ความรู้เรื่องยางรถยนต์

 

1.1 Speed Symbol (ระบุความเร็วใช้งานสูงสุดของยาง)
สัญลักษณ์ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ระบุถึงความเร็วใช้งานสูงสุดที่ยางเส้นนั้นรับได้ โดยสัมพันธ์กับความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุก ที่ระบุไว้เป็นสัญลักษณ์ตัวอักษรภาษาอังกฤษเช่นกัน
สัญลักษณ์ ความเร็ว(กม./ชม.)
L 120
M 130
N 140
P 150
Q 160
R 170
S 180
T 190
U 200
H 210
VR เกินกว่า 210
V 240
W 270
Y 300
ZR เกินกว่า 240
ZR+ และตามด้วย Speed symbol อื่นหลัง ดัชนีย์รับน้ำหนัก (เช่น 245/40ZR17 86W) หมายความว่าใช้ความเร็วสูงเกิน 240km/h ได้ชั่วคราวแต่ไม่เกิน speed limit ของ speed symbol ที่ระบุตามหลัง เช่นกรณีนี้ W คือ 270 km/h
1.2 Load Index (ระบุน้ำหนักบรรทุกสูงสุด)
สัญลักษณ์เป็นตัวเลขระบุถึง ความสามารถในการรับน้ำหนักสูงสุดของยางเส้นนั้น ที่ความเร็วระบุไว้ตาม Speed Symbol ของยาง
LI กก. LI กก. LI กก.
60 250 80 450 100 800
61 257 81 462 101 825
62 265 82 475 102 850
63 272 83 487 103 875
64 280 84 500 104 900
65 290 85 515 105 925
66 300 86 530 106 950
67 307 87 545 107 975
68 315 88 560 108 1000
69 325 89 580 109 1030
70 335 90 600 110 1060
71 345 91 615 111 1090
72 355 92 630 112 1120
73 365 93 650 113 1150
74 375 94 670 114 1180
75 387 95 690 115 1215
76 400 96 710 116 1250
77 412 97 730 117 1285
78 425 98 750 118 1320
79 437 99 775 119  
1.3 ความกว้างแก้มยาง
คือความกว้างของแก้มยางหน่วยเป็นมิลิเมตร (มิใช่หน้ายางที่สัมผัสพื้นถนน) เมื่อยางนั้นใส่กับขนาดความกว้างของกระทะล้อที่แนะนำ เมื่อยางใส่กับกระทะล้อที่กว้างขึ้นตัวเลขจะมากขึ้น ถ้าใส่กับกระทะล้อที่แคบลงตัวเลขจะน้อยลง โดยมีค่าประมาณ +- 5 มม. ต่อขนาดกระทะล้อที่เปลี่ยนแปลง +- 0.5 นิ้ว ยางต่างรุ่น หรือ ยี่ห้อที่ระบุความกว้างของแก้มยางเท่ากันอาจมีความกว้างหน้ายางส่วนสัมผัสถนนไม่เท่ากัน
1.4 อัตราส่วนความสูงของยาง
อัตราส่วน % ความสูงของยางต่อความกว้างของแก้มยาง ในกรณีตัวอย่างนี้คือ 65% ของ 195 คือประมาณ 127 มม. ฉนั้นเส้นผ่าศูนย์กลาง (ความสูงรวมของยาง) คือเส้นผ่าศูนย์กลางของกระทะล้อ (ในกรณีตัวอย่างนี้คือ 15" หรือ 381 มม.) บวกความสูงของยางทั้ง 2 ขอบของกระทะล้อเท่ากับประมาณ (254มม. +381มม.) = 635มม. ฉนั้นทุกครั้ง เมื่อต้องการเปลี่ยนขนาดยางและล้อ มาตรฐานที่ติดรถต้องให้ได้ค่าความสูงรวมของยางใกล้เคียงของเดิมให้มากที่สุด
1.5 วันผลิต
จะระบุอยู่หลังอักษร DOT ( US. Department of Transportation) เป็นตัวเลข 4 หลัก
2 หลักแรกระบุ เลข 2 ตัวท้ายของปีที่ผลิต กรณีนี้ 01 หมายถึงปี 2001
2 หลักสุดท้ายระบุถึงสัปดาห์ที่ผลิตในปีนั้น กรณีนี้ 05 หมายถึง สับดาห์ที่ 5 ของปี 2001
0105 หมายถึงยางที่ผลิตในสับดาห์ที่ 5 ของปี 2001
ผู้ผลิตบางรายยกตัวอย่างเช่น BRIDGESTONE ไม่ระบุ วันผลิตตามมาตรฐาน DOT แต่จะระบุโดยใช้สัญลักษณ์พิเศษ ซึ่งถือเป็นความลับของบริษัทฯ แต่สามารถดูได้จาก stamp ระบุเดือนและปีผลิตบนแก้มยาง
1.6 UTQG code
ยางที่จำหน่ายใน สหรัฐเอมริกา และมีขนาดล้อตั้งแต่ 13 นิ้ว ขึ้นไปต้องระบุสมรรถณะของยางใน 3 หัวข้อคือ
1. TREADWEAR
2. TRACTION
3. TEMPERATURE
UTQG ย่อมาจาก "Uniform Tire Quality Grading" ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดย FMVSS (Federal Motor Vehicle Safety Standares) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา
Treadwear
ตัวเลขยิ่งสูงยิ่งดี เป็นการวัดการทนการสึกของดอกกยาง โดยทำการทดสอบ ณ เส้นทางทดสอบของรัฐบาลในรัฐ TEXAS ยาวทั้งสิ้น 400 ไมล์ ภายใต้สภาพแวดล้อมควบคุม โดยมี index มาตรฐานคือ 100 และเพิ่มขึ้นหรือลดลงครั้งละ 20 ยางที่มี tread wear 200 หมายความว่าสึกช้าเป็น 2 เท่าของยางที่มี tread wear index 100
Traction
มี 3 ระดับคือ A, B, C โดย A ถือว่าดีที่สุด เป็นการวัดความสามารถในการหยุดบนถนนเปียกทางตรง โดยทำการวัดขณะล้อเบรกจนล็อค บนสภาพพื้นผิวที่ถูกจัดทำโดยรัฐบาลบนถนนผิว concrete และ asphalt การทดสอบนี้ไม่เกี่ยวกับการเกาะถนน หรือความสามารถในการเข้าโค้งของยางนั้นๆ
Temperature
มี 3 ระดับคือ A, B, C โดย A ถือว่าดีที่สุด วัดความสามารถในการป้องกัน และการระบายความร้อนของยางทอสอบในห้องทดลองบนล้อเทียม ยางทุกเส้นต้องผ่านมาตรฐานอย่างต่ำ C ค่า C คือผ่านการทดสอบที่ 137 กม/ชม เป็นเวลา 30 นาที B 176 กม/ชม และ A 208 กม./ชม
ลมยางอ่อนคือศัตรูสำคัญที่สุดของยาง ทั้งในเรื่องอายุการใช้งาน และความปลอดภัย นอกจากการออกแบบของยางแล้ว อายุการใช้งานของยางขึ้นอยู่กับ ปัจจัยหลายชนิดโดยตัวแปรที่สำคัญที่สุดคือ ลมยาง สภาพถนน และนิสัยการขับขี่ ของผู้ขับขี่ โดยทั่วไปแล้วยางที่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง จะมีอายุการใช้งานได้หลายปี หลายหมื่นกิโลเมตร โดยยางประเภท sport high performance จะมีอายุการใช้งานสั้นกว่า ยางประเภทใช้งานทั้วไปเล็กน้อย ยางเรเดียลมีอายุการใช้งานนานกว่ายางใช้ยางใน และยางเรเดียลเสริมใยเหล็กมีอายุการใช้งานนานกว่ายางเรเดียลผ้าใบ
2.1 Wear indicator
จะมีระบุอยู่บนยางทุกเส้น เมื่อดอกยางสึกลงมาถึงระดับ wear indicator นี้แล้ว ต้องเปลี่ยนยางทันทีในบางประเทศผู้ใช้รถถือว่าทำผิดกฎหมาย ถ้ายังไม่เปลี่ยนยางเมื่อสึกถึงระดับ wear indicator
2.2 ลมยาง
เติมลมยางไม่ถูกต้องมีผลต่อ สมรรถณะ ความปลอดภัย อายุการใช้งาน และการกินน้ำมันมากผิดปกติของรถ
ลมยางอ่อนลงอย่างน้อย 1 psi ทุก 1 เดือน   แม้ยางและล้อจะอยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุด ฉนั้นควรตรวจลมอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง
ลมยางอ่อนมักมองไม่เห็นความแตกต่างด้วยตาเปล่า ยางที่ลมเหลือ 20 psi จาก 30 psi ดูด้วยสายตาอาจมองไม่เห็นความแตกต่าง ต้องใช้เครื่องมือวัดเท่านั้น
ลมยางอ่อน ก่อให้เกิดความร้อนสูงขณะขับขี่ด้วนความเร็วสูง ยิ่งอ่อนมากความร้อนยิ่งสูงมาก เป็นสาเหตุของยางระเบิด
ลมยางอ่อน ส่งผลให้ความสามารถในการรับน้ำหนักของยางลดลง ก่อให้เกิออันตรายเช่นเดียวกับยางที่บรรทุกน้ำหนักเกินกำหนด
ลมยางอ่อนทำให้อายุการใช้งานของยางสั้นลงมาก ดังตัวอย่างต่อไปนี้จากการศึกษาของผู้ผลิตยางบางรายได้ข้อมูลว่า
* ลมยางอ่อน 30% จากที่ผู้ผลิตแนะนำเช่นจาก 30 เหลือ 20 psi มีผลทำให้อายุการใช้งานของยางสั้นลงประมาณ 30%
* ลมยางอ่อน 50% จะส่งผลให้อายุการใช้งานของยางสั้นลงประมาณ 75%
ห้ามเติมลมยางเกินค่าสูงสุดที่ผู้ผลิตกำหนดโดยเด็ดขาด เป็นอันตรายอย่างยิ่ง ซึ่งพบได้บ่อยมากในรถตู้และรถกระบะในประเทศไทย
การเติมลมยางต้องเติมขณะยางเย็นเท่านั้น ยางเย็นหมายความถึงยางที่ทิ้งไว้หลังจากวิ่งระยะทางไกลมาแล้ว
ไม่น้อยกว่า1 ชม. หรือ ยางที่วิ่งด้วยความเร็วต่ำในเมืองไม่เกิน 2 - 3 กม.
ไม่มีคำแนะนำตายตัวว่าควรจะเติมลมยางเท่าไร ผู้ใช้รถต้องยึดถือตามค่าที่ผู้ผลิตรถยนต์แต่ละรุ่นแนะนำมาเท่านั้น
ค่าลมยางแนะนำนี้ ผู้ผลิตรถยนต์จะร่วมมือกับผู้ผลิตยาง แนะนำสำหรับรถแต่ละรุ่นโดยดูจาก น้ำหนักรถ การกระจายน้ำหนัก ประเภทการใช้งาน นิสัยการขับขี่ของลูกค้ารถแต่ละประเภท รวมถึงการชดเชยลักษณะการทรงตัวของรถ แต่ละรุ่นเทียบกับขนาดและ spec ของยาง โดยต้องไม่ลืมว่าเมื่อบรรทุกหนัก หรือขับขี่ด้วยความเร็วสูงต้องเพิ่มลมยางตามที่ผู้ผลิตแนะนำด้วยทุกครั้ง
เมื่อเกิดอาการยางอ่อน เนื่องจากรั่วสามารถทำการซ่อมปะได้ แต่ห้ามทำการซ่อมปะยางที่แก้มยาง หรือ ซ่อมปะหน้ายางที่มีแผลรูขนาดใหญ่กว่า 1/2 ซม.
2.3 สภาพถนน และ นิสัยการขับขี่
นิสัยการขับขี่และการเลือกใช้เส้นทางของผู้ใช้รถ มีผลต่ออายุการใช้งานของยางเป็นอย่างมาก เช่นการออกล้อฟรีหรือการเบรค จนล้อล๊อคยางสึกไปหลายกรัมซึ่งเทียบกับการขับปกติได้หลายพันกิโลเมตร
การขับขี่ที่ความเร็วสูงทำให้ยางสึกมากกว่าการใช้งานที่ความเร็วต่ำ
ยางที่วิ่งด้วนความเร็ว 110 กม/ชม สึกมากกว่ายางที่วิ่งด้วยความเร็วตาม กฏหมาย 90 กม./ชม ถึงประมาณ 30%
สภาพพื้นถนนมีผลต่อการสสึกของยาง ถนนคอนกรีตสึกเร็วกว่าถนนลาดยางมะตอย ถนนลูกรังดินแดงทำให้
ยางสึกเร็วกว่าถนนยางมะตอย เรียบ ถึง 1 เท่าตัว
ถนนที่มีสภาพร้อนทำให้ยางสึกเร็วกว่าถนนที่เย็นจากการศึกษาของผู้ผลิตยางบางรายพบว่า
* ยางวิ่งที่อุณหภูมิอากาศ 40c ยางสึกเร็วกว่าที่อุณหภูมิ 30c ถึงกว่า 25%
2.4 การสลับยาง
การสลับยางเป็นสิ่งจำเป็น การสลับยางช่วยให้ยางสึกสม่ำเสมอใก้ลเคียงกันทุกเส้น ช่วยให้ยางแต่ละเส้นในรถคันนั้นมีอายุการใช้งานใก้ลเคียงกัน การสลับยางควรทำตามระยะทางที่กำหนดในคู่มือรถ ถ้าไม่มีกำหนดควรทำทุก 5000 กม. สำหรับรถใช้งานหนัก ขับขี่ความเร็วสูงหรือรถเก่าช่วงล่างไม่ดี หรือทุก 10000 กม. สำหรับรถใช้งานทั่วไป การสลับยางครั้งแรกถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่สุดและควรทำที่ 5000 กม. แรก
- การสลับยางสำหรับรถที่ใช้ยางทั้งสี่ล้อขนาดเท่ากัน ทั้งยางที่ระบุทิศทาง และไม่ระบุทิศทางการวิ่งสลับเป็น ขึ้นลง
    
-การสลับยางสำหรับยางขนาดหน้าหลังไม่เท่ากัน
การถ่วงล้อ
ล้อที่หรือยางที่ไม่สมดุลย์จะทำให้เกิดอาการสั่นที่พวงมาลัย เป็นสาเหุตให้การขับขี่เกิดความเครียด ยางและชิ้นส่วนช่วงล่างมีอายุการใช้งานสั้นกว่าปกติ การสั่นอาจเกิดจากสาเหุตอื่นที่ไม่ใช่ยางได้เช่นกัน และอาจเกิดจากยางบวมหรือโครงสร้างผิดปกติ เมื่อเริ่มรู้สึกถึงอาการสั่นให้รีบเช็คถ่วงล้อทันที และต้องมีการถ่วงล้อทุกครั้งเมื่อมีการสลับยาง โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญประจำ MAX สาขาใก้ลบ้านท่านเมื่อเริ่มรู้สึกถึงอาการสั่น
การตั้งศูนย์ล้อ
การตั้งศูนย์ล้อคือการปรับค่า TOE (IN, OUT), ค่า แคมเบอร์ (+, -) , ค่ามุมแคสเตอร์ ให้เป็นไปตามที่ผู้ผลิตกาหนด รถที่มีศุนย์ล้อไม่ถูกต้องจะทำให้ยางสึกผิดปกติ และอาจสึกจนดอกหมดได้เร็วมาก ทำให้การตอบสนองจากพวงมาลัยผิดปกติและรถอาจจะวิ่งไม่ตรงทิศทาง ฉนั้นเมื่อเกิดการสึกของยางไม่ผิดปกติ หรือการผิดปกติจากการตอบสนองของพวงมาลัยให้ดำเนินการ นำรถเข้าเช็คศูนย์โดยด่วน การตั้งศูนย์อาจต้องทำ 2 ล้อหน้าหรือทั้ง 4 ล้อแล้วแต่อาการและชนิดของระบบกันสะเทือนรถแต่ละรุ่น โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญประจำ MAX ทุกสาขาซึ่งใช้เครื่องมือชั้นเยี่ยมพร้อมใบรายงานผลคอมพิวเตอร์ ให้ลูกค้าทุกราย
2.6 การเก็บรักษายางอะไหล่
ลมยางสำหรับยางอะไหล่ควรจะสูงกว่าค่าแนะนำขั้นสูงของคู่มือรถแต่ละรุ่นประมาณ 4 PSI และปรับลงเมื่อต้องนำมาใช้ควรเช็คลมยางอะไหล่เดือนละครั้ง

ขอขอบคุณ อีเมล์จาก พี่หนุ่ย AP Honda มา ณ ที่นี้ค่ะ

กลับ

   
Hosted by www.Geocities.ws

1