COMPLAIN OR OPINION

10 ธันวาคม 2543 ::ศิวพร ญานวิทยากุล

"ลักษณะน้ำเสียงที่ดี(หรือเขาว่าดี)"

สวัสดีพ่อแม่พี่น้องทั้งหลาย แน่ะ! ขึ้นต้นแบบหาเสียงเลยคราวนี้ ทันสมัยดีไหมค่ะ ตอนนี้เป็นตอนที่ 3แล้วที่ได้พบกันนะคะ ระยะนี้เป็นช่วงยุบสภาพอดี ก่อนหน้านี้ไม่นานอีกซีกโลกด้านหนึ่งที่สหรัฐอเมริกาก็มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี แบบสนุกสนานของบรรดานักข่าว ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นความยุ่งเหยิงวุ่นวายกับผลการเลือกตั้งในมลรัฐฟรอริด้า ที่ออกมาคู่คี่จนสื่อมวลชนรายงานผิดพลาด ยักษ์ใหญ่อย่าง CNN เลยมีโอกาสเป็นประเด็นเป็นข่าวให้ชาวบ้านได้โจมตีบ้าง นอกจากในบ้านเขาจะวุ่นวายแล้ว ทั่วโลกก็วุ่นไปด้วย ผู้นำแต่ละประเทศที่เตรียมส่งสาร์นแสดงความยินดี ก็ต้องชลอไว้ก่อนเกรงหน้าแตก

กลับมาบ้านเรา บ้างช่วงต้นปีพวกเราชาวไทยก็จะมีโอกาสเลือกตั้งเหมือนกันนะคะและเชื่อว่าน่าติดตามความวุ่นวายจากความใหม่ของระบบที่เพิ่งเปลี่ยนแปลงรวมทั้งการประชาสัมพันธ์ที่ยังไม่ค่อยทั่วถึง เชื่อว่ายังมีประชาชนจำนวนมากที่รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง(ที่ยังไม่รู้เรื่องเลยก็มีค่ะ)ทำให้ต้องพยายามทำความเข้าใจให้ดี เผื่อใช้เสียงไปแล้วจะได้ไม่พลาดค่ะ

นั้นแน่ะ!เริ่มเข้าเรื่องบ้างแล้ว เสียงทางการเมือง เข้าใจว่ามาจาก การโหวต(vote)เสียงในสมัยโบราณ ซึ่งเขาใช้ยกมือ(ชูจั๊กกะแร้)ออกเสียงจริงๆนะคะ แต่ภายหลังพลเมืองในประเทศมากมายมหาศาล เลยใช้เครื่องหมายแทน ไทยก็นำของชาวบ้านมาใช้เมื่อเรา(อยาก)เป็นประชาธิปไตยบ้าง แต่ไม่เหมือนเรื่องเสียงที่เราจะคุยกันหรอกค่ะ(วกเข้าเรื่องเอาดื้อๆแหละค่ะ ไม่งั้นจะต้องคุยเรื่องประวัติศาสตร์การเมืองที่เกิดไม่ทัน)

ในการเป็นผู้ประกาศ ผู้ดำเนินรายการ พิธีกร นักร้อง นักแหล่ ฯลฯนั้น นับได้ว่าเสียงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสิ่งหนึ่ง ถ้าเราเข้าใจวิธีการอกเสียงที่ถูกต้องแล้ว จะทำให้การเปล่งเสียง อ่าน เล่าเรื่องหรือพูดเป็นไปอย่างราบรื่น ใช้ดึงความสนใจ โน้นน้าวอารมณ์ สื่อสารผู้ฟังได้เป็นอย่างดี อาจทำให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจ หรืออารมณ์สะเทือนใจ สนุกสนานชื่นบานได้(ดังที่เราต้องการ เช่น ที่บุคคลที่มีความสามารถ ที่ใช้เสียงสะกดผู้ฟังจนมีการบันทึกไว้ในหลายวงการ)

เข้าเรื่องค่ะ เข้าเรื่อง จะแยกเรื่องเสียงอย่างง่าย ดังนี้นะคะ ลักษณะนำเสียงที่ดี ,การออกเสียงที่สำคัญในภาษาไทย,ความสัมพันธ์เรื่องการอ่าน การพูด หรือขับร้อง,สติปัญญาหรือสมองกับการออกเสียง……. แค่นี้พอไหมคะ หลายหัวข้อมาก เดี๋ยวคนเขียนเป็นลมก่อน เนื่องจากคุณๆน่ะอ่านจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ แต่ดิฉันเขียนด้วยมือเจ้าข้าาาา

ถ้าเมาท์เป็นเสียง!!!อาจทำแยกย่อยได้อีกหลายหัวข้อเจ้าค่ะ!!!

เรื่องแรกคือลักษณะน้ำเสียงที่ดี(หรือที่เขาว่าดี) !!!

ดิฉันเชื่อค่ะว่าแต่ละคนมีรสนิยมหรือความชอบต่างกันค่ะ เช่น บางคนชอบเสียงหวานปานน้ำผึ้งหยด เสียงอ่อนๆค่อยๆพูด(นางเอ๊ก นางเอกนะ)เป็นเสียงแบบกินน้ำส้มตลอดชีวิต บางคนชอบเสียงทุ้ม นุ่ม(ถ้าหล่อด้วยก็เป็นเสียงผู้ชายจ๊ะ)บางคนชอบเสียงแหบๆบอก เซ็กซี่เหลือประมาณ บ้างก็ว่าแบบโผ่งผางถึงลูกคน ตลกโปกฮา เสียงดังเสียงค่อย โอ๊ยยยยสุดจะสรรหาคิดมา

แต่โดยทั่วไป(เฉพาะอย่างยิ่งจะไปหรือสอบผู้ประกาศละเน้อ)เขาบอกว่า เสียงที่ดีจะต้องมีความกังวาน มีหางเสียง ระดับเสียงดังพอประมาณ (บางคนอาจถามว่าดังประมาณไหนล่ะ)ก็ประมาณ 6 คนได้ยิน(แต่ไม่ใช่คนล่ะมุมห้องนะจ๊ะ)คือไม่ถึงกับเงี่ยหูฟัง ทำให้ต้องขมวดคิ้ว ยื่นหน้า เข้ามาเอียงหู เพราะไม่ได้ยิน หรือตะโกนโหวกเหวกหนวกหู(ชาวบ้านได้ยินโหม๊ด)น้ำเสียงนั้น คนฟังแล้ว สบายใจ รื่นหู ด้วยความเป็นธรรมชาติ(ที่ปรุงแต่งให้ดีแล้ว)มั่นอกมั่นใจ ใช้คำพูดที่เป็นภาษาง่ายๆไม่ใช่เสียงไพเราะมากแต่ฟังไม่รู้เรื่อง พูดศัพท์วิชาการมากเกินไป หรือพูดให้เข้าใจยากเกินไป(เช่น ภาษาราชการ ภาษกฎหมาย)ไม่งั้นต้องแปลไทยเป็นไทยอีกทอดหนึ่ง หรือแสดงภูมิความรู้มากเกินไป ก็จะทำให้ห่างเหินกับผู้ฟัง เพราะคงไม่มีใครอยากฟังคนที่ดูฉล๊าด ฉลาด เสียจนเราดูเซ่อซ่า ไม่รู้เรื่องใช่ไหมค่ะ?



โดยเฉพาะถ้าเปิดโอกาสให้ผู้ฟังได้ร่วมสนทนา ก็จะเห็นได้ชัดว่าเป็นหมัดเด็ดที่ใช้ไล่แขกค่ะ แม้น้ำเสียงนั้นสุภาพ ให้เกียรติคู่สนทนาก็ตาม!!!

แหม!!แต่ก็เห็นมีข้อยกเว้นเหมือนกันนะคะ เห็นบางแห่งหรือบางคน ทั้งแซว ทั้งกัด บางทีแถมด้วยด่าผู้ฟัง แต่คนฟังกลับชอบจังเลย

ไม่ว่าคุณจะเสียงแหลมหรือทุ้ม ถ้าใช้ให้ถูกต้อง ก็จะน่าฟังได้ทั้งนั้น โดยคิดเสมือนว่าผู้ฟังเป็นเพื่อนสนิท มิตรสหาย ก็จะช่วยได้ค่ะ

เมื่อเรามานึกดูว่าจะรู้ได้ไงหนอว่าเสียงที่เปล่งออกมาถูกต้อง เราก็นึกถึงที่มาสิคะ ว่าเป็นอย่างไร ตอนนี้ล่ะค่ะ ต้องพอรู้เรื่องสรีระที่จะเกี่ยวข้องกับการออกเสียงบ้างแล้ว!!!





>> กลับไปหน้าเดิมค่ะ...:)

| HOME | WORK'S EXPERIENCE | SIGN &VIEW GUESTBOOK |

© 2001 "Complain or Opinion" Created and Published by JaRuWaN yUnG-yUeN All rights reserved.
 
Hosted by www.Geocities.ws

1