5.การเมืองและการปกครองเปรียบเทียบ

.การเมืองและการปกครองเปรียบเทียบ

- การศึกษาการเมืองและการปกครองเปรียบเทียบ เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ นักประวัติศาสตร์และนักปรัชญาทางการเมือง เช่น อริสโตเติล และทาซิตัส ตลอดจน แมคคีวารี ต่างก็มีส่วนสนับสนุนที่สำคัญต่อการวางแนวทางการปกครองเปรียบเทียบมาโดยตลอด
ในปัจจุบัน นักรัฐศาสตร์ทางการปกครองเปรียบเทียบสนใจที่จะศึกษาการเมืองการปกครองเปรียบเทียบ มากกว่าที่จะมุ่งศึกษา หาเหตุผลทางประวัติศาสตร์มาเป็นตัวกำหนดในการวิเคราะห์
โดยมีจุดสนใจในการศึกษาการเมืองการปกครองเปรียบ (Comparative Politics)
เพื่อค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับ ความเหมือน (Similarity) ความต่าง (differences) หน่วยของการวิเคราะห์ (Unit of Analysis) ระดับการวิเคราะห์ (Level of Analysis) แล้ววิเคราะห์และเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นความเหมือนหรือความต่าง ระหว่างสองประเทศ เช่น ไทย กับ มาเลเซีย หรือระหว่างหลายๆ ประเทศก็ได้เพื่อจะให้เห็นจุดเหมือนจุดต่างของปรากฏการณ์ทางการเมือง, เหตุการณ์ สถานการณ์ ระบอบ ระบบ พรรค กลุ่ม องค์กร โครงสร้าง สถาบัน รัฐธรรมนูญ ฯ โดยมีแนวคิดในการศึกษาดังนี้


1. แนววิเคราะห์ปรัชญาการเมือง คือการศึกษาหลักการและพื้นฐานของ รัฐ รัฐบาล การเมือง เสรีภาพ ความยุติธรรม ทรัพย์สินส่วนบุคคล สิทธิ กฎหมาย การบังคับใช้กฎหมายโดยรัฐ

2.แนววิเคราะห์กฎหมาย /สถาบัน ( Legal-Institutional Approach)
- เป็นการวิเคราะห์สถาบันการเมือง เช่นรัฐธรรมนูญ รัฐบาล รัฐสภา พรรคการเมือง เป็นต้น โดยใช้บทบัญญัติของกฎหมาย
- ศึกษาดูการแบ่งหน่วยงานความรับผิดชอบภายในองค์กรของสถาบันนั้น ๆ ตามกฎหมาย เช่น ดูระบบรัฐสภาของอังกฤษ ,ดูระบบประธานาธิบดีของสหรัฐ หรือ วิเคราะห์บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญไทยในประเด็นต่างๆ

3.แนววิเคราะห์ โครงสร้าง-หน้าที่ ( Structural-Functional Approach )
-ศึกษาการจัดวางโครงสร้างของสังคมการเมืองและบทบาทหน้าที่ ขององค์กรโครงสร้าง เหล่านั้น ในความเป็นจริง เป็นพฤติกรรมการกระทำที่แสดงออกมาจริงๆ เช่น บทบาทหน้าที่ของรัฐสภาไทยในการตรวจสอบฝ่ายบริหาร,ศาลปกครองกับการถ่วงดุลอำนาจบริหาร หรือศึกษาพรรคการเมืองไทยในการผลิตนโยบายแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ


4. แนววิเคราะห์ระบบการเมือง ( System Approach) เป็นการศึกษาภาพใหญ่ของระบบการเมืองโดยรวม เพื่อองค์ประกอบหรือองคาพยพพื้นฐาน ของระบบการเมือง ได้แก่
-Input มี Demand ความต้องการ และ Support การสนับสนุน
-Conversion process คือการตัดสินใจของผู้มีอำนาจในระบบการเมือง
-0utput ได้แก่ policies คือ นโยบาย , laws คือกฎหมาย rules คือกฎ รวมทั้ง feedback และสิ่งแวดล้อมภายนอกที่กดดันระบบอยู่

5.แนววิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ ( Historical Approach)
ประวัติศาสตร์ คือข้อเขียนของมนุษย์ เป็นสิ่งที่บันทึกไว้ จะประกอบด้วยเอกสารและหลักฐานปฐมภูมิ ต่างๆ ของประวัติศาสตร์ในฐานะที่เป็นความจริงที่เกิดขึ้น
เป็นการศึกษาเรื่องราวในอดีต ที่เป็นบทเรียน ซึ่งจะส่งผลสะท้อนมาถึงปัจจุบันและอนาคต

6.แนววิเคราะห์วัฒนธรรมทางการเมือง (Political Culture Approach)
การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างระบบการเมืองใดๆ คือทำไมระบบการเมืองหนึ่งสามารถดำเนินกิจกรรมอย่างมีเสถียรภาพ ขณะที่อีกระบบหนึ่งกลับประสบปัญหานานัปการ ทั้งที่ต่างก็มีโครงสร้างทางการเมือง และอุดมการณ์ทางการเมืองเหมือนๆกัน เช่น ไทยกับอังกฤษ ซึ่งคำตอบนี้เราไม่สามารถหาได้จากแนววิเคราะห์สถาบัน กฎหมาย หรืออื่นๆ
กาเบรียล อัลมอนด์ ให้คำจำกัดความวัฒนธรรมทางการเมืองไว้ว่า “วัฒนธรรมทางการเมือง คือ แบบอย่างของทัศนคติ ( attitudes) และความโน้มเอียง ซึ่งบุคคลในฐานะสมาชิกของระบบการเมืองที่มีต่อการเมือง รวมถึง ค่านิยม (value) ความรู้สึก (feeling,emotion) แนวโน้มเอียง (Orientation) “
ตัวอย่างหลักการวิเคราะห์การเมืองการปกครองเปรียบเทียบ เช่น
.การวิเคราะห์เชิงสถาบันถ้าจะวิเคราะห์เชิงโครงสร้าง-หน้าที่ของระบบการเมือง ก็ใช้ทฤษฎีของ TALCOTT PARSON เพื่อทำการวิเคราะห์และเปรียบเทียบ ดังนี้
หน้าที่ โครงสร้าง 1. ธำรงรักษาสังคม - ครอบครัว โรงเรียน2. นำพาสังคมให้บรรลุเป้าหมาย - รัฐบาล ระบบราชการ 3. ปรับตัวหรือเพิ่มคุณภาพชีวิต - ระบบเศรษฐกิจ4. บูรณาการเพื่อความเป็นปึกแผ่น - อุดมการณ์ ศาสนา และวัฒนธรรม
ถ้าจะวิเคราะห์เชิงหน้าที่ของระบบการเมือง ก็ใช้ทฤษฎีของ GABRIEL ALMOND (หน้าที่ของระบบการเมือง – Functions in Political System) ซึ่งได้แบ่งหน้าที่ของระบบการเมืองออกเป็น 2 ส่วน คือ Input มี 4 หน้าที่ ได้แก่ การคัดสรรละหล่อหลอมกล่อมเกลาทางการเมือง เช่น ครอบครัว พรรคการเมืองการเรียกร้องผลประโยชน์ เช่น กลุ่มผลประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ
.-การรวบรวมผลประโยชน์ เช่น พรรคการเมืองการสื่อสารทางการเมือง เช่น สื่อมวลชน
Output มี 3 หน้าที่ ได้แก่- สร้างกฎระเบียบ- บังคับใช้กฎระเบียบ.- ตัดสินกฎระเบียบ

 

................................................................