แฟ้มสะสมงาน Portfolio

แฟ้มสะสมงานนักเรียน

1. ทำไมต้องทำแฟ้มสะสมงาน
2. ขั้นตอนการประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมงานนักเรียน (สำหรับคุณครู นักเรียนจะเข้าไปศึกษาดูก็ได้นะครับ)
3. ส่วนประกอบของแฟ้มสะสมงานนักเรียน
4. ดาวน์โหลดเอกสาร

 

1. ทำไมต้องทำแฟ้มสะสมงาน
     กล่าวง่าย ๆ  เลยนะครับ    ถ้าหากไม่มีแฟ้มสะสมงาน น้อง ๆ     นักเรียนก็จะขาดหลักฐานการทำงานของนักเรียนยังไงละครับ
แล้วแฟ้มสะสมงาน   เป็นประโยชน์ต่อนักเรียนยังไงบ้าง?        เป็นประโยชน์มาก ๆ  เลยครับ ถ้าน้อง ๆ  เคยทำบันทึกส่วนตัวแล้ว
น้อง ๆ    ก็จะเข้าใจถึงประโยชน์ของแฟ้มสะสมงาน พูดง่าย ๆ       คือการบันทึกสิ่งที่น้อง ๆ  ได้เรียนไปยังไงล่ะ แต่ที่ต่างออกไป
ก็คือ ว่า    แฟ้มสะสมงานจะมีผู้ประเมิน แล้วใครจะเป็นผู้ประเมิน?     ก็คุณครูไงละครับ   ครูก็จะเป็นผู้ประเมินตัวน้องนักเรียนและ
ยังมีอีกนะ ผู้ปกครอง เพื่อน และคนสุดท้ายคือ พวกน้อง ๆ ไงล่ะครับ
     การจัดทำแฟ้มสะสมงานนักเรียน น้อง ๆ   อย่าคิดว่ามันเป็นภาระนะครับ    เพราะการทำแฟ้มสะสมงานนั้น   เป็นการสะสมผล
งานของนักเรียนอย่างเป็นระบบ   ฝึกให้น้อง ๆ     นักเรียนได้มีส่วงร่วมทุกขั้นตอน     ฝึกให้นักเรียนมีความคิดระดับสูง นับว่าเป็น
ประโยชน์แก่ตัวนักเรียนนะครับ
    สำหรับวิชาของคุณครูแล้ว   จะให้นักเรียนทำแฟ้มสะสมงานสำหรับวิชาที่คุณครูสอนด้วยเฉพาะ    อย่าเอาไปรวมกับวิชาของ
ครูท่านอื่นละเพราะมันเทียบกันไม่ได้ (อิอิ)   สำหรับครูนะ ไม่จำกัดตายตัวในเรื่องวัสดุการทำแฟ้มหรอกนะครับ อะไรก็ได้ ขอให้
นักเรียนเน้นประหยัด หาง่าย และนักเรียนเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อตัวนักเรียนเอง แต่ที่สำคัญขอให้แฟ้มของนักเรียนสามารถที่จะ
เก็บได้นาน ๆ และเป็นระเบียนเรียบร้อย นะครับ

2. ขั้นตอนการประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมงานนักเรียน
     ตรงนี้ยาวมาก ๆ  เลยนะครับ  แต่นับว่าเป็นประโยชน์มาก ๆ   เลย ถ้านักเรียนสนใจจะลองอ่านดูก็ได้นะครับ   แต่จุดประสงค์ที่
คุณครูนำมาเสนอก็คือ ครูเอาไว้ให้อาจารย์ที่สนใจจะศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนการประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมงานนักเรียน ได้เข้า
มาศึกษาน่ะครับ มาเรามาศึกษาด้วยกันนะครับ

ขั้นตอนการประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมงานนักเรียน

รายละเอียดของการดำเนินงานแต่ละขั้นตอนมีดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 วางแผนการจัดทำแฟ้มสะสมงาน

ขั้นตอนแรกของการจัดทำแฟ้มสะสมงานคือ การวางแผนโดยการเตรียมครูและนักเรียน

1.1 การเตรียมตัวของครู

- ตัดสินใจเลือกวิชา/กลุ่มประสบการณ์/รายวิชา ที่จะประเมินผล โดยใช้แฟ้มสะสมงาน
- ศึกษาทำความเข้าใจ หลักการ จุดหมาย โครงสร้างและแนวดำเนินการของหลักสูตร
- ศึกษาครูมือครู
- วิเคราะห์หลักสูตร โดยวิเคราะห์คำอธิบาย/คำอธิบายรายวิชา จากหลักสูตร
- วิเคราะห์องค์ประกอบของคำอธิบาย/คำอธิบายรายวิชาในหลักสูตรเพื่อกำหนดเนื้อหาสำคัญ จุดประสงค์และ
กิจกรรม/กระบวนการ
- วางแผนกำหนดชิ้นงานสู่แฟ้มสะสมงาน โดยทำตารางวิเคราะห์

หมายเหตุ           การจัดทำแฟ้มสะสมงานนักเรียน   สิ่งที่เป็นปัญหาอุปสรรคสำหรับครูผู้สอนคือ   การวางแผนจัดทำแฟ้มสะสมงาน
ในขั้นตอนนี้ ครูไม่รู้ว่าจะเริ่มที่ตรงไหน  ฉะนั้นเพื่อแก้ปัญหาอุปสรรคดังกล่าว    ขอให้ท่านวางแผนโดยเริ่มจากการวิเคราะห์หลักสูตร
และดำเนินการตามขั้นตอนการวิเคราะห์หลักสูตรสู่แฟ้มสะสมงานนักเรียนในบทที่  4    (เหอะ ๆ  คือว่าบทที่ 4 ผมไม่ได้เขียนไว้หรอก
แต่ว่าหากอยากได้เอกสารเพิ่มเติมติดต่อที่ผมแล้วกันนะครับ หรือหาจากหนังสือ แฟ้มสะสมงาน เขียนโดย สุวิทย์ มูลคำ ในห้องสมุด)

1.2 การเตรียมตัวนักเรียน

1. ก่อนทำการสอนครูแจ้งให้นักเรียนทราบล่วงหน้าเกี่ยวกับ

- จุดหมายหลักสูตร
- จุดประสงค์การเรียนรู้
- เนื้อหาสาระ
- รูปแบบและวิธีดำเนินการสอน
- วิธีการวัดและประเมินผล

2. นักเรียนทำความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมงาน
3. การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ กิจกรรมและการกำหนดชิ้นงาน
4. บทบาทของนักเรียนในการทำงานกลุ่ม

1.3 การเตรียมตัวผู้ปกครอง

             เนื่องจากการประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมงานนักเรียนนั้น     ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับนักเรียนซึ่งเป็นเจ้าของแฟ้มสะสม
 งานนั้นจะต้องมีส่วนร่วมในการประเมินผล   เช่น   ตัวนักเรียน  ครูผู้สอน และผู้ปกครอง ดังนั้น ครูผู้สอนจึงมีความจำเป็นจะ
ต้องแจ้งหรือขอความร่วมมือไปยังผู้ปกครองนักเรียนรวมทั้งให้ข้อเสนอแนะ/ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการประเมินผลโดยใช้แฟ้ม
สะสมงานแก่ผู้ปกครองเมื่อมีโอกาส      

ขั้นตอนที่ 2 เก็บรวบรวมผลงานหรือหลักฐาน

                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                การเก็บรวบรวมผลงานเป็นขั้นตอนที่นักเรียนเก็บรวบรวมผลงานทั้งหมดไว้ในแฟ้มสะสมงาน (Working Portfolio) ประเด็น
ที่ควรพิจารณาในขั้นตอนนี้คือ

2.1 ผลงานที่เก็บรวบรวมไว้นั้นจะเก็บไว้ที่ใด เช่น จัดใส่แฟ้ม ใส่ซอง ตู้ ชั้นวางของ เป็นต้น
2.2 จะจัดระเบียบในการจัดเก็บผลงานอย่างไร เช่น แยกตามวัตถุประสงค์ ประเภทของงาน เป็นต้น
2.3 แผนหรือระยะเวลาในการจัดเก็บ คัดเลือก ตลอดจนขั้นตอนการดำเนินงานต่าง ๆ ของการประเมินโดยใช้แฟ้ม
สะสมงาน เป็นต้น

แนวการจัดเก็บผลงาน

การจัดเก็บผลงานสามารถทำใด้ 6 วิธีดังนี้

1. จัดเก็บตามแนวทางที่มีผู้กำหนดไว้แล้ว เช่น กรณีใช้แฟ้มสมัครงานบริษัทที่ รับสมัครอาจกำหนดไว้แล้วว่าผู้สมัครจะต้อง
นำเสนอแฟ้มสะสมงาน เรื่องใดบ้าง
2. เก็บตามลำดับ วัน เวลา ที่สร้างผลงานขึ้นมา
3. จัดเก็บตามลำดับความซับซ้อนของผลงาน โดยจัดให้เริ่มต้นแฟ้มด้วยงานง่าย ๆ  ไปสู่ผลงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นตาม
ลำดับ  เช่น นักเรียนต้องการแสดงพัฒนาการของทักษะหรือความสามารถในการเขียนคำคล้องจอง   ในแฟ้มเริ่มต้นโดยเสนอ
คำคล้องจองชิ้นแรกที่นักเรียนเขียนในตอนต่อไปก็นำเสนอคำคล้องจองที่เขียนขึ้นในระยะหลัง ๆ เพื่อให้เห็นถึงพัฒนาการด้าน
การเขียนของนักเรียน
4. จัดเก็บตามพรสวรรค์ ทักษะ หรือเนื้อหา เช่น แฟ้มผลงานดีเด่นเกี่ยวกับงานอดิเรกสิ่งที่จัดไว้ อาจจำแนกตามประเภทของ
งานอดิเรก เช่น งานศิลปะ ทักษะเกี่ยวกับช่างไฟฟ้า งานก่อสร้าง เป็นต้น
5. จัดเก็บตามหัวเรื่องที่ต้องการนำเสนอ เช่น แฟ้มสะสมงานเรื่องสิ่งแวดล้อมในชุมชน อาจจัดเก็บผลงานเป็นหัวเรื่องย่อย
คือ   ปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน   โครงการปรับปรุงสิ่งเเวดล้อมในชุมชน และผลการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน   เป็นต้น
6. จัดเก็บในลักษณะผสมผสาน    โดยนำวิธีการข้างต้นมาจัดในแฟ้มเดียวกัน     เช่น  ต้องการจัดทำแฟ้มสะสมงานเกี่ยวกับ
พรสวรรค์ของตน การจัดเก็บเริ่มต้นโดยจัดแบ่งผลงานตามหัวเรื่อง เช่น การบริการสังคม การเตรียมเข้าสู่งานอาชีพและการ
ใช้เวลาว่าง ต่อจากนั้น จึงจัดระบบในแต่ละหัวเรื่องตามพรสวรรค์

          ผลงานที่รวบรวมไว้นั้นต้องเป็นสิ่งที่สามารถจัดเก็บไว้ ซึ่งมีหลายลักษณะ เช่น งานเขียนต่าง ๆ เทปบันทึกเสียง คะแนน
สอบ แบบสังเกต แบบบันทึก แบบรายงาน แผ่นดิสก์คอมพิวเตอร์ ภายถ่าย แบบฝึกหัด วีดีทัศย์ เป็นต้น

          ในขั้นตอนนี้นักเรียน เก็บผลงานทุกอย่างโดยก่อนที่จะเก็บควรทำการประเมินผลงาน ทุกอย่างนั้น ก่อนกรณีพบข้อบกพร่อง ก็ควรทำการแก้ไขปรับปรุง นอกจากนี้นักเรียนควรจัดทำทะเบียนคมผลงานเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบ

ขั้นตอนที่ 3 คัดเลือกผลงาน

          หลังจากเก็บรวบรวมผลงานต่าง ๆ ไประยะหนึ่ง ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการคัดเลือกผลงานที่แสดงถึงความสามารถ ของ
นักเรียน ตามจุดประสงค์ของการประเมิน

          ผลงานที่เลือกมานั้นต้องเป็นชิ้นงานที่ดีที่สุด ครอบคลุมเนื้อหา วัตถุประสงค์ ซึ่งปกติแล้วควรทำการตกลงวางแผน
กันในขั้นตอนการเก็บรวบรวมงานก่อนว่าจะคัดเลือกผลงานประเภทใดจำนวนเท่าไร ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สามารถอธิบาย
ความสามารถที่แท้จริงของนักเรียนให้ถูกต้องมากที่สุด

          โดยหลักการแล้วผู้ที่คัดเลือกผลงานควรเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการประเมินในการประเมินตามจุดประสงค์การเรียนรู้
นั้น นักเรียนเป็นผู้มีส่วนเสียในการประเมินโดยตรง ดังนั้นนักเรียนจึงควรเป็นผู้ที่คัดเลือกงานด้วยตนเอง

ลักษณะผลงานที่ควรคัดเลือก
1. ควรเป็นผลงานที่ดี มีความหมายและประทับใจ
2. ควรเป็นผลงานที่แสดงถึงความสามารถทางการคิดระดับสูง การแก้ปัญหาหรือมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
3. สามารถใช้ประเมินผลได้หลาย ๆ ด้าน ครอบคลุมเนื้อหา จุดประสงค์การเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 4 แสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึกต่อผลงาน

          การแสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึกต่อผลงาน เป็นกิจกรรมต่อเนื่องจากการคัิดเลือกชิ้นงานในการนี้นักเรียนจะได้คิดย้อน
กลับเกี่ยวกับการปฎิบัติงานหรือการเรียนของตนเอง ซึ่งนักเรียนจะได้ใช้ความคิดระดับสูงในการพิจารณาผลงานของตน  นักเรียน
จะได้มีโอกาสประเมินตนเองอย่างไม่เป็นทางการ

          ในการแสดงความคิดเห็นนั้น   ควรเริ่มต้นโดยการให้นักเรียนตอบคำถามนำของครูในใจ  หรือโดยการพูด  ต่อจากนั้นจึงให้
เขียนสะท้อนความคิดออกมา ดังตัวอย่างต่อไปนี้

1. ในการทำงานชิ้นนี้นักเรียนใช้เวลาเท่าใด

2. ให้บรรยายกระบวนการในการทำงานนี้

2.1 ได้แนวคิดในการทำงานนี้มาจากไหน
2.2 นักเรียนใช้ยุทธศาสตร์อะไรในการเรียนรู้และเขียนผลงานชิ้นนี้
2.3 นักเรียนมีปัญหาอะไรในขณะเขียนงานฉบับร่างที่ 1
2.4 นักเรียนใช้วิธีการใดในการปรับปรุงงานของนักเรียน

3. ในการวิจารณ์ของกลุ่ม

เริ่มต้นโดยการให้กลุ่มวิจารณ์ผลงานของนักเรียน จากนั้น นักเรียนแสดงความรู้่สึกต่อคำวิจารณ์นั้น เช่น
3.1 นักเรียนเห็นด้วยหรือไม่ด้วยกับสิ่งที่กลุ่มวิจารณ์
3.2 จากการที่กลุ่มวิจารณ์นักเรียน ได้ทำอะไรบ้าง
ให้ทำเช่นนี้ 2 - 3 ประเด็น วิจารณ์ โดยเริ่มเขียนตามรูปแบบดังนี้

ก ข้อวิจารณ์ของกลุ่ม................................................
    ความรู้สึกของนักเรียน...........................................
ข ข้อวิจารณ์ของกลุ่ม................................................
    ความรู้สึกของนักเรียน...........................................

4. อะไรเป็นจุดเด่นของผลงานนักเรียน
- มีประเด็นใดที่ทำให้นักเรียนมีความรู้สึกไม่ค่อยสบายใจ

5. เมื่อส่งให้ครูประเมินนักเรียนต้องการให้ครูดูที่จุดใด
- นักเรียนต้องการให้ครูถามอะไรบ้าง

6. นักเรียนจะให้คะแนนงานชิ้นนี้เท่าใด เพราะเหตุใด

7. เหตุผลที่นักเรียนเลือกงานชิ้นนี้เพราะอะไร

ขั้นตอนที่ 5 ตรวจสอบความสามารถของตนเอง

           การประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมงาน เิปิดโอกาสให้นักเรียนได้ตรวจสอบความสามารถของตนเอง เกี่ยวกับผลงานและ
ความสามารถตลอดจนคุณลักษณะต่าง ๆ ของนักเรียน เช่น นิสัยในการทำงาน ทักษะการทำงาน ทักษะทางสังคมและความ
สามารถในการจัดการ สิ่งที่ตรวจสอบในขั้นตอนนี้ เป็นทั้งการตรวจสอบทั้งตามจุดประสงค์การเรียนรู้และคุณลักษณะส่วนตัว
ของนักเรียน

          วิธีการตรวจสอบความสามารถของตนเอง ควรพิจารณาตามเกณฑ์ย่อย ๆ ซึ่งกำหนดขึ้นมา เช่น เรื่องนิสัยในการทำงาน
อาจกำหนดเกณฑ์ย่อยในเรื่องการทำงานเสร็จทันเวลา การขอความช่วยเหลือเมื่อมีความจำเป็น เป็นต้น

             การตรวจสอบความสามารถของตนเองอีกลักษณะหนึ่ง คือการวิเคราะห์จุดเด่น - จุดด้อยในการทำงานหรือเกี่ยวกับผลงาน
ของตนเอง ว่าเดิมนักเรียนเขียนไม่เป็นระเบียบ ไม่สวยงาม ซึ่งเป็นจุดด้อยแต่ปัจจุบันมีจุดเด่นกล่าวคือ เขียนได้ดีมากขึ้น เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 6 ประเมินผลงาน

          ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญในการประเิมินผล โดยใช้แฟ้มสะสมงาน ทั้งการประเมินระหว่างภาคและการประเมินปลายภาค/
ปลายปี เพราะเป็นการตีค่าหรือสรุปถึงคุณภาพหรือความสามารถของนักเรียน

           การประเมินระหว่างภาีคเรียนหรือการประเมินจุดประสงค์การเรียนรู้ใน ป.02 นั้น ควรเริ่มต้นจากการวิเคราะห์เกณฑ์ประเมินย่อย ๆ
ของแต่ละจุดประสงค์ เช่น จุดประสงค์การเรียนรู้ใน ป.02 วิชาภาษาไทย ป.5 - ป.6 ระบุว่า "คัดลายมือถูกต้อง รวดเร็ว เป็นระเบียบและ
สวยงาม" อาจกำหนดเกณฑ์การประเมินย่อย ๆ เช่น เขียนถูกต้อง เขียนสวยงาม ไม่มีรอยลบสกปรก จัดระเบียบตัวอักษรได้ดี เขียน
เสร็จทันเวลาที่กำหนดให้ เป็นต้น ต่อจากนั้นจึงทำการประเมินงานเขียนของนักเรียนตามเกณฑ์ย่อย เพื่อตัดสินการผ่านจุดประสงค์
ดังกล่าว

          ส่วนการประเมินปลายภาค/ปลายปีนั้น อาจใช้แฟ้มสะสมงาน ช่วยในการประเมินวัตถุประสงค์ภาคปฏิบัติ และด้านจิตพิสัยเป็น
หลัก ในการนี้ครูและนักเรียน ควรตกลงกันตั้งแต่ภาคเรียนว่าจะใช้แฟ้มสะสมงาน ในการประเมินเรื่องใด งานหรือหลักฐานที่นักเรียน
จะนำเสนอในช่วงปลายภาค/ปลายปี มีอะไรบ้าง ตลอดจนแนวทางการจัดเก็บ คัดเลือก และประเมินผล

           ในขั้นตอนนี้ ควรมีการประเมินแฟ้มสะสมงานโดยรวมด้วย ทั้งรูปแบบ การจัดระบบเนื้อหาและรายละเอียดต่าง ๆ ของแฟ้ม ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างแนวทางประเมินแบบต่าง ๆ

ตัวอย่างเกณฑ์การประเมินการอ่าน

1. ตอบคำถามจากเรื่องที่อ่านได้ คะแนนเต็ม 3 คะแนน ให้คะแนนดังนี้

ตอบคำถามจากเรื่องที่อ่านได้ถูกต้อง                       3     คะแนน
ตอบคำถามได้ไม่ทุกข้อแต่ผิดน้อยกว่า 5 ข้อ           2     คะแนน
ตอบคำถามผิดมากกว่า 5 ข้อ                                   1      คะแนน

2. บอกความสำคัญจากเรื่องที่อ่าน คะแนนเต็ม 3 คะแนน ให้คะแนนดังนี้

บอกเนื้อหาสาระถูกต้องได้ใจความต่อเนื่อง             3      คะแนน
บอกเนื้อหาสาระได้ถูกต้องแต่วกวน                          2      คะแนน
บอกเนื้อหาสาระได้บ้าง                                            1       คะแนน

3. บอกข้อคิดที่ได้จากเรื่องที่อ่าน คะแนนเต็ม 3 คะแนน ให้คะแนนดังนี้

บอกข้อคิดของเรื่องได้ตรงประเด็นที่สมบรูณ์           3      คะแนน
บอกข้อคิดของเรื่องได้ตรงประเด็นแต่ไม่ต่อเนื่อง    2      คะแนน
บอกข้อคิดของเรื่องได้แต่วกวน                               1      คะแนน

4. แสดงความคิดเห็นจากเรื่องที่อ่าน คะแนนเต็ม 3 คะแนน ให้คะแนนดังนี้

เสนอความคิดเห็นด้วยเหตุผลและเป็นประโยชน์     3      คะแนน
เสนอความคิดเห็นด้วยเหตุผล                                 2      คะแนน
เสนอความคิดเห็น แต่ไม่แสดงเหตุผล                    1      คะแนน

               ในการประเมินนั้นเกณฑ์เป็นหัวใจของการประเมิน ต้องชัดเจนและสะท้อนความสามารถของนักเรียนได้ ในการสร้างเกณฑ์
สำหรับตัดสินแฟ้มสะสมงาน ครูจำเป็นต้องมีความชัดเจนในเรื่องต่อไปนี้

  1. ประเมินรวมหรือแยกเป็นรายชิ้น
  2. จะมีคุณลักษณะใดบ้างที่สามารถสะท้อนภาพรวมของจุดประสงค์การประเมิน
  3. การให้น้ำหนักชิ้นงาน
  4. บทบาทของการประเมินตนเอง
  5. บทบาทของการประเมินโดยเพื่อน
  6. บทบาทของการประเมินโดยครู
  7. บทบาทของการประเมินโดยผู้ปกครอง
  8. บทบาทของการประเมินโดยผู้สนใจ

หัวใจสำคัญของการประเมินแฟ้มสะสมงาน คือ

1. การประเมินตนเองของนักเรียน

1.1 จุดประสงค์ของการประเมินตนเองเพื่อประเมินความสำเร็จ และเพื่อความภาคภูมิใจโดยให้นักเรียนเลือกผลงานเด่นของ
ตนเอง ที่เห็นว่าดีที่สุดในเเต่ละรายวิชาหรือกลุ่มประสงการณ์เพื่อเป็นการประเมินครั้งสุดท้ายและเปรียบเทียบกับผลงานใน
ลักษณะเดียวกันเพื่อค้นหาข้อบกพร่องสำหรับการปรับปรุงแลพัฒนางานให้ดีขึ้น
1.2 ครูผู้สอนเป็นผู้แนะนำวิธีการประเมินผลตนเองให้แก่นักเรียน โดยอาจจะใช้คำถามนำในแต่ละประเด็น เช่น

2. การประเมินของครู

2.1 ครูทำการประเมินผลงานหรือชิ้นงานตามเกณฑ์คุณภาพที่กำหนดไว้
2.2 ครูทำการประเมินในภาพรวมของงานประเภทนั้น

3. ครูประเมินโดยใช้วิธีการจัดหาข่าว เหตุการณ์เพื่อสร้างสถานการณ์ให้นักเรียนฝึกคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ แก้ปัญหา โดยใช้หลักการ วิธีการที่ได้เรียนรู้ เพื่อผลที่ต้องการคือเป็นลักษณะชิ้นงานหรือ รายงานผลเพื่อจะได้นำไปเก็บหรือ
คัดเลือกไว้ในแฟ้มสะสมงาน

ขั้นตอนการจัดทำเกณฑ์การประเมิน

1. กำหนดนิยามคุณภาพ

1.1 กำหนดทักษะที่ต้องการวัด
1.2 กำหนดนิยามตัวอย่าง

2. เลือกมาตรวัด

2.1 เชิงปริมาณ
2.2 เชิงคุณภาพ

3. กำหนดมาตรฐานคุณภาพงาน

ระดับ 4 หมายถึง งานยอดเยี่ยม
ระดับ 3 หมายถึง งานดี
ระดับ 2 หมายถึง งานพอใช้
ระดับ 1 หมายถึง งานต้องปรับปรุง

4. ทำตารางสรุปหัวข้อประเมินและระดับคุณภาพ + เกณฑ์การประเมิน

            ข้อเสนอแนะ การกำหนดเกณฑ์การประเมินนั้นเน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วม ในระยะแรกควรเริ่มคิดเกณฑ์ง่าย ๆ เป็นรูปธรรม
และจำนวนน้อยข้อก่อน หากคล่องหรือเกิดความชำนาญจึงจะเพิ่มความคิดในระดับที่สูงขึ้นและเพิ่มจำนวนข้อให้มากขึ้นให้สามารถ
ครอบคลุมการประเมินผลงานให้มากที่สุด

ขั้นตอนที่ 7 แลกเปลี่ยนประสงการณ์เกี่ยวกับผลงาน

              การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในขั้นตอนนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้นักเรียนได้รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เกี่ยวข้อง
โดยเฉพาะจากเพื่อนนักเรียน ผู้ปกครอง และครูื่อื่น ๆ

              วิธีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับผลงานต่าง ๆ นั้น สามารถกระทำได้หลายรูปแบบ เช่น การสนทนาตัวต่อตัวระหว่าง
นักเรียนกับผู้เกี่ยวข้อง การส่งแฟ้มผลงานดีเด่นให้ผู้เกี่ยวข้องเสนอแนะและการจัดประชุมพิจารณาแฟ้มผลงานดีเด่นของนักเรียนเป็นต้น

            ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จะต้องเตรียมคำถามสำคัญไว้ถามผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียนมากที่สุด
เช่น ให้แสดงความคิดเห็นหรือความรู้สึกต่อผลงานจะปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างไร

ตัวอย่าง คำถามนำการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับผลงาน

คุณคิดอย่างไรเกี่ยวกับผลงานชิ้นนี้
คุณได้เรียนรู้อะไรจากผลงานชิ้นนี้บ้าง
คุณคิดว่าจะปรับปรุงส่วนไหนอีกหรือไม่ ฯลฯ

ขั้นตอนที่ 8 ปรับเปลี่ยนผลงาน

          เนื่องจากการประเมินโดยใช้แฟ้มผลงานดีเด่น ต้องการให้นักเรียนแสดงผลงานหรือหลักฐานที่ดีที่สุดในการแสดงความสามารถ
ของตน ดังนั้น หลังจากการเลือกชิ้นงานผ่านไประยะหนึ่งและนักเรียนได้สร้างงานเพิ่มเติม จึงควรให้นักเรียนได้มีโอกาสปรับเปลี่ยนผล
งานหรือหลักฐานโดยการเลือกชิ้นงานที่ดีกว่าเดิมมาเก็บไว้ในแฟ้มผลงานดีเด่น

           การปรับเปลี่ยนผลงานในแฟ้มผลงานดีเด่น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้แฟ้มผลงานดีเด่นมีชิ้นงานที่ดีทันสมัย น่าสนใจ และตรงตาม
จุดประสงค์ที่ต้องการประเมิน

             ครูและนักเรียนควรปรัับเปลี่ยนชิ้นงานตามแผนที่กำหนดไว้ เช่น พิจารณาปรับเปลี่ยนหลังจากที่มีงานใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น 4 - 5 ชิ้น
หรือเวลาผ่านไป 3 - 4 สัปดาห์ เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 9 จัดระบบของแฟ้มสะสมงาน

          ขั้นตอนการจัดระบบแฟ้มสะสมงานเป็นการจัดองค์ประกอบต่าง ๆ ในแฟ้มให้เป็นระเบียบมี ความสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี

องค์ประกอบสำคัญของแฟ้มสะสมงานมีดังต่อไปนี้

1. ส่วนนำ ประกอบด้วย ปก ข้อมูลส่วนตัวของนักเรียน สารบัญ
2. ส่วนเนื้อหาของแฟ้มผลงานดีเด่น เป็นส่วนที่รวบรวมงานหรือหลักฐานต่าง ๆ ที่ได้เลือกไว้ในการจัดระบบส่วนนี้ อาจจัด
จำแนกตามวัตถุประัสงค์การเรียนรู้ หรือลักษณะธรรมชาตของงานก็ได้
3. ส่วนข้อมูลเพิ่มเติม เช่น แผนการสะสมงาน แผนการนำเสนอแฟ้มผลงานดีเด่นข้อมูลคะแนน การทดสอบหรือแบบสังเกต
ต่าง ๆ เป็นต้น

          ในการจัดระบบแฟ้มสะสมงาน นักเรียนจะมีโอกาสนำเสนอความคิดสร้างสรรคฺ์ตลอดจนสะท้อนบุคลิกภาพของตนออกมา
อย่างเต็มที่ โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ออกแบบตกแต่งปก ครูมีบทบาทในการจัดเตรียบกระดาษ สี อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้นักเรียน
จัดวางหน้าตกแต่ง จัดวางหน้ากระดาษ และองค์ประกอบต่าง ๆ โดยอิสระ

ขั้นตอนที่ 10 จัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักเรียน

           ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสำคัญที่นักเรียนมีความภาคภูิืมิใจและชื่นชมในผลงาน หรือความสามารถของตน การจัดนิทรรศการผลงาน
ของนักเรียน เป็นการนำแฟ้มผลงานดีเด่นของนักเรียนทุกคนมานำเสนอร่วมกัน และเปิดโอกาสให้นักเรียนทั่วไป ครู และผู้ปกครองนักเรียน
ได้มาชื่นชมความสำเร็จของนักเรียน โดยเฉพาะการเชิญผู้ปกครองมาร่วมงานนั้น จัดเป็นกิจกรรมที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดียิ่งระหว่าง
โรงเรียนและชุมชน

           นักเรียนควรเป็นผู้มีบทบาทหลักในการจัดนิทรรศการทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การวางแผน การจัดสถานที่ การเชิญผู้เกี่ยวข้องชม
นิทรรศการ การประชาสัมพันธ์ การจัดนิทรรศการต่าง ๆ จนถึงการประิเมินผลการจัดนิทรรศการ

          โดยสรุปการประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน เป็นการประเมินความสำเร็จของนักเรียนจากผลงานที่เป็นชิ้นงานที่ดีที่สุด หรืองาน
ที่แสดงความก้าวหน้าที่นักเรียนเก็บสะสมในแฟ้ม/สมุด/กล่องหรือกระเป๋า แล้วแต่ลักษณะของาน อาจจะมีจำนวนหนึ่งชิ้นหรือมากกว่า
ที่เพียงพอที่จะแสดงถึงความพยายามความก้าวหน้า และผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในเรื่องที่เรียนหรือได้รับมอบหมาย ในจุดประสงค์/
เรื่องนั้น ๆ หรือวิชานั้น

          การประเมินผลโดยให้แฟ้มสะสมงาน เป็นได้ทั้งประเิมินผลย่อย (FORMATIVE) เำื่พื่อการพัฒนานักเรียน และเป็นได้ทั้งประเมิน
ผลรวม (SUMMATIVE) แต่ข้อที่ครูพึงระลึกอย่างเสมอก็คือ การประเมินดังกล่าวมีทั้งการประเมินเพื่อดูความก้าวหน้า หาข้อดี ซึ่งเป็น
การประเมินเชิงบวก และค้นหาสิ่งที่จะต้องให้ความช่วยเหลือ ปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพของเขาเอง
และบรรลุเกณฑ์ที่กำหนดไว้ นอกจากนี้แฟ้มสะสมงานนักเรียนยังเป็นศูนย์รวมที่แสดงออกถึงศักยภาพ ความก้าวหน้าและกระบวนการ
รวมทั้งความรู้สึกความสำเร็จและความภาคภูมิใจ ของนักเรียนที่มีต่อเพื่อนนักเรียนครู ผู้ปกครองตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องดังนั้นจึงสามารถ
กล่าวได้ว่าการประเมินผลโดยใช้แฟ้มสะสมงานจะเป็นสื่อไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต

อ้างอิงจาก หนังสือ แฟ้มสะสมงาน เขียนโดย สุวิทย์ มูลคำ หน้าที่ื 62-73

Hosted by www.Geocities.ws

1