3.ประวัติศาสตร์ระบบการเมืองไทย - ประวัติศาสตร์การเมืองไทย และ ระบบพรรคการเมืองไทยกับบทบาททางการเมือง

 

1. ประวัติศาสตร์การเมืองไทย
ตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้นคนไทยรวมตัวกันอยู่ในลักษณะนครรัฐ โดยยกตัวอย่างเช่นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่ถึงแม้ว่าจะมีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการปกครอง แต่ก็ยังคงมีอำนาจภายในกลุ่มแคว้นต่าง ๆ เช่น สุพรรณบุรี ลพบุรี สุโขทัย เชียงใหม่ และนครศรีธรรมราช ซึ่งหากกลุ่มอำนาจใดที่ครองอำนาจอยู่ในเมืองหลวงเพลี่ยงพล้ำให้แก่กลุ่มอื่น ๆ แล้วก็สามารถถูกชิงอำนาจไปได้เช่นกัน เช่น ราชวงศ์อู่ทองถูกแคว้นสุพรรณบุรีชิงอำนาจไปในสมัยขุนหลวงพะงั่วอย่างไรก็ตาม อาณาจักรอยุธยาสามารถรวบรวมอำนาจบางกลุ่มผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งเดียวกับตนได้สำเร็จโดยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงใช้กุศโลบายต่าง ๆ ทั้งความสัมพันธ์เครือญาติ การปฏิรูปการปกครองไปจนถึงการใช้กำลังทหาร เพื่อผนวกเอาแคว้นสุโขทัยมาเป็นส่วนหนึ่งของอยุธยา สมัยดังกล่าวยังมีการปกครองที่เป็นปึกแผ่นมากขึ้น กระทั่งการล่มสลายอย่างสิ้นเชิงก็ไม่สามารถทำลายความรู้สึกของผู้คนตามไปด้วยได้จึงนำไปสู่การเกิดใหม่ของกรุงศรีอยุธยาเป็นกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์
การปกครองของไทย ในสมัยสุโขทัยเป็นแบบพ่อปกครองลูก ในสมัยอยุธยาเป็นแบบเทวราชา ก่อนจะเปลี่ยนเป็นธรรมราชาจากอิทธิพลของศาสนาพุทธต่อการเมืองการปกครอง ซึ่งใช้มาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ภัยคุกคามจากชาติตะวันตกเป็นภัยคุกคามที่นครรัฐของคนไทยไม่เคยประสบมาก่อนจนกระทั่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มการปรับปรุงบ้านเมืองโดยการสร้างรัฐชาติอันเป็นการยกระดับจากชุมทางแห่งอำนาจมาเป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจบนดินแดนที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแทนซึ่งได้พัฒนาต่อมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญ คือ การก่อตั้งกระทรวงขึ้นเพื่อให้บริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างทันสมัย และการดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ในระยะนี้เองที่เริ่มมีความพยายามเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตยต่อมาได้มี การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ซึ่งมีการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นพฤตการณ์ "ชิงสุกก่อนห่าม" ในขณะที่บางส่วนตั้งข้อสังเกตว่าเกิดขึ้นช้าเกินไป อันเป็นสาเหตุของ "วงจรอุบาทว์"เพราะเกิดขึ้นช้าเกินกว่าที่ประชาธิปไตยจะพัฒนาไปอย่างมั่นคงในประเทศไทยอีกทั้งการปฏิวัติด้วยมือของคณะทหารก็ได้ทำให้การเมืองเป็นลูกไล่ของทหารและข้าราชการ
ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พลังของชนชั้นกลางเริ่มเข้ามามีบทบาทในการเมืองไทยมากขึ้น ซึ่งถึงแม้ว่าเขตชนบทจะให้คะแนนเสียงส่วนใหญ่มาจัดตั้งรัฐบาล แต่เสถียรภาพของรัฐบาลจะมาจากประชาชนในเขตเมือง
การแบ่งยุคประวัติศาสตร์การเมืองไทย
1.ยุคก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ
1)ช่วงก่อนปฏิรูปการปกครองพ.ศ.2435 สมัยรัชกาลที่ 5
2)ช่วงหลังปฏิรูปฯ พ.ศ.2435-การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475
2.ยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ
1).จากยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475-14 ตุลาคม 2516
2).จากยุค 14 ตุลาคม 2516 – ปัจจุบัน
สมัยสมบูรณาญาสิทธิราช (พ.ศ.1893-2475)สมัยกรุงศรีอยุธยา 
กรุงศรีอยุธยาสถาปนา เมื่อปี พ.ศ.1893 โดยพระเจ้าอู่ทอง(พระรามาธิบดีที่ 1) สมัยกรุงศรีอยุธยามีการปกครองแบบราชาธิปไตยหรือสมบูรณาญาสิทธิราช โดยสมบูรณ์แบบ คืออำนาจอยู่ที่กษัตริย์เพียงพระองค์เดียว โดยเชื่อถือตามคติพราหมณ์ตามแบบพวกเขมรว่ากษัตริย์เป็นผู้ได้รับอำนาจจากสวรรค์ ฐานะของกษัตริย์จึงเป็น “สมมติเทพ” ทรงมีอำนาจที่จะกำหนดชะตาชีวิตของใครก็ได้จึงเรียกระบบการปกครองนี้ว่า “ระบบเทวสิทธิ์”(Divine Right) ลักษณะการปกครองเป็นแบบนายปกครองบ่าว หรือ “เจ้าปกครองไพร่ ฐานะของกษัตริย์กับประชาชนจึงห่างไกลกัน ข้าราชบริพารเป็นสื่อกลางระหว่างกษัตริย์ และประชาชน จึงเกิดเป็นระบบเจ้าขุนมูลนาย หรือศักดินาขึ้นระบบเจ้าขุนมูลนายหรือศักดินาเกิดขึ้นเพราะกรุงศรีอยุธยาอยู่ในสภาวะสงครามตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องให้พลเมืองทุกคนอยู่ในสังกัดของเจ้าขุนมูลนายเพื่อว่าเมื่อมีศึกสงครามพระมหากษัตริย์จะได้สั่งการ ให้เจ้าขุนมูลนายเกณฑ์ไพร่พลมาช่วยทำสงครามป้องกันบ้านเมืองได้พระเจ้าอู่ทอง (พระรามาธิบดีที่ 1) ทรงวางระบบการปกครองดังนี้
ส่วนกลางเป็นแบบจตุสดมภ์ โดยมีเสนาบดี 4 คน คือ ขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลัง และขุนนา เป็นผู้ดูแลกิจกรรมหลัก 4 ประการของการบริหารราชการแผ่นดิน มีการแบ่งหัวเมือง 3 ระดับ คือ หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก และเมืองประเทศราช 
  สมัยพระบรมไตรโลกนาถ - สมัยรัชกาลที่ 4
ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991-2031)มีการปรับปรุงระบบบริหารใหม่โดยแยกเป็นฝ่ายทหารและพลเรือนหัวหน้าฝ่ายพลเรือน เรียกว่า“สมุหนายก” รับผิดชอบด้านการบริหารพลเรือนเกี่ยวกับ เมือง วัง คลัง นา หัวหน้าฝ่ายทหาร เรียกว่า “สมุหกลาโหม” รับผิดชอบด้านการทหารและป้องกันประเทศ เช่น กรมช้าง กรมม้า กรมทหารราบ ส่วนในด้านภูมิภาคได้มีการปฏิรูปการปกครองโดยรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง คือ เมืองหลวง  มากขึ้นขยายเขตหัวเมืองชั้นในให้กว้างขวางขึ้น หัวเมืองชั้นนอกให้เรียกเป็นหัวเมืองชั้นเอก โท ตรี ตามลักษณะความสำคัญและขนาดของพื้นที่ และส่งพระราชวงศ์ หรือขุนนางไปดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ เมืองประเทศราชยังคงให้ปกครองตนเอง และส่งบรรณาการ 3 ปีต่อครั้ง
ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา(สมัยพระเพทราชา)  จึงมีการปรับปรุงระบบการปกครองอีกครั้งหนึ่ง โดยแยกหัวเมืองนอกเขตราชธานีเป็น 2 ภาค หัวเมืองภาคเหนือให้สมุหนายกเป็นผู้รับผิดชอบ ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน หัวเมืองภาคใต้ให้สมุหกลาโหม เป็นผู้รับผิดชอบดูแล ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนเช่นกัน ในด้านการปกครอง มีการปรับปรุงหัวเมืองภูมิภาค 3 ส่วน คือ หัวเมืองฝ่ายเหนือ  สังกัดสมุหนายก หัวเมืองฝ่ายใต้ สังกัดสมุหกลาโหม หัวเมืองชายทะเลตะวันออก และเมืองท่า สังกัดกรมท่า
ในสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงใช้รูปแบบการปกครองแบบอยุธยาตอนปลายแต่บทบาทกษัตริย์ในฐานะสมมติเทพเริ่มค่อย ๆลดความสำคัญลง โดยเฉพาะรัชกาลที่ 4 ทรงดื่มน้ำพิพัฒน์สัตยาร่วมกับขุนนางข้าราชการทั้งหลาย จึงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับประชาชนมีความใกล้ชิดกันมากขึ้นเหมือนสมัยสุโขทัย
                                สมัยรัชกาลที่ 5 - รัชกาลที่ 7 (พ.ศ.2411 - 2475)
สมัยรัชกาลที่ 5 มีการปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดินครั้งใหญ่ เรียกว่า “การปฏิรูปการปกครอง”อันนำมาซึ่งความเจริญอย่างมากมายในปัจจุบัน การปฏิรูปการปกครองที่สำคัญ ได้แก่ 
1)การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ให้ยกเลิกตำแหน่งสมุหกลาโหม สมุหนายก และจตุสดมภ์แล้วแบ่งส่วนราชการเป็น 12 กระทรวง มีเสนาบดีเป็นผู้ว่าราชการกระทรวง แต่ละกระทรวงมีหน้าที่และความรับผิดชอบเป็นสัดส่วนแน่นอน ไม่ก้าวก่ายกันเหมือนแต่ก่อน เช่นกระทรวงมหาดไทยดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาว กระทรวงกลาโหมดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ตะวันออกแหลมมลายู กระทรวงการต่างประเทศดูแลในเรื่องความสัมพันธ์กับต่างประเทศ กระทรวงนครบาล รับผิดชอบด้านความสงบเรียบร้อยภายในเมืองหลวงกระทรวงพระคลังมหาสมบัติดูแลในการจัดเก็บภาษี และหาเงินเข้าท้องพระคลังเป็นต้น
2)การจัดการปกครองส่วนภูมิภาค ยกเลิกระบบเมืองเอก โท ตรี แต่ให้รวมหัวเมืองภาคเหนือ ภาคใต้และเมืองท่าตั้งเป็น “มณฑล”ขึ้นกับกระทรวงมหาดไทยมี สมุหเทศาภิบาล หรือข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองมณฑล แต่ละมณฑลประกอบด้วยเมือง มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้ปกครอง แต่ละเมืองยังแบ่งเป็นอำเภอมีนายอำเภอเป็นผู้ปกครอง แต่ละอำเภอแบ่งเป็นตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน กำนันและผู้ใหญ่บ้านที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้ปกครองตำบลและหมู่บ้าน
3)การปกครองส่วนท้องถิ่น รัชกาลที่ 5 ทรงเล็งเห็นประโยชน์ที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง จึงโปรดเกล้าฯให้จัดตั้ง“สุขาภิบาล” ซึ่งลักษณะคล้ายเทศบาลในปัจจุบัน สุขาภิบาลแห่งแรกคือสุขาภิบาลกรุงเทพฯ และสุขาภิบาลท่าฉลอม (จังหวัดสมุทรสาคร) เป็นสุขาภิบาลหัวเมือง เป็นการทดลองรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งปรากฏว่าการดำเนินงานของสุขาภิบาลทั้ง 2 แห่งได้ผลดียิ่งจึงได้ตราเป็นพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2458 แบ่งสุขาภิบาลเป็น 2 แบบ คือ สุขาภิบาลเมือง และตำบล เพื่อขยายกิจการสุขาภิบาล ให้แพร่หลายไปยังท้องถิ่นอื่น ๆการปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นการวางรากฐานการปกครองในสมัยต่อมา มีการแก้ไขปรับปรุงบางส่วนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ทำให้ประเทศมีระบบการบริหารที่ทันสมัย มีเอกภาพและมั่นคง
                 สมัยประชาธิปไตย (พ.ศ.2475-2535) สมัยรัชกาลที่ 7-ก่อน 14 ตุลาคม 2516
รูปแบบการปกครองสมัยรัชกาลที่ 6-7 ยังคงยึดรูปแบบการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5มีการปรับปรุงแก้ไขบ้างเพียงเล็กน้อย ทั้ง 2 พระองค์ได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่คงจะมีขึ้นในภายข้างหน้า สมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการจัดตั้ง “ดุสิตธานี” ให้เป็นนครจำลองในการปกครองแบบประชาธิปไตย จนเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 หลังจากที่รัชกาลที่ 7 ทรงครองราชย์ได้ 7 ปี คณะผู้ก่อการซึ่งเรียกตัวเองว่า “คณะราษฎร์” ประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือและพลเรือน จำนวน 99 คน ได้ทำการยึดอำนาจ และเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราช หรือ “ราชาธิปไตย” มาเป็นระบบการปกครองแบบ“ประชาธิปไตย” และได้อัญเชิญรัชกาลที่ 7 ขึ้นเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ นับได้ว่ารัชกาลที่ 7 ทรงเป็นกษัตริย์องค์แรกในระบอบประชาธิปไตย
                        มูลเหตุของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475
1.ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก หลังสงครามโลก รัฐบาลต้องการลดรายจ่าย  โดยปลดข้าราชการบางส่วนออก ผู้ถูกปลดไม่พอใจ
2.ผู้ที่ไปเรียนจากต่างประเทศเมื่อกลับมาแล้วต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศให้ทันสมัยเหมือนประเทศที่เจริญแล้ว
3.ความเหลื่อมล้ำต่ำสูงระหว่างข้าราชการและประชาชน จึงต้องการสิทธิเสมอภาคกัน
4.ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่สามารถแก้ปัญหาพื้นฐานชีวิตของราษฎรได้
ลักษณะการปกครองหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475
1.พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
2.รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ
3.อำนาจอธิปไตย เป็นของปวงชนชาวไทยและเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ
4.ประชาชนใช้อำนาจอธิปไตยผ่านทางรัฐสภา รัฐบาลและศาล
5.ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน
6.ประชาชนเลือกตัวแทนในการบริหารประเทศ ซึ่งเรียกว่า รัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรี
7.  ในการบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
- การปกครองส่วนกลาง แบ่งเป็น กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ
- การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งเป็น จังหวัด และอำเภอ
- การปกครองส่วนท้องถิ่นแบ่งเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล
การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยเป็นไปอย่างสงบไม่รุนแรงเหมือนบางประเทศอย่างไรก็ตามลักษณะการเมืองการปกครองมิได้เป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ อำนาจบางส่วนตกอยู่กับผู้นำทางการเมือง หรือผู้บริหารประเทศ มีการขัดแย้งกันในด้านนโยบายมีการแย่งชิงผลประโยชน์ เป็นเหตุให้เกิดการปฏิวัติรัฐประหารขึ้นหลายครั้งระบบการปกครองของไทย จึงมีลักษณะกลับไปกลับมาระหว่างประชาธิปไตยกับคณาธิปไตย (การปกครองโดยคณะปฏิวัติ)
การทำโครงการประชานิยมเป็นสิ่งที่ผิด เพราะกลไกที่ควบคุมรัฐ และประชาชนไม่น่าเชื่อถืออีกต่อไปไม่ว่าจะเป็นระบบราชการซึ่งมาจากการปฏิวัติโดยไม่มีใครยอมรับ ทำให้ไม่มีใครนับถือใครอีกต่อไปแล้ว คราวหน้าที่จะกล่าวถึงวิกฤติต่างๆ โดยได้ปูความรู้พื้นฐานในวันนี้แล้ว  โดยที่ผ่านมาประมาณ 79 ปีในระบอบประชาธิปไตยอยู่ 3 ระบอบ  ได้แก่
1.  ระบอบสฤษดิ์ฯ สังคมเป็นระบบอุปถัมภ์ (The Patron-client system) มีผู้อุปถัมภ์ ผู้อยู่ใต้อุปถัมภ์ให้การสนับสนุนจำนวนมาก ผู้อุปถัมภ์ก็จะเกิดมีบารมีแต่ขณะเดียวกันก็ส่งผลดีและผลเสียให้กับผู้อยู่ใต้อุปถัมภ์ และระบบนี้ไม่สามารถแก้ได้ในสังคมไทย โดยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้อุปถัมภ์รายใหญ่ที่สุด และมีผู้อุปถัมภ์รายเล็กๆ อีกหลายราย แต่ละคนต่างก็มีผู้อยู่ใต้อุปถัมภ์ นี่คือเครือข่ายของการแบ่งอำนาจ พอสิ้นจอมพล สฤษดิ์ฯ จอมพล ถนอมฯ ได้ทำการัฐประหารและดึงกฤษศรีวราฯ เข้ามาร่วมด้วย นี่คือสาเหตุนำไปสู่ 14 ตุลาคม 2516 (การขัดแย้งกันเองของทหาร) พอเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น Factor Act ต้องพยายาม Balance (สัญญา ธรรมศักดิ์) ผ่านไป 3 ปี เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 โดยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรีขณะนั้น นโยบายสุดโต่งมากโดยทหารก็กระทำการโดยไม่ฟังใครเลย หลังจากนั้นไม่เคยปรากฏอีกเลยเกิดเฉพาะช่วงนั้นได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ปัจจุบัน Chevron ต้องการภาคใต้ของไทยมากต้องการให้ภาคใต้แบ่งแยกเป็นเอกเทศน์เพื่อจะง่ายในการต่อรอง จีนไม่ยอมให้ประเทศอื่นเข้ามาครอบครองไทยแน่นอนเพราะผลประโยชน์ของจีนมีจำนวนมหาศาลที่ได้จากไทย
2. ระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบ (The Halfsay Democracy / Demi-democracy) มีข้อเท็จจริงอยู่ว่ามี “อำมาตยาธิปไตย” ที่ยังกุมอำนาจเดิมอยู่ หรือกลุ่มพลังกลุ่มเดิม (ข้าราชการทหารและพลเรือน ตุลาการ รวมทั้งธุรกิจบางส่วนที่ผสมผสานเข้าไป) ขณะเดียวกันสังคมก็เปลี่ยนแปลงมีชนชั้นกลางเกิดขึ้นเป็นพลังกลุ่มใหม่ พลังกลุ่มที่สามคือกลุ่มมวลชนเป็นกลุ่มที่อาจจะนำไปสู่ “มวลชนาธิปไตย” 1) ทหาร ข้าราชการพลเรือน 2) การเลือกตั้ง (Facade of Democracy 3) โปรดเกล้า
สมัยท่านเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ สร้างขึ้นมาเพื่อตอบแทนกลุ่มคนกลุ่มเดิม (ทหาร) แต่พ่อค้าไม่ค่อยอยู่ในระบบการเมืองเท่าที่ควร พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งอยู่ 10 ปีเต็ม เป็นช่วงที่พัฒนาเกิดความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจมีการส่งออกเป็นจำนวนมาก ทำให้ความคิดว่าไม่จำเป็นต้องตามสหรัฐฯ เพราะความที่เราเป็น ASEAN (ครึ่งใบ)ดีที่สุด นั่นคือ การเป็นรัฐบาลเบาๆ หรือทุนนิยม (soft authoritarian regime with a market economy) ยกตัวอย่างเช่น จีนได้ยกตัวอย่างว่านกของเขาก็สามารถบินได้แต่ต้องบินภายในกรงเท่านั้น เป็นต้น แต่เขาไม่มีเสรีภาพทางการเมือง (Political Freedom) ทุนนิยมก็เป็นแบบควบคุม (Controlled Capitalism) ถ้าจีนฟองสบู่แตกก็จะเกิดผลกระทบไปทั่วโลกแน่นอน สภาพแวดล้อมทางการเมืองได้เปลี่ยนแปลงไปทั้งหมดแล้ว
เปรม 6 (พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ) ได้ทำการยุบสภาแล้วมีการเลือกตั้งใหม่ ผลสุดท้าย พลเอก ชวลิตฯ ได้ไปบอกว่า พลเอก เปรมฯ ว่า “เขาไม่เอาท่านแล้ว” ทำให้พลเอกสุจินดาฯ ขึ้นมาเป็น รมว.กห. และนายกรัฐมนตรี ผลสุดท้าย พล.อ.ชวลิตฯ ลาออกจากตำแหน่ง พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก ได้ขึ้นเป็น รมว.กห. นายกรัฐมนตรีที่มาจาก ส.ส.ที่ได้ไม่ได้จากการเลือกตั้งจะถูกรัฐประหารโดย รสช.  และหลังจากนั้นได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ เมื่อเป็นอย่างนี้ทำให้ พลเอก สุจินดาฯ พยายามจะเป็น ผบ.ทบ. และผลักดันให้พี่เขยตนเองเป็นนายกรัฐมนตรีทำให้เกิด “พฤษภาทมิฬ” และได้ตั้งนายอานันท์ ปัญญารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี
                   3. รอบอบประชาธิปไตยเต็มใบ
1. ประธานรัฐสภาต้องมาจากประธาน ส.ส.
2. นายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส.
ทำให้ประเทศไทยมีประชาธิปไตยแบบเต็มใบ จนกลายเป็นเกมแห่งตัวเลข (A game of member) มีการล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยข้าราชการประจำ สภาพัฒน์จึงไม่มีสิทธ์ไปวางแผนอะไรทั้งสิ้น 
ในการเลือกตั้งถ้าพรรคใดได้คะแนนสูงสุดหัวหน้าพรรคนั้นจะเป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้พลเอก ชวลิตฯ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี
ทำอย่างไรจะได้คะแนนต้องดูวิธีการได้มาซึ่งคะแนน
รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 เป็นรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีอย่างมหาศาล ผลสุดท้ายต้องใช้การถอดถอนต้องใช้เสียง 225 เสียง แต่ก็ไม่ถึงอีก พอไม่เปิดอย่างจึงเกิดเหตุการณ์ 19 กันยายน
หลักการของประชาธิปไตยคือ One mans, one vote ไม่ใช่ single-member district เช่น สหรัฐฯ ไม่ฟังเสียงประเทศที่เป็นสมาชิก UN โดยตัดสินใจบุกเข้าไปในอิรักโดยลำพัง และ House of Lord ก็สืบทอดมาโดยไม่ต้องเลือกตั้ง เป็นต้น ทำให้ A game of number
จะต้องซื้อเสียงเพื่อให้ได้มาซึ่งคะแนนเสียง จะใช้เงินอย่างเดียวไม่ได้ต้องขึ้นอยู่กับการสร้างให้ประชาชนมั่นใจด้วย การเล่นการเมืองแบบนี้คุมได้แต่ต้องถามประชาชนว่ารู้สึกอย่างไร เช่น เหตุการณ์ของประชาธิปัตย์ที่เอาญาติพี่น้องมาดำรงตำแหน่งต่างๆ ทำให้คนไทยเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไป และอีกอย่างหนึ่งของคนไทยคืออาการถอนตัว (Withdrawal symptom)
ในการเมืองไทยคำว่า ปฏิวัติ กับ รัฐประหาร มักใช้ปะปนกัน แล้วแต่ผู้ยึดอำนาจได้นั้นจะเรียกตัวเองว่าอะไร เท่าที่ผ่านมามักนิยมใช้คำว่า ปฏิวัติ เพราะเป็นคำที่ดูขึงขังน่าเกรงขามเพื่อความสะดวกในการธำรงไว้ซึ่งอำนาจที่ได้มานั้น ทั้งที่โดยเนื้อแท้แล้ว นับแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นการปฏิวัติที่แท้จริงครั้งเดียวที่เกิดขึ้นในประเทศไทย การยึดอำนาจโดยวิธีการใช้กำลังครั้งต่อๆ มาในทางรัฐศาสตร์ถือว่าเป็นเพียงการรัฐประหารเท่านั้น เพราะผู้ยึดอำนาจได้นั้นไม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงหลักการมูลฐานของระบอบการปกครองเลย ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมทางการเมืองและมิให้สับสนกับการใช้ชื่อเรียกตัวเองของคณะที่ทำการยึดอำนาจทั้งหลาย อาจสรุปความหมายแคบๆ โดยเฉพาะเจาะจงสำหรับคำว่าปฏิวัติ และรัฐประหารในบรรยากาศการเมืองไทยเป็นดังนี้ คือ         
"ปฏิวัติ" หมายถึง การยึดอำนาจโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ยกเลิกรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ อาจมีหรือไม่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และรัฐบาลใหม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงมูลฐานระบอบการปกครอง เช่นเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย หรือ คอมมิวนิสต์ ฯลฯ 
"รัฐประหาร" หมายถึง การยึดอำนาจโดยวิธีการที่ไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ แต่ยังคงใช้รัฐธรรมนูญฉบับเก่าต่อไป หรือประกาศใช้รัฐธรรมฉบับใหม่ เพื่อให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในระยะเวลาไม่นานนัก
ในประเทศไทยถือได้ว่ามีการปฏิวัติเกิดขึ้นครั้งแรกและครั้งเดียวคือ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2547 โดยคณะราษฎร จากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย และมีการกบฏเกิดขึ้น 12 ครั้ง และรัฐประหาร 9 ครั้ง ดังนี้         
กบฏ 12 ครั้ง
1.กบฏ ร.ศ.130                  
2.กบฏบวรเดช 11 ต.ค. 2476
3.กบฏนายสิบ 3 ส.ค.2478 
4.กบฏพระยาทรงสุรเดช หรือกบฏ 18 ศพ 29 ม.ค.2482        
5.กบฏเสนาธิการ 1 ต.ค.2491         
6.กบฏแบ่งแยกดินแดน พ.ย. 2491         
7.กบฏวังหลวง 26 ก.พ.2492         
8.กบฏแมนฮัตตัน 29 มิ.ย. 2494        
9.กบฏสันติภาพ 8 พ.ย. 2497     
10.กบฏ 26 มี.ค. 2520         
11.กบฏยังเติร์ก 1-3 เม.ย. 2524         
12.กบฏทหารนอกราชการ 9 ก.ย. 2528         
รัฐประหาร 10 ครั้ง
1.พ.อ.พระยาพหลฯ ทำการรัฐประหาร 20 มิ.ย. 2476         
2.พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ และคณะนายทหารบก ทำการรัฐประหาร เมื่อ 8 พ.ย. 2490         
3.จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำการรัฐประหาร 29 พ.ย.2494         
4.จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำการรัฐประหาร 16 ก.ย. 2500 
5.จอมพลถนอม กิตติขจร ทำรัฐประหาร 20 ต.ค.2501         
6.จอมพลถนอม กิตติขจร ทำการรัฐประหาร 17 พ.ย. 2514        
7.พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ทำการรัฐประหาร 20 ตุลาคม 2520         
8.พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ทำการรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534
9.คณะผู้บัญชาการเหล่าทัพ และ ผบ.ตร. นำโดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ทำการ รัฐประหาร เมื่อ 19 ก.ย. 2549

10. พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา ประกาศรัฐประหารเพื่อให้รัฐมนตรีรักษาการทั้งหมดหมดอำนาจ และเปลี่ยนผ่านสู่การจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2557


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย          
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองประเทศสำหรับประเทศไทย นับจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๕๗๕ เป็นต้นมา ได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขและประกาศใช้รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครองอีกหลายฉบับ เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์บ้านเมืองที่ผันแปรเปลี่ยนแปลงในแต่ละยุคสมัยบรรดารัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครองที่มีมาทุกฉบับ มีสาระสำคัญเหมือนกัน ที่ยึดมั่นในหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภาทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี และทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล จะมีเนื้อหาแตกต่างกันก็แต่เฉพาะในเรื่องสถานภาพของรัฐสภาและสัมพันธภาพระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหาร เพื่อให้เหมาะสมกับภาวะการณ์ของบ้านเมืองในขณะนั้น ๆ มีดังนี้ (ข้อมูลถึงปี 2551)
1.พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475       
2.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475                    
3.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489
4.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490
5.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492
6.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495
7.ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502
8.รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511
9.ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515
10.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517
11.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519
12.ธรรมนูญการปกครองแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520        
13.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 
14.ธรรมนูยการปกครองแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534
15.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2538 
16.รัฐธรรมนูยแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 
17.เปรียบเทียบบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 กับ พุทธศักราช 2540                                             
18.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

19.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

 

……………………………………………………………………

 

2. ระบบพรรคการเมืองไทยกับบทบาททางการเมือง
พัฒนาการพรรคการเมืองไทย : จากอดีตสู่ปัจจุบัน
การมีส่วนร่วมทางการเมือง มีลักษณะดังนี้
1.  เป็นการกระทำที่หวังผลทางการเมืองด้วยความสมัครใจ (Volunteer)
2. ต้องเป็นในระดับชาติ หรือระดับใดก็ได้
3. ต้องถูกกฎหมาย หรือไม่ก็ได้


ตัวอย่าง      

1)  การเลือกตั้ง
2)  การถอดถอน
3)  การเข้าร่วมกิจกรรมกับพรรคการเมือง
เพราะฉะนั้นเรื่องที่ใหญ่กว่าคือ Political Participation เป็นเรื่องใหญ่กว่า Democracy
พรรคการเมืองใดจะมีอำนาจมากสามารถดูได้จากหัวหน้าพรรค คะแนนเสียงที่ได้รับ ผลประโยชน์ ถ้าเรียนรัฐศาสตร์ต้องสามารถอธิบายได้ว่าพรรคการเมืองจะมีอำนาจมาก คือ
1.  พรรคการเมืองนั้นผูกขาดตัวผู้ปกครองได้มากเท่าใด
2.  ผูกขาดนโยบายหรือกำหนดนโยบายของรัฐได้เท่าใด


 พรรคการเมืองไทย
พรรคการเมืองไทยเริ่มก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2489 เพราะมีบทบัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในร่างกาย เคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา การศึกษาอบรม การชุมชนสาธารณะ การตั้งคณะพรรคการเมือง การอาชีพ ทั้งนี้ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย” จากบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ทำให้เกิดพรรคการเมืองในช่วงปี 2489-2494 จำนวนถึง 10 พรรคการเมือง เช่น พรรคสหชีพ โดยมีนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ เป็นหัวหน้าพรรค พรรคแนวรัฐธรรมนูญ โดยมีพลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นหัวหน้าพรรค  ถึงแม้ว่าพรรคการเมืองไทยจะเริ่มถือกำเนิดตามกฎหมายเมื่อปี พ.ศ. 2489 แต่ตามความเป็นจริงแล้วพรรคการเมืองไทยได้มีประวัติศาสตร์แห่งการกำเนิดที่มีเกียรติสูงส่งยิ่ง เพราะจุดเริ่มต้นของการกำเนิดมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเสด็จขึ้นครองราชย์ในช่วงปี พ.ศ. 2453-2468 ทรงวางแผนที่จะให้พสกนิกรของพระองค์คุ้นเคยกับรูปแบบและมีความเข้าใจกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยซึ่งพระองค์ทรงมีพระราโชบายว่าสักวันหนึ่งประเทศไทยจะต้องมีการสถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ(Constitutional monarchy) ตามแบบอย่างของประเทศสหราชอาณาจักรที่พระองค์ทรงศึกษามาเป็นเวลานานถึง 9 ปี พระองค์ทรงมีพระประสงค์จะให้สร้างเมืองจำลอง “ดุสิตธานี” ขึ้นในเขตพระราชวังดุสิตอันเป็นเมืองสมมติในการเรียนรู้การปกครองระบอบประชาธิปไตยและทรงจัดตั้งระบบสองพรรค  (two-party system) ขึ้นมามีพรรคแพรแถบสีน้ำเงิน(โดยมีพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระนามแฝงว่า “ท่านราม ณ กรุงเทพ” เป็นหัวหน้าพรรค) และพรรคแพรแถบสีแดง (โดยมีพลเอกพระยารามราฆพ เป็นหัวหน้าพรรค) เพื่อฝึกฝนประชาธิปไตยให้กับขุนนางและข้าราชการชั้นสูงซึ่งเป็นผู้ดำรงตำแหน่งบริหารราชการแผ่นดินและเป็นผู้ที่มีหัวคิดแบบอนุรักษ์ซึ่งไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงจากภายนอก นอกจากนี้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้คนสามัญระดับปัญญาชนบางส่วนเข้าร่วมในกิจกรรมพรรคการเมืองด้วย เพราะในระยะเวลานั้นคนไทยยังไม่เข้าใจประชาธิปไตยมากนัก
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2489 ถึงแม้จะการรับรองสิทธิของประชาชนในการจัดตั้งพรรคการเมือง แต่ว่าในสมัยนั้นก็ไม่ได้มีการตรากฎหมายพรรคการเมืองขึ้นมารองรับ ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติพรรคการเมืองขึ้นเป็นครั้งแรก คือพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2498 และมีการตราพระราชบัญญัติพรรคการเมืองขึ้นอีกได้แก่ พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2511 พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2517 พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550
บริบททางการเมืองของไทยจึงเกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองและระบบพรรคการเมือง(party system) ของไทยอย่างแยกไม่ออก และสอดคล้องกับทฤษฎีประชาธิปไตยที่มีการยอมรับกันอย่างกว้างขวางในสังคมตะวันตก และหลายส่วนของโลกในยุคโลกาภิวัตน์ การที่พรรคการเมืองไทยมีความอ่อนแอและไม่สามารถสร้างแรงผลักดันการเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีทางประชาธิปไตยได้อย่างเป็นรูปธรรม ส่วนหนึ่งก็คือ ปัญหาของพรรคการเมืองไทยเองโดยตรง นอกจากนั้นยังมีปัญหาสำคัญอื่นๆ เช่น ปัญหาทางด้านความเป็นตัวแทน ผู้ดำรงตำแหน่งที่มาจากการเลือกตั้ง ปัญหาการเลือกตั้ง การทุจริตในการเลือกตั้ง ระบบอุปถัมภ์ซึ่งฝังรากลึกในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน ปัญหาการเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารต่างทางการเมืองและสิทธิความเป็นพลเมืองของประชาชน การรวมกลุ่มทางการเมือง เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบภาคประชาสังคมหรือภาคประชาชนไม่มีความเข้มแข็งพอ
ดังนั้น เมื่อมองถึงพัฒนาการทางการเมืองไทยในรูปแบบสถาบันทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พรรคการเมืองไทยนั้นจากอดีตจนถึงปัจจุบันส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นไปตามกรอบแนวคิดประชาธิปไตยหรือสถาบันทางการเมืองแบบประชาธิปไตย เช่น พรรคการเมืองไทยเกิดขึ้นมาตามสถานการณ์บ้านเมืองที่เกิดวิกฤติการณ์ทางการเมืองในอดีต และเกิดจากตัวบุคคลหรือผู้นำพรรคการเมืองเป็นนายทุนใหญ่ เป็นผู้มีบารมีทางการเมือง
การเดินทางมาของระบอบประชาธิปไตยและพรรคการเมืองไทยในช่วงระยะเวลากว่า 70 ปี นั้นจนถึงเหตุการณ์ยุบพรรคการเมืองในวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 และการยุบพรรคการเมืองในวันที่ 2 ธันวาคม 2551 นั้น เป็นปัจจัยสำคัญในการยืนยันพัฒนาการการเมืองการปกครองไทยในระบอบประชาธิปไตยผ่านระบบตัวแทน หรือพรรคการเมืองได้เป็นอย่างดีซึ่งสาเหตุหลักมาจากการทุจริตในการเลือกตั้ง โดยการซื้อเสียงและการทุจริตผ่านทางช่องทางต่างๆเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการเข้ามาเป็นนักการเมือง
ดังนั้นการทำหน้าที่ของพรรคการเมืองไทยในฐานะที่เป็นองค์กรสถาบันทางการเมืองซึ่งมีภาระความรับผิดชอบต่อสาธารณชนในการบริหารประเทศ ส่วนภาคประชาชนต้องมีเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการเมืองไปสู่การเมืองภาคพลเมือง และจนถึงการส่งเสริม กระตุ้นและพัฒนาจริยธรรมทางการเมืองของระบบการเมืองในรูปแบบประชาธิปไตยแบบตัวแทนให้พัฒนาไปสู่การเมืองในรูปแบบประชาธิปไตยทางตรง โดยภาคพลเมืองให้ได้ในที่สุด
“ พรรคการเมือง”คือที่รวมของกลุ?ุมบุคคลที่มีแนวความคิดทางการเมืองสังคมและเศรษฐกิจ คล?ายคลึงกันรวมกันเพื่อจุดประสงค?ที่จะได้เสียงข้างมากเพื่อให?มีโอกาสได?จัดตั้งรัฐบาลเข?ามาบริหารประเทศตามนโยบายที่สอดคล?องกับอุดมการณ?ของ กลุ?มซึ่งถือเป?ันลักษณะของพรรคการเมืองในหลักการหรือรูปแบบที่ยึดถือกันเป?นสากล
ลักษณะสําคัญที่สุดที่ทําให?พรรคการเมืองมีลักษณะแตกตางจากกลุ??มชมรมทางการเมืองอื่นๆก็ คือพรรคการเมืองและต?องมีความปรารถนาหรือต?องการที่จะเป็นรัฐบาลเพื่อจะได?โอกาสนํา นโยบายของพรรคไปปฏิบัติให??เป็นจริง

พรรคการเมืองมีความสําคัญต่อระบอบประชาธิปไตยเพราะ

  1. เป็นที่สร้างพลังให?กับอุดมการณ?
  2. เป็นที่ที่อาจค?นหาเสียงส?วนใหญ?ของมหาชน
  3. เป็นสถาบันที่ทําให?ประชาชนต?างท?องถิ่นสามารถร?วมมือกันทางการเมืองได?

พรรคการเมืองถือเป็นกลไกที่สําคัญในการเป?นตัวแทนผลประโยชน์ของประชาชน สะท้อน ความเห็นและมติมหาชนที่เกิดขึ้นในสังคมซึ่งแม้แต่ระบอบเผด็จการก็ยังให้ความสําคัญต่อพรรค การเมือง

ประวัติความเป็นมาของพรรคการเมืองไทย
นับแต?เปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.2547 เป?นต?นมากลุ?มการเมืองซึ่งแสดงตนเป็นพรรคการเมือง โดยเป?ดเผยและถูกต?องตามนิตินัยเป?นพรรคแรกคือ“พรรคก้าวหน้าโดยมี ม.ว.ร.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป?ูนผิ่มจัดตั้ง?ริเรแม?จะยังไม?มีพร.บ.พรรคการเมือง.แต?ก็อาศัยรัฐธรรมนูญฯ2489 ที่ให? เสรีภาพในการจัดตั้งไว?
แต?ถ้าจะวิเคราะห์ทางพฤตินัยแล?กลุ่มการเมืองที่มีลักษณะเป็นพรรคการเมืองกลุ่มแรกของไทย ต?องถือว่ากำหนดขึ้นมาพร้อมๆกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.2475 นั้นคือ“สมาคม คณะราษฎร ” ที่จัดตั้งขึ้นโดยคณะผู?เปลี่ยนแปลงการปกครองคือ“คณะราษฎร ” นั่นเอง
ถึงแม?ว?าสมาคมคณะราษฎรจะไม?ระบุว่าเป็นพรรคการเมืองแต?ก็มีเจตจํานงเช?นเดียวกับพรรค การเมืองโดยทั่วไปคือประสงค?ที่จะเข้ารับชอบในการบริหารประเทศ ดังนั้นสมาคมคณะราษฎรจึงทําหน้าที่เป็นพรรคการเมืองอย่างสมบูรณ?แบบเพราะได?รับผิดชอบในการปกครองประเทศเวลา
นั้นติดต่อกันหลายปี
พรรคการเมืองไทยสามารถแบ่งได้เป็น 5 สมัย
สมัยที่ 1 พ.ศ. 2489 –2490  เป็นยุคเริ่มต้นที่ยังไม?มีพ.บ.พรรคการเมือง การเมืองในระบบพรรค จึงเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติ.2489 พ.ศ
สมัยที่ 2 พ.ศ. 2498 –2501 มีการประกาศใช้ พ.บ.ร. พรรคการเมือง2498
สมัยที่ 3 พ.ศ. 2511 – 2514มีการประกาศใช?รัฐธรรมนูญฯและ พ.ร.บ. พรรคการเมือง2511
สมัยที่ 4 พ.ศ. 2517 –251 9มีการประกาศใช?รัธรรมนูญฯและ พ.ร.บ. พรรคการเมือง2517 โดย รัฐธรรมนูญฯ2517 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่บังคับให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส ต้องสังกัดพรรคการเมือง
สมัยที่ 5 พ.ศ. 2522 –ปัจจุบัน มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ และพ.ร.บ พรรคการเมืองแต?ก็อาศัย ความในมาตรา 38 ของรัฐธรรมนูญฯ2521 ที่ให?เสรีภาพในการจัดตั้งไว?ต?อมาก็มีการประกาศใช? พ.ร.บ. พรรคการเมือง2524 และถึงแม?จะมีการปฏิวัติรัฐประหารรสช.ในป? พ.ศ. 2534แต ?ก็ไมได?? ยกเลิกพรรคการเมืองดังนั้นพรรคการเมืองในสมัยนี้จึงมีอายุยืนมากกวาสมัยใด


การพัฒนาพรรคการเมือง
การพัฒนาพรรคการเมือง คือ กระบวนการในการพัฒนาพรรคการเมือง ตลอดจน กระบวนการที่พรรคนั้น ๆ ใช้เพึ่อให้บรรลุเป้าหมายลุล่วงไปอย่างมีประสิทธิภาพเป็น ที่ยอมรับในความชอบธรรม และความมีเสถียรภาพ (วิสุทธิ โพธิแท่น, 2544, หน้า 3; อมร รักษาสัตย์, 2544, หน้า 382) ซึ่งจากนิยามนี้สะท้อนให้เห็นว่าลักษณะของพรรคการเมืองที่เป็นพัฒนาแล้วมีดังนี้
          1.ต้องมีแบบแผน คือ มีการจัดตั้งและยอมรับในพฤติกรรมทั้งหลาย รวมทั้ง กฎเกณฑ์บรรทัดฐาน และกระบวนการต่าง ๆ ต้องมีโครงสร้างที่กำหนดรูปแบบและ วิธีการในการประพฤติปฏิบัติกิจกรรมทางการเมือง
          2.ต้องมีปฎิสัมพันธ์ หรือกระทำที่เกี่ยวกับกิจกรรมทางการเมือง หรือการมีส่วน ร่วมทางการเมืองของบุคคล กลุ่มคน หรือทั้งสังคม
Huntington (1969, p. 12) มีแนวคิดว่า พรรคการเมืองที่มีพัฒนาย่อมมีลักษณะ สำคัญอยู่ 4 ประการ คือ
           1.ความสามารถในการปรับตัวสูง (adaptability) ซึ่งพิจารณาได้จาก (1) อายุของ พรรคการเมือง หากมีอายุมากย่อมแสดงว่าตัวพรรคการเมือง พร้อมทั้งกฎระเบียบวิธีการ ของพรรคนั้นสามารถตอบสนองหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ ทำให้ประชาชน ยังคงให้การสนับสนุนการดำเนินกิจการของพรรคต่อไป (2) มีการสืบทอดเปลี่ยนตัว กลุ่มผู้นำพรรคได้อย่างเรียบร้อย ไม่เกิดการแตกแยกและ (3) มีการทำหน้าที่อย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดตอน และสามารถสร้างหน้าที่ใหม่ขึ้นมาให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่ เปลี่ยนแปลงไป
          2.ความสลับซับซ้อนอย่างเป็นระบบ (complexity) หมายถึง มีหน่วยย่อยหรือ สาขาของพรรคมากมาย มีการจำแนกแจกแจงการทำหน้าที่ของหน่วยย่อยแต่ละหน่วย และมีบุคลากรที่ชำนาญเฉพาะเรื่องทำหน้าที่ในแต่ละหน่วยย่อยต่าง ๆ มีการจัดสาย บังคับบัญชาแบ่งงานแต่ละหน้าที่ ความรับผิดชอบที่ชัดเจนภายในพรรคว่า ใครมีหน้าที่ เช่นไร ซึ่งกระจายอำนาจและบทบาทสู่หน่วยย่อยต่าง ๆ นั้น ทำให้พรรคคล่องตัวและเข้าถึง ประชาชนทั้งประเทศ ทำให้ใกล้ชิดประชาชนและเกิดความเป็นปึกแผ่นของพรรคได้ง่าย
          3.ความเป็นอิสระ (autonomy) หมายถึง พรรคการเมืองนั้นสามารถที่จะตัดสินใจ เรื่องสำคัญต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ตกอยู่ภายใด้อิทธิพลของกลุ่มทางสังคมอื่น ๆ
          4.ความเป็นปึกแผ่น (coherence) พรรคการเมืองต้องมีความเห็นพ้องต้องกันใน เรื่องอุดมการณ์ นโยบาย มติของพรรค การอยู่ร่วมกันของสมาชิก หากมีความขัดแย้งก็มี กระบวนวิธีแก้ไขปัญหา อันเป็นที่ยอมรับกันกว้างขวางในพรรค และเมื่อดำเนินการตาม วิธีนั้นแล้วได้รับการเห็นพ้องจากสมาชิกและแก้ไขข้อขัคแย้งนั้นได้
……………………………………………..