COMPLAIN OR OPINION

30 กันยายน 2543 ::ศิวพร ญานวิทยากุล

"อักขรวิธี(1)"

หลบหน้าหลบตาไปหลายอาทิตย์ เนื่องจากไม่ยอมส่งต้นฉบับให้คุณจารุวรรณ จนหนีไม่พ้น จึงขอเริ่มคุยต่อภาค 2 นะคะ

อันที่จริง การหาความรู้ในเรื่องการใช้เสียง มีหลายวิธีนะคะ อย่างง่ายๆแบบไม่เสียเงิน แต่ต้องเสียเวลาและต้องช่างสังเกต ได้แก่ ครูพักลักจำ คือ ดูของคนโน้นมานิด สำนักนี้มาหน่อย แอบจำๆเขามา คือ "ลักเลียน"เขา นั่นแหล่ะค่ะ เราจะเห็นได้ว่า ในแวดวงศิลปิน หรือช่างฝีมือ หรือผู้มีวิชาชีพสำคัญในอดีต จะหวงวิชากันอย่างจริงจัง ไม่สอนพร่ำเพรื่อ บางครั้งสอนเฉพาะลุกหลาน ถ่ายทอดในตระกูล (แบบหนังจีน หนังไทยประมาณนั้นล่ะ)เช่นวิชาแพทย์หรือวิชาที่ต้องใช้ฝีมือสั่งสมนานๆ มีครู มีความขลัง ความภาคภูมิใจ ความหยิ่ง ทะนงและหวงแหน คนที่อยากได้วิชา แต่ไม่มีปัญญาเรียน อาจเป็นเพราะเป็นคนวงนอก ไม่มีคนสนับสนุน แต่อยากรู้ ก็ต้องขโมยเรียน แอบจำมาผิดๆถูกๆมาประยุกต์ใช้ อย่างนี้เป็นต้น บางครั้งเราอาจเคยได้ยินวิชาหรืองานที่จำมาผิดๆถูกๆมาประยุกต์ใช้ อย่างนี้เป็นต้น บางครั้งเราอาจได้ยินวิชาหรืองานที่สูญหายไม่มีคนสืบทอด ก็เพราะด้วยเหตุนี้ เพราะบางท่านยอมปล่อยให้วิชาตายไปกับตัวเลยก็มี การเผยแพร่อย่างเปิดเผยเท่าที่เคยเห็น น่าจะเป็นทางตะวันตกที่ให้ความสำคัญ เป็นการเปิดเผยแบบเห็นคุณค่า มีการส่งเสริม แข่งขัน และเห็นวามสำคัญจนกลายเป็นการใช้ประโยชน์ในเชิงพานิชย์ ในเวลาต่อมา และน่าจะเป็นรากฐานของการพัฒนาเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาในปัจจุบัน เนื่องจากวิชาบางอย่าง เพียงแค่แนะนำหรือฝึกฝนไม่นาน ก็จะพัฒนาฝีมือได้ เหมือนต้นแบบ แต่คนในอดีตของไทยน่าจะเน้นคุณค่าทางจิตใจ มากกว่าทรัพย์สินเงินทาอง ยอมอดอยาก ไม่ยอมเปิดเผยเคล็ดลับ และมักหน้าบางไม่ไม่หัวทางการค้า หรือเห็นการแลกวัตถุ(เงิน)เป็นเรื่องน่าละอายนั้นเอง(ไม่งกเงิน)

การใช้เสียง เชื่อกันว่าเป็นศาสตร์ที่เรียนรู้ได้ทั้งเสียงดนตรี(ขับร้อง)การพูด การพากย์ การจูงใจ แต่ละแขนงก็มีวิธีหรือพื้นฐานที่คล้ายและแตกต่างกัน แต่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ซึ่งกันและกันได้ ยิ่งรู้มากก็ยิ่งได้เปรียบ

หากเราสังเกต บุคคลสาธารณะประเภทต่างๆ(ที่ใช้เสียงเป็นอาชีพนะจ๊ะ)เช่น บุคคลสำคัญในวงการเมือง นักพูดที่มีชื่อเสียง นักร้อง นักแสดง พิธีกร แม้กระทั้งครูหรือพระ จะสามารถนำมาเป็นแบบอย่างได้ทั้งสิ้น เพราะบุคคลเหล่านี้ส่วนใหญ่ มีการศึกษา ฝึกฝน มีประสบการณ์ในการใช้เสียง เพราะเป็นสิ่งจำเป็นหรือเป็นองค์ประกอบในวิชาชีพ (แต่ที่ไม่รู้เรื่องเลยแล้วทำได้แย่ๆก็เห็นบ่อยๆ)ซึ่งหากจะใช้วิธีครูพักลักจำ จำเป็นต้องใช้ความพยายามใกล้ชิดและหาโอกาส ศึกษามากๆเพราะบางครั้งไม่รู้วิธีที่เขาใช้เป็นกฎเกณฑ์

(แทรกนิดแทรกหน่อย: เขาเล่ากันว่า ประเทศที่ให้กำเนิดการพูดและส่งเสริมการ พูดที่เก่าแก่ คือ อาณาจักรกรัซและโรมัน โดยรัฐเปิดโอกาสและจัดระบบการพูดอย่างต่อเสรีที่สุด โดยเฉพาะเรื่องการพูดในที่ชุมชน(oratory)หรือลักษระการพูดแบบสุนทรพจน์(speech) กระทำกันมากที่สุดในกรุงเอเธนส์ ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งความรู้และอารยธรรมของตะวันตก คำว่า oratory หรือ การพูดในที่ชุมชน ก็คือศิลปะแห่งการพูดนั้นเอง และมีการเปิดสอนฝึกพูดมาหลายร้อยปีก่อนคริสตกาล เพราะเห็นประ โยชน์ว่าเป็นอรรคประโยชน์ศิลป์(useful art) และปราณีตศิลป์(fine art)

จากหนังสือวิชาการพูด(speech education),หน้า 15,ฉลวย สุรสิทธิ์:แพร่พิทยา พิมพ์ครั้งที่ 2 )





>> กลับไปหน้าเดิมค่ะ...:)

| HOME | WORK'S EXPERIENCE | SIGN &VIEW GUESTBOOK |

© 2001 "Complain or Opinion" Created and Published by JaRuWaN yUnG-yUeN All rights reserved.
 
Hosted by www.Geocities.ws

1