพิษเฉียบพลัน คล้ายยาบ้ารวม ได้แก่ เกิดความปรวนแปร ทางจิตอารมณ เช่น วิตกกังวลรุนแรง ซึมเศร้า ความคิดหวาดระแวง และที่สำคัญคือ ประสาทหลอน อาการพิษ ทางกายได้แก่ กล้ามเนื้อเกร็งตัว คลื่นไส้ ตาพร่า เป็นลม หนาวสั่น เหงื่อแตก จากผลการทดลองกับสัตว์ ปรากฏว่าทั้งยาบ้า และยาอี ทำลายเซลประสาทบางชนิด ทำให้สมองเสื่อมอย่างถาวร และเกิดความบกพร่อง ในการทำงาน ของร่างกายส่วนที่สมอง บริเวณนั้นควบคุม เช่น อารมณ์ การนอนหลับ การหลับนอน (ความสามารถทางเพศ) การรับรู้ความเจ็บปวด เป็นต้น นอกจากนั้นยังเชื่อว่า ยาบ้าและยาอี มีผลพิษต่อตัวอ่อนด้วย โดยพบว่าทารก ที่คลอดจากมารดา ที่ติดยาบ้า มักมีความผิดปกติ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
ยาเคมีพิษเฉียบพลัน กระตุ้นทำให้จิตอารมณ์วุ่นวาย และเกิดภาวะประสาทหลอน และเมื่อใช้ขนาดสูง จะทำให้หมดสติ
มียาอื่นซึ่งมีคุณสมบัติกระตุ้นระบบประสาท และการใช้คล้ายยาบ้า ยาอี และยาเค เช่น ยา Love (MDA) ซึ่งได้ชื่อมาจาก ผลของยาที่ทำให้ ผู้ใช้มีความขวยเขิน และความอับอายลดลง รู้สึกอยากพูดคุย ปฏิสันถานกับคนอื่น อีเฟรดีน โคเคน คาเฟอีน ส่วนยาและสาร ที่ทำให้เกิดภาวะ ประสาทหลอน คล้ายยาเค ได้แก่ PCP, LSD สารในเห็ดขี้ควาย กัญชา ยาเสพติด ที่เริ่มเป็นปัญหา ของสังคมอึกตัวคือ โคเคน ซึ่งสะกัดแยก มาจากใบของต้นโคคา มีฤทธิ์และผลต่อร่างกาย และจิตใจคล้ายยาบ้ามาก แต่ก็มีข้อแตกต่าง อยู่บ้างบางประการ ประการแรก โคเคนมีผลอยู่ได้สั้น เพียงประมาน 30 นาที หลังจากใช้ยา ขณะที่ยาบ้า มีผลอยู่ได้นานถึง 4-6 ชั่วโมง ซึ่งคุณสมบัตินี้ ทำให้ในต่างประเทศ นิยมใช้โคเคน ในหมู่นักกีฬาอาชีพ และดารา เนื่องจากสามารถ เลือกใช้ผลยาตามเวลา ที่ต้องการได้ ประการที่สอง โคเคนเกิดการชินยา (Tolerance) ได้ช้า ซึ่งทำให้ไม่จำเป็นต้อง เพิ่มปริมาณยาที่เสพย์ มากขึ้นทุกครั้ง ในการใช้ยา ขณะที่ยาบ้า เกิดการชินยาได้เร็ว ทำให้ต้องเพิ่มปริมาณยา มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ได้ผลกระตุ้น ระบบประสาท และจิตอารมณ์เหมือนเดิม ในบางครั้งต้องใช้ยา มากกว่าครั้งแรก 5-10 เท่า ซึ่งทำให้เสี่ยง ต่อพิษของยามากขึ้น ประการที่สาม โคเคนนั้นมีทางเลือก ในการเสพ มากกว่ายาบ้า สามารถเสพโดยการสูด หรือการนัตถุ์ยาได้ และประการสุดท้าย โคเคนมีราคาแพง มากกว่ายาบ้า

กลับ

   
 
Hosted by www.Geocities.ws

1