ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535
       กำหนดให้นกปรอดทั้ง 36 ชนิดที่พบในเมืองไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทนกที่ผู้ครอบครองต้องมีใบอนุญาตในการครอบครอง
       ส่วนการประกวดนกปรอดหัวโขนนั้นต้องปฏิบัติตาม ประกาศกรมป่าไม้ เรื่องการประกวดแข่งขันนกปรอดหัวโขน
ลงวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2541 โดยอธิบดีกรมป่าไม้ที่ระบุว่า

       "ผู้ใดจะนำสัตว์ป่าคุ้มครอง ชนิดนกปรอดหัวโขน หรือสัตว์ป่าอื่นๆ เข้าประกวดแข่งขัน จะต้องนำเอกสารการแจ้งการครอบครองตามมาตรา 66 หรือ 67 ซึ่งได้จดแจ้งต่อกรมป่าไม้แล้วภายในเดือนพฤษภาคม 2535 และต้องนำเอกสารดังกล่าวติดตัวสัตว์ป่าไปด้วยทุกครั้ง และผู้ที่นำสัตว์ป่าไปเข้าประกวดแข่งขัน จะต้องเป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในเอกสารดังกล่าวข้างต้น หรือผู้เข้าประกวดนำสัตว์ป่าคุ้มครองอื่นไปแข่งขัน หรือมีการตกลงกันซื้อขายสัตว์ป่าคุ้มครองภายในสถานที่ประกวด จะมีความผิดตามมาตรา 19 และมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือทั้งจำทั้งปรับไม่เกินสี่ปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"


สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี วัน 12 พฤศจิกายน 2544
เมื่อเวลา 08.00 น. ณ โรงแรมเกษสิริ จังหวัดศรีสะเกษ
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี
สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
...................
      16. เรื่อง      การแก้ไขปัญหาการครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองที่มีไว้ในครอบครองโดยมิชอบ เพื่อส่งเสริมการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าเชิงพาณิชย์
     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ การแก้ไขปัญหาการครอบครอง สัตว์ป่าคุ้มครองที่มีไว้ในครอบครองโดยมิชอบ เพื่อส่งเสริมการเพาะพันธุ์สัตว์ป่าเชิงพาณิชย์ โดยกำหนดขอบเขตและหลักการในการแก้ไขปัญหา ดังนี้
     1.ให้กรมป่าไม้หรือกรมประมงรับมอบสัตว์ป่าคุ้มครองเฉพาะสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ จำนวน55 ชนิด โดยไม่ต้องดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
     2. เมื่อเจ้าหน้าที่รับมอบสัตว์ป่าคุ้มครองตาม 1. แล้วให้สัตว์ป่านั้นตกเป็นของแผ่นดิน
     3. ให้กรมป่าไม้หรือกรมประมงจำหน่ายเฉพาะสัตว์ป่าคุ้มครองที่รับมอบมาในราคาถูก โดยสงวนสิทธิ์ให้เจ้าของสัตว์ป่าที่นำมามอบให้เป็นผู้มีสิทธิ์ขอซื้อ เพื่อนำไปเพาะพันธุ์เป็นลำดับแรก
     อนึ่ง คณะรัฐมนตรีเสนอให้ความเห็นว่า นกโปร่งหัวจุก และนกเขาเล็ก สมควรเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองหรือไม่ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์นำไปพิจารณาต่อไป

     ชนิดและราคาของสัตว์ป่าคุ้มครองที่จะรับมอบและจำหน่ายคืนให้เจ้าของเดิมเพื่อทำการเพาะพันธุ์
     สัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กวาง ราคา 1,000 บาท กระจงเล็ก ชะมดเช็ด ลิงกัง ลิงวอก สิงแสม ราคา 100 บาท   เก้ง หรืออีเก้ง หรือฟาน เนื้อทราย ราคา 500 บาท
     สัตว์ป่าจำพวกนก ไก่จุก ไก่ป่า นกแว่นสีเทา ราคา 100 บาท ไก่ฟ้าหญาลอ ไก่ฟ้าหน้าเขียว ไก่ฟ้า หลังขาว ไก่ฟ้าหลังเทา นกแก้วโม่ง ราคา 200 บาท นกกิ้งโครงคอดำ นกกระทาดงทุกชนิดในสกุล (Genus) นกกระทาทุ่ง นกปรอดหัวโขนเคราแดง นกเอื้องสาลิกา นกเอื้องหงอนหรือนกเอี้ยงดำ เป็ดแดง นกกระรางหัวหงอก นกกะรางสร้อยคอเล็ก นกกะรางสร้อยคอใหญ่ นกกะรางอกสีน้ำตาลไหม้ นกกะรางคอดำ หรือนกซอฮู้ นกแก้วหัวแพร นกกะลิง นกกางเขนดงหรือนกบินหลาดงหรือนกบินหลาควนหรือนกจิงปุ๊ย นกแขกเต้า นกขุนทอง นกหกใหญ่ นกหกเล็กปากแดง นกหกเล็ก ปากดำ เป็ดหางแหลม เป็ดเทา เป็ดลาย เป็คคับแค เป็ดหงส์ ราคา 50 บาท   นกยูง นกหว้า ไก่ฟ้าหางลายขวาง นกแว่น สีน้ำตาล ราคา 500 บาท นกกางเขนบ้านหรือนกบินหลาบ้านหรือนกจีแจ้บหรือนกจีจู๊ ราคา 30 บาท
     สัตว์ป่าจำพวกเลื้อยคลาน งูหลาม งูเหลือม งูสิง งูสิงหางลายหรืองูสิงลาย ราคา 50 บาท จระเข้น้ำเค็ม จระเข้น้ำจืด ราคา 100 บาท
     สัตว์ป่าจำพวกสะเทินน้ำสะเทินบก กบทูดหรือเขียดแลว ราคา 20 บาท
     สัตว์ป่าจำพวกปลา ปลาตะพัด หรือปลาอโรวาน่า ราคา 400 บาท ปลาเสือตอ ปลาเสือ หรือปลาลาด ราคา 50 บาท
Hosted by www.Geocities.ws

1