COMPLAIN OR OPINION

10 กันยายน 2543 ::ศิวพร ญานวิทยากุล

"คนใช้เสียง"

อาชีพหรืองานใช้เสียงในโลกนี้มีมากมาย จะว่าไปแล้วเกือบทุกอาชีพทีเดียวที่มีการใช้เสียงเป็นภาษาในการสื่อสาร ขนาดขายกล้วยแขก ยังต้องร้องเรียกลูกค้าหรือหาบเต้าหวย ขายบะหมี่เกี๊ยว หน้าปากซอยบ้าน ก็ต้องใช้เสียง (คนและไม้เคาะ)เชิญชวนลูกค้าด้วยเหมือนกัน เป็นทนายความว่าความ เป็นหมอรักษาคนไข้แล้วต้องอธิบายให้คนไข้เข้าใจอาการต่างๆ แต่มีบางอาชีพที่ใช้เสียงเป็นเรื่องเป็นราว เช่น อาชีพพิธีกร ผู้ประกาศ นักพากย์ นักร้อง นักแสดง ผ่านสื่อต่างๆ( รวมทั้ง ลิเก หนังเร่ ละครเร่ขายยาอะไรต่อมิอะไรด้วย) บางอาชีพอาศัยความสามารถใช้เสียงเท่านั้น แต่บางอาชีพต้องมีความสามารถในการแสดงหรือถ่ายทอดอารมณ์อื่นๆอีกด้วยตามลักษณะของอาชีพนั้นๆ ซึ่งงานอาชีพต่างๆเหล่านี้ มีการใช้เสียงเป็นพื้นฐานประการหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งจำเป็นต้องมีความรู้ มีความชำนาญเพิ่มมากกว่าอาชีพอื่นจึงจะดี

งานในรูปแบบของสถานีวิทยุจส.100 มีรูปแบบที่แตกต่างจากงานสายวิทยุอื่นๆเดิมทีเราจะเห็นว่างานหลักๆทางสายวิทยุ จะมีผู้ประกาส อ่านข่าว การจัดรายการวิทยุกระจายเสียงเป็นส่วนมาก แต่งานสถานีวิทยุจส.100 เป็นรูปแบบที่นวมเอาหลายลักษณะ คือ การเป็นผู้ประกาศ ดำเนินรายการ พิธีกร และผู้สื่อข่าวด้วย ในขณะเดียวกัน ดังนั้นคนทำงานหากมีทักษะต่างๆก็จะช่วยให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น

ในอดีตนั้นสถานีวิทยุกระจายเสียงในบ้านเรา ส่วนใหญ่จะเป็นสิ่อที่นำเสนอความบันเทิงในรูปแบบต่างๆส่วนย่อยนั้นจะเสนอในรูปแบบข่าวสารสาระต่างๆซึ่งก็ต้องยกให้แม่ข่ายใหญ่ๆที่ผลิตรายการ เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย สำนักข่าวไทย (ขององค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย) สถานีวิทยุวิทยุในเหล่ากองทัพต่างๆแล้วกระจายถ่ายทอดไปยังสถานีลูกข่ายต่างๆนอกจากจากนี้ยังมีสถานีวิทยุเพื่อการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ เช่น วิทยุศึกษา วิทยุโรงเรียน วิทยุทางไกลทั้งหลาย วิทยุของสถาบันการศึกษา เช่น วิทยุเกษตศาสตร์ วิทยุจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งก็ให้สาระความรู้ในรูปแบบ มีทั้งข่าวสารและความบันเทิงผสมกันไป

ทั้งนี้มักมีลักษณะเป็นการสื่อสารทางเดียว(one way communication)เนื่องจากในการผลิตข่าวารของสถานีทางราชการจะมีการกำหนดรูปแบบ มีการกลั่นกรองข่าวสารและการนำเสนอข่าวที่ชัดเจน โดยเน้นประโยชน์ของรัฐ(และผู้บริหาร)และความมั่นคงเป็นสำคัญ มีลักษณะเป็นการประชาสัมพันธ์ภาครัฐ ทั้งนี้เนื่องจากในอดีต ประเทศอยู่ในภาวะมีศึกสงครามเกิดความไม่สงบ มีการสู้รบตามแนวชายแดนเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ทั้งการขยายอาณานิคมหรือการต่อสู้ในยุคสงครามเย็น จะเปรียบไปก็คงเป็นผลกระทบในหลายรูปแบบเหมือนเพื่อนบ้านที่ทะเลาะกัน รั้วบ้านติดกัน บางทีครกมีสากปลิวมา บางทีก็ชวนเราทะเลาะด้วย ถ้าทะเลาะรอบบ้าน ก็ปวดหัว อยู่ไม่เป็นสุข สื่อวิทยุเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ภาครัฐใช้ในงานด้สนกิจการพลเรือน( civid action)เพราะอาจส่งผลต่อขีดความสามารถในการรบ(capabiliry)ประชาชนที่อยุ่ภายใต้การปกครอง เป็นทางปฎิบัติการทางจิตวิทยาใช้(น้ำลาย)ต่อสู้กับฝ่ายตรงข้าม(ไม่ว่าบ้านไหน)เพื่อชวน(ไม่ใช่นายกรัฐมนตรี)เชื่อให้ประชาชนเชื่อว่าเราดีอย่างโน้นอย่างนี้ อย่าไปเชื่อฝ่ายตรงข้าม(นะจ๊ะ)หรือเพื่อทำให้ฝ่ายตรงข้ามสับสน บั่นทอนขวัญและกำลังใจ โดยเฉพาะในห้วงเวลาวิกฤติมีการแย่งอำนาจกัน ต้องยึดกระบอกเสียงกันก่อน แต่เมื่อสภาวะสงครามหมดสิ้นไป ภาคสังคมก็เริ่มรู้สึกถึงความสำคัญและต้องการมีส่วนร่วมในการกำหนดรูปแบบข้อมูลข่าวสาร ในรูปแบบอื่นๆแตกต่างกันไป

สถานีวิทยุจส.100เป็นสถานีแรกๆที่มีโอกาสนำเสนอข่าวสารในรูปแบบที่แตกต่างจากเดิม มีการรายงานจราจรโดยผู้ใช้เส้นทาง โดยผู้สื่อข่าว มีการทำข่าวจราจร ข่าวท้องถิ่น ข่าวชาวบ้านที่เกี่ยวข้องกับการจราจร สาธารณูปโภค รวมทั้งข่าวทั่วไป เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคม ที่น่าสนใจให้กับผู้ฟัง โดยรูปแบบการนำเสนอหรือการทำข่าว ได้รับการปรับปรุงมาจากข่าวทีวี ซึ่งบริษัท EM NEWS (ภายหลังเปลี่ยนเป็นศูนย์ข่าวแปซิฟิค)ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ เป็นผู้มีความชำนาญ จากเดิมสื่อด้วยภาพและเสียงมาเป็นเสียง ซึ่งจะมีการรายงานสดจากสถานที่จริง ในขณะรายงานความสมดุลและเป็นธรรม(balance and fairaness)ความสดต่อสมัย(time liness)ของข่าว และความสำคัญ(significances)ต่อสาธารณะต่อผู้ฟังกลายเป็นทางเลือกใหม่ ของผู้กระหายข่าวบ้านเมือง ปรากฎว่าสถานีได้รับความนิยมอย่างสูงในระยะต่อมา

จะเห็นได้ว่ารูปแบบการทำงานโดยหลัก คือ การรายงานข่าว โดยใช้เสียงนั้นเอง ดังนั้น นอกจากการใช้ความสามารถเชิงข่าวที่ผู้สื่อข่าวพึงมี ยังต้องใช้เสียงในรายงานดั่งผู้ประกาศใช้อีกด้วย โดยบางเหตุการณ์มีลักษณะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เกินกว่าการเขียนเรียบเรียงได้ทัน ผู้รายงานจะต้องพยายามอาศัยหลักการในสมอง และปฎิภาณไหวพริบในการรายงานหรือสัมภาษณ์จากแหล่งข่าวให้ทันท่วงที (immediately)และให้ครบถ้วนอีกด้วย(competely)

เมื่อผู้สื่อข่าวต้องทำงานหาข้อเท็จจริง(fact)และเป็นผู้รายงาน บางครั้งก็ต้องทำหน้าที่เป็น ผู้ดำเนินรายการ จึงทำให้ต้องฝึกทักษะในหลายด้าน โดยเฉพาะการใช้เสียงเป็นพื้นฐาน ในบ้านเราผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพผู้ประกาศหรือดำเนินรายการทางสื่อกระจายเสียงนั้น ต้องผ่านการสอบจากกรมประสัมพันธ์ ซึ่งถือเป็นต้นแบบหลักๆ การสอบนั้นจะใช้การอ่านข่าวที่กำหนดมา โดยมีหลักเกณฑ์สำคัญอยู่หลายประการ ประการแรกคือ ประการแรกคืออักขรวิธี แล้วจะมาขยายความในแต่ละเรื่องกันอีกครั้ง ว่าเป็นอยางไรกันแน่ คราวนี้พอก่อน ติดตามต่อคราวหน้านะค๊า เมื่อยมือค่า สวัสดีค่ะ"





>> กลับไปหน้าเดิมค่ะ...:)

| HOME | WORK'S EXPERIENCE | SIGN &VIEW GUESTBOOK |

© 2001 "Complain or Opinion" Created and Published by JaRuWaN yUnG-yUeN All rights reserved.
 
Hosted by www.Geocities.ws

1