6.ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ - สังคมชุมชนระหว่างประเทศ, ความร่วมมือ, ความขัดแย้ง

ลักษณะพื้นฐานโดยทั่วไปของสังคมชุมชนระหว่างประเทศ
1.มีจำนวนสมาชิกไม่แน่นอนเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
2.ทรัพยากรธรรมชาติมีอยู่อย่างจำกัด  เช่นที่ดิน น้ำมัน ป่าไม้
3.ความเสมอภาคท่ามกลางความไม่เสมอภาค  รัฐทุกรัฐมีความเท่าเทียมกันในเรื่องของความเป็นรัฐ แต่ไม่เท่าเทียมกันในเรื่องของอำนาจ รัฐเล็ก-ใหญ่มี1 เสียงในสมัชชาสหประชาชาติ แต่สิทธิในการยับยั้ง ไม่เท่ากัน
4.มีความสัมพันธ์กันระหว่างรัฐต่างๆ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
1.รูปแบบเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศ ทางการเมือง เศรษฐกิจ ทหาร อื่นฯ
2.รูปแบบเป็นความขัดแย้ง ระหว่างประเทศ ทางการเมือง เศรษฐกิจ ทหาร อื่นๆ

 

การร่วมมือและขัดแย้งในสังคมชุมชนระหว่างประเทศ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relations)
กิจกรรมต่างๆ หรือ การกระทำซึ่งกันและกันของผู้แสดงบทบาทระหว่างประเทศของรัฐและไม่ใช้รัฐทางด้านต่างๆ ด้านการเมือง ทหาร วัฒนธรรม สังคม การค้า การลงทุน กีฬา  สภาพแวดล้อม และด้านอื่นๆของผู้แสดงบทบาทระหว่างประเทศ ที่มีการติดต่อข้ามแดนระหว่างประเทศตั้งแต่ 2 ประเทศขึ้นไป

 

แบบจำลองของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในสังคมชุมชนระหว่างประเทศ
 


ความสัมพันธ์เป็นไปในรูปแบบใดนั้น มีผลประโยชน์ของชาติ เป็นตัวแปรที่สำคัญ ในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ เช่น อาเซียน อียู

ในสังคมชุมชนระหว่างประเทศ จะมีความสัมพันธ์ 3 ประเภท คือ ความร่วมมือกัน ,การประนีประนอมและความขัดแย้ง จากภาพ จะเห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะเป็นแบบใดๆนั้น จะมีผลประโยชน์ของชาติ เป็นตัวแปรสำคัญในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกันดังนี้
ถ้ามีความร่วมมือกันจะมีผลให้เกิดสันติภาพถ้ามีความขัดแย้งกันเพราะแย่งผลประโยชน์ จะมีผลให้เกิดสงครามถ้ามีการประนีประนอมกัน แม้ไม่ขัดแย้งไม่ร่วมมิอ จะมีผลให้สามารถอยู่ร่วมกันได้โดยไม่เกิดสงคราม

 

สาเหตุของความขัดแย้งระหว่างประเทศ
-ลักษณะธรรมชาติของมนุษย์
-ขีดจำกัดของการรับรู้ของมนุษย์
-ความยากไร้และความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ
-โครงสร้างภายในรัฐบาล
-ระบบการเมืองระหว่างประเทศ

รูปแบบของความขัดแย้ง
-ทางด้านการค้า
-วิกฤตการณ์ระหว่างประเทศ
-ความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรงค่อนข้างน้อย
-การก่อการร้าย
-สงครามกลางเมืองและการปฏิวัติ
-สงครามระหว่างประเทศ

++ประเด็นปัญหาระดับมหาภาคในสังคมชุมชนระหว่างประเทศ  คือการ ขาดความรัก การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

ลักษณะของรัฐในสังคมชุมชนระหว่างประเทศ
-ยุคสังคมประเพณีโบราณ
-ยุคเปลี่ยนผ่าน
-ยุคเริ่มพัฒนา
-ยุคพุ่งทะยานสู่การพัฒนา
-ยุคสังคมอุดมโภคา

 

เครื่องมือที่รัฐบาลของประเทศต่างๆใช้ในการดำเนินโยบายต่างประเทศ
1.การทูต   (การเจรจาต่อรอง)
2.เศรษฐกิจ (แลกเปลี่ยน,บีบบังคับ)
3.จิตวิทยา (โฆษณาชวนเชื่อ,สงครามน้ำลาย,แก้ข่าว)
4.ทหาร (ใช้เมื่อไม่มีทางเลือก ,ป้องกันตนเอง)

 

ความร่วมมือหรือความขัดแย้งจะเกิดขึ้นได้ ก็เพราะสื่อด้วย หากสื่อประโคมข่าวให้เกิดความขัดแย้งก็จะทะเลาะกันไม่เลิก หากสื่อประโคมข่าวให้ร่วมมือกันก็จะร่วมมือ เพราะว่า มนุษย์เป็นเชลยของสื่อมากน้อยต่างกัน จะเห็นได้สื่อในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่มักจะมุ่ง เน้นและปลุมเร้าความรู้สึกและอารมณ์ให้องค์ความรู้ค่อนข้างจำกัด เพราะการปลุกเร้าทางด้านอารมณ์จะทำให้ผู้บริโภคติด เมื่อติด เรตติ้งก็จะเกิดขึ้น  เพราะสื่อเป็นธุรกิจ ซึ่งเน้นเรื่องกำไร 

**สื่อสามารถชี้นำได้  ซึ่งเป็นที่มาของความขัดแย้ง  และสื่อชอบตีไข่ใส่สี ตกแต่งเกินจริง มีอิทธิพลล้ามสมองข้ามชาติ ทำให้เกิดทั้งความร่วมมือและความขัดแย้ง ทำให้เกิดสงครามและสันติ **

สื่ออาจครอบงำในรูปแบบดังต่อไปนี้

-สื่อทางเดียว (one-way communication)
-การผูกขาด (Monopoly)
-การประสานประโยชน์ร่วมกัน (Common Interest)
-เกิดวัฒนธรรมข้ามชาติ (Global Dreams) และ พฤติกรรมร่วมข้ามชาติ(Global Behavior)
-ทำให้โลกเป็นหนึ่งเดียวภายใต้อารยธรรมอเมริกัน (Globalization of Americanization)