นกปรอดหัวโขน ( ตัวล่าง )
(Red-whiskered) Pycnonotus jocosus

        เป็นนกปรอดอีกชนิดหนึ่งที่เราพบเห็นได้บ่อยๆ โดยเฉพาะคนทางภาคเหนือและภาคอีสานตอนบน เพราะเป็นนกประจำถิ่นที่อาศัยอยู่รอบๆ บ้านเรือนในแหล่งชุมชนทั่วไป เรียกได้ว่าเป็นนกในเมืองของทั้งสองภูมิภาคนี้ก็ได้ ส่วนที่อื่นมักจะพบนกอาศัยอยู่ตามทุ่งโล่งหรือชายป่าโปร่ง แต่ก็จัดว่าเป็นนกที่คนไทยรู้จักกันดีมากที่สุดชนิดหนึ่ง

        นกปรอดหัวโขนเป็นนกในวงศ์นกปรอด (Pycnonotidae) ซึ่งนกในวงศ์นี้พบอาศัยอยู่ตั้งแต่ละแวกบ้านไปจนถึงบนยอดดอยสูงและตามป่าที่ราบต่ำ มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๓๖ ชนิด โดยนกปรอดหัวโขนจัดอยู่ในสกุล Pycnonotus ซึ่งเป็นสกุลของนกปรอดสวน เพราะนกในสกุลนี้หลายชนิด มักพบอาศัยอยู่ใกล้ชุมชนหรือตามพื้นที่เกษตรกรรม

       สำหรับนกปรอดหัวโขนมีขนาดยาวประมาณ ๒๐ ซ.ม. ลักษณะทั่วไปคล้ายกับนกปรอดอื่นๆ คือ มีปากเรียวแหลม ปลายปากโค้งเล็กน้อย และมีขนสั้นแข็งบริเวณโคนปาก คอสั้น ลำตัวเพรียว ปีกสั้น หางยาว โดยนกปรอดหัวโขนมีขนหงอนยาวสีดำตั้งชันขึ้นมาบนหน้าผากเป็นลักษณะเด่น มองดูคล้ายกับคนที่สวมหัวโขนหรือชฎาที่มียอดแหลมขึ้นมา จนทำให้ถูกเรียกขานว่า นกปรอดหัวโขน



สัญลักษณ์ของการแข่งขันกีฬา "พิงค์ราชภัฏเกมส์"( ปี 2542)
ใช้ภาพสัตว์นำโชค
ได้แก่ นกกรงหัวจุก หรือที่ภาคเหนือเรียกกันว่า
"นกปิ๊ดตะลิว" ซึ่งเป็นนกที่มีอยู่มากในภาคเหนือ
ผู้ออกแบบสัญลักษณ์ได้แก่
นายเอกชัย อินทศร นักศึกษาโปรแกรมวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่

Hosted by www.Geocities.ws

1