4.การปกครองท้องถิ่นในประเทศไทย - ปัญหาของการปกครองท้องถิ่น, ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ แนวทางการพัฒนา

 

ข้อ 1. การปกครองท้องถิ่นมีความสำคัญอย่างไรและการปกครองท้องถิ่นในประเทศไทยประสบปัญหาอย่างไร การแก้ปัญหาของการปกครองท้องถิ่นของไทยควรเป็นอย่างไร ?

การปกครองท้องถิ่น หมายถึง การปกครองที่รัฐบาลกลาง ให้อำนาจหรือกระจายอำนาจไปให้หน่วยการปกครองท้องถิ่น เปิดโอกาสให้ประชาชน ในท้องถิ่นได้มีอำนาจในการปกครองร่วมกันทั้งหมด หรือเป็นบางส่วนในการบริหารท้องถิ่น ตามหลักการที่ว่า ถ้าอำนาจการปกครองมาจากประชาชนในท้องถิ่นแล้ว รัฐบาลของท้องถิ่น ก็ย่อมเป็นรัฐบาลของประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน   

 คุณค่าและความสำคัญของการปกครองท้องถิ่น มีดังต่อไปนี้
1) การปกครองท้องถิ่นช่วยสนองตอบต่อปัญหาและความต้องการของชุมชนภายในท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยทางการปกครองจำนวนเล็ก ๆ ที่มีมากมายกระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยพื้นที่เหล่านั้นย่อมมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะทางกายภาพ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นนั้น ๆ ทำให้การบริหารและการปกครองที่มีลักษณะของการรวมศูนย์อำนาจอยู่ที่รัฐบาล เพียงแห่งเดียว ไม่สามารถที่จะตอบสนองต่อความต้องการและปัญหาที่เกิดขึ้นภายในชุมชนนั้น ๆ จึงจำเป็นต้องกระจายระบบงานให้มีลักษณะคล่องตัวและปรับตัวให้ยืดหยุ่น นั่นก็คือ การสร้างหน่วย
การปกครองที่เรียกว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้มาจัดทำบริการและแก้ปัญหาของประชาชนในท้อง ถิ่น และยังจะเป็นการสร้างเสริมความเข้มแข็งให้กับหลักความรับผิดชอบตามระบอบ ประชาธิปไตย (Democratic Accountability)
2) การปกครองท้องถิ่นเป็นโรงเรียนประชาธิปไตยในระดับรากหญ้า ระบบการปกครองท้องถิ่นจะต้องมีการเลือกตั้ง มีระบบพรรคการเมืองระดับท้องถิ่น มีการต่อสู้และการ

 

แข่งขันในทางการเมือง ตามวิถีทางและตามกติกา ในที่สุดก็จะทำให้ประชาชนเข้าใจถึง
ระบบการปกครองตนเอง เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่ายที่อยู่ภายใต้โครงสร้างทางการบริหาร ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร และที่สำคัญคือการเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของประชาชน และในที่สุดจะทำให้เกิดการพัฒนาทางการเมืองได้ และการที่ปกครองท้องถิ่นช่วยสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจในทางการเมือง ถือได้ว่าเป็นสถาบันฝึกสอนประชาธิปไตยให้ประชาชน
3) สร้างการมีส่วนร่วม (Participation) การมีอยู่ของรัฐบาลในระดับท้องถิ่น หรือในระดับภูมิภาค ย่อมเอื้อต่อประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในทางการเมืองได้มากกว่า เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับชุมชนของ ตน และการเข้ามาบริหารกิจการสาธารณะต่าง ๆ ภายในชุมชนด้วยตัวเอง จะเป็นผลให้ประชาชนเหล่านี้ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ในทางการเมืองการ ปกครองตามหลักการปกครองตนเอง และนำไปสู่การเติบโตของ ?ความเป็นพลเมือง? ในหมู่ประชาชน
4) สร้างความชอบธรรม (Legitimacy) ความห่างไกลทั้งในทางภูมิศาสตร์และในทางการเมือง ย่อมทำให้การตัดสินใจโดยสถาบันทางการเมืองที่ห่างไกลออกไปจากชุมชนท้องถิ่น อาจจะไม่ได้รับการยอมรับ ในทางตรงกันข้ามหากการตัดสินใจกระทำในระดับชุมชนท้องถิ่น มีแนวโน้มที่จะได้รับการยอมรับและเป็นการสมเหตุสมผลมากกว่า ทำให้การตัดสินใจในทางการเมืองการปกครองนั้นมีความชอบธรรม
5) ดำรงหลักเสรีภาพ (Liberty) หากอำนาจทางการเมืองการปกครองถูกรวบอยู่ที่ศูนย์กลางมากเกินไป เป็นไปได้ที่จะเกิดการใช้อำนาจในทางที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของปัจเจกบุคคล และสร้างความเสียหายให้กับสังคมโดยรวมได้ง่าย ในทางตรงข้าม การกระจายอำนาจจึงเป็นมรรควิธีหนึ่งในการปกป้องเสรีภาพของปัจเจกบุคคล โดยการทำ
ให้อำนาจมีการกระจัดกระจายออกไป อันจะนำไปสู่การสร้างโครงข่ายของการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน (Checks and Balances) ระหว่างศูนย์กลางกับพื้นที่นอกศูนย์กลาง

 

การปกครองท้องถิ่นในประเทศไทยประสบปัญหาอย่างไร
ลักษณะและสภาพของสังคมไทย ที่มีพื้นฐานมาจากสังคมศักดินา มีวัฒนธรรมอำนาจเชิงอุปถัมภ์ กำหนดให้ฐานะของผู้คนไม่เสมอภาคเท่าเทียมกัน มีความคิดหวังพึ่ง ไม่เชื่อมั่นในอำนาจของตนเอง อยู่อย่างเอกเทศ ไม่สามัคคีรวมกลุ่มรวมก้อนกัน และเมื่อมีการรับอิทธิพลของทุนนิยม ยิ่งมาเสริมให้ระบบโครงสร้างและระบบเศรษฐกิจไปรวมศูนย์ที่ตัวเมือง และไม่เป็นธรรมมากขึ้น ทรัพยากรและการจัดสรรผลผลิตไปตกอยู่กับผู้มีอำนาจ ทำให้ความเลื่อมล้ำและช่องว่างทางรายได้ห่างกันมากขึ้น และปัจจัยที่สำคัญคือ การรวมศูนย์อำนาจทางการเมืองและการปกครอง ที่ย้ายมาจากเผด็จการทหาร มาสู่พรรคการเมืองและระบบเลือกตั้ง ในขณะ ที่ภาคประชาชนและชนชั้นกลางยังอ่อนแอ และไม่มีการรวมตัวเป็นองค์กรของตนที่จะคัดเลือกและตรวจสอบนักเลือกตั้งได้ ทำให้ผู้กุมปัจจัยและ ผูกขาดทางด้านเศรษฐกิจ เข้ามามีบทบาทในอำนาจรัฐ กลายเป็น “นักธุรกิจการเมือง”
แนวทางในการแก้ปัญหา
1. สร้างความเข้มแข็งให้กับการเมืองภาคประชาชน
2. ลดบทบาทและอำนาจของรัฐ โดยเฉพาะพรรคการเมือง ทุนผูกขาด ข้าราชการ (ทำให้อ่อนแอลง)
3. ลดบทบาทและอิทธิพลของทุนและองค์กรข้ามชาติ (เป็นสิ่งมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและส่งเสริมอำนาจรัฐให้เข้มแข็ง เพราะมีผลประโยชน์ร่วมกัน
เรื่องสำคัญที่ควรจะแก้ไข
1. งบประมาณแผ่นดิน : จะต้องช่วงชิงงบประมาณแผ่นดินกลับสู่ท้องถิ่นให้มากขึ้น และปกป้องรักษางบประมาณของท้องถิ่น ไม่ให้ทางส่วนกลางนำไปใช้เพื่อสร้างอำนาจรวมศูนย์ที่ส่วนกลาง

2. ทรัพยากรธรรมชาติ : ต้องปกป้องรักษาและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นสมบัติของท้องถิ่น และประเทศ ไม่ให้รัฐ, นักการเมือง, ข้าราชการ และกลุ่มทุนผูกขาด รวมทั้งบริษัทข้ามชาติมาฉกฉวยช่วงชิงเอาไป
3. ทรัพยากรบุคคลของท้องถิ่น : ต้องรักษาและดึงบุคคลสำคัญของท้องถิ่นที่ไปอยู่ส่วนกลางกลับมารับใช้และพัฒนาท้องถิ่น, เพราะในอนาคตที่การกระจายอำนาจการปกครองมาสู่ท้องถิ่นมากขึ้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยทรัพยากรบุคคลของท้องถิ่นมาช่วยกันคิดและระดมสมองในการวางแนวทางและกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
ปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะโครงสร้างและระบบเก่าที่รวมศูนย์อำนาจอยู่ที่ศูนย์กลาง และจากบนมาสู่ข้างล่าง ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดพลาดและไม่ถูกต้อง การเสนอว่า “โครงสร้างและระบบเก่านี้ดีอยู่แล้ว เพียงแต่แก้ที่คน หาคนดีมีความรู้ความสามารถเข้ามาทำเท่านั้น ก็จะสามารถแก้ปัญหาได้” เบื้องหลังของผู้ที่มีความคิดเช่นนี้ ถ้าไม่ใช่พวกไดโนเสาร์เต่าล้านปีที่หลงยุค ก็แสดงว่าเป็นพวกที่มีเจตนาไม่ดีต่อประชาชน หวังเพียงแต่เอาผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง ที่จะได้รับจากโครงสร้างและระบบเก่าที่รวมศูนย์อำนาจ และรวมศูนย์ผลประโยชน์เท่านั้น เพราะปัญหาหลักอยู่ที่โครงสร้างและระบบ, ถ้าโครงสร้างและระบบดี จะเปิดโอกาสให้คนดีเข้ามาบริหารได้มากขึ้น และจักสามารถแก้ปัญหาได้ ตรงกันข้าม ถ้าโครงสร้างและระบบไม่ดี ก็ย่อมเปิดโอกาสให้คนไม่ดีใช้อำนาจการซื้อเสียงเข้ามาเป็นผู้บริหารได้ และถึงแม้ว่าอาจจะมีคนดี มีโอกาสเข้ามา ก็ย่อมไม่สามารถแก้ปัญหาได้ หรือมิฉะนั้นคนดีก็จะถูกระบบเก่าทำลายให้เสียคน หรือกลายเป็นพวกคนไม่ดีไป

 

 

 

ข้อ 2. อธิบายความความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ปัจจุบันส่วนภูมิภาคจำเป็นอย่างไร จำเป็นต้องมีส่วนภูมิภาคในปัจุบันหรือไม่และบทบาทส่วนภูมิภาคในปัจจุบันควรเป็นอย่างไรท่านมีความคิดเห็นเกี่ยวกับท้องถิ่นไทยในยุคโลกาภิวัตน์ว่าการปกครองท้องถิ่นของไทยควรเป็นอย่างไร?

 

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.ในแง่ของการร่วมมือประสานงานและสนับสนุนส่งเสริมการปฏิบัติงาน เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.ในแง่การใช้อำนาจกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขึ้นอยู่
กับเงื่อนไขการเป็นนิติบุคคลและความเป็นอิสระ แต่ต้องมีลักษณะที่ไม่กระทบต่ออำนาจอธิปไตยของรัฐบาลในส่วนกลาง
ลักษณะของการกำกับดูแลของรัฐบาล อาจทำได้ 4 ลักษณะ
(1)การกำกับดูแลสภาและฝ่ายบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(2)การกำกับดูแลการบริหารงานบุคคลของท้องถิ่น
(3)การกำกับดูแลการเงินการคลังของท้องถิ่น
(4)การกำกับดูแลด้านการบริหารงานของท้องถิ่น
กระแสท้องถิ่น กระแสโลกาภิวัฒน์
       กระแสโลกาภิวัฒน์ (Globolization)

 

     ที่ผ่านมากลไกของกระทรวงมหาดไทยเป็นเรื่องของการสั่งการและตามนักการเมืองเพียงอย่างเดียว แม้แต่การกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นล่าสุดเมื่อปี2542 ก็ไม่ได้เกิดจากความตั้งใจของกระทรวงมหาดไทย แต่เป็นการใช้อำนาจสั่งการของนักการเมือง หลังจากนี้กระทรวงมหาดไทยต้องเปิดพื้นที่ความคิดให้ประชาชนได้มากขึ้น ให้พึ่งตัว เองได้มากขึ้น ให้พอเพียงได้มาก ขึ้น เพื่อต่อสู้กับระบบธุรกิจการเมือง ระบบเลือกตั้งที่ใช้กลไกภาค รัฐไปช่วยคนรวย และต้องสนับ สนุนให้มีการสื่อสารให้เกิดประสบการณ์ร่วม ให้เกิดสำนึกในความเป็นปวงชน

บทบาทส่วนภูมิภาคในปัจจุบันควรเป็นอย่างไร
ประเทศไทยในช่วง 20 ปีหลัง มีการเปลี่ยนแปลงมหาศาล และมีเสียงเรียกร้องให้ปฏิรูปการกระ จายอำนาจสู่ท้องถิ่นมากขึ้นเรื่อยๆซึ่งเท่าที่เห็นกระทรวงมหาดไทยเองก็ถือว่ามีความพร้อม และมีวิสัยทัศน์ในเรื่องดังกล่าวกำหนดไว้ในแผนงานของทุกกรมแล้วใน 10-20 ปีนี้ ต้องมีการปกครองส่วนภูมิภาคอยู่ในการกำกับดูแลประชาชน และยึดโยงกับส่วนกลาง แต่อำนาจและภาระหน้าที่ต้องลงไปที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น โดยกฎหมาย งบประมาณ และลักษณะการบริหารงานต้องคล่องตัวพอ เพื่อให้เกิด

 

ประโยชน์สูงสุดกับประชาชน ซึ่งการกระจายอำนาจต้องเกิดขึ้นในทุกกระทรวง ทบวง กรม ไม่ใช่มหาดไทยอย่างเดียว เพื่อให้ประชาชนมีความเข้มแข็ง และจัดการทรัพยากรในท้องถิ่นตัวเองได้ทุกเรื่อง
"การยกเลิกการปกครองส่วนภูมิภาคคงยังไม่เกิดขึ้นในเวลา 4-5 ปีข้างหน้านี้ เพราะยังมีข้อถกเถียงมากมาย ในเรื่องการกระจายงบประมาณ หรือการมอบอำนาจให้กับนักการเมืองท้องถิ่น แต่ต้องมีกลไกมอบอำนาจให้ประชาชนมากขึ้นผ่านหลักคิด 2 อย่าง คือ 1.จะจัด สรรทรัพยากรในประเทศด้วยวิธี ไหนดีสุด และ 2.มองเหตุผลใน ระบบรัฐว่าจะจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาท้องถิ่นในรูปแบบใดและจะควบคุมบริการของรัฐให้ดีที่สุดได้อย่างไร"

ทิศทางการปกครองท้องถิ่นในอนาคต
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้บัญญัติ ถึงความสำคัญของการกระจายอำนาจการปกครองให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาตรา 282 ถึงมาตรา 290 ซึ่งเป็นที่มาของการตรา พ.ร.บ กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ซึ่งกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ มีหลักการสำคัญ 3 ประการได้แก่1. หลักความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบาย การบริหารงานบุคคล และการบริหารการเงินการคลังของตนเอง ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่าองค์กรปกครองท้องถิ่นสามารถจะทำได้หมดในเรื่องดังกล่าว ยกเว้นงานที่เป็น หน้าที่หลักของรัฐในส่วนกลาง เช่น งานด้านความมั่นคง งานด้านสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ฯลฯ ซึ่งควรกำหนดให้ชัดเจนว่างานใดเป็นงานหลักของรัฐในส่วนกลางและงานใดเป็นส่วนของท้องถิ่น2. จัดความสัมพันธ์ระหว่างงานของรัฐ โดยกำหนดให้ อปท. รับผิดชอบการจัดบริการสารธารณะระดับชุมชน ส่วนราชการส่วนกลางและภูมิภาครับผิดชอบในระดับประเทศและให้คำปรึกษาสนับสนุน กำกับดูแลการปฏิบัติของ อปท. เท่าที่จำเป็น3. หลักประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของอปท. โดยส่งเสริมให้อปท. สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพมาตรฐาน บริหารงานอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้ เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ยึดหลักธรรมภิบาลในการทำงาน

องค์กรปกครองท้องถิ่นสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายได้ เป็นอย่างดี ถ้ารัฐบาลส่งเสริมเรื่องการกระจายอำนาจ ดังนี้
1. รัฐบาลต้องมีความจริงใจกับเรื่องการถ่ายโอนภารกิจให้แก่อปท. ต้องผลักดันให้การถ่ายโอนภารกิจให้ท้องถิ่นให้สำเร็จ อย่าอ้างว่าอปท.ไม่ความพร้อมไม่มีความสามารถที่จะทำได้ ต้องให้ความรู้กับประชาชนในอปท. ต้องมีความชัดเจนต้องให้ความอิสระกับอปท. และการมีส่วนร่วมของประชาชนในรูปองค์กรประชาชนมากขึ้นฯลฯ
2. ต้องปรับปรุงระบบบริหารงานบุคคลท้องถิ่น ต้องมีองค์กร ทำหน้าที่บริหารจัดการที่มีความเป็นอิสระ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับคณะกรรมการพัฒนาข้าราชพลเรือน (กพ) และต้องสร้างระบบที่ถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายประจำและฝ่ายการเมือง ภายใต้ระบบคุณธรรม
3. พัฒนาขีดความสามารถทางการคลังของอปท.ต้องคำนึงถึงศักยภาพของแต่ละท้องถิ่นที่แตกต่างกันในการจัดเก็บภาษี ต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพของการใช้จ่ายและการบริหารโครงการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความประหยัดและคุ้มค่าโดยอาจใช้วิธีการบริหารงานสมัยใหม่ช่วยดำเนินการ เช่น การจ้างเหมาเอกชนให้เข้ามาร่วมจัดการบริการสาธารณะแทนหรือการใช้แรงงานชุมชนร่วมกันจัดกิจกรรม ฯลฯ
4. ต้องปรับปรุงแก้ไขข้อกฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ ที่มีอยู่ เช่น กฎระเบียบว่าด้วนพัสดุ กฎระเบียบของพนักงานเจ้าหน้าที่ รวมถึงกฎระเบียบต่าง ๆ ของฝ่ายการเมือง ทั้งฝ่ายบริหารและ ฝ่ายสถา (นิติบัญญัติ)ให้มีความชัดเจน สอดคล้องกับการปฏิบัติงานของ อปท.
5. การที่ อปท.จะพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลที่เป็นรูปธรรมได้จะต้องพัฒนาบุคคลใน อปท. ทุกระดับให้มีความจริงใจในการปฏิบัติงานรวมถึงคุณธรรมความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่
6. พัฒนาเจ้าหน้าที่ของ อปท. ในทุกท้องถิ่นจะต้องมีจิตสำนึกรักท้องถิ่นที่ตนปฏิบัติงานอยู่และมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อให้เกิดความรักสามัคคีในชุมชนนั้นให้ได้เพราะค่าตอบแทนของเจ้าหน้าที่ พนักงานในท้องถิ่นมาจากรายได้ของชุมชน

 

 

ข้อ 3. เป้าหมายของการปกครองท้องถิ่นคืออะไร มีแนวคิดและแนวทางพัฒนาอย่างไร, รัฐธรรมนูญมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการปกครองท้องถิ่นอย่างไรและพระราชบัญญัติมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญหรือไม่( รัฐธรรมนูญ 40, รัฐธรรมนุญ 50 )จงอธิบายแนวคิดและยกตัวอย่างให้ชัดเจน

แนวโน้มของการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในอนาคต
การปกครองส่วนท้องถิ่นได้ทวีความสำคัญมากขึ้นหลังจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะการกระจายอำนาจจากราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาคไปสู่ท้องถิ่น ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อีกทั้งยังได้เข้ามาตรวจสอบ กำกับดูแลการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผลจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญทำให้ การปกครองส่วนท้องถิ่นมีลักษณะดังต่อไปนี้            
(1) ท้องถิ่นมีความเป็นอิสระเพิ่มมากขึ้นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชน
(2) มีอิสระในการกำหนดนโยบายการปกครอง การบริหารงาน การบริหารงานบุคคล การเงิน การคลัง และมีอำนาจหน้าที่ของตนเองโดยจะมีคณะกรรมการในลักษณะของไตรภาคีเป็นผู้พิจารณากำหนดในเรื่องดังกล่าว รวมทั้งพิจารณากำหนดการจัดสรรรายได้ให้แก่ท้องถิ่นให้เหมาะสมตามภารกิจหน้าที่ และจะมีการทบทวนทุกระยะ 5 ปี
(3) มีสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี และผู้บริหารท้องถิ่นจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้
(4) ประชาชนสามารถเข้ามาตรวจสอบ กำกับ ดูแล การปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและมีส่วนร่วมโดยตรงในการบริหารงานท้องถิ่นด้วยการลงคะแนนเสียงถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น รวมทั้งมีสิทธิ์เข้าชื่อร้องขอให้สภาท้องถิ่นออกข้อบัญญัติได้ด้วย

 

(5) การบริหารงานบุคคลของข้าราชการ/พนักงานส่วนท้องถิ่น จะมีคณะกรรมการข้าราชการ/พนักงานส่วนท้องถิ่นในลักษณะไตรภาคี
(6) ท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่เพิ่มขึ้นในการกำกับดูแล บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี และ  ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อให้การบริหารการพัฒนาท้องถิ่นมีความเหมาะสมตามลักษณะเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น         

ทิศทางการปกครองท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มุ่งเน้นสาระสำคัญใน 4 แนวทางหลัก ได้แก่ แนวทางที่หนึ่ง การคุ้มครอง ส่งเสริม และการขยายสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างเต็มที่ แนวทางที่สอง ได้แก่ ลดการผูกขาดอำนาจรัฐ เพิ่มอำนาจประชาชน และส่งเสริมการกระจายอำนาจ แนวทางที่สาม การทำให้การเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรม และจริยธรรม และ แนวทางที่สี่ ได้แก่ การทำให้องค์กรตรวจสอบมีอิสระ เข้มแข็ง และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          โดยในสาระสำคัญที่เกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นในรัฐธรรมนูญนั้น สามารถแบ่งได้ออกเป็นสาระสำคัญใน 5 ประการ ได้แก่
1.การขยายอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีบทบาทที่ชัดเจนและกว้างขวางขึ้น
2.ทำให้เกิดดุลยภาพระหว่างการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และความเป็นอิสระ
3.เป็นการพัฒนาระบบการดำเนินงานและบริหารงานภายในขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4.การเปิดพื้นที่ให้แก่ประชาชน ชุมชน และภาคประชาสังคมในการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการท้องถิ่นร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5.การทำให้การเมืองท้องถิ่นมีความโปร่งใส โดยจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป
     


     แนวโน้มของการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในอนาคต
ผลจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ได้มีแนวโน้มที่จะให้เกิดการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในอนาคต ดังนี้
1. ท้องถิ่นมีอิสระในการบริหารกิจการมากยิ่งขึ้น ทั้งทางด้านการกำหนดนโยบาย   การปกครอง การบริหาร การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง และมีอำนาจหน้าที่ของตนเองโดยเฉพาะเหมาะสมกับลักษณะพื้นที่และประชากร รวมถึงได้รับการจัดสรรรายได้ให้เพิ่มมากขึ้น มีความเป็นธรรมและเหมาะสมกับอำนาจหน้าที่
2. ข้าราชการ/พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับภารกิจในการกระจายอำนาจและปฏิบัติหน้าที่ด้วยความถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย รวมทั้งสามารถสนองตอบต่อนโยบายของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการให้บริการสาธารณะหรือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และตอบสนองความต้องการของประชาชน ผู้บริหารท้องถิ่นจะมีบทบาทในการบริหารงานบุคคลมากขึ้น สามารถกำกับดูแลให้ข้าราชการ/พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปฏิบัติงานเพื่อสนองตอบต่อนโยบายของผู้บริหาร และความต้องการของประชาชนได้ดียิ่งขึ้น อันส่งผลให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ
3. ประชาชนมีความตื่นตัวและสำนึกในหน้าที่ความรับผิดชอบต่อส่วนรวมมากขึ้น โดยผลของกฎหมายการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น และกฎหมายการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น อันจะทำให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ และควบคุมการดำเนินกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งแต่การเลือกตั้ง การบริหารกิจการด้านงบประมาณ ส่งผลให้ผู้บริหารต้องบริหารกิจการด้วยความโปร่งใส และมีธรรมาภิบาลเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชนโดยทั่วไป
4. โครงสร้างการบริหารจะเปลี่ยนรูปแบบเป็นแบบผู้บริหารมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนโดยสมบูรณ์ เป็นตัวแทนที่แท้จริงของประชาชน และบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ประชาชน
ทั้งนี้จะทำให้ฝ่ายบริหารมีความเข้มแข็งเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป

………………………………………..