การที่จะนำนกมาฝึกฝนเพื่อการแข่งขันควรเป็นนกที่อายุไม่มากและไม่ควรจะเกิน 1ปี ถ้ายิ่งได้นกอายุ 2-3 เดือนมาฟูมฟักและเลี้ยงดูคู่กับนกใหญ่เสียงดี สำเนียงดี ลูกนก ( บางแห่งเรียกลุกใบ้ )ก็จะจดจำลีลาสำเนียงจากนก ใหญ่ที่ดีและเป็นผลดีกับผู้เลี้ยงเพื่อการแข่งขันอีกด้วยในการรักษาสาย พันธุ์ของสายพันธุ์สำเนียงเสียง
       การฝึกซ้อมนกปรอดหัวโขน เริ่มจากอาทิตย์แรก ๆควร ซ้อมไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวันหลังจากพ้นหนึ่งเดือนไปแล้วก็เพิ่มเป็นวันละ3 ชั่วโมง และต่อไปซ้อมวันละ 4 ชั่วโมง
       ช่วงเดือนที่สองและที่สามเราจะรู้ว่านกตัวไหนมีลีลาและสำเนียงเป็นเช่นไรเสียงผิดเพี้ยนหรือ ว่าไม่ ได้มาตรฐาน มีความตื่นตระหนกเวลาเคลื่อนย้ายและไม่ชินกับการเดินทางหรือไม่
โดยเฉพาะเมื่อเราพาออกซ้อมกับนกบ้านอื่นแล้วพบว่านกตัวนั้นหามีลีลาเป็นนักสู้แม้แต่น้อย คือ นกที่เป็นนกสู้จะออกท่าทาง ขึงขังกางปีกร้องท้าแล้วก็พองขน
        ถ้าไม่มีลักษณะนี้และฝึกฝนยังไง ก็ไม่ดีขึ้นก็ควรแยกเอาไปอยู่ต่างหาก แต่ถ้านกตัวไหนทำสิ่งที่ตรงข้ามที่กล่าวมาข้างต้นถือว่าเป็นนกที่เริ่มสู้นก และมีแววเป็นนกแข่ง สังเกตนกของเราว่าสู้นกอื่นมากขึ้นด้วยการยืนขึ้นด้วยการยืนระยะนานนั้นหมายถึงนกของเราพร้อมจะลง แข่งได้แล้ว ยิ่งนกเริ่มผลัดขนมีใจสู้นกตัวอื่น ๆ อย่างไม่เกรงกลัว นับเป็นนกลักษณะดี
       สำหรับเทคนิคการดูระยะยืนของนกที่เริ่มหัดใหม่นั้นให้สังเกตตอนนำไปซ้อมกับนกตัวอื่น ๆให้เช็คเป็นยก ๆไปยกละประมาณ 25-30 นาที ทำทั้งหมด 3ยก หากนกของเราออกอาการสู้ด้วยท่าทางและสำเนียงเกิน 20 นาทีขึ้นไปก็ถือว่าใช้ได้และค่อนข้างดีทีเดียว ยิ่งสลับให้ไปประกบคู่กับนก ตัวใหม่แล้วนกของเรายังคงออกอาการสู้และส่งเสียงร้องเป็นจำนวน 3 ประโยคขึ้นไป ก็ควรทะนะถนอมให้ดี และควรหมั่นซ้อมเช่นนี้บ่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่อจบยกสี่แล้วควรพักสัก 5 นาทีแล้วเอานกเข้าไปซ้อมใหม่หากยังออกอาการเป็นนักสู้ด้วยลีลาและสำเนียงเสียงร้องก็แสดงว่า นกตัวนั้นพร้อมจะลงแข่งได้แล้ว


Q : การเลี้ยงเตรียมตัวก่อนแข่งขันจะต้องเตรียมนกของเราและตัวเรา
อย่างไรบ้างครับ

จาก : วันชัย - 22/11/2001
Ans :มีความเชื่ออยู่ความเชื่อหนึ่ง กาดแดดไม่ถึงจึงตก จากประสบการณ์ผมที่ผ่านมา ไม่เป็นความจริงแถมยังทำอันตรายต่อนกด้วยครับ บางท่านกลัวไม่ถึงแดด กาดแดดตั้งแต่ 09.00 ถึงบ่าย สองบ่าย สาม ทุกวัน ผลคือนกกรอบ ขนเสียไม่มีมันที่ขน เป็นสาเหตุให้นกระคายตัวและไซ้ขน เพราะความร้อนสามารถทะลุขนที่หมดสภาพเข้าถึงตัวนกทำให้ระคายตัว การเลี้ยงก่อนเตรียมตัวแข่งขันนั้นเป็นสูตรของแต่ละคน ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ที่เกิดจากการบอกเล่า ประสบเองกับตัว และสถิติ จากการสังเกตุ
      โปรแกรมของผม
      1.เปิดผ้าคลุมตอน 8 โมงเช้า ล้างถาดรองขี้นก ให้อาหาร กล้วย มะละกอ ส้ม ฯลฯ ให้หนอน 3-4 ตัว
      2.นำนกออกตากแดด ตั้งแต่ 9.00 น ถึง 11.30 น โดยการกาดแดดและการเลี้ยงนกแข่งของผมนกจะไม่เจอนกตัวอื่น ๆ เลย แม้กระทั่งนกในบ้านเดียวกัน
      3. เมื่อเก็บนกเข้ามา หลังจากการแดดแล้วให้แขวนในที่อากาศถ่ายเทสะดวก
      4.บ่ายสามโมงเย็น นำนกออกอาบน้ำ พร้อมให้ตากแดดตากลมซัก ครึ่งถึง 1 ชั่วโมง แล้วเก็บคลุมผ้าก่อนตะวันตกดิน
      5.การอาบน้ำนกไม่ควรอาบทุกวัน ควรอาบ 2-3 วันครั้ง เนื่องนกจะได้ไม่ห่วงอาบน้ำเมื่อเจออากาศร้อน
      6.วันก่อนแข่งส่วนมากเป็นวันเสาร์ ให้เอานกตากแดดตามปกติ แต่ควรเป็นแดดเช้าและไม่ควรเกิน 9.30 น. แล้วให้หนอน 2-3 ตัวนำแขวนในที่สงบ อย่าให้ แมวหมากวนได้ ให้นกพักให้เต็มที่ และที่สำคัญ ... ไม่ควรอาบน้ำนกวันนี้ ถ้านกขนตัวไม่แห้งซึ่งเราอาจไม่รู้ นกจะไปไซ้ขนวันแข่งคือวันรุ่งขึ้น
     7.ที่สำคัญ ถ้าจะให้ได้เปรียบเค้าซักหน่อย เวลาเอานกไปแข่ง อย่าใส่กระบะหลัง ถ้าให้ดี ใสเข้าไปในรถเปิดแอร์ให้น้อยที่สุด เนื่องจากเอาไว้นอกรถ ลมตี ขนแตกหมด นกไซ้ขนยกแรกส่วนมากเกิดจากสาเหตุนี้แล้วก็ เป็น ชมรมยก 1 แบบเพลงที่เค้าร้อง นกจะใช่เวลาไซ้ขนนาน
      8.เมื่อถึงสนามให้แขวนนกเข้าราวซัก 9.30 น. เปิดผ้าซัก 50 % อย่าคลุมหมดเพราะเมื่อเปิดผ้า นกจะต้องใช้เวลาปรับตัว อาจตื่น ๆ จนเป็นเหตุให้ตกยกแรกได้ครับ
จาก : วรวิทย์ - 22/11/2001

Q : ส่วนใหญ่การฝึกนกเพื่อเข้าแข่งใช้เวลาต่ำสุดประมาณกี่ปีครับ รวมทั้งตอนพาเที่ยวและซ้อมราวด้วย เอาเวลาน้อยสุดที่คุณวิทย์เคยเห็น ผมมีนก 1 ตัว เวลาเอาไปซ้อมพอถึงช่วงเที่ยงเริ่มจุกลู่เป็นเพราะอะไรครับ แล้วผมจะต้องพาซ้อมอีกนานเท่าไรถึงจะแข่งได้ หรือมีวิธีฝึกอย่างไรครับ
จาก : กุล - 18/12/2001
Ans : ใช้เวลาต่ำที่สุดเลยที่เคยเจอมาก็ 6 เดือนครับ เป็นนกบ้านที่เค้าเลี้ยงไว้ได้ซัก 3 ปีเศษ ไปซื้อมาแล้วก็พาเที่ยวให้เชื่อง ๆ หน่อย เข้าราวซ้อมที่โน่นบ้าง ที่นี่บ้าง แล้วก็ลองเอาเข้าแข่งโดยเอาไว้ราว 2 ด้านในไม่ไว้ริมเดี๋ยวเจอคนแล้วจะตกใจ ก็เข้าถ้วยแต่ที่ไม่ดีเพราะยกชิงกลัวคนเชียร์เนื่องจากนกยังใหม่ แต่อยู่กับผมไม่นานพวกปันเอาไปเลี้ยงเพราะมีแววว่าจะดี นี่เมื่อเหตุการณ์เมื่อ 2 ปีที่แล้วครับ ตอนนี้มันเก่งเลยครับติดแทบทุกไฟท์ เลขตัวเดียวด้วยขออนุญาตไม่บอกชื่อนกนะครับ นกตัวนี้เปลี่ยนหลายมือ ราคาล่าสุดที่คนอยุธยาซื้อไปสองหมื่นเมื่อราวปีที่แล้ว ถ่ายขนเพิ่งขึ้นมาเล่นก็ล่อเลขตัวเดียวเลย เสียดายเหมือนกัน ใครจะไปรู้ว่ามันจะดีถึงขนาดนี้แต่ผมก็เฝ้าตามดูมันแทบทุกสนามแหละครับจำตัวจำกรงได้ นกตัวนี้ชื่อลงท้ายด้วยชื่ออำเภอหนึ่งในจังหวัดราชบุรี ต้องขอขอบคุณเจ้าของมันด้วยครับที่พลอยให้อำเภอนี้ชมรมนี้ดังไปด้วย      นกจุกลู่มีสาเหตุจากหลายประการ พอเริ่มเที่ยงจุกลู่แบบนกของคุณผมขอเดาเอาครับว่า นกร่างกายไม่พร้อมหรือไม่ก็เล่นไม่นานไม่ยาว หรือไม่ก็นกเคยหักช่วงเวลานี้ มันจำได้พอถึงเวลามันก็จะหยุดเล่น
      วิธีการแก้ไข งดเข้าราวดูซัก 1 เดือน แต่ให้พาไปด้วย แขวนไว้ห่าง ๆ ราวห้ามเทียบนกเลยไม่ว่าที่บ้านหรือที่ไหน ให้มันลืม และร่างกายพร้อมสมบูรณ์ นกผมซ้อมไม่บ่อยครับ ตัวนึง 2 สัปดาห์ครั้งสลับกันไปสัปดาห์นี้ตัวนั้นสัปดาห์หน้าก็ตัวอื่น ซ้อมบ่อยนกจะหักเอาครับถ้ามันเล่นสุดตัวแล้วเจ้าของไม่รู้ ส่วนต้องซ้อมอีกนานเท่าไหร่นี่อยู่ที่ความพร้อมของมันครับ ตอบแทนไม่ได้ครับ
จาก : วรวิทย์ - 20/12/200




Hosted by www.Geocities.ws

1