ยามีบทบาทในชีวิตประจำวันอย่างไร?

โดยธรรมชาติ เมื่อมนุษย์เกิดความเจ็บป่วยขึ้นมาเมื่อใด ก็จะหาทางทำให้บรรเทาหรือหายขาด ไปด้วยวิธีการต่างๆ บางคนอาจจะไปพบแพทย์ บางคนอาจจะหาซื้อยา รับประทานเอง บางคนอาจจะหาสมุนไพรมาใช้ หรือแม้กระทั่งบางคน อาจจะบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือใช้กรรมวิธีทางไสยศาสตร์ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐาน ความเชื่อของแต่ละบุคคล ในปัจจุบันยามีบทบาท กับชีวิตประจำวันของมนุษย์มาก เนื่องจากสาเหตุหลายประการ กล่าวคือเมื่อความก้าวหน้า ทางวิทยาการต่างๆ ทำให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ด ีและมีชีวิตยืนยาวขึ้น อย่างไรก็ตามมนุษย์ กลับมีโอกาสออกกำลังกายน้อยลง และต้องสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยง ของโรคต่างๆ มากขึ้น จึงเป็นเหตุให้เกิด ความเจ็บป่วยต่างๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหลัก ทำให้ต้องเกี่ยวข้องกับยา
ในชีวิตประจำวัน วิถีทางของการใช้ยา มีอยู่สองทางใหญ่ๆ คือ ทางแรกผู้ป่วยไปหาแพทย์ ตามโรงพยาบาลหรือคลินิก เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วย แล้วแพทย์วินิจฉัย และให้การรักษาโดยจ่ายยา หรือเขียนใบสั่งให้ไปรับ หรือซื้อยาเอง ทางที่สองเมื่อผู้ป่วย เกิดอาการเจ็บป่วยที่ไม่รุนแรง จะรักษาตนเองโดยไปหาซื้อยา จากร้านขายยา
ความเจ็บป่วยดังกล่าว ได้แก่ อาการนอนไม่หลับ มึนงง ไข้หวัด ท้องผูก ท้องเดิน ปวดศีรษะ ปวดท้อง อาการเกี่ยวกับผิวหนัง เป็นต้น นอกจากนั้นบางคน อาจจะใช้สารซึ่งมีฤทธิ์เป็นยา โดยไม่คำนึงว่าเป็นยา เช่น เครื่องดื่มที่มีส่วนผสม แอลกอฮอล์และคาเฟอีน
ในประเทศไทยนั้น เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยมากมาย จนการบริการด้านสุขภาพ จากโรงพยาบาลของรัฐ มีไม่เพียงพอกับความต้องการ ประกอบกับการใช้บริการดังกล่าว จากโรงพยาบาลและคลินิกเอกชน ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงแก้ปัญหา ด้วยการหาซื้อยาตามร้านขายยา และกลายเป็นเหมือนวัฒนธรรม การรักษาโรคด้วยตนเองในสังคมไทย
จะเห็นได้ว่าปัจจุบัน ยาได้กลายเป็นส่วนหนึ่ง ของการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามเจ็บป่วย ดังนั้นการปฏิบัติตนเกี่ยวกับ การใช้ยาในแต่ละวันอย่างถูกต้อง จึงเป็นสิ่งจำเป็นช่วยให้ชีวิต ของเราดำเนินไปอย่างผาสุก
ข้อมูลยาที่จำเป็นต่อการรักษาโรคอย่างมีประสิทธิภาพ
ในชีวิตประจำวัน โอกาสใช้ยาผิดหลักมีได้บ่อยครั้ง ยาทุกตัวแม้แต่ยาแก้ปวดพื้นๆ เช่น แอสไพริน อาจมีผลข้างเคียง ที่มีโทษในผู้ใช้ยาบางราย โอกาสเกิดผลข้างเคียง ที่ไม่ต้องการจะทวีขึ้น เมื่อใช้ยาพร้อมกันตั้งแต่สองตัวขึ้นไป ในบางครั้งยาเกิดปฏิสัมพันธ ์กับอาหารและเครื่องดื่ม การใช้ยาร่วมกันอาจเกิด การเสริมฤทธิ์หรือหักล้างฤทธิ์ยา หรือแม้แต่การใช้ยาร่วมกัน อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ชนิดใหม่ที่นึกไม่ถึง ซึ่งไม่สามารถคาดคะเน จากฤทธิ์ของยาแต่ละตัวได้
การละเลยหรือเพิกเฉย ทำให้หลายคนสูญเสียประโยชน์ ที่ควรได้จากยา การรับประทานยาไม่ถูกต้อง ทำให้อำนาจการรักษาโรคหมดไป นำไปสู่การหวนกลับเป็นโรคใหม่ หรือก่อให้เกิดผล ไม่พึงประสงค์ของยา แม้แต่แพทย์หรือเภสัชกรก็ตาม อาจจ่ายยาที่ไม่จำเป็นหรือผิดตัว ทำให้ผู้ป่วยต้องเผชิญกับ ผลข้างเคียงโดยไม่ก่อประโยชน์ ในการรักษา
เนื่องจากการขายยา เป็นธุรกิจขนาดมหาศาล จำนวนและมูลค่า ของยาที่ใช้แต่ละปีจึงสูงมาก การใช้ยาผิดหลัก และผลไม่พึงประสงค์จากยา เป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่ง ของรายจ่ายประเทศ ในการดูแลสุขภาพประชาชน ประชาชนนับหมื่นคน ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล จากผลไม่พึงประสงค์ของยา ผู้ป่วยในโรงพยาบาลส่วนหนึ่ง ต้องเสียชีวิตจากผลไม่พึงประสงค์ของยา ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ ประชาชนจำต้องรู้เกี่ยวกับยา ที่บริโภคให้มากที่สุด
ข้อมูลผู้ป่วยที่สำคัญต่อแพทย์และเภสัชกร
ในกิจกรรมต่างๆ ของชีวิตประจำวัน การตัดสินใจอย่างถูกต้อง ขึ้นกับข้อมูลที่แม่นยำ ในบางครั้งการตัดสินใจ เกี่ยวกับการใช้ยาเกิดขึ้น โดยไม่มีข้อมูลสนับสนุนเพียงพอ เกิดโดยขาดการสื่อสารที่ดี ระหว่างผู้จ่ายยาและผู้ใช้ยา เพื่อหลีกเลี่ยงการเพิกเฉยเหล่านี้ ทั้งสองฝ่ายควรซักถามโต้ตอบกัน อย่างครบถ้วนทุกเรื่อง ตั้งแต่ยาอื่นที่ใช้ขณะนั้น จนถึงวิถีดำเนินชีวิตของผู้ป่วย ผลและปฏิสัมพันธ์ของยาที่ใช้ด้วยกัน ถ้าทำได้เช่นนี้จะช่วยให้ การรักษาที่เหมาะสม ด้วยปริมาณยาที่ถูกต้องเกิดขึ้นได้ ข้อมูลเกี่ยวกับยาเหล่านี้ ยังจำเป็นต่อทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล และโภชนากร อีกด้วย
ข้อมูลที่ควรแจ้งแก่แพทย์หรือเภสัชกรได้รับรู้
ยาอื่นๆ ทุกตัว (เช่น ยาตามใบสั่ง ยาสามัญ วิตามิน สารเสริมอาหาร เป็นต้น) ที่กำลังใช้อยู่
ประวัติการแพทย์ ท่านมีความเจ็บป่วยเรื้อรัง อย่างหนึ่งอย่างใดหรือไม่ เป็นโรคตับหรือโรคไต ความดันเลือดสูง โรคหัวใจ และต้อหินหรือไม่
ท่านกำลังตั้งครรภ์ วางแผนจะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร (ยาหลายตัวผ่านจากเลือดแม่ ไปยังทารกในครรภ์ และน้ำนมมารดาได้)
ท่านแพ้สิ่งใดหรือยาใดบ้าง
ท่านเคยประสบปัญหา จากการรับประทานยาในอดีตเช่นไร ตลอดจนผลข้างเคียงที่ เคยประสบจากการใช้ยา
ท่านดื่มสุรา เครื่องดื่มซึ่งมีคาเฟอีน หรือสูบบุหรี่หรือไม่
เมื่อได้รับยาจากแพทย์หรือเภสัชกร ผู้ใช้ยาควรสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับยานั้นอย่างไรบ้าง?
ในกระบวนการรักษาโรค ปัญหาการสื่อสารระหว่าง บุคลากรการแพทย์และผู้ป่วย เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง ที่ทำให้การรักษาโรค ประสบความล้มเหลว แม้บริษัทผู้ผลิตยา จะให้ข้อมูลเรื่องยาแก่ผู้ใช้ยา แต่ประชาชนส่วนหนึ่ง ยังรู้สึกว่าตนเองได้รับข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับการใช้ยาไม่เพียงพอ ใช้ประกอบการรักษาโรค จากการศึกษากระบวนการ รักษาโรคทั่วไปพบปัญหา ขาดการสื่อสารระหว่างแพทย์ และเภสัชกรกับผู้ป่วย โดยที่
มีผู้ป่วยส่วนน้อยไม่เกิน 5% สอบถามข้อมูลเรื่องยากับแพทย์
แพทย์สรุปว่าการนิ่งเงียบ ของผู้ป่วยหมายถึง ความพึงพอใจต่อข้อมูลที่ได้รับ
แพทย์ส่วนใหญ ่และเภสัชกรแทบทุกคน กล่าวว่าได้ให้ข้อมูลสิ่งพิมพ์ เกี่ยวกับยาแก่คนไข้แล้ว เช่นแผ่นพับ หรือฉลากยาที่อยู่บนขวดยา
ผู้ป่วยประมาณ 6% กล่าวว่าได้รับข้อมูลสิ่งพิมพ์ เรื่องยาจากคลินิกแพทย์ อีก 15% กล่าวว่าได้รับข้อมูล จากร้านขายยา
มีปัจจัยหลายประการ ที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สอบถาม ปัญหากับแพทย์หรือเภสัชกร เช่น ไม่รู้ว่าจะถามอะไร รู้สึกเกรงขามต่อแพทย์ หรือรู้สึกว่าการถามปัญหา เป็นการไม่เชื่อใจความสามารถแพทย์ ผู้ป่วยอาจรู้สึกไม่อยากรบกวน เวลาอันมีค่าของแพทย์ หรืออาจจะงุนงง และสับสนกับศัพท์ต่างๆ ที่แพทย์พูด ขณะทำการตรวจวินิจฉัยโรค ผู้ป่วยอาจรู้สึกว่า เป็นการผิดที่จะรู้เรื่องราว มากกว่าที่แพทย์บอก ที่ยกตัวอย่างข้างต้น ไม่ใช่เหตุผลสมควร ที่ผู้ป่วยต้องปิดปากเงียบนิ่งเฉย ไม่ยอมซักถามอะไร เพราะในที่สุดตัวผู้ป่วยเอง จะเป็นผู้ที่รับผลทุกอย่างจากยา ที่รับประทานหรือจากการ ละเว้นการรับประทานยา
ต่อไปนี้เป็นคำถามที่ผู้ป่วย ควรถามกับแพทย์ หรือเภสัชกรเกี่ยวกับยาที่ได้รับ ควรจะบันทึกคำถามคำตอบ ไว้ในสมุดพกสำหรับ การปฏิบัติตนในอนาคต โดยเฉพาะ เมื่อได้รับยาหลายตัว
ชื่อยา ยาส่วนใหญ่มีชื่อสองแบบ คือชื่อการค้าและชื่อทั่วไป ควรจะรู้ชื่อยาทั้งสองแบบ
ข้อบ่งใช้ ยานั้นใช้สำหรับรักษาโรค หรืออาการอะไร จะสังเกตุผลยาดังกล่าว ได้ชัดเจนเมื่อใด และจะทำอย่างไร เมื่อเริ่มเห็นผลยา ผลของยาต่อ กระบวนการเกิดโรคที่เป็น
จะรับประทานยาเมื่อใดและอย่างไร นานแค่ไหน
จะจ่ายยาแบบชื่อทั่วไป แทนแบบชื่อการค้า ซึ่งแพงกว่าได้ไหม อย่างไรก็ดี ยาใหม่หลายตัว อาจไม่มีแบบชื่อทั่วไป หรือแพทย์อาจนิยมใช้ แบบชื่อการค้าด้วยเหตุผลที่ดีก็ได้
ผลข้างเคียงที่เกิดได้บ่อยครั้งเป็นอย่างไร อาการอย่างไรที่สำคัญ และต้องรายงานปรึกษาแพทย์ ในทันทีที่เกิดขึ้น อาการอย่างไรที่ไม่สำคัญ เช่น ยาบางตัวทำให้ปัสสาวะเปลี่ยนสี การทราบข้อมูลเหล่านี้ล่วงหน้า ช่วยไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกตระหนก หรือสับสนโดยไม่จำเป็น ถ้าหากท่านรับทราบข้อมูลเพียงพอ จะสามารถแยกแยะอาการไม่พึงประสงค์ ของยาที่รุนแรงได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่เกิด อย่างไรก็ตามแพทย์บางคน อาจกลัวว่าผู้ป่วยจะรู้สึกว่าตนเอง มีอาการไม่พึงประสงค์จากอิทธิพล ของการให้คำแนะนำหรือข้อมูลเกี่ยวกับยา
ควรจะหลีกเลี่ยงอาหาร ยาอื่น เครื่องดื่ม หรือกิจกรรมอะไรบ้าง ในระหว่างรับประทานยา ยารักษาโรคหลายตัวอาจจะถูก ทำลายหรือเริ่มออกฤทธิ์ช้าลง โดยการผสมกับอาหารในกระเพาะ ยาบางตัวต้องรับประทานพร้อมอาหาร เพื่อหลีกเลี่ยงการระคายเคือง กระเพาะอาหาร ยาหลายตัวอาจทำให้ มึนงงซึ่งไม่ควรรับประทาน ก่อนการขับรถ ยาบางตัวอาจมีฤทธิ์ทบทวีขึ้น เมื่อดื่มสุราหรือยาอื่นร่วมไปด้วย
มีข้อมูลยาที่เป็นเอกสารให้หรือไม่ ถ้ามีจะเป็นส่วนช่วยให้ผู้ป่วย จดจำและเข้าใจคำแนะนำ ของแพทย์ได้ดีขึ้น หนังสือคู่มือ แผ่นพับ และแม้แต่บทความ ในนิตยสารก็เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ ต่อผู้ป่วยทั้งนั้น
มีทางเลือกอื่นแทนการใช้ยาหรือไม่ ภาวะความดันเลือดสูง อาจรักษาโดยการลดน้ำหนัก การออกกำลังกาย การลดปริมาณเกลือแกง หรือน้ำปลาในอาหาร หรือการใช้มาตรการ ดังกล่าวร่วมกัน ผู้ป่วยที่มีกำลังใจและความมุ่งมั่นสูง อาจต้องการทดลองเปลี่ยนแปลงลักษณะ การดำเนินชีวิตก่อนจะเริ่มใช้ ยาลดความดันเลือด
เภสัชกรเป็นผู้ที่รู้ข้อมูล และมีความรู้เรื่องยามากเป็นพิเศษ เมื่อนำใบสั่งยาไปขอซื้อยา จากเภสัชกรในร้านขายยา เภสัชกรจะพิมพ์ หรือเขียนคำสั่งการใช้ยาของแพทย์ ลงในฉลากบนขวดหรือกล่องยา หน้าซองยา พร้อมทั้งเพิ่มเติมข้อแนะนำอื่นๆ ที่จำเป็นลงไปด้วย เช่น การเก็บรักษายา คำแนะนำในการใช้ยา เป็นต้น อย่างไรก็ตามอาจมีบางสิ่งบางอย่าง ที่ผู้ป่วยอยากรู้แต่ไม่ปรากฏ บนฉลากยา ในกรณีเช่นนั้นผู้ป่วย สามารถขอให้เภสัชกร ติดต่อแพทย์ผู้สั่งจ่ายยา เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ หรือในทางปฏิบัติทั่วไปก็คือ สอบถามเพิ่มเติมได้จากเภสัชกรโดยตรง
หนทางที่จะทำให้การสื่อสาร ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย หรือเภสัชกรกับผู้ป่วย เพิ่มมากขึ้นก็โดยการที่ ผู้ป่วยต้องซักถามปัญหามากขึ้น ผู้ป่วยต้องรู้สึกมีอิสระและสบายใจ ในการโทรศัพท์หรือติดต่อกับแพทย์ หรือเภสัชกรที่สำนักงานหรือร้านขายยา เมื่อเกิดปัญหาหรือความไม่เข้าใจขึ้นมา หลังจากออกจากสำนักงาน หรือร้านขายยาแล้ว ถ้าปรากฏว่าแพทย์หรือเภสัชกรผู้นั้น มีงานยุ่งหรือไม่มีเวลาจะให้ข้อมูล เกี่ยวกับปัญหาการใช้ยาได้อย่างเพียงพอ ผู้ป่วยควรพิจารณา เปลี่ยนไปสอบถามหรือใช้บริการ จากแพทย์หรือเภสัชกรผู้อื่นที่มีเวลาแทน
การซื้อยาตามใบสั่งแพทย์จากร้านขายยา
ในธรรมเนียมปฏิบัติ การเขียนใบสั่งยาของแพทย์ ข้อมูลที่เขียนประกอบด้วย ชื่อและข้อมูลผู้ป่วย ชื่อยาซึ่งเป็นชื่อทั่วไป หรือชื่อการค้า รูปแบบยาและความแรง จำนวนยาที่จ่าย และวิธีการใช้ยา ตลอดจนชื่อ และที่ทำงานของแพทย์ผู้สั่งยา นอกจากลายมือ ซึ่งค่อนข้างอ่านยากแล้ว แพทย์มักใช้คำย่อภาษาลาติน ในการสื่อสารกับเภสัชกร ผ่านไปยังผู้ใช้ยา
เมื่อรับใบสั่งยาจากแพทย์ และนำไปซื้อยาจากเภสัชกร ควรปฏิบัติตนดังต่อไปนี้
ควรซื้อยาในใบสั่งแพทย์ทั้งหมด จากร้านขายยาเดียวกัน ซึ่งท่านคุ้นเคยเป็นประจำ ซึ่งจะช่วยให้ท่านหลีกเลี่ยง ปัญหารุนแรงจากการเกิดปฏิกริยา ต่อกันระหว่างยาทั้งหลาย ที่ท่านใช้อยู่
ภาชนะบรรจุยาบางชนิด ใช้ฝาซึ่งออกแบบป้องกัน การเปิดโดยเด็กเล็ก ทำให้ไม่สะดวกในการเปิด สำหรับผู้ใช้ยาทั่วไป โดยเฉพาะถ้าท่านอยู่ในวัยสูงอายุ ท่านควรจะขอให้เภสัชกรจ่ายยา ในภาชนะบรรจุที่เปิดง่าย ถ้าหากท่านไม่มีเด็กเล็กในบ้าน
ถ้าหากท่านจำเป็น ต้องซื้อยาในใบสั่งแพทย์ จากร้านขายยาต่างร้านกัน กรุณานำยาที่ท่านซื้อ จากร้านหนึ่งไปประกอบการซื้อยา จากอีกร้านหนึ่งด้วย เพื่อเป็นข้อมูลประกอบ การตัดสินใจของเภสัชกร
เมื่อรับยาจากเภสัชกรแล้ว กรุณาอ่านฉลากยา ขณะที่ยังอยู่ในร้านขายยาให้เข้าใจ ถ้ามีข้อสงสัยใดๆ ให้ซักถามเพิ่มเติม จากเภสัชกรได้ เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาด ในการใช้ยาเมื่อนำกลับบ้านไปแล้ว
ถ้าหากยาที่แพทย์สั่งอยู่ในรูปชื่อการค้า และเป็นผลิตภัณฑ์ยาจากต่างประเทศ ท่านอาจขอให้เภสัชกรใช้วิจารณญาน เลือกจ่ายยาชนิดเดียวกัน แต่เป็นยาที่ผลิตในประเทศ และมีมาตรฐานใกล้เคียงกันได้ โดยทั่วไปราคายาที่ผลิตในประเทศ จะต่ำกว่ายาจากต่างประเทศมาก อย่างไรก็ดียาใหม่หลายตัว อาจไม่มีแบบชื่อทั่วไป หรือแพทย์อาจนิยมใช้ แบบชื่อการค้าด้วยเหตุผลที่ดีก็ได้
การใช้ประโยชน์ฉลากยาและเอกสารกำกับยา
ข้อมูลต่อไปนี้ควรจะแสดงอยู่ ในฉลากยาบนภาชนะบรรจุยาทุกประเภท ที่ท่านได้รับจากเภสัชกร
ชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ร้านขายยาที่ท่านซื้อ
วันเดือนปีที่จ่ายยา
ชื่อยา หรือตำรับยา
ชื่อผู้ใช้ยา (กรณีซื้อยาจากร้านขายยาทั่วไปอาจไม่มีข้อมูลนี้บนฉลากยา ควรขอให้เภสัชกรเขียนเพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ของท่าน)
ข้อบ่งใช้หรือวัตถุประสงค์ของยา
จะใช้ยาวันละกี่ครั้งและใช้เวลาใดบ้าง
จะใช้ครั้งละมากน้อยเพียงใด
คำแนะนำพิเศษในการใช้ การเก็บรักษา หรือการเตรียมยาก่อนใช้
ผู้ใช้ยาควรตรวจฉลากว่า มีข้อมูลดังกล่าวครบถ้วนชัดเจน และซักถามสิ่งที่ไม่เข้าใจ หรือไม่ชัดเจนบนฉลากยา ก่อนออกจากร้านขายยา นอกจากนั้นยาส่วนใหญ่ จะมีเอกสารกำกับยา อยู่ในภาชนะบรรจุดั้งเดิม ที่มาจากบริษัทผู้ผลิต ถ้าท่านซื้อทั้งภาชนะบรรจุ ควรนำเอกสารกำกับยามาอ่าน อย่างถี่ถ้วนเมื่อกลับถึงบ้าน ก่อนการใช้ยา เอกสารดังกล่าวจะเป็น ประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้ยา ในกรณีที่เกิดปัญหาจากการ ตีความหมายข้อมูล ในเอกสารกำกับยา กรุณาสอบถามได้จากเภสัชกร
ควรจะเลือกซื้อยาอย่างไรให้ประหยัดค่าใช้จ่าย
ราคายาเป็นค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ ที่เกิดขึ้นในการรักษาโรค มีองค์ประกอบหลายอย่าง ที่ผู้บริโภคจะพิจารณา เพื่อลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ ทั้งจากยาตามใบสั่งแพทย์ และยาสามัญที่ซื้อกันเองโดยทั่วไป สิ่งเหล่านี้ได้แก่
การซื้อยาในชื่อทั่วไป เมื่อบริษัทผู้ผลิตยาวิจัย และพัฒนายาใหม่จนสามารถ ขอขึ้นทะเบียนยาได้ ต้องใช้เวลานับสิบปี และค่าใช้จ่ายนับพันล้านบาท บริษัทผู้ผลิตยาจะได้รับ ลิขสิทธิ์ยานั้นระยะหนึ่ง (หลายปี) ซึ่งในช่วงนี้ผู้ผลิต ต้องแสวงหาผลประโยชน์ จากการลงทุนกลับคืนอย่างเต็มที่ ด้วยการตั้งราคายาไว้สูง เมื่อลิขสิทธิ์ยาหมดลง บริษัทผู้ผลิตอื่นสามารถผลิตยา ขอขึ้นทะเบียนและขายได้ ภายใต้ชื่อทั่วไป หรือชื่อการค้าใหม่ของตน ส่วนใหญ่ยาเหล่านี้จะมี ขนาดความแรง และวิธีใช้เหมือนยาต้นฉบับ โดยมีรูปลักษณะ และคุณภาพใกล้เคียงกัน แต่มีราคาถูกกว่ามาก เนื่องจากไม่ต้องลงทุนวิจัยและพัฒนายา
ในกรณีการซื้อยาตามใบสั่งแพทย์ ท่านอาจขอให้เภสัชกรจ่ายยา ชื่อทั่วไปแทนยาชื่อการค้าได้ ถ้าหากยาดังกล่าว มีคุณภาพใกล้เคียงกัน แต่ในบางกรณี อาจจำเป็นต้องใช้ยาตามชื่อการค้า ที่แพทย์สั่งเนื่องจากแพทย์ระบุว่า ไม่ต้องการให้เภสัชกรจ่ายยาแทน หรือเป็นยาชื่อการค้า ที่ไม่มียาชื่อทั่วไปที่มีคุณภาพ ใกล้เคียงในการรักษา ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากกระบวนการ ผลิตยาไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ดีผู้ป่วยที่มีความวิตก เรื่องราคายาควรขอให้แพทย์ผู้รักษา เขียนใบสั่งยาที่มียาชื่อทั่วไปให้ตน
การเลือกร้านขายยา มีปัจจัยหลายอย่างที่ใช้ประกอบการเลือกร้านขายยา ได้แก่
ระยะทางและความสะดวก ร้านขายยาที่อยู่ใกล้บ้าน หรือที่ทำงานของท่าน จะเป็นตัวเลือกที่ดี สำหรับผู้ที่ไม่ได้ขับรถ ต้องการซื้อยาเพื่อรักษา ความเจ็บป่วยอย่างเร่งด่วน เช่น เด็กตัวร้อนจัด หรือซื้อยาธรรมดาสามัญ เช่น ยาแก้ปวดศีรษะ
ราคายา การสืบราคาจากร้านขายยาหลายๆ ร้าน จะช่วยประหยัด ค่าใช้จ่ายเรื่องยาได้มาก เนื่องจากแต่ละร้าน อาจมีนโยบายทางการค้า ไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ดียาราคาถูก อาจสัมพันธ์กับคุณภาพ การให้บริการหรือยาที่ลดลง เช่น ขาดคำแนะนำที่ถูกต้อง ยาเก็บรักษาในร้าน อย่างไม่ถูกต้องมาตรฐาน หรือแม้กระทั่งในกรณีที่ร้ายแรง คือยาไม่ได้มาตรฐาน เช่น ยาหมดอายุ เป็นต้น
เภสัชกรประจำร้าน เภสัชกรจะให้คำตอบ หรือคำแนะนำที่ถูกต้อง เกี่ยวกับยาที่ซื้อตามใบสั่งแพทย์ ประเมินอาการผู้ป่วยเบื้องต้น และพิจารณาเลือกยาให้ อย่างมีหลักการ ในกรณีที่ผู้ใช้ยารักษาตนเอง ทั้งนี้ตัวผู้ใช้ยาเอง จะต้องเปิดใจและรู้สึกสะดวกสบาย ในการตอบข้อซักถามของเภสัชกร ซึ่งมักจะเป็น คำถามที่คล้ายคลึง กับที่แพทย์ถามผู้ป่วย ก่อนการให้การรักษาหรือจ่ายยา
การซื้อยาคราวละมากๆ การซื้อยาสามัญที่ใช้ประจำ คราวละมากๆ เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาแก้ปวดลดไข้ ยาแก้แพ้ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้มาก แต่จะต้องปรึกษา กับเภสัชกรก่อนทุกครั้ง ที่จะซื้อคราวละมากๆ ดังกล่าว เนื่องจากยาบางอย่างมีอายุสั้น หรือจะเสื่อมคุณภาพอย่างรวดเร็ว ให้สังเกตุวันเดือนปี หมดอายุของยา และไม่นำมาใช้เมื่อเกินวันเวลาดังกล่าว
วางนโยบายการซื้อยา ท่านที่สามารถเบิกค่ายา จากหน่วยราชการต้นสังกัด ที่ทำงาน หรือการประกันสุขภาพ ควรวางนโยบาย การใช้ยาที่มีในรายการ บัญชียาหลักแห่งชาติ เนื่องจากเบิกได้เต็มราคา ในกรณีของผู้ที่ทำงาน กับหน่วยงานขนาดใหญ่ เช่น มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล มักจะมีสวัสดิการ บริการสุขภาพให้กับบุคลากร ฟรีหรือในราคาที่ย่อมเยา การซื้อยาจากสวัสดิการดังกล่าว จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้
อย่างไรก็ตาม วิธีลดค่าใช้จ่ายเรื่องการรักษาความเจ็บป่วยที่ดีที่สุด คือการทำตัวให้ปราศจากโรค โดยการรักษาสุขภาพตนเอง ให้แข็งแรง และมีภูมิต้านทานต่อโรค
หลักปฏิบัติทั่วไปในการใช้ยากับเด็กเล็ก
เด็กเล็กเป็นกลุ่มประชากร ที่ต้องใช้ความระมัดระวัง และการปฏิบัติเป็นพิเศษ ในการใช้ยา เนื่องจากมีสภาพพื้นฐาน ของร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม แตกต่างจากผู้ใหญ่
ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนซื้อยาไปใช้กับเด็กเล็ก
เก็บยาทุกประเภทให้พ้นมือเด็ก
ใช้ภาชนะบรรจุชนิดมีฝาพิเศษป้องกันการเปิดใช้เองโดยเด็ก
ไม่ควรให้ยาแก้ปวดแอสไพริน กับเด็กที่มีการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อไวรัส
อย่าพูดเทียบเคียงยา หรืออ้างถึงยากับเด็ก ในความหมายของ ขนม ขนมหวาน ของหวาน เนื่องจากอาจทำให้เด็กเข้าใจสับสน
อย่ารับประทานยาต่อหน้าเด็กเล็ก เนื่องจากเด็กในวัยนี้ชอบเลียนแบบ พฤติกรรมของพ่อแม่ หรือผู้ใหญ่ที่เห็น
การให้ยาซึ่งมีรสชาดไม่ดีแก่เด็กเล็ก
ก่อนให้ยา ควรให้อมก้อนน้ำแข็ง หรือดูดไอสครีมแท่ง เพื่อทำให้ลิ้นชา รับรสได้น้อยลง
แช่ยาน้ำให้เย็นก่อนให้ยาแก่เด็ก
ผสมยาน้ำกับน้ำผลไม้ เพื่อกลบรสยา
ผสมยาน้ำหรือยาเม็ด ซึ่งบดละเอียดกับอาหารเด็ก เช่น ข้าวต่างๆ ของหวาน
หลังจากให้รับประทานยาแล้ว ควรให้เด็กล้างคอด้วยน้ำเย็น น้ำผลไม้ หรือไอสครีม
ถ้าเด็กเล็กมีอาการคลื่นไส้ ควรให้เด็กดื่มเครื่องดื่ม ชนิดอัดลมแต่ไม่มีฟองฟู่ (ไม่ควรแช่เย็น) เช่น น้ำขิง น้ำผลไม้ ซึ่งทำให้รู้สึกสบายท้อง การขจัดฟองฟู่ทำได้ โดยเทเครื่องดื่มถ่ายกลับไปกลับมา ระหว่างแก้วสองใบจนกระทั่งหมดฟอง
หลักปฏิบัติในการรับประทานยาทั่วไป
ก่อนรับประทานยาเป็นครั้งแรก ควรอ่านฉลากยา หรือเอกสารกำกับยาให้เข้าใจก่อน และใช้ยาเฉพาะกับอาการ หรือข้อบ่งใช้ที่ระบุไว้ ในฉลากยาเท่านั้น และควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
เก็บยาไว้ในภาชนะบรรจุดั้งเดิม ถ้าต้องการถ่ายยา ไปไว้ในภาชนะใหม่ ต้องเขียนฉลากยาที่มีชื่อยาและวิธีใช้อย่างเดียวกับ ที่มีบนฉลากยาเดิม
อย่าผสมยาสองอย่างที่ต่างกัน ลงในภาชนะบรรจุเดียวกัน
รับประทานขนาดที่ถูกต้อง ในเวลาที่กำหนด ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
อย่ารับประทานยาในที่มืด ควรเปิดไฟและอ่านฉลากยา ก่อนรับประทาน ยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับ จะทำรูปแบบเม็ดยา ให้มีลักษณะพิเศษที่จำแนก ได้ง่ายจากยาอื่น เพื่อป้องกันการหยิบยาผิด ในที่ซึ่งมีแสงสว่างน้อย
อย่าหักแบ่งเม็ดยา นอกจากว่าเม็ดยา จะมีร่องบากแบ่งไว้ให้ เพราะการหักแบ่ง จะทำให้ได้รับขนาดยาไม่คงที่ ควรซื้อยาเม็ด ตามความแรงที่ต้องการ
ยาเม็ดเคลือบ ชนิดชะลอการละลาย จะมีแผ่นฟิลม์บางๆ เคลือบอยู่ชั้นนอกสุด ซึ่งชะลอการแตกตัว และละลายของเม็ดยาให้เกิดในลำไส้ ไม่ควรรับประทานยาดังกล่าว กับนมหรือยาลดกรด เนื่องจากจะทำให้เม็ดยา แตกตัวละลายในกระเพาะอาหาร
อย่าเคี้ยวเม็ดยา ขบเม็ดยา หรือละลายยาเม็ด ชนิดชะลอการละลาย หรือออกฤทธิ์เนิ่น ให้รับประทาน โดยการกลืนทั้งเม็ดกับน้ำ
อย่าหยุดรับประทานยาโดยพละการ หรือก่อนกำหนด ให้ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนหยุดการใช้ยา
อย่าแบ่งปันยากันรับประทาน
อย่าเก็บยาตามใบสั่งแพทย์ ที่เหลือตกค้างเอาไว้ ถ้าไม่ทราบข้อมูล ของยาที่พบหลงเหลืออยู่ในบ้าน ให้กำจัดทิ้ง
ยาทุกตัวจะต้องมีการหมดอายุ ทิ้งยาที่หมดอายุแล้วทันทีที่ตรวจพบ
จดชื่อและหมายเลขโทรศัพท์ ของแพทย์ประจำ ตำรวจ โรงพยาบาลและร้านขายยา ที่อยู่ใกล้บ้านที่สุด ไว้ในที่ซึ่งมองเห็นง่าย เพื่อใช้ในการติดต่อ เมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินหรือเร่งด่วน
เมื่อต้องเดินทางไปต่างประเทศ และต้องนำยาควบคุมพิเศษ ติดตัวไปด้วย ต้องเก็บยาไว้ในภาชนะบรรจุดั้งเดิม ที่มีการเขียนฉลากชัดเจน
การใช้ยาซึ่งมีกำหนดการใช้ซับซ้อน
สำหรับคนทั่วไป การจดจำว่าต้องรับประทานยา วันละครั้งในตอนเช้าหรือก่อนนอน ดูจะเป็นเรื่องง่าย แต่ปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อยาต่างๆ นั้นมีกำหนด การรับประทานบ่อยขึ้น และเวลารับประทานไม่เหมือนกัน ปัญหานี้จะหนักขึ้น เมื่อผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุ มีธุรกิจยุ่ง ขี้ลืม หรือต้องเดินทางบ่อยครั้ง ข้อแนะนำในการ ลดปัญหาดังกล่าว ซึ่งจะทำให้รับประทานยา ได้ถูกต้องมากขึ้น ได้แก่
ทำการศึกษา และสร้างความคุ้นเคย กับยาที่ท่านใช้ สังเกตุว่าลักษณะเม็ดยา เป็นอย่างไร ใช้เพื่อรักษาอะไร ต้องรับประทานเมื่อใด และอย่างไร แล้วจดบันทึกไว้ใน สมุดบันทึกส่วนตัว เมื่อจำเป็นจะได้หยิบออกมา รื้อฟื้นความจำ
สำหรับผู้มีธุรกิจยุ่ง ขี้ลืม หรือการจัดยา ให้ผู้สูงอายุในแต่ละวัน เพื่อความสะดวก ควรใช้ภาชนะบรรจุพิเศษ ที่มีช่องหรือชั้นแบ่งออกเป็นส่วนๆ ตามเวลาการรับประทานยา เช่น เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน แล้วบรรจุยาต่างๆ ลงในช่องดังกล่าว พกติดตัวไปแต่ละวัน
จัดตารางการรับประทานยา คล้ายกับการกำหนดนัดหมาย โดยเขียนเป็นรายการ ตามเวลาของวันว่าเวลาใด ต้องรับประทานยาใด เพื่อเตือนตัวเองไม่ให้ลืม
ถ้าเป็นผู้สูงอายุ สุขภาพอ่อนแอ หรือมีปัญหาทางกาย หรือจิตใจทำให้ไม่สามารถควบคุม การรับประทานยาของตนได้ ในกรณีนี้อาจต้องใช้ สมาชิกครอบครัวที่ใกล้ชิด เพื่อน หรือพยาบาล คอยให้ความช่วยเหลือ ในการรับประทานยา

กลับ

   
 
Hosted by www.Geocities.ws

1