"รวมงานวิจัย” ประโยชน์ของเจียวกู้หลาน

"รวมงานวิจัย” ประโยชน์ของเจียวกู้หลาน

เจียวกู้หลานธรรมชาติที่แนะนำ

วิธีการสั่งซื้อ เจียวกู้หลานธรรมชาติเป็นเจียวกู้หลานสมุนไพรไทยคุณภาพจากเชียงใหม่บ้างก็เรียกว่าเจียวกูหลาน เจียวกู่หลาน เจียวกู เจียวกูหลัน เบญจขันธ์ ปัญจขันธ์ Jiaogulan สายพันธุ์ที่ดีที่สุด ปลอดภัย เจียวกู้หลาน ให้คุณค่าสมุนไพรไทย 2 ประเภท บำรุง ป้องกัน เจียวกู้หลานที่จำหน่าย คัดเอาเฉพาะส่วนที่ให้คุณค่าทางสมุนไพร เจียวกู้หลานได้รับรางวัลยอดเยี่ยมปี 2548 จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เจียวกู้หลานแบบชาจีนเจียวกู้หลานแบบชาถุง สมุนไพรเจียวกู้หลานชาเม็ด

เจียวกู้หลาน Gynostemma pentaphyllum ( Thunb ) Makino 

     วงศ์ Cucurbitaceae เป็นพืชพื้นเมืองในภูมิภาคเขตร้อนและเขตอบอุ่นของเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และกระจายพันธุไปในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ต่างๆ ของโลก เจริญเติบโตไดดีในที่ชุ่มชื้น ทั้งที่โล่งแจ้ง และที่ร่ม ตั้งแต่ที่ราบต่ำจนถึงที่สูงจากระดับน้ำทะเล ให้ผลให้สรรพคุณคือ ลดน้ำตาลในเลือด ลดและต้านการอักเสบ ป้องกันตับจากการเกิดพิษ ต้านอนุมูลอิสระ ให้ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ลดระดับไขมันในเส้นเลือด ฤทธิ์ต่อต้านเซลมะเร็ง 

     เจียวกู้หลาน หรือ เจียวกู้หลาน - JIAOGULAN ( GYNOSTEMMA PENTAPHYLLUM )เป็นพืชเถาที่มีสรรพคุณ และมีประโยชน์ต่อร่างกาย ที่รู้จักของชาวจีน ตั้งแต่อดีตเป็นอย่างดี ได้รับสมญานามว่า เซียนเถา ( XIANCAO ) แปลว่าสมุนไพรอมตะหรือ โสมใต้ ( Southern Ginseng ) และของ ญี่ปุ่น เรียกว่า อมาซาซูรู มีคุณประโยชน์ที่พร้อมสรรทั้งในเชิงป้องกันและบำรุงร่างกาย จนได้รับ ความสนใจจาก นัก วิทยาศาสตร์ ในต่างประเทศในการค้นคว้าวิจัย ถึงสรรพคุณ ของเจียวกู้หลาน หรือ เจียวกู่หลาน (JIAOGULAN ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยจนได้การยกย่องให้เป็น สุดยอดของสมุนไพรแห่งชาติ ปี 2548 ให้ผลให้สรรพคุณในการลดน้ำตาลในเลือด 

     ความหมายของ โรคเบาหวาน คือภาวะที่ร่างกายมีปริมาณน้ำตาล ในเลือดสูงเกินปกติ พบได้ในทุกเพศ ทุกวัย แต่คนที่มีความเสี่ยงมากที่สุดคือ คนที่ มีอายุมากาว่า 40 ปีขึ้นไป และคนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ผู้ที่มีร่างกายอ้วน จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้มาก เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ สาเหตุของโรค คือ ตับอ่อน สร้างฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ ช่วยให้ร่างกาย เผาผลาญอาหาร ได้น้อยหรือไม่ได้เลย จึงทำให้ ร่างกายไม่สามารถ นำน้ำตาลไปใช้ได้ จึงเกิดอาการ คั่งของน้ำตาล ในกระแสโลหิต และในอวัยวะต่าง ๆ และจะถูกร่างกายขับทิ้ง ในรูปของของเสียโดยอวัยวะ ที่เรียกว่า ไต โรคเบาหวานแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ที่มีอาการสาเหตุ ความรุนแรง และการรักษาต่างกัน ได้ความว่า

     เบาหวานชนิดพึ่งพา อินซูลิน เป็นชนิดที่พบได้น้อย แต่มีความรุนแรงสูงและอันตรายมาก มักพบในเด็กและคนที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี และ อาจพบในคนสูงอายุได้บ้าง โดยที่ตับอ่อนของผู้ที่เป็นเบาหวานประเภทนี้จะสร้าง หรือ ผลิต อินซูลินได้น้อยหรือ ไม่ได้เลยเชื่อว่าเกิด จากร่างกาย สร้างภูมิขึ้นมาต่อต้านและทำลายตับของตนเอง จนไม่สามารถ สร้างอินซูลิน ได้เรียกว่า โรคภูมิแพ้ต่อตัวเอง ผู้ป่วยมีความจำเป็นต้องฉีด อินซูลินเข้าไปทดแทน ในร่างกาย ตามที่แพทย์สั่ง ทุกวัน จึงจะสามารถ เผาผลาญน้ำตาลได้ตามปกติ มิฉะนั้น ร่างกายจะเผาผลาญไขมันจนทำให้ผอมอย่างรวดเร็ว และถ้าเป็นรุนแรง จะมีการคั่งของสาร คีโตน ซึ่งเป็นของเสีย ที่เกิดจากการเผาผลาญไขมัน สารนี้มีพิษต่อระบบประสาท ทำให้ผู้ป่วยหมดสติถึงตายได้

     เบาหวานชนิดไม่พึ่งพา อินซูลิน เป็นชนิดที่พบเป็นส่วนใหญ่ ในคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ขึ้นไป เป็นโรคที่ซับซ้อน ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากกรรมพันธุและสิ่งแวดล้อม โดยทั่วไป ผู้ป่วยจะ มีภาวะการผิดปกติของกระบวนการเมตาบอริซึม และความบกพร่องในการ หลั่งสารอินซูลิน เมื่อถูก กระตุ้นด้วย กลูโคส ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดเบาหวาน เมื่อเกิดภาวะร่างกาย ไม่ตอบสนอง ต่อ อินซูลิน ขึ้นร่างกายก็จะพยายามปรับ ตัวเองเพื่อให้ระดับ น้ำตาลในเลือด อยู่ในสภาวะปกติ โดยเพิ่มการหลั่ง อินซูลินจาก ส่วนประกอบของ ดับอ่อนที่เรียกว่า B -cell ทำให้เกิด ภาวะ อินซูลินในเลือดสูง ในขณะเดียวกัน ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเองก็ยังเป็นสาเหตุของ ทำให้เกิด โรคแทรกซ้อนขึ้น

     การควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดสูงทำได้โดยต้องควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย รวมทั้งยารักษาเบาหวาน แต่ก็ยัง มีข้อจำกัด เกิดอาการไม่พึงประสงค์ เป็นข้อมูลที่ได้จากการทดลองในห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัย สมุนไพร กรทวิทยาศาสตร์ การแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข ได้ทำการศึกษา ลดฤทธิน้ำตาล ด้วยสารสกัดจาก เจียวกู้หลาน พบว่าสามารถลดได้ในห้องทดลอง จากรายงานของ Poomecome W ( อ้างอิง Poomecome W Hypoglycemic activity of Extract From Gynostemma Pentaphyllum Makino. [ Thesis ] Faculty of Graduate Studies, ChiangMai University 1999 ) ได้รายงานสรุปรวมความว่า 

สรรพคุณที่มีอยู่ใน เจียวกู้หลาน จะทำกระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่งสารอินซูลิน และยับยั้ง การดูดซึมกลูโคส ในทางเดินอาหาร จากรายงานการศึกษา ข้างต้นแสดงให้เห็นว่า เจียวกู้หลาน จะกระตุ้น การหลั่ง อินซูลิน และยับยั้งการดูดซึมกลูโคสในทางเดินอาหาร ให้ผลให้สรรพคุณในการต้านการอักเสบ

    MR. LIM และ คณะ ( อ้างอิง LIM JM, Lin CC, Chiu HF, Jang JJ, Lee SG. Evalution of anti-inflammatory and liver protect effects of Anoectochilus formosanus, Ganoderma lucidum and Gynostemma pentaphyllum in rats. Am J Chin Med 1993; 21 (1) : 59-69 ) ได้ทำการทดลองนำ เจียวกู้หลาน แห้งไปสกัด ด้วยน้ำ จากนั้น นำน้ำสกัดไปทดสอบฤทธิ์ต้านอักเสบในหนูขาว พบว่าสามารถต้าน การอักเสบ ลดการบวมของอุ้งเท้าหนูได้ 

     คณะผู้วิจัยของสถาบันสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้สกัดสารจากเจียวกู้หลานเช่นกัน และก็ได้ผล คือ สารสกัดจากเจียวกู้หลานสามารถ ลดการอักเสบ ได้ ( อ้างอิง สถาบันวิจัย สมุนไพร กรทวิทยาศาสตร์ การแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข ISBN 974-7549-68-3 หน้า 21 )

ผลให้สรรพคุณในการป้องกันตับจากการเกิดสารพิษ

      จากรายงานการศึกษาฤทธิ์ ของเจียงกู้หลาน ในการป้องกันตับจากการเกิดสารพิษ พบว่า การให้สารสกัดด้วยน้ำ ของส่วนเหนือดิน ของเจียวกู้หลาน ขนาก 1 กรัม / กิโลกรัม ( คิดตามน้ำหนัก เจียวกู้หลานที่นำมาสกัด )แก่หนูขาวโดยฉีดเข้าทางช่องท้อง สามารถป้องกันตับ จากการเกิดสารพิษจาก CCI โดยหนูขาว ที่ได้รับสารสกัด จะมีปริมาณการเพิ่มของ เอ็มไซม์ และ การเกิดพยาธิ สภาพที่ตับน้อยกว่า กลุ่มที่ไม่ได้รับสารสกัด 

     นอกจากนั้น ยังมีรายงานว่า Gypenoside ซึ่งเป็น Saponins ที่สกัดแยกได้จากเจียวกู้หลาน มีฤทธิ์ในการรักษา ภาวะการเกิดพิษเรื้อรังที่ตับที่ถูกเหนี่ยวนำโดย CCI4 และลดการเกิด Fibrosis ด้วย โดยพบว่า Gypenoside จะลดการเพิ่ม ของ SGOT, SGPT activities ในหนูขาวในห้องทดลอง ซึ่งตับถูกทำลาย ด้วย CCI4 เป็นเวลานานถึง 8 สัปดาห์ และยังทำให้ปริมาณ Collagen ลดลง 33 % ให้ผลให้สรรพคุณในการต้านอนุมูลอิสระ Li L และคณะศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ของ Gypenosides ซึ่งจากการทดลองโดยใช้ phagocytes, liver microsomes และ vascular endothelial cells พบว่า Gypenosides ทำ ให้ปริมาณ Superoxide-anion และ hydrogen peroxide ใน human neurophils ลดลง และลดขนาดของ chemiluminescent oxidative burst ที่เกิดจาก zymosan ใน human monocytes และ murine macrophages gypenosides ยังสามารถยับยั้งการเกิด Lipid peroidation ของ liver microsome และ vascular endothelial cells ที่เหนี่ยวนำด้วย Fe2+/cysteine, ascorbate/NADPH หรือ hydrogen peroxide นอกจากนั้นยังพบว่า gypenosides สามารถป้องกัน biomembrane จากการเกิด oxidative injury โดยช่วยให้ membrane fluidity ของ microsome และ mitochondria ของตับที่ลดลงกลับดีขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพของ mitochondrial enzyme ใน vascular endothelial cells และลดการสูญเสีย intracellular lactate dehydrogenase ของเซลล์เหล่านี้

     เจียวกู้หลานให้สรรพคุณในการลดไขมันในเลือด โดยกรมวิชาการเกษตรในปี 2543 กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ทำการวิจัยพบสารต้านอนุมูลอิสระ ถึง 3 ชนิด เป็นข้อมูลที่ได้จากการทดลองในห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์ คือ

1. เควอซิติน ( Quercetin )
2. เคมเฟอรอล ( Kaempferol ) เป็นสารกลุ่ม ฟลาโวนอยส์ ( Flavonoids ) มีคุณสมบัติ
- ป้องกันการดูดซึมของน้ำตาลในลำไส้เล็ก
- ทำให้กระแสเลือดหมุนเวียนดี และหลอดเลือดแข็งแรง
- ยับยั้งการก่อสารมะเร็งเลือด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่
- ลดอาการแพ้ ยืดอายุเม็ดเลือดขาว

3. โพลีฟีนอล ( Polyphenols ) มีฟทธิ์ป้องกัยอนุมูลอิสระ ลดความเครียด เนื่องมากจากความไม่สมดุลของร่างกาย ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดแข็งตัว ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอกเลือดหัวใจ มะเร็งลำไส้ และมะเร็งกระเพาะอาหาร

ลดคลอเรสเตอรอล เจียวกู่หลาน ช่วยปรับลดระดับคลอเลสเตอรอลชนิด LDL กรดไขมันที่เสีย ที่ทำให้เกิดการอุดตันที่หลอดเลือดหัวใจ จึงเท่ากับ ลดความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน รักษาสมดุลให้กรดไขมัน ชนิด HDL กรดไขมันดี ทำให้เกิดการเผาผลาญไขมันได้ดี และลดกรดไขมันอิสระที่เกิดขึ้นเกิดจากการแปรสภาพของกรดไขมันเสีย 

    ผลที่ได้จากงานวิจัยสารสกัดของเจียวกู้หลาน เป็นข้อมูลที่ได้จากการทดลองในห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์

สารสกัดของเจียวกู้หลาน saponin ( crude saponin fraction ) มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต และ อัตราการเต้น ของหัวใจของหนูขาว ที่สลับด้วย เพนโทบาบิบาล และจากการที่พบว่าสาร atropine หรือ chlorphennilamine สามารถต้านฤทธิ์ ในการลดความดัน โลหิตและลดอัตราการเต้นของหัวใจของสารสกัดลดลง ดังนั้นกลไกในการออกฤทธิ์จึงน่าจะเกี่ยวข้องกับ histaminic และ cholinergic mechanism

Tanner MA และคณะ ได้ศึกษาฤทธิ์ของเจียวกู้หลาน ในการขยายหลอดเลือด และกลไกการออกฤทธิ์ พบว่า สารสกัด gypenosodes จากเจียวกู้หลาน ขนาด 0.1-100 ไมโครกรัม ต่อ มิลลิลิตร มีฤทธิ์ ในการขยายหลอดเลือด โคโรนารี

ในหลอดทดลอง และ พบว่า สารสกัด จากเจียวกู้หลาน ทำให้การสร้าง nitric oxide ของเซลเพาะเลี้ยง bovine arotic endothelial เพิ่มขึ้นแบบ dose - dependent โดยไม่ทำให้เกิดอันตราย ต่อเซลล์ จึงเห็นได้ว่า สารสกัดจากเจียวกู้หลานมีฤทธิ์โดยตรงต่อการหลั่งสาร notric oxide แต่ไม่มีผลต่อการสร้างสารกลุ่ม prostanoidให้ผลให้สรรพคุณในการลดไขมันในเลือด 

ในปี 2543 กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ทำการวิจัยพบสารต้านอนุมูลอิสระ ถึง 3 ชนิด คือ

1. เควอซิติน ( Quercetin )
2. เคมเฟอรอล ( Kaempferol ) เป็นสารกลุ่ม ฟลาโวนอยส์ ( Flavonoids ) มีคุณสมบัติ
- ป้องกันการดูดซึมของน้ำตาลในลำไส้เล็ก
- ทำให้กระแสเลือดหมุนเวียนดี และหลอดเลือดแข็งแรง
- ยับยั้งการก่อสารมะเร็งเลือด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่
- ลดอาการแพ้ ยืดอายุเม็ดเลือดขาว
3. โพลีฟีนอล ( Polyphenols ) มีฟทธิ์ป้องกัยอนุมูลอิสระ ลดความเครียด เนื่องมากจากความไม่สมดุลของร่างกาย ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดแข็งตัว ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอกเลือดหัวใจ มะเร็งลำไส้ และมะเร็งกระเพาะอาหาร
     ลดคลอเรสเตอรอล เจียวกู่หลาน ช่วยปรับลดระดับคลอเลสเตอรอลชนิด LDL กรดไขมันที่เสีย ที่ทำให้เกิดการอุดตันที่หลอดเลือดหัวใจ จึงเท่ากับ ลดความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน รักษาสมดุลให้กรดไขมัน ชนิด HDL กรดไขมันดี ทำให้เกิดการเผาผลาญไขมันได้ดี และลดกรดไขมันอิสระที่เกิดขึ้นเกิดจากการแปรสภาพของกรดไขมันเสีย

ผลที่ได้จากงานวิจัยสารสกัดของเจียวกู้หลาน

     สารสกัดของเจียวกู้หลาน saponin ( crude saponin fraction ) มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต และ อัตราการเต้น ของหัวใจของหนูขาว ที่สลับด้วย เพนโทบาบิบาล และจากการที่พบว่าสาร atropine หรือ chlorphennilamine สามารถต้านฤทธิ์ ในการลดความดัน โลหิตและลดอัตราการเต้นของหัวใจของสารสกัดลดลง ดังนั้นกลไกในการออกฤทธิ์จึงน่าจะเกี่ยวข้องกับ histaminic และ cholinergic mechanism

Tanner MA และคณะ ได้ศึกษาฤทธิ์ของเจียวกู้หลาน ในการขยายหลอดเลือด และกลไกการออกฤทธิ์ พบว่า สารสกัด gypenosodes จากเจียวกู้หลาน ขนาด 0.1-100 ไมโครกรัม ต่อ มิลลิลิตร มีฤทธิ์ ในการขยายหลอดเลือด โคโรนารีในหลอดทดลอง และ พบว่า สารสกัด จากเจียวกู้หลาน ทำให้การสร้าง nitric oxide ของเซลเพาะเลี้ยง bovine arotic endothelial เพิ่มขึ้นแบบ dose - dependent โดยไม่ทำให้เกิดอันตราย ต่อเซลล์ จึงเห็นได้ว่า สารสกัดจากเจียวกู้หลาน มีฤทธิ์โดยตรงต่อการหลั่งสาร notric oxide แต่ไม่มีผลต่อการสร้างสารกลุ่ม prostanoid ยกระดับสมุนไพรแทนยาแผนปัจจุบัน 

หัวข้อ: สา'สุขกับสมุนไพร

     น.พ.สมทรง รักษ์เผ่า อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในขณะนั้น เปิดเผยว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบสมุนไพรที่มีศักยภาพในการรักษาโรคสูง เหมาะต่อการพัฒนาไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และพาณิชย์ได้ดี คือสมุนไพรปัญจขันธ์ หรือที่จีนเรียกว่า เจียวกู้หลาน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gynostenuna pentaphyllum Makkino เป็นพืชล้มลุกชนิดเถา แพทย์ในญี่ปุ่น และ จีน ใช้เป็นยาต้านการอักเสบ แก้ไอ ซึ่งสารประเภท gypenoside ในพืชดังกล่าว สามารถลดระดับไขมันในเลือด เสริมระบบภูมิคุ้มกันยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ต้านการอักเสบ แก้ปวด และยับยั้งการเกาะตัวของเกร็ดเลือดได้ ในประเทศไทยปัจจุบันมีการปลูกที่จังหวัดเชียงใหม่

น.พ.สมทรง กล่าวต่อว่า ทางสถาบันวิจัยสมุนไพรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ดำเนินการศึกษา ฤทธิ์ของสารสกัดเจียวกู้หลาน พบว่าตัวยาที่สกัดได้แสดงฤทธิ์ยับยั้ง เอนไซม์เอชไอวี ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เชื้อเอชไอวีใช้ในการเพิ่มจำนวน และมีฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกันในหลอดทดลอง ได้ดีเมื่อทำการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลัน และพิษเรื้อรังของสารสกัดจากเจียวกู้หลาน 

ในสัตว์ทดลองพบว่ามีความปลอดภัยสูง นอกจากนี้ยังได้ทำการทดลองในอาสาสมัคร โดยการให้รับประทานสารสกัดในรูปของแคปซูลก็พบว่ามีความปลอดภัย จึงควรสนับสนุนการนำสมุนไพรนี้ มาใช้ประโยชน์ในระบบบริการสุขภาพเพื่อทดแทนยาแผนปัจจุบัน และเพื่อการส่งออก

ประโยชน์ในการดื่ม เจียวกู้หลาน เป็นประจำ เป็นข้อมูลที่ได้จากการทดลองในห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์

1. ลดคลอเรสเตอรอล จากผลงานวิจัยของหลายสถาบัน ที่เชี่ยวชาญพบว่า เจียวกู่หลาน ช่วยปรับลดระดับคลอเลสเตอรอล เป็นข้อมูลที่ได้จากการทดลองในห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ที่ทำให้เกิดการอุดตันที่หลอดเลือดหัวใจ ลดความเสี่ยง ในการเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน ช่วยทำให้เกิดกระบวนการการเผาผลาญไขมันได้ดี จึงลดไขมันไม่ให้สะสมตามผนังหลอดเลือด เนื่องจากภายในตัวของ ชาเองมีใยธรรมชาติที่ละลายน้ำจึงดูดซับไขมัน แล้วขับถ่ายทิ้งไป

2. เจียวกู้หลานช่วยเรื่องสมดุลของความดันเลือดในร่างกาย ช่วยทำให้การทำงานของหัวใจมีประสิทธิภาพช่วยปรับการทำงานของหัวใจ ในสภาวะ ระดับความดันโลหิตต่ำ ช่วยการขยายตัวของหลอดเลือด เมื่อร่างกายมีความดันโลหิตสูง ช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ของการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ และการเต้นของหัวใจ รวมทั้งป้องกันการ เกาะตัวของเกล็ดเลือดด้วย เป็นข้อมูลที่ได้จากการทดลองในห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์

3. เจียวกู้หลานช่วยให้ ระบบการย่อยอาหารเป็นไปตามปกติ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การดื่มเจียวกู่หลานเป็นประจำ จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เพิ่มการเผาผลาญของไขมันในร่างกาย มีผลให้ผู้ดื่ม เจียวกู้หลาน ลดน้ำหนักลดน้ำหนักส่วนเกินไปในตัวเป็นข้อมูลที่ได้จากการทดลองในห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์

4. เมื่อระบบร่างกายทำงานเป็นปกติ สมองก็จะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับฮอร์โมน ของร่างกายมีความสมดุล ร่างกายจึงกระปรี้กระเปร่า ผ่อนคลายความตึงเครียดของเส้นประสาท จึงทำให้เรานอนหลับได้เป็นปกติเป็นข้อมูลที่ได้จากการทดลองในห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์

5. เจียวกู้หลานช่วยชะลอความเสื่อมโทรมของเซลล์ในร่างกายของผู้ดื่ม มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระ เป็นข้อมูลที่ได้จากการทดลองในห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ที่เกิดขึ้นได้ในร่างกายของเราทุกคน มีผลทำให้ การเกิดมะเร็งลดต่ำลง

6. การนำสมุนไพรนี้ มาใช้ประโยชน์ในระบบบริการสุขภาพของท่าน เมื่อไม่เจ็บป่วย จึงลดการใช้ยาแผนปัจจุบัน ช่วยชาติประหยัดเงินตราต่างประเทศ ส่งเสริมการใช้สมุนไพร และเป็นการอนุรักษ์ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ซึ่งเป็นมรดกล้ำค่าของประเทศต่อไป

สมุนไพรเจียวกู้หลาน ( เบญจขันธ์ ) 

     ในปี 1977 มีคนจีนคนหนึ่งชื่อ ศิว์สื้อ หมิง เป็นเภสัชกรจบมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ปักกิ่งเขาได้เข้าทำงานที่ สถาบันวิจัยพืชสมุนไพรนครอานดัง มณฑลส่านซี จนกระทั่งฤดูใบไม้ผลิปี 1982 เขาได้ลางานชั่วคราวเพื่อไปเยี่ยมบ้านที่อำเภอผิงลี่ระยะทางไกลประมาณ 50 กิโลเมตร ในช่วงที่เขาพักผ่อนที่บ้านก็ใช้เวลาเสาะแสวงหาสมุนไพรตัวใหม่ๆ ในอำเภอผิงลี่โดยไปพูดคุยกับชาวบ้าน และหมอพื้นบ้าน เพื่อหาข้อมูลของสมุนไพร เขาได้พบสมุนไพรตัวใหม่ชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่า เสี่ยวโหม่จูเถิง ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาชาวบ้านที่เป็นโรคไขมันสูงในเส้นเลือด และโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างดี เขาดีใจมากที่ได้รับการยืนยันจากหมอพื้นบ้านและผู้ป่วยว่า สมุนไพรชนิดนี้ให้ผลการรักษาได้หลายโรคจริงๆ และยังเป็นสมุนไพรที่เขาแสวงหามานานหลายสิบปี เมื่อเขากลับมาที่ห้องทำงานของสถาบันวิจัยของเขา เขาก็ได้นำสมุนไพรดังกล่าวไปศึกษาวิจัยทันทีตามตำราแผนโบราณจีนซึ่งสมุนไพรชนิดนี้เรียกว่า เจียวกู้หลาน ซึ่งเริ่มแรกนั้น เจียวกู้หลาน เป็นอาหารที่ชาวบ้านใช้รับประทานแก้หิวยามฤดูแล้ง และนอกจากนี้ยังได้มีการบันทึกไว้ในตำรายาจีนด้วยว่าใช้เป็นยาแก้ไอและแก้ร้อนในต่างๆ ได้ดีอีกด้วย

หลากหลายชื่อเจียวกู้หลาน

     เจียวกู้หลานมีชื่อจีนหลายชื่อ เช่น ซีเย่ตั่น จิ้วฮวงเปิ้นเฉา และหนงเจิ้งเฉลียนหวู ในเมืองไทยเคยมีการนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน และจีน เข้ามาปลูกครั้งแรกในปี 2527 เรียกชื่อไทยว่า ชาเบญจขันธ์ ชาทิกวนอิม หรือ ชาสตูล เพราะเคยนำมาปลูกที่จังหวัดสตูลได้ผลดีเป็นครั้งแรก ปัจจุบันมาการปลูกที่เชียงใหม่ เช่น ที่อุโมงค์ สวนพุทธธรรม เชียงใหม่ สันกำแพง และอีกหลายแห่งในประเทศไทย เจียวกู้หลาน มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ gynostemma pentaphyllum เป็นพืชล้มลุก ชนิดเถา เลื่อนขนานกับพื้นดิน รากงอกออกจากข้อเป็นประเภทแตงน้ำเต้ามีใบ ๓-๕ ใบ ด้านบนและด้านใต้ใบมีขนอ่อนสีขาวปกคลุม เป็นพืชขึ้นตามธรรมชาติ อีกทั้งต้นก็เจริญเติบโตง่าย เจริญงอกงามอยู่ตามเขาเฉินหลง และเขตมณฑลทางใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียง โดยเฉพาะทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เจียวกู้หลานจึงถูกเรียกว่า โสมคนทางใต้
     ในประเทศไทย ทางกระทรวงเกษตรได้นำมาเผยแพร่นานแล้วแต่อาจจะมีปัญหาเรื่องการรักษาพันธุ์ ซึ่งยังไม่ค่อยแพร่หลายนัก เพราะเป็นพืชล้มลุกและตายง่าย ในฤดูฝนจะหยุดการเจริญเติบโต ในขณะที่ส่วนใต้ดินยังเจริญดีอยู่ อย่างไรก็ตามมีผู้สนใจ และปลูกเจียวกู้หลานเป็นบางแห่งเพื่อผลิตเป็นเครื่องดื่มมีรสแตกต่างกันบ้าง รสหวานบ้าง รสขมบ้าง ในรูปของชาสมุนไพรเสริมสุขภาพออกจำหน่ายแล้ว ส่วน ที่นำมาใช้ คือ ส่วนเหนือดินของพืชที่มีอายุ 4-5 เดือนขึ้นไป และเก็บจากต้นมาใช้ ได้ ๒-๓ ครั้งต่อปี นอกจากนี้องค์การเภสัชกรรมก็ได้มีกรศึกษาเบญจขันธ์ โดยการนำไปแพร่พันธุ์แบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและนำไปปลูกได้ดี นอกจากนี้ยังได้ศึกษาคุณสมบัติของส่วนประกอบสำคัญในด้านยา และเครื่องสำอางอยู่อีกด้วย

คุณสมบัติทางเภสัช และคลีนิก

     เป็นข้อมูลที่ได้จากการทดลองในห้องปฎิบัติการทางวิทยาศาสตร์ พบว่าเจียวกู้หลานเป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัย และใช้รับประทานประจำได้ไม่ว่าจะใช้ทั้งต้น ใบ หรือจากการสกัด และสารสำคัญในเจียวกู้หลานยังมีส่วนประกอบในการกระตุ้นประสาทไม่ให้เกิดความผิดปกติ หรืออาการแพ้ใดๆ จากการทดลองพิสูจน์พบว่าเจียวกู้หลานที่สกัดออกมานั้น สามารถลดไตรกรีเซอร์ไรด์ ในเลือดของสัตว์ทดลองที่มีไขมันสูงได้ และลดสารที่ได้จากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น เช่น ลิเปอร์ออกไซด์ คอเรสเตอรอล เพิ่มกำลังของหัวใจขาดเลือด ชะลอความชรา ยืดอายุของเซลล์และเพิ่มจำนวนอสุจิเป็นต้น กล่าวว่าเจียวกู้หลานมีสาร Ginsenosides คล้ายกับโสม และใช้เป็นยาบำรุงร่างกายมานานแล้ว สารสกัดจากเจียวกู้หลานจะเสริมสร้างการรวมตัวของโปรตีน และกรดในตับ เสริมสร้างเซลล์ไขกระดูก มีผลในการรักษาโรคในช่องอก และโรคโลหิตจาง บำรุงสมอง มีผลเพิ่มพลังต้านสภาพโรคที่เลวร้ายได้ เป็น ยาที่ใช้ระงับประสาทเป็นอย่างดี ตามรายงานว่าเจียวกู่หลานรักษาผู้ป่วยโรคหลอดลมเรื้อรังมากกว่า 500 ราย ผลการรักษาอยู่ในอัตราส่วนร้อยละ 79 และใช้รักษาโรคหลอดลมแข็งตัว ที่เป็นตัวทำให้เกิดความดันโลหิต ยังใช้รักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจอย่างน่าพอใจ และโรคปวดหลังและยังสามารถต้านโรคมะเร็ง และโรคกระเพาะเป็นแผลได้ ผลิตภัณฑ์เจียวกู้หลานภายในปี 1985 มีการผลิตยาและผลิตภัณฑ์เจียวกู้หลานที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีลิขสิทธิ์ประมาณ 8 ชนิด แสดงว่าเจียวกู้หลานมีสรรพคุณหลายด้าน ปัจจุบันในประเทศจีนได้เริ่มพัฒนาเจียวกู้หลานในรูปแบบชาชงดื่ม เช่น ชาจิ่วหลงกัน จากมณฑลฮกเกี้ยน ชาเวินเปา จากมณฑลกวางตุ้ง เจียวกู่หลานเข่าเล่อ ซีเย่ตันหนงเจี่ยง เป็นต้น คนจีนได้ทำการวิจัยยาประเภทบำรุงดองเหล้า เอี่ยนโซ่ว ที่ประกอบด้วยเจียวกู้หลาน ของโรงเหล้าหลงเอี๋ยนที่สินเจื่อและยาชง เจียวกู้หลานอีกด้วย
      ในประเทศจีนโดยเฉพาะสถาบันสมุนไพรอานดัง และมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ปักกิ่ง มีการวิจัยการใช้เจียวกู้หลานและศึกษาสรรพคุณในด้านเภสัชกรรมและด้านคลีนิคอย่างแพร่หลายพบว่า ชาเจียวกู้หลานมีสรรพคุณใช้บำรุงรางกายและรักษาโรคได้หลายด้าน ที่เด่นชัดคือ โรคเส้นเลือดใหญ่อุดตัน โรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตต่ำ และรักษาโรคปวดหลังข้างเดียว นอกจากนี้ยังมีผลในการช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่ายกายให้ดีขึ้น ระงับอาการทางประสาท ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น สดชื่น ลดความตื่นเต้น ชูกำลัง ต้านความอ่อนเพลีย ทำให้ชะลอความชรา มีความรู้สึกกระชุ่มกระชวย และยังสามารถใช้ได้อย่างไม่ต้องเกิดความกังวลว่าจะเกิดผลข้างเคียง ซึ่งประเทศไทยก็มีการนำ เจียวกู้หลานไปทำเป็นลูกกลอน และชาชงดื่ม เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย
     นอกจากนี้เจียวกู้หลานยังมีสรรพคุณในการควบคุมเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในช่องท้อง มะเร็งตับ มะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งสำไส้ มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งตับอ่อน มะเร็งปอด มะเร็งมดลูก มะเร็งเต้านม และอื่นๆ รวมกว่า ๒๐ชนิด ความสามารถในการควบคุมการแพร่เจริญของเซลล์มะเร็ง แพทย์จีนมีความเชื่อว่า เจียวกู้หลาน เป็นสมุนไพรสำคัญที่ใช้ในการป้องกันหรือรักษาโรคมะเร็ง และโรคเอดส์ได้ในอนาคต 
     ในปี 1987 กระทรวงสาธารณสุขของจีน ได้รับรองสมุนไพรเจียวกู้หลานอย่างเป็นทางการ ทำให้พืชสมุนไพรชนิดนี้มีบทบาทในด้านการส่งเสริมสุขภาพ และแพร่หลายมากยิ่งขึ้น โดยมีการนำไปผสมกับตำรายาสมุนไพรอื่นๆ เช่น เครื่องดื่มชนิดต่างๆ เครื่อง สำอาง ตลอดจนบุหรี่บางชนิดอีกด้วยเจียวกู้หลานจึง ได้รับความนิยมทั่วในประเทศจีนและในแถบเอเชียรวมได้ขยายในยุโรปและอเมริกา ด้วย 

 

เว็บ Medthai.com กล่าวไว้ว่า

สรรพคุณของเจียวกู่หลาน
    
เจียวกู่หลาน หรือ สมุนไพรปัญจขันธ์ชาเจียวกู่หลาน มีสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอความแก่ การรับประทานเจียวกู่หลานครั้งละ 2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง เป็นระยะเวลา 60 วัน จากคนที่เข้ารับการรักษาจำนวน 1-6 คน พบว่า คนที่เข้ารับการรักษาร่างกายทุกคนแข็งแรงดีขึ้น ความจำฟื้นคืนปกติ อาการนอนไม่หลับและอาการปวดหลังปวดเอวหายไป[1]
ใช้เป็นยารักษามะเร็ง ต้านทานการเจริญเติบโตของเชื้อมะเร็ง ด้วยการรับประทานสารสกัดจากเจียวกู่หลานครั้งละ 40 มิลลิลิตร วันละ 2 ครั้ง จากคนที่เข้ารับการรักษาจำนวน 30 คน โดยทำการรักษาเป็นระยะเวลา 3 เดือน พบว่า มี 27 ราย ได้ผลดีขึ้น ประสิทธิภาพในการรักษาประมาณ 87%[1] บางข้อมูลระบุว่าเจียวกู่หลานมีสรรพคุณช่วยควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งปอด มะเร็งในช่องท้อง มะเร็งลำไส้ มะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งถุงน้ำดี มะเร็งมดลูก มะเร็งเต้านม และอื่น ๆ อีกรวมกว่า 20 ชนิด
ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ลดไขมันในเส้นเลือด ด้วยการใช้ใบเจียวกู่หลานแห้ง นำมาชงกับน้ำรับประทานแทนน้ำชา ครั้งละ 2-3 กรัม วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 40 วันอย่างต่อเนื่อง พบว่า ผู้ที่เข้ารับการรักษาจำนวน 29 คน มี 19 คน ที่เห็นผลดี และมี 1 คน ที่ได้ผล โดยมีประสิทธิภาพในการรักษาอยู่ที่ 68.97%
ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ มีอาการปวดบิดทางหัวใจ ด้วยการใช้ใบเจียวกู่หลานแห้ง นำมาชงกับน้ำรับประทานแทนน้ำชา ครั้งละ 2-3 กรัม วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 40 วันอย่างต่อเนื่อง พบว่า คนไข้ที่เข้ารับการรักษาจำนวน 23 คน มี 7 คน ที่ได้ผล และมี 5 คน ที่ให้ผลเด่นชัด ส่วนอีก 11 รายยังไม่เห็นผลชัดเจน โดยมีประสิทธิภาพการรักษาอยู่ที่ 68.17%[1] แต่ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำจะปรับความดันให้เป็นปกติ
ช่วยทำให้หัวใจแข็งแรง
ช่วยยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด
ทั้งต้นและรากมีรสขม เป็นยาเย็น ใช้เป็นยาดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ รักษาไข้หวัด แก้ร้อนในต่าง ๆ
ช่วยแก้อาการไอ ไอเรื้อรัง
ช่วยขับเสมหะ
ใช้เป็นยารักษาหลอดลมอักเสบ โรคหลอดลมเรื้อรัง หลอดลมแข็งตัว ตามรายงานระบุว่าจากการใช้เจียวกู่หลานรักษาผู้ป่วยโรคหลอดลมเรื้อรังมากกว่า 500 ราย มีประสิทธิภาพในการรักษาอยู่ที่ 79%
ใช้รักษาโรคถุงลมในปอดอักเสบ ชาวจีนได้มีการใช้เจียวกู่หลานเป็นยารักษาผู้ป่วยที่มีอาการถุงลมในปอดอักเสบมาเป็นเวลานานแล้ว ซึ่งมีผลการทดลองที่ได้นำชาเจียวกู่หลานมาให้ผู้ป่วยดื่มเพื่อรักษาโรคถุงลมในปอดอักเสบ จากการทดลองพบว่า ได้ผลในการรักษาสูงถึง 92% จากการรักษาผู้ป่วยจำนวนทั้งหมด 96 ราย
ช่วยทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น และทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารมากยิ่งขึ้น
ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
ช่วยทำให้ตับแข็งแรง ใช้รักษาตับอักเสบติดเชื้อหรือตับอักเสบชนิดไวรัสบี กรวยไตอักเสบ
ใบนำมาทุบ ใช้เป็นยาพอกฝี (ชาวไทใหญ่)
ใช้เป็นยาขับพิษแก้อักเสบ ต้านการอักเสบ แก้ปวด
ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก
ต้นใช้ตำพอกเป็นยาแก้กระดูกหัก แก้อาการเจ็บในกระดูก ปวดในข้อเท้า ข้อมือ หรือปวดตามกล้ามเนื้อ รวมไปถึงอาการฟกช้ำดำเขียวต่าง ๆ (ต้นสด)[3]
ส่วนสรรพคุณในตำรับยาจีน ระบุไว้ว่าสารสกัดจากเจียวกู่หลานมีสรรพคุณช่วยส่งการสร้างเซลล์กระดูก เสริมสร้างการรวบตัวของโปรตีนและกรดในตับ ช่วยบำรุงสมอง มีผลต่อการรักษาโรคในช่องอก โรคโลหิตจาง โรคหลอดลมเรื้อรังและโรคหลอดเลือดแข็งตัว
นอกจากนี้เจียวกู่หลานยังมีสรรพคุณอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ช่วยแก้อาการท้องผูก ลดกรด รักษาลำไส้อักเสบ คางทูม ทอนซิล ความจำเสื่อม ปวดหัว ไมเกรน ผมหงอก ผมร่วง หอบหืด ฆ่าเชื้อราที่เท้า โรคเก๊าท์ ปวดหลัง ปวดเอว แก้หูอักเสบ แก้หูด ช่วยควบคุมน้ำหนักตัว ทำให้แผลหายเร็ว เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับเซลล์ในร่างกาย ยับยั้งเซลล์มะเร็ง ลดภูมิแพ้ สร้างสมดุลฮอร์โมนรอบเดือนของสตรี ฟื้นฟูฮอร์โมนต่อมลูกหมากของสุภาพบุรุษ ลดอาการต่อมลูกหมากโต ขับท่อปัสสาวะ ขับน้ำในร่างกายของคนที่เป็นคนอ้วน ขับของเสียที่ไต ช่วยล้างท่อปัสสาวะ ทำให้ท่อปัสสาวะโล่งและมีแรงดัน ช่วยขับลมต่าง ๆ (เช่น ลมที่ไม่ปกติในกระเพาะอาหารและลำไส้ ลมแน่นหน้าอก กรดไหลย้อน ลมในข้อกระดูก แขน ขา หัวไหล่) ขับไขมัน ขับถ่ายสะดวก เป็นต้น[5]
หมายเหตุ : วิธีการใช้ตาม [1] ให้ใช้ยาแห้งบดเป็นผงใส่ในแคปซูล ให้รับประทานครั้งละไม่เกิน 3 กรัม หรือใช้เข้ากับตำรับยาตามต้องการ[1]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของเจียวกู่หลาน
สารที่พบ ได้แก่ สาร Flavonol และสาร Gypenoside (1-52 ชนิด), Sterol ของเจียวกู่หลาน และยังพบกลูโคส, น้ำตาล, กลูโคลีน มีสารคล้ายกับโสมคน 4 ชนิด เช่น Rb1, Rd3, Rd, Rf2 รวมไปถึงกรดอะมิโน วิตามินบี1 วิตามินบี2 และยังมีแร่ธาตุอีกหลายชนิด เช่น แคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม แมงกานีส สังกะสี เป็นต้น[1],[2]
Dr Osama Tanaka แห่งคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮิโรชิมา ได้ทำการศึกษาจนพบว่า เจียวกู่หลานมีสาร Saponins ที่มีโครงสร้างโมเลกุลเหมือนกับโสม ต่อมา Dr Tsunematsu Takemoto ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรที่ศึกษาประโยชน์ของเจียวกู่หลานมากว่า 10 ปี ได้พบว่าเจียวกู่หลายมีสาร Saponins อยู่มากถึง 82 ชนิด หรือที่เรียกว่า Gypenosides และเจียวกู่หลานยังเป็นสมุนไพรที่ใช้เป็นยาได้เหมือนกับโสมแต่ดีกว่าโสม เนื่องจากโสมมีสาร Saponins ที่เรียกว่า Gypenosides อยู่เพียง 28 ชนิด ในขณะที่เจียวกู่หลานนั้นมี Gypenosides อยู่ถึง 82 ชนิด และสาร Gypenosides ที่พบในเจียวกู่หลานจะมีอยู่ 4 ชนิดที่เหมือนกับโสม และมีอีก 17 ชนิด ที่มีลักษณะคล้ายกับโสม นอกจากนี้ปริมาณของ Gypenosides ที่มีอยู่ในเจียวกู่หลานก็ยังมีมากกว่าและมีคุณสมบัติทางยาที่ดีกว่า Gypenosides ที่พบได้ในโสม อีกทั้งเจียวกู่หลานยังไม่มีพิษและไม่มีอาการแพ้ที่เกิดขึ้นจากการบริโภคอีกด้วย[2]
จากการศึกษาทดลองทางวิทยาศาสตร์เป็นเวลากว่า 30 ปีเจียวกู่หลานแคปซูล สามารถยืนยันได้ว่าสมุนไพรเจียวกู่หลานนั้นเป็น Adaptogen ที่มีคุณสมบัติอันน่ามหัศจรรย์ในการช่วยปรับสมดุลของการทำงานในระบบประสาทส่วนกลางซึ่งประกอบไปด้วย สมองไขสันหลัง ระบบประสาท Sympathetic ระบบ Parasympathetic ที่ควบคุมการทำงานของระบบประสาท การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ และการหลั่งฮอร์โมน หากร่างกายมีความเครียดมากเกินไป สาร Gypenosides จะช่วยทำให้ระบบประสาทส่วนกลางปรับตัวเพื่อทำให้ร่างกายผ่อนคลาย แต่ถ้าร่างกายมีอาการหดหู่ สาร Gypenosides ก็จะช่วยทำให้ระบบประสาทส่วนกลางปรับตัวปรับตัวเพื่อทำให้ร่างกายกระฉับกระเฉงขึ้น
จากรายงานของ Poomecome W ได้รายงานสรุปรวมความว่าเจียวกู่หลานสามารถกระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่งสารอินซูลินและยับยั้งการดูดซึมของกลูโคสในทางเดินอาหาร ซึ่งมีผลช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ (อ้างอิง Poomecome W. “Hypoglycemic activity of Extract From Gynostemma Pentaphyllum Makino”. 1999.)
Tanner MA และคณะ พบว่าสารสกัด Gypenosides ในขนาด 0.1-100 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร มีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือดโคโรนารีในหลอดทดลอง และพบว่าสารสกัดจากเจียวกู่หลานทำให้การสร้าง nitric oxide ของเซลล์เพาะเลี้ยง bovine arotic endothelial เพิ่มขึ้นแบบ dose-dependent โดยไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อเซลล์ จึงสรุปได้ว่าสารสกัดจากเจียวกู่หลาน มีฤทธิ์โดยตรงต่อการหลั่งของสาร notric oxide แต่ไม่มีผลต่อการสร้างสารกลุ่ม prostanoid
LIM และคณะ ได้ทำการทดลองนำเจียวกู่หลานแห้งไปสกัดด้วยน้ำ จากนั้นนำไปทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูขาวทดลอง พบว่าสามารถต้านการอักเสบ ลดอาการบวมของอุ้งเท้าหนูได้ (อ้างอิง LIM JM, Lin CC, Chiu HF, Jang JJ, Lee SG. “Evalution of anti-inflammatory and liver protect effects of Anoectochilus formosanus, Ganoderma lucidum and Gynostemma pentaphyllum in rats”. 1993.)
การให้สารสกัดด้วยน้ำจากส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นเจียวกู่หลาน ในขนาด 1 กรัมต่อกิโลกรัม (คิดตามน้ำหนักของเจียวกู่หลานที่นำมาสกัด) แก่หนูขาวทดลอง โดยการฉีดเข้าทางช่องท้อง พบว่าสามารถป้องกันตับจากการเกิดสารพิษจาก CCI และยังมีรายงานว่า Gypenoside มีฤทธิ์ในการรักษาภาวะการเกิดพิษเรื้อรังที่ตับ ซึ่งถูกเหนี่ยวนำด้วย CCI4 และลดการเกิด Fibrosis ด้วย โดยพบว่า Gypenoside จะลดการเพิ่มของ SGOT, SGPT activities ในหนูขาว ซึ่งตับถูกทำลายด้วย CCI4 เป็นเวลานานถึง 8 สัปดาห์ และยังทำให้ปริมาณของคอลลาเจนลดลง 33%
ตัวยาที่สกัดได้จากเจียวกู่หลานมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์เอชไอวีโพรทีเอส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่เชื้อ HIV ใช้ในการเพิ่มจำนวน และมีฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกันในหลอดทดลองได้เป็นอย่างดี[2]
จากการทดสอบความเป็นพิษแบบเฉียบพลันและพิษเรื้อรังของสารสกัดเจียวกู่หลานในสัตว์ทดลอง พบว่าสมุนไพรชนิดนี้มีความปลอดภัยสูง และยังได้ทำการทดลองในอาสาสมัคร โดยให้รับประทานสารสกัดเจียวกู่หลานแคปซูลก็พบว่ามีความปลอดภัย
ประโยชน์ของเจียวกู่หลาน
ชาวจีนนิยมใช้เจียวกู่หลานมาบริโภคเป็นอาหารและต้มดื่มแทนน้ำชาชาเจียวกู้หลาน เพราะเจียวกู่หลายมีคุณสมบัติในการส่งเสริมธาตุหยินและหยางของร่างกาย ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง สามารถทำงานหนักกลางแจ้งได้นาน มีอายุยืนยาว ดูอ่อนเยาว์กว่าวัย และยังมีอัตราการป่วยเป็นโรคมะเร็งที่ต่ำด้วย
ในประเทศจีนได้มีการใช้เจียวกู่หลานร่วมกับสมุนไพรจีนชนิดอื่นและน้ำผลไม้ที่คั้นจากผลกีวี่ซึ่งมีวิตามินซีและวิตามินอีสูง ซึ่งนำมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาหารป่วยอันเกิดจากอนุมูลอิสระต่าง ๆ อย่างได้ผลและมีประสิทธิภาพ เช่น อาการขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจที่เป็นสาเหตุของหัวใจวาย อาการกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรืออาการขาดเลือดไปเลี้ยงสมองที่เป็นสาเหตุของอัมพาต
เจียวกู่หลานเป็นสมุนไพรที่สามารถช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกายได้ เพราะช่วยทำให้การทำงานของระบบน้ำเหลืองดีขึ้น โดยการสร้างเม็ดเลือดขาวสำหรับกำจัดเชื้อโรคภายในร่างกาย จึงทำให้ร่างกายแข็งแรง หายอ่อนเพลีย มีภูมิต้านทานมากขึ้น และยังช่วยป้องกันฤทธิ์ทางชีวภาพของรังสีแกมม่าในการทำลายเม็ดเลือดขาว ทำลายระบบภูมิคุ้มกันได้ด้วย นอกจากนี้ในประเทศไทยบ้านเราเองก็ได้มีการทดลองใช้สมุนไพรเจียวกู่หลานเพื่อประกอบการรักษาผู้ป่วยเอดส์ โดยพบว่าผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันของร่างกายสูงขึ้นด้วย
เจียวกู่หลานมีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ซึ่งอนุมูลอิสระนั้นเป็นสาเหตุของปัญหาทางด้านสุขภาพหลายอย่าง เช่น ทำให้อวัยวะภายในเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ ผิวหนังเหี่ยวย่นไว DNA ทำงานผิดปกติ ร่างกายจึงแก่เร็ว ทำให้เส้นเลือดตีบตันจนทำให้เป็นสาเหตุของอาการต่าง ๆ (เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย อัมพาต ไตเสื่อมหรือไตวาย เป็นต้น) ทำให้เกิดอาการอักเสบที่เอ็นและกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันมากเกินไป จนทำให้มีอาการข้ออักเสบหรือเป็นโรคเม็ดเลือดขาวมากเกินไป นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็ง โรคสมองเสื่อมหรือความจำเสื่อมอีกด้วย เป็นต้น
สาร Gypenosides ในสมุนไพรเจียวกู่หลานสามารถช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่ปกติได้ กล่าวคือถ้ามีอาการความดันโลหิตต่ำจะปรับให้เป็นปกติ แต่ถ้ามีความดันโลหิตสูงจะปรับให้ลดลง
เจียวกู่หลานมีคุณสมบัติในการรักษาโรคเบาหวานและโรคตับ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยมีสารซาโปนินที่มีคุณสมบัติลดอาการป่วยจากโรคตับอักเสบและโรคเบาหวาน ด้วยการเข้าไปช่วยกระตุ้นการสร้างอินซูลินจากตับอ่อน จึงช่วยลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้
เจียวกู่หลานมีคุณสมบัติในการลดไขมันในเลือดได้ ซึ่งจากการรักษาผู้ป่วยโดยใช้สาร Gypenosides พบว่าสามารถลดระดับของไตรีกลีเซอไรด์ และไขมันเลว (LDL) ที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพได้ และยังช่วยเพิ่มไขมันดี (HDL) ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
ในวงการแพทย์นั้นยอมรับว่าสาร Ginsenosides Rh 12 ที่พบได้ในโสมนั้นมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้เป็นอย่างดี แต่สาร Rh12 ที่มีอยู่ในโสมนั้นมีปริมาณเพียง 0.001% เท่านั้น แต่ในสมุนไพรเจียวกู่หลานจะมีสาร Ginsenosides 22-29 ที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้เช่นกัน แต่มีปริมาณมากกว่าในโสมหลายเท่าตัว
เจียวกู่หลานสามารถช่วยขยายหลอดเลือดของหัวใจให้มีอัตราการไหลเวียนของเลือดจากหัวใจสูงขึ้น (แต่อัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตไม่มีการเปลี่ยนแปลง)[2]
สาร Gypenosides ในสมุนไพรเจียวกู่หลานสามารถป้องกันการจับตัวของลิ่มเลือดได้ ถ้าหากลิ่มเลือดอุดตันในบริเวณเส้นเลือดหัวใจ จะเป็นสาเหตุให้มีอาการหัวใจเต้นผิดปกติหรือหัวใจวายได้
ในจำนวนพืชกว่า 4,000 ชนิด สมุนไพรที่จัดได้ว่าเป็น Adaptogen จะต้องไม่มีสารใด ๆ ที่เป็นพิษต่อร่างกายและช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยรักษาโรคร้ายต่าง ๆ โดยมีผลต่อการทำงานของร่างกายที่สำคัญคือ ช่วยบำรุงการทำงานของอวัยวะภายในให้แข็งแรงและปรับสมดุลการทำงานของระบบประสาท ระบบฮอร์โมนให้เป็นปกติจากความเครียด ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้พบว่า สมุนไพรเจียวกู่หลานนั้นเป็น Adaptogen ที่ดีกว่าสมุนไพรชนิดอื่น ๆ
ในอดีตชาวจีนจะใช้เจียวกู่หลานเป็นอาหารแก้หิวยามแล้ง บำรุงร่างกาย ชูกำลัง ชะลอความแก่ชรา ทำให้กระชุ่มกระชวย ช่วยทำให้นอนหลับสบาย ผ่อนคลายความเครียด ลดความตื่นเต้น ช่วยลดอาการปวดหัวข้าวเดียวหรือไมเกรนได้
ช่วยรักษาความยืดหยุ่นและความความชุ่มชื้นของผิวพรรณ ทำให้ผิวหนังเต่งตึง
ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางร่างกายและทางเพศ ช่วยเพิ่มจำนวนอสุจิ
การดื่มชาเจียวกู่หลานก่อนเข้านอน จะช่วยทำลายสารอาหารตกค้างในร่างกาย รวมไปถึงอาหารที่ไม่สะอาดหรือย่อยสลายไม่หมด และขับสารพิษต่าง ๆ ในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ดี
โครงการหลวงได้มีการนำเจียวกู่หลานมาพัฒนาเจียวกู้หลานเป็นพืชปลูกเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชาวเขา เนื่องจากสมุนไพรชนิดนี้มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ มีประโยชน์ทั้งเป็นยาสมุนไพรและเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ สามารถนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรได้หลากหลายรูปแบบ เช่น เจียวกู่หลานแคปซูล ชาเจียวกู่หลาน ไวน์เจียวกู่หลาน รวมไปถึงเจียวกู่หลานในรูปแบบของยาลูกกลอนชา ยาเม็ด ยาน้ำ ยาผสม หรือบางทีก็นำเอาสารสกัดจากเจียวกู่หลานไปผสมกาแฟก็มี นอกจากนี้ยังมีการนำไปผสมในตำรายาสมุนไพรอื่น ๆ เครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ เครื่องสำอาง ตลอดจนบุหรี่บางชนิด ซึ่งก็ได้รับความนิยมทั่วไปทั้งในและต่างประเทศในแถบเอเชียรวมไปถึงในแถบยุโรปและอเมริกาด้วย[2],[3]
วิธีชงชาเจียวกู่หลาน
ให้หยิบใบชามาประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ใส่ภาชนะชงชา รินน้ำร้อน 90-100 องศา (ไม่ควรใช้น้ำประปา) แช่ใบในน้ำร้อนประมาณ 1 นาที อย่าแช่ไว้นานเพราะจะทำให้สีชาเข้ม ถ้าชาเข้มจนเกินไปก็ให้เอาน้ำร้อนรินใส่จนออกเหลืองอ่อน ดื่มอุ่น ๆ ได้จะดีมาก หรือถ้าดื่มไม่หมดก็ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วนำไปแช่ตู้เย็น ใช้ดื่มเป็นน้ำเย็นก็สดชื่นดีเช่นกัน

คำแนะนำ : การดื่มชาเจียวกู่หลานควรดื่มหลังอาหารเช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน โดยควรชงด้วยน้ำร้อนจัดหรือเดือดจัดประมาณ 100 องศาเซลเซียส (ไม่ควรใช้น้ำประปาชง เพราะมีสารคลอรีนอยู่มาก อาจทำให้รสและกลิ่นของชาเสียได้) เพื่อให้ใบชาคลายรสชาติที่ดีออกมา แต่ข้อมูลจากจดหมายข่าวผลิใบของกรมวิชาการเกษตร (คอลัมน์ขอคุยด้วยคนโดยคุณ “มธุรส วงษ์ครุฑ”) ได้เขียนถึงการดื่มชาเจียวกู่หลายไว้ว่าห้ามดื่มติดต่อกันนานเกิน 7 วัน เมื่อดื่มครบ 7 วันแล้วก็ให้หยุดดื่มประมาณ 1-2 วัน แล้วค่อยเริ่มต้นดื่มใหม่ และถ้าหากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดศีรษะ มึนงง ตาพร่าลาย ก็ให้หยุดดื่มเช่นกัน ส่วนขนาดที่รับประทานนั้นให้ดูที่ฉลาก และสามารถชงซ้ำได้ 1-2 รอบ ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ใส่ลงไปหรือจนกว่าน้ำชาจะเจือจางลง เมื่อใช้เสร็จแล้วก็อย่าลืมปิดซองให้สนิทด้วยนะครับ หรือจะใส่ในภาชนะอื่นที่เป็นภาชนะสุญญากาศก็ได้ (ห้ามเก็บในตู้เย็น เพราะใบชาอาจขึ้นราได้) ส่วนบางข้อมูลระบุว่าสตรีสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร ผู้ที่ฟอกไต คนผอมแห้งไม่ควรดื่มชาเจียวกู่หลาน (ไม่ยืนยัน)

 

ากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ www.thairath.co.th/content/257834
'เจียวกู้หลาน' ชาบำบัดโรค
“ดื่มชา” เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นคนจีน คนอังกฤษ แขกอินเดีย หรือแขกอาหรับ ล้วนแล้วแต่มีวิถีวัฒนธรรมการดื่มชาเป็นของตัวเอง<br /><br />กล่าวกันว่า มนุษย์ในโลกนี้รู้จักการ “ดื่มชา” มานานกว่า 5,000 ปี ทั้งดื่มเพื่อเป็นเครื่องดื่ม เพื่อความรื่นรมย์ และเพื่อเป็นยา
คนจีนและแขกดื่มชา เพื่อละลายไขมันจากอาหารที่บริโภคเข้าไป ศัลยา คงสมบูรณ์เวช ผู้เชี่ยว ชาญด้านโภชนบำบัด บอกว่า ชาทุกชนิดมีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์สูง โดยเฉพาะฟลาโวนอยด์ ซึ่งมีคุณสมบัติในการป้อง กันโรคได้หลายโรค
นักวิจัยชาวเนเธอร์แลนด์พบว่า ผู้ที่ได้รับสารฟลาโวนอยด์อย่างสม่ำเสมอ จะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจหลอดเลือดลดลงถึง 68% ซึ่งสารที่ว่านี้พบมากในชาดำ หัวหอม และแอปเปิ้ล<br /><br />รายงานการวิจัยจากองค์การอาหารและเกษตรของสหรัฐฯระบุว่า
การดื่มชาดำวันละ 5 ถ้วย ช่วยลดแอลดีแอล หรือคอเลสเทอรอลที่ชอบไปเกาะตามผนังหลอดเลือดลงถึง 11.1% ขณะที่การวิจัยในบอสตันระบุว่า ผู้ที่ดื่มชาดำวันละถ้วย จะช่วยลดความเสี่ยงจากหัวใจวายได้ถึง 44% เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ดื่มชา
ปัจจุบันกระแส “ชา” กลายเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายพอๆกับกาแฟ ชาหลากหลายชนิดถูกออกแบบให้ตรงกับรสนิยมของผู้นิยมดื่มหรือจิบชา ถ้าชาดำขมไปก็มีชาเขียว ชาขาว ชาดอกไม้ ชาผลไม้ ชาสมุนไพร ที่ต่างก็มีรสและกลิ่นอันกลมกล่อมละมุนละไมแตกต่างกันตามชนิดของชา
“เจียวกู้หลาน” เป็นชาอีกชนิดหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะการนำมาใช้เพื่อป้องกันยับยั้งและบำบัดโรคหลายชนิด เจียวกู้หลานมีชื่อเรียกหลายชื่อในหลายประเทศ คนไทยเรียกว่า “เบญจขันธ์”
ญี่ปุ่นเรียกว่า อะมาซาซูรู ที่แปลว่า ชาหวานจากเถา ส่วนคนจีนเรียกว่า เซียนเถา หรือ โสมใต้ ที่ล่าสุด สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ องค์การเภสัชกรรม ได้มีโครงการวิจัยที่จะพัฒนาเจียวกู้หลานให้เป็นสมุนไพรต้านโรคอีกประเภทหนึ่ง

งานวิจัยในห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์พบว่า ในใบชาเจียวกู้หลานมีสารสำคัญชื่อ Gypenosides ถึง 82 ชนิด ซึ่งมากกว่าที่มีในโสม 3-4 เท่า ผลการวิจัยของจีนและญี่ปุ่นพบสรรพคุณของ เจียวกู้หลาน ตรงกันว่ามีสารที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
ช่วยให้นอนหลับ ลดระดับไขมันในเลือด เสริมระบบภูมิคุ้มกัน ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งบางชนิด ต้านการอักเสบ และลดระดับความดันโลหิตสูง รวมทั้ง ลดระดับน้ำตาลในเลือด
โดยส่วนประกอบที่สำคัญอันหนึ่งก็คือ ซาโปนิน ที่มีอยู่ในเจียวกู้หลาน มีคุณสมบัติในการลดอาการป่วยจากโรคตับอักเสบและโรคเบาหวาน โดยเข้าไปช่วยกระตุ้นสร้างอินซูลินจากตับอ่อน จึงช่วยลดน้ำตาลในกระแสเลือดได้
ข้อพิสูจน์ทางการแพทย์ที่มีการเผยแพร่ผ่านเอกสารวิชาการจำนวนมากยืนยันว่า เจียวกู้หลานสามารถป้องกันโรคเบาหวาน ไขมันในเส้นเลือด โรคมะเร็งในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยลดอาการไตวาย และอาการปวดหัวข้างเดียวหรือไมเกรนได้

การดื่มชาเจียวกู้หลาน ควรดื่มหลังอาหารเช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน โดยเฉพาะก่อนนอน จะช่วยทำลายสารอาหารตกค้าง อาหารที่ไม่สะอาด ย่อยสลายไม่หมด ขับสารพิษในกระเพาะอาหารและลำไส้
เคล็ดลับการชง ชาดอกไม้ ชาดำ ชาแดง ชาอูหลง รวมทั้ง ชาเจียวกู้หลาน ควรชงด้วยน้ำร้อนจัด หรือเดือดจัด 100 องศาเซลเซียส เพื่อให้ใบชาคลายรสชาติที่ดีออกมา มีเพียงชาเขียวเท่านั้นที่ไม่ควรชงด้วยน้ำเดือดเพราะจะทำลายรสชาติความสดของชา

จากเว็บไซด์ http://www.disthai.com
สรรพคุณเจียวกู่หลาน
สรรพคุณยาจีน แพทย์แผนจีนใช้ส่วนเหนือดินหรือใบเจียวกู่หลานเป็นยาแก้อักเสบ แก้ไอ ขับเสมหะ และแก้หลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง ชาชงเจียวกู่หลานใช้บำรุงร่างกาย แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยให้เจริญอาหาร ช่วยให้นอนหลับ และเสริมภูมิคุ้มกัน จีนตอนใต้แถบยูนานไปจนถึงไต้หวันรู้จักเจียวกู่หลานมาเนิ่นนาน โดยถือเป็นยาอายุวัฒนะ

สรรพคุณยาไทย ยาพื้นบ้านของขาวเขาเผ่ามูเซอ ใช้ทั้งต้นเป็นยาพอกรักษาแผล รักษากระดูกและอาการปวดกระดูก ปวดในข้อมือ ข้อเท้า และอาการฟกช้ำดำเขียว ชาวเขาพวกจีนฮ่อใช้ใบกิ่งและลำต้นมาคั่วทำเป็นชาสำหรับดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง ยาพื้นบ้านของชาวเขาเผ่าลาฮู (lahu) ใช้ทั้งต้นเป็นยาพอกรักษาแผล รักษาอาการกระดูกและอาการปวดกระดูก มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง. ต้านอักเสบ ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร

คุณประโยชน์ของเจียวกู่หลาน
 ช่วยลดโคเลสเตอรรอลชนิด LDL และรักษาสมดุลในการเกิดของไขมัน HDL จึงลดสาเหตุที่ทำให้เกิดการอุดตันที่หลอดเลือดหัวใจ ลดความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน ช่วยทำให้เกิดกระบวนการเผาผลาญไขมันได้ดี จึงลดไขมัน ไม่ให้สะสมตามผนังหลอดเลือด เนื่องจากในตัวของเจียวกู่หลานมีใยธรรมชาติที่สามารถจะดูดซับไขมันแล้วขับถ่ายออกไปจากร่างกายได้

 ช่วยปรับความสมดุลของระบบความดันโลหิต เช่น ช่วยปรับการทำงานของหัวใจในสภาวะเกิดระดับความดันโลหิตต่ำ และช่วยการขยายตัวของหลอดเลือด เช่น ช่วยปรับการทำงานของหัวใจในสภาวะเกิดระดับความดันโบหิตต่ำ และช่วยการขยายตัวของหลอดเลือดเมื่อร่างการมีความดันโลหิตสูง ช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ของการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ และการเต้นของหัวใจ รวมทั้งป้องกันการเกิดภาวะอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองได้
 ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ โดยไปกระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่งสารอินซูลิน และยังยั้งการดูดซึมกลูโคสในทางเดินอาหาร
 ช่วยชะลอความเสื่อมโทรมของเซลล์ในร่างกาย เนื่องจากมี Flavonoids, Glycoside ที่มีคุณสมบัติในการต้านการเกิดอนุมูลอิสระ
 ช่วยต้านการอักเสบ แก้ปวด ปวดศีรษะไมเกรน ขับเสมหะ แก้ไอ
 ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน และลดอาการแพ้
 รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
 ยับยั้งการเติบโตของเนื้องอกและมะเร็ง
 ช่วยการทำงานของระบบกล้ามเนื้อหัวใจและระบบการไหลเวียนของโลหิต
 เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับเซลล์ เสริมสร้างเซลล์ไขกระดูกและเม็ดเลือดขาว
 ช่วยลดอาการผมหงอก ผมร่วง
 ช่วยเพิ่มปริมาณเชื้ออสุจิ
 มีการวิจัยและศึกษาจากสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เจียวกู่หลานว่ามีฤทธิ์ยับยั้ง gnzyme HIV protease ทำให้เชื้อไวรัส HIV ไม่เพิ่มจำนวนขึ้น
 มีฤทธิ์ในการลดภาวการณ์เกิดพิษเรื้อรังที่ตับ และลดการเกิด fibrosis โดยพบว่า Gypenoside ในเจียวกู่หลานจะลดการเพิ่มขึ้นของ SGOT และ SGPT ได้สามารถป้องกัน biomembrane จากการเกิด oxidationinjury ได้
 ช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพต่อการสั่งงานของสมอง ช่วยลดปัญหาความจำเสื่อมได้
 ช่วยในการบำรุงสายตา
 มีสารช่วยบำรุงร่างกาย

รูปแบบขนาดวิธีการใช้เจียวกู่หลาน
รูปแบบการใช้นั้น สามารถใช้ได้ตามตำรับยาต่างๆ ได้ และในปัจจุบันมีการสกัดสารและทำในรูปแบบยาแผนปัจจุบันและชาชงกันอย่างแพร่หลาย และมีขนาดการใช้แตกต่างกันไปในแต่ละบริษัท ขนาดที่ใช้เป็นยาอายุวัฒนะชะลอความแก่ ให้ใช้ยาแห้งบดเป็นผงใส่ในแคปซูล ให้รับประทานครั้งละไม่เกิน 3 กรัม ตามตำรับยาไทยโบราณ ใช้เข้ากับตำรายาตามต้องการ

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของเจียวกู่หลาน

• Dr Osama Tanaka แห่งคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮิโรชิมา ได้ทำการศึกษาจนพบว่า เจียวกู่หลานมีสาร Saponins ที่มีโครงสร้างโมเลกุลเหมือนกับโสม ต่อมา Dr Tsunematsu Takemoto ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรที่ศึกษาประโยชน์ของเจียวกู่หลานมากกว่า 10 ปี ได้พบว่าเจียวกู่หลานมีสาร Saponins อยู่มากถึง 82 ชนิด หรือที่เรียกว่า Gypenosides และเจียวกู่หลานยังเป็นสมุนไพรที่ใช้เป็นยาได้เหมือนกับโสมแต่ดีกว่าโสม เนื่องจากโสมมีสาร Saponins ที่เรียกว่า Gypenosides อยู่เพียง 28 ชนิด ในขณะที่เจียวกู่หลานนั้นมี Gypenosides อยู่ถึง 82 ชนิด และสาร Gypenosides ที่พบในเจียวกู่หลานจะมีอยู่ 4 ชนิดที่เหมือนกับโสม และมีอีก 17 ชนิด ที่มีลักษณะคล้ายกับโสม นอกจากนี้ปริมาณของGypenosides ที่มีอยู่ในเจียวกู่หลานก็ยังมีมากกว่าและมีคุณสมบัติทางยาที่ดีกว่า Gypenosides
ที่พบได้ในโสม อีกทั้งเจียวกู่หลานยังไม่มีพิษและไม่มีอาการแพ้ที่เกิดขึ้นจากการบริโภคอีกด้วย
• LIM และคณะ ได้ทำการทดลองนำเจียวกู่หลานแห้งไปสกัดด้วยน้ำ จากนั้นนำไปทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูขาวทดลอง พบว่าสามารถต้านการอักเสบลดอาการบวมของอุ้งเท้าหนูได้
• การให้สารสกัดด้วยน้ำจากส่วนที่อยู่เหนือดินของต้นเจียวกู่หลาน ในขนาด 1 กรัม ต่อกิโลกรัม (คิดตามน้ำหนักของเจียวกู่หลานที่นำมาสกัด) แก่หนูขาวทดลองโดยการฉีดเข้าทางช่องท้อง พบว่าสามารถป้องกันตับจากการเกิดสารพิษจาก CCI และยังมีรายงานว่า Gypenosides มีฤทธิ์ในการรักษาภาวะ การเกิดพิษเรื้อรังที่ตับ ซึ่งถูกเหนี่ยวนำด้วย CCI4 และลดการเกิด Fibrosis ด้วย โดยพบว่า Gypenosides จะลดการเพิ่มของ SGOT, SGPT activities ในหนูขาว ซึ่งตับถูกทำลายด้วย CCI4 เป็นเวลานานถึง 8 สัปดาห์ และยังทำให้ปริมาณของคอลลาเจนลดลง 33%

การศึกษาทางพิษวิทยาของเจียวกู่หลาน
ความเป็นพิษได้ทำการทดสอบความเป็นพิษกับหนูขาว โดยให้กินสารสกัดปัญจขันธ์ในขนาด 6, 30 , 150 และ 750 มก./กก./วัน นาน 6 เดือน ไม่พบอาการผิดปกติใดๆ ค่าชีวเคมีในเลือดปกติ อวัยวะภายในเป็นปกติ ไม่พบพิษหรือผลข้างเคียงใดๆ และมีการทดสอบความเป็นพิษกับคน โดยรับประทานสารสกัดปัญจขันธ์แคปซูลประกอบด้วยสาร Gypenoside 40 มก./แคปซูล ครั้งละ 2 เม็ดหลังอาหารเช้า – เย็น ติดต่อกันนาน 2 เดือน พบว่า ไม่พบอาการผิดปกติใดๆ ในอาสาสมัคร ดังนั้น การศึกษาความเป็นพิษของปัญจขันธ์ สามารถสรุปได้ว่าค่อนช้างผลอดภัย เพราะไม่พบสารพิษและอาการข้างเคียง แต่อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาทางคลินิกเพิ่มเติม

ข้อควรแนะนำ ข้อควรระวัง
จากจดหมายข่าวผลิใบของกรมวิชาการเกษตร ได้เขียนถึงการดื่มชาเจียวกู่หลานไว้ว่า ห้ามดื่มติดต่อกันเกิน 7 วัน เมื่อดื่มครบ 7 วันแล้ว ก็ให้หยุดดื่มประมาณ 1 – 2 วัน แล้วค่อยเริ่มต้นดื่มใหม่ และถ้าหากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดศีรษะ มึนงง ตาพร่าลาย ก็ให้หยุดดื่มเช่นกัน ส่วนขนาดที่รับประทานนั้นให้ดูที่ฉลาก และสามารถชงซ้ำได้ 1 – 2 รอบ ขึ้นอยู่กับปริมาณที่ใส่ลงไปหรือจนกว่าน้ำชาและเจือจางลง เมื่อใช้เสร็จแล้วก็อย่าลืมปิดซองให้สนิท หรือจะใส่ในภาชนะอื่นที่เป็นภาชนะสุญญากาศก็ได้

จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์   www.dailynews.co.th/agriculture/530904

เจียวกู่หลาน
เจียวกู่หลานเป็นไม้ล้มลุกตระกูลหญ้ามีรากอยู่ใต้ดิน เป็นรากเลื้อย ลำต้นเป็นข้อ ๆ มีมือเกาะตามข้อ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด การปักชำ ชอบที่ชื้นแฉะ มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย ในบริเวณภูมิประเทศที่เป็นป่าเขา พบในประเทศอินเดีย เนปาล จีน เมียนมา ลาว เกาหลี และญี่ปุ่น ส่วนในประเทศไทยมีการนำมาปลูกในพื้นที่สูงหลายแห่ง ในทางสมุนไพรช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ลดไขมันในเส้นเลือด พฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2559 เวลา 05.15 น

เจียวกู่หลาน
เจียวกู่หลานเป็นไม้ล้มลุกตระกูลหญ้ามีรากอยู่ใต้ดิน เป็นรากเลื้อย ลำต้นเป็นข้อ ๆ มีมือเกาะตามข้อ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด การปักชำ ชอบที่ชื้นแฉะ มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย ในบริเวณภูมิประเทศที่เป็นป่าเขา พบในประเทศอินเดีย เนปาล จีน เมียนมา ลาว เกาหลี และญี่ปุ่น ส่วนในประเทศไทยมีการนำมาปลูกในพื้นที่สูงหลายแห่ง ในทางสมุนไพรช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ลดไขมันในเส้นเลือด พฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2559 เวลา 05.15 น.

เจียวกู่หลานเป็นไม้ล้มลุกตระกูลหญ้ามีรากอยู่ใต้ดิน เป็นรากเลื้อย ลำต้นเป็นข้อ ๆ มีมือเกาะตามข้อ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด การปักชำ ชอบที่ชื้นแฉะ ริมทางน้ำไหล มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย ในบริเวณภูมิประเทศที่เป็นป่าเขาที่มีความสูงระดับ 300-3,200 เมตร จากระดับน้ำทะเล พบในประเทศอินเดีย เนปาล จีน เมียนมา ลาว เกาหลี และญี่ปุ่น ส่วนในประเทศไทยมีการนำมาปลูกในพื้นที่สูงหลายแห่ง ในทางสมุนไพรช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ลดไขมันในเส้นเลือด ด้วยการใช้ใบเจียวกู่หลานแห้งมาชงกับน้ำรับประทานแทนน้ำชา ครั้งละ 2-3 กรัม วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกัน 40 วันอย่างต่อเนื่อง

 

เจียวกู้หลานธรรมชาติที่แนะนำ

วิธีการสั่งซื้อ เจียวกู้หลานธรรมชาติเป็นเจียวกู้หลานสมุนไพรไทยคุณภาพจากเชียงใหม่บ้างก็เรียกว่าเจียวกูหลาน เจียวกู่หลาน เจียวกู เจียวกูหลัน เบญจขันธ์ ปัญจขันธ์ Jiaogulan สายพันธุ์ที่ดีที่สุด ปลอดภัย เจียวกู้หลาน ให้คุณค่าสมุนไพรไทย 2 ประเภท บำรุง ป้องกัน เจียวกู้หลานที่จำหน่าย คัดเอาเฉพาะส่วนที่ให้คุณค่าทางสมุนไพร เจียวกู้หลานได้รับรางวัลยอดเยี่ยมปี 2548 จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เจียวกู้หลานแบบชาจีนเจียวกู้หลานแบบชาถุง สมุนไพรเจียวกู้หลานชาเม็ด


เว็บไซด์นี้ใช้เพื่อการฝึกอบรมภายในการเครือข่ายผู้รักสุขภาพเท่านั้น