2.ปรัชญาการเมืองเบื้องต้น - นักปรัชญาการเมืองสมัยโบราณ, นักปรัชญาการเมืองตะวันตกสมัยกลาง, นักปรัชญาการเมืองตะวันตกสมัยใหม่ และ นักปรัชญาการเมืองตะวันตกสมัยปัจจุบัน

 

ปรัชญาการเมือง ( Political Philosophy)
     ปรัชญาการเมืองคือการ ศึกษาถึงชีวิตทางสังคมหรือชีวิตทางการเมืองของมนุษย์ ในเรื่องของสังคมและรัฐในแง่ของธรรมชาติ บ่อเกิดและคุณค่าของรัฐและสังคม  นักปรัชญาต้องการที่จะเสนอความคิดเกี่ยวกับองค์กรที่เหมาะสมสำหรับมนุษย์ในการรวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือสังคม นักปรัชญาการเมืองไม่ลืมที่จะกล่าวถึงเรื่อง ความยุติธรรม ( Justice ) และวิถีที่จะนำไปสู่ความยุติธรรมของสังคม การออกกฎและการเคารพกฎ

นักปรัชญาการเมืองสมัยโบราณ  หมายถึง ปรัชญาการเมืองของนักปรัชญากรีก โดยเฉพาะแนวความคิดของ โสกราตีส, เพลโตและอริสโตเติล ซึ่งเชื่อในความจำเป็นและความเป็นธรรมชาติของรัฐ ปรัชญาการเมืองของกรีกโบราณก็คือประเด็นข้อถกเถียงเรื่อง อะไรคือสิ่งที่เป็นธรรมชาติ กับ อะไรที่เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

นักปรัชญาการเมืองตะวันตกสมัยกลาง - นักปรัชญาการเมืองสมัยยุโรปตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของศาสนาคริสต์ หลังจากยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการของยุโรป ความคิดเรื่องปัจเจกบุคคลและสิทธิของบุคคลเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง เปลี่ยนแปลงไปสู่ความคิดที่ว่า รัฐต้องเป็นสิ่งที่เป็นอิสระจากการควบคุมหรือพ้นจากอิทธิพลของอำนาจภายนอก เช่น ศาสนจักร ตัวอย่างเช่น ความคิดของมาเคียเวลลี่ เป็นต้น
 
นักปรัชญาการเมืองตะวันตกสมัยใหม่-   นักปรัชญาการเมืองตะวันตกสมัยใหม่ มีแนวโน้มที่มองเห็นความจำเป็นของรัฐ ถึงแม้ว่ารัฐจะไม่ใช่สถาบันธรรมชาติของมนุษย์ แต่รัฐนั้นมีอำนาจจำกัดลง นักปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ยึดถือทฤษฎีสัญญาประชาคมดังนั้น ถ้ารัฐหรือกลุ่มบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจไม่สนองตามความต้องการขอประชาชน ประชาชนมีสิทธิ์เรียกอำนาจคืนและโอนให้บุคคลอื่น ๆ ได้ ตัวอย่างของนักปรัชญาการเมืองตะวันตกสมัยใหม่ คือ โธมัส ฮอบส์, จอห์น ล๊อค รุสโซ และ เอ็ดมันด์ เบิร์ก

นักปรัชญาการเมืองตะวันตกสมัยปัจจุบัน
     นักปรัชญาการเมืองตะวันตกสมัยปัจจุบันที่สำคัญ คือ เบ็นธัม ผู้ถือหลักประโยชน์นิยมว่าเป็นจุดหมายของจริยธรรมและสังคม ส่วนมิลล์ซึ่งเป็นนักประโยชน์นิยมอีกคนหนึ่งจะเน้นหนักในเรื่องเสรีภาพ   ส่วน มาร์กซ์ ผู้มีความเห็นว่า รัฐเป็นสิ่งไม่จำเป็นสำหรับสังคมมนุษย์

 

 

The Melian Dialogue
ธูซิดดิดีส (Thucydides) (ช่วง 460 – 395 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นนักประวัติศาสตรชาวกรีก และเป็นผู้เขียนเรื่อง The Melian Dialogue เป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ THE PELOPONNESIAN WAR ถือว่าเป็นข้อเขียนที่บันทึกประวัติศาสตร์สมัยกรีกโบราณ Melos เป็นนครรัฐหนึ่งซึ่ง เป็นพันธมิตรกับสปาร์ตา เอเธนส์ยกทัพไปอย่างมหาศาลเลย ในขณะที่ Melos มีทหารนิดเดียว เอเธนส์ก็ไปถามว่าท่านจะยอมเราดีๆ ดีไหม เราจะดูแล เราจะไม่ยึดทรัพย์สิน ผู้ปกครองของ Melian ก็เปิดฉากเจรจากับแม่ทัพของเอเธนส์  โดยบกว่า ที่ท่านยื่นข้อเสนอที่ดีให้กับเรา จริงๆแล้วมันไม่ใช่การเจรจา ท่านข่มขู่ตั่งหาก ท่านไม่ได้เปิดช่องทางอะไรให้เราเลย สิ่งที่ท่านทำอยู่ตรงนี้ มันไม่ยุติธรรม แม่ทัพเอเธนส์จึงถามว่า จริงๆแล้วท่านเข้าใจความยุติธรรมว่าอย่างไร ก็เลยเกิดการถกเถียงกันในประเด็นที่เรียกว่า ความยุติธรรม มันคืออะไร แต่ถกเถียงในสถานการณ์จริง ในขณะที่กำลังอยู่ระหว่างความเป็นความตาย คนที่ศึกษาเรื่องปรัชญาการเมือง ถ้าสนใจเรื่องความยุติธรรม ว่ามันมีแนวคิดอย่างไร เขาก็เริ่มที่ The Melian Dialogue เพราะมันเป็นประเด็นระหว่างรัฐหนึ่งกับอีกรัฐหนึ่ง

The Republics ( อุตมรัฐ )
อุตมรัฐ (republic) ซึ่งเป็นรัฐที่มีความยุติธรรมแผ่ปกคลุมอยู่เพลโตสร้างขึ้นสังคมหรือรัฐอุดมคติบนพื้นฐานที่ว่านักปรัชญาที่ได้รับการฝึกฝนหรือได้รับการศึกษาที่ดี ทำให้ได้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถรู้ว่าอะไร คือ รูปแบบของความดี ความยุติธรรม ควรจะเป็น ผู้ได้รับการถือเป็นแบบอย่างสำหรับเป็นรัฐบุรุษหรือเป็นผู้ปกครองในอุดมคติหรืออุตมรัฐ (philosopher king) ผู้ปกครองเช่นนี้เพลโตกล่าวว่าเป็นปกครองให้รัฐมีความยุติธรรม ให้ประชาชนมีชีวิตที่ดี
การแสวงหาความยุติธรรม ความดี นั้นมาจากการใช้ทฤษฎีว่าด้วยรูปแบบ โดยพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ (man-man relationship) ค้นพบหลักการที่จะอธิบายถึงมนุษย์ในความสัมพันธ์กับโลกได้อย่างไร (man-world relationship) ดังนั้นทฤษฎีว่าด้วยรูปแบบจึงเป็นการแสวงหาความรู้ (epistemology)ในความหมายที่สัมผัสจับต้องไม่ได้ด้วยการมองเห็นจริง (Metaphysics)
เพลโต้ชี้ว่า อุตมรัฐ จะเกิดได้ต่อเมื่อมีนักปรัชญามาเป็นผู้ปกครอง เป็น ราชาปราชญ์ (Philosopher King) เขาเชื่อว่านักปรัชญาศึกษามามากยาวนานต่อเนื่อง ลดละเลิกกิเลสส่วนตัว และมีความสามารถในการรู้ถึงสัจธรรม ความจริงทั้งมวล อันเป็นสาระสำคัญของสิ่งต่าง ๆ (Form) สาระสำคัญนี้เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้แน่นอนเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เป็นอมตะไม่แปรตามเวลา สถานที่ต่างจากสิ่งรู้ผ่านการสัมผัส (appearance) ซึ่งอาจผิดหรือถูกก็ได้อาจถูกหลอกได้ไม่แน่แท้ไม่เที่ยง เพลโตชี้ว่าผู้ปกครองต้องมีความดีงาม โดยความดีงามนั้นมีองค์ประกอบ 4 ประการ คือ ความฉลาด (wisdom) ความกล้าหาญ (courage) การควบคุมตนเอง (temperance) และความยุติธรรม (justice) เพลโตเชื่อว่าความยุติธรรม ความดีงาม หรือ justice กับ virtue นั้นจะนำไปสู่ชีวิตที่ดีงาม just life และชีวิตที่ดีงาม just life จะนำไปสู่สังคมที่ดีงามที่มีความยุติธรรม just society ซึ่งเพลโตบอกว่าสังคมที่ดีงามที่มีความยุติธรรมดังกล่าวจะเกิดใน ideal state หรือ อุตมรัฐ republic
ถ้าเราอ่าน Melian Dialogue หรือ The Republics ก็ดี จะพบว่ามันมีจุดร่วมกันอยู่จุดหนึ่ง คือมันมีทัศนะอันหนึ่งที่ถูกแสดงออกมา ก็คือว่า ความยุติธรรมมันอยู่ที่ว่า ใครมีอำนาจแล้วกำหนดมันออกมาว่า นี้คือสิ่งที่ถูกต้อง คนที่มีอำนาจกำหนดอะไรก็ย่อมยุติธรรมเสมอ

 

ปรัชญาการเมืองของอริสโตเติล ( Aristotle )
มนุษย์โดยธรรมชาติ เป็นสัตว์การเมือง แปลว่า โดยธรรมชาติ ธรรมชาติมันกำหนดให้เราเป็นสัตว์การเมือง ธรรมชาติ คือ สภาวะที่ยังไม่มีการปรุงแต่ง มนุษย์เป็นสัตว์การเมือง หมายความว่า มนุษย์เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่จะบรรลุความสมบูรณ์ เป็นมนุษย์ที่เต็มตัวทั้งกายและใจได้ ต่อเมื่อ อยู่รวมกัน เป็นเมือง เป็นชุมชน เป็นสังคม เป็นรัฐ แต่ต้องมากกว่าอยู่กันเพียงครอบครัว การอยู่ด้วยกันเป็นเมือง จะเป็นการเอื้อให้มนุษย์พัฒนาหรือว่า เจริญเติบโตทางจิตใจ ไปถึงจิตที่สมบูรณ์

Aristotle บอกว่า ลำพังรูปแบบการปกครองแบบ
1) อำนาจสูงสุดหรืออำนาจทางการเมืองอยู่ในมือของคนๆ เดียว เพราะคนๆ นั้นต้องมีความรู้ ปัญญา จะได้ใช้อำนาจเพื่อนำพาให้คนอื่นไปสู่ทิศทางที่ดีด้วย
2) อำนาจที่อยู่ในมือของกลุ่มคนหรืออำนาจอธิปไตย เพราะมีผู้ช่วยในการคิดหลายคนย่อมดีกว่าคนเดียว
3) อำนาจอยู่ในมือของทุกคนหรืออำนาจมหาชน เพราะความเสมอภาคและความหลากหลายมากขึ้น ทำให้มีผลดีต่อการเมืองการปกครอง ไม่ผูกขาด

ในส่วนของ Aristotle มนุษย์คือสัตว์การเมือง ความสมบูรณ์แบบและสิ่งต่างๆ ของสิ่งนั้น สิงโตต้องอยู่ในป่า มนุษย์ต้องอยู่รวมกันเป็นสังคมใหญ่ มีภาษา กติกา กฎหมาย แต่สิ่งที่เหนือกฎหมายขึ้นไปจริยธรรม ความแตกต่างระหว่างจริยธรรมและกฎหมาย กล่าวคือ กฎหมายเป็นสิ่งกำหนดภายนอกที่เรากลัวการลงโทษ แต่ถ้าเป็นจริยธรรมคือสำนึกดีชั่วที่อยู่ในตัวเราต่อให้เราทำผิดแล้วไม่มีคนจับเราได้เราก็ไม่ทำ คนที่เคารพกฎหมายแต่ไม่กลัวบทลงโทษแสดงว่าเป็นคนมีจริยธรรมถ้ากฎหมายขัดขวางไปสู่การไม่ให้เรามีจริยธรรมอาจจะทำให้เราแหกกฎหมายไป 

 

การเมืองตะวันตกสมัยกลาง
Middle Ages ก็คือ การปฏิเสธความคิดที่ว่า “มนุษย์เป็นสัตว์การเมืองโดยธรรมชาติ” แต่เป็นเรื่องที่มนุษย์สร้างหรือตกลงกันขึ้นมาเองทีหลัง จึงเป็นการตกลงกันของคนที่ไม่บริสุทธิ์สมบูรณ์ เพื่อหาทางที่จะมีชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในโลกที่เต็มไปด้วยคนบาป ดังนั้น สถาบันทางสังคมการเมืองที่ดำรงอยู่ในสมัยนั้น จึงเป็นสิ่งที่เป็นผลพวงจากความตกต่ำหรือบาปของมนุษย์นั่นเอง “แนวคิดเทวสิทธิ์” ก็คือการกำหนดแบ่งลำดับของอำนาจการปกครอง ที่เป็นที่มาของสิทธิอันชอบธรรมของกษัตริย์หรือผู้ปกครองทางโลก เพราะตามความเชื่อของคริสต์ศาสนา พระผู้เป็นเจ้าเท่านั้นที่มีอำนาจอันชอบรรมในการปกครองเหนือมวลมนุษย์ ไม่มีมนุษย์คนใดมีอำนาจอันชอบธรรมในตัวเองที่จะปกครองเหนือมนุษย์คนอื่น เพราะมนุษย์ทุกคนล้วนเสมอภาคกันต่อพระผู้เป็นเจ้าในฐานะที่เป็นบุตรของพระองค์ ดังนั้น อำนาจปกครองของสันตะปาปาหรือ auctoritas หรือการใช้อำนาจในลักษณะของตัวแทนของกษัตริย์ potestas ย่อมมีความชอบธรรมและยุติธรรม เพราะเป็นการใช้อำนาจปกครองตามแนวทางของพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญาและคุณธรรมความดีอันสมบูรณ์บริสุทธิ์

The Prince ( เจ้าผู้ปกครอง )
นิคโคโล มาเคียเวลลี่ (Nicclo Machiavelli) เกิดที่เมืองฟลอเรนซ์ (Florence) ในอิตาลีเมื่อ ค . ศ . 1469 ผลงานที่มีชื่อเสียง คือ เจ้าผู้ปกครอง (The Prince) และหนังสืออื่น ๆ เช่น The Art of War, History of Florence เป็นต้น
แมคเคียเวลลีเห็นว่าธรรมชาติของมนุษย์นั้น เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว โกหก หลอกลวง ทะเยอทะยาน เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ของตัวเอง ดังนั้นการที่เจ้าจะปกครองมวลชนได้ก็ต้องใช้อำนาจ แน่นอนว่าแมคเคียเวลลีต้องการเอาใจพวกเมดิชี ดังนั้นเขาจึงยกย่องการปกครองแบบราชาธิปไตยอันมีการสืบต่อตำแหน่งทางสาย เลือด ไม่ใช่การแต่งตั้งหรือเลือกตั้ง คุณธรรมอันประเสริฐไม่ใช่แบบตามแบบคริสตศาสนาในยุคกลาง หากแต่หมายถึงรัฐที่มีเสถียรภาพและทรงเกียรติ เจ้าผู้ปกครองจึงต้องใช้ทุกวิถีทางในการปกป้องรัฐแม้ว่ามันจะโหดร้ายเพียง ไหนก็ตาม แน่นอนมันย่อมหมายถึงเสถียรภาพของอำนาจตัวเองด้วย แต่เจ้าผู้ปกครองต้องไม่เป็นที่เกียจชังเพราะจะทำให้ตนล่มจม กระนั้นเจ้าผู้ปกครองต้องไม่เป็นที่รักเพราะเปี่ยมด้วยความเมตตา เพราะความเมตตาจะนำปัญหามากมายมาสู่ภายหลัง เขาควรจะเป็นที่ได้รับความเกรงกลัว และเป็นที่รักจากการทำตัวให้ดูเป็นคนดี มีศีลธรรม มากกว่าเป็นคนดีจริงๆ เพราะสักวันเขาอาจจะทำอะไรบางอย่างที่ตรงข้ามกับความเป็นคนดีของตน แต่ท้ายสุดถ้าจะให้เลือกแล้วเขาควรที่จะถูกกลัวเสียมากกว่าถูกรัก
ผู้ปกครองควรมีคุณสมบัติแห่งจิ้งจอกและราชสีห์รวมเข้าด้วยกัน มาเคียเวลลี่หมายถึงว่าผู้ปกครองควรมีความเฉลียวฉลาดดุจสุนัขจิ้งจอก และความเข้มแข็งอย่างราชสีห์ เพื่อสามารถผจญกับเล่ห์เหลี่ยมและปราบปรามผู้ที่ตนปกครองการที่ผู้ปกครองต้องมีคุณสมบัติของสัตว์เดรัจฉานเพราะว่าในบางครั้งกฎหมายซึ่งใช้ตัดสินข้อขัดแย้งระหว่างคนไม่สามารถที่จะกำหราบคนซึ่งความเดรัจฉานในตัวได้ การมีคุณสมบัติแห่งราชสีห์อย่างเดียวอาจทำให้คนหยิ่งในเกียรติศักดิ์จนเกินไป และคุณสมบัติแห่งจิ้งจอกอย่างเดียวก็จะไม่เป็นที่ยำเกรงในเรื่องพละกำลัง ผู้ปกครองต้องเป็นคนมีเล่ห์เหลี่ยม ไม่รักษาสัจจะ หากสัจจะนั้นจะทำลายผลประโยชน์ของตนเอง มาเคียเวลลี่ให้เหตุผลว่า “ การรักษาสัจจะนั้นเป็นสิ่งดี หากคนทั้งหมดเป็นคนดี แต่โดยที่คนตามธรรมชาตินั้นเลวและไม่รักษาสัจจะกับผู้ปกครอง ดังนั้นผู้ปกครองก็ไม่จำเป็นที่จะรักษาสัจจะกับเขา”
ผู้ปกครองอาจสร้างความนิยมด้วยการแสดงให้ผู้ถูกปกครองมีภาพพจน์ว่า เขาเป็นคนดีมีเมตตา, ซื่อสัตย์, และเต็มไปด้วยมนุษยธรรมแต่ว่าเบื้องหลังภาพพจน์นั้น เขาต้องพร้อมที่จะเป็นคนเข้มแข็งเด็ดขาด, ไร้ความเมตตา, กลับกลอก เมื่อสถานการณ์บีบบังคับ เพราะว่าพันธะของผู้ปกครองคือ การรักษาเสถียรภาพแห่งรัฐของตนเท่านั้น

การปฏิวัติทางการเมืองการปกครองของอังกฤษ
หลังจากสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบทที่ 1 (Elizabeth I) สิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1603 กษัตริย์อังกฤษองค์ต่อๆใช้พระราชอำนาจเกินขอบเขต ใช้เงินแผ่นดินไปในทางที่ฟุ่มเฟือยและก่อสงคราม ความขัดแย้งระหว่างรัฐสภากับกษัตริย์รุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นสงครามกลางเมืองใน ค.ศ. 1642-1649 และรัฐสภาได้จับพระเจ้าชาร์ลที่ 1 ประหารชีวิต จากนั้นกษัตริย์อังกฤษถูกลดอำนาจลงเรื่อย ๆ จนถึง ค.ศ. 1688 ในสมัยพระเจ้าเจมส์ที่ 2 (James II) ที่ทรงพยายามใช้อำนาจอย่างสูงสุดอีก จึงก่อให้เกิดการปฏิวัติขึ้นโดยรัฐสภาอังกฤษได้อันเชิญพระเจ้าวิลเลียม (William) พระราชบตรเขยของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ขึ้นครองราชย์บัลลังก์โดยพระองค์ทรงสัญญาว่าจะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง (Bill of Rights) ที่รัฐสภาเป็นผู้จัดร่างถวายซึ่งให้อำนาจรัฐสภาและให้สิทธิเสรีภาพแก่ชาวอังกฤษเหตุการณ์ครั้งนี้เรียกว่า การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์

 

โทมัส ฮอบส์ ( ชาวอังกฤษ1588-1679 )
โทมัส ฮอบส์  ผู้เสนอลัทธิสัญญาประชาคมคนแรก
                -  มนุษย์ควรรวมตัวกันและมอบอำนาจไว้ที่คนๆเดียว คือ พระมหากษัตริย์
                -  พระมหากษัตริย์  คือ  องค์อธิปัตย์  แต่อำนาจของกษัตริย์ต้องได้มาจากประ  

                    ชาชน  ไม่ใช่เทวสิทธิ์
ฮอบส์ มีทัศนะต่อกฎธรรมชาติว่า มนุษย์เกิดมาเท่าเทียมกันทั้งทางร่างกายและความรู้สึก แต่สิ่งแวดล้อมและประสบการณ์สร้างความแตกต่างให้กับมนุษย์ ทำให้คนบางคนอ่อนแอกว่าคนบางคน และทำให้คนบางคนเข็มแข็งกว่าหรือฉลาดกว่าคนบางคน เป็นต้น การดำรงชีวิตของมนุษย์แต่ละคนนั้นเป็นไปตามแรงผลักดันจากภายใน เพราะมนุษย์มีความทะเยอทะยาน มีความปรารถนา และความกลัว อีกทั้งมนุษย์ยังได้รับแรงกระตุ้นจากภายนอก เช่นการยอมรับจากสังคม และจากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ แต่สิ่งที่สำคัญของมนุษย์ในทัศนะของฮอบส์ ก็คือการรักษาชีวิตของตนเองไว้ และการแสวงหาความสุข มนุษย์อาจจะหลีกเลี่ยงต่อการพิพาท เพราะนั่นอาจจะหมายถึงอันตรายต่อชีวิตของเขา แต่มนุษย์ก็พร้อมที่จะฆ่าผู้อื่นเพื่อให้ตนอยู่รอด ในธรรมชาติ ด้วยคุณสมบัติเช่นนี้มนุษย์จึงปรารถนาหาอำนาจ เพื่อที่จะรักษาตนเองให้คงมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ จึงทำให้เกิดภาวะสงครามต่อกันอยู่ตลอดเวลา ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตของมนุษย์ทำให้มนุษย์สร้างรัฐขึ้น โดยยอมเสียสละอำนาจส่วนตัวเพื่อสร้าง "อำนาจร่วม" เพื่อที่จะบังคับให้แต่ละคนนั้นไม่ให้ทำตามอำเภอใจ จนเกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น
 

จอห์น ล็อค( 1632-1704)
จอห์น ลอค   ผู้เสนอสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน  สิทธิขั้นมูลฐานของมนุษย์
                -  คิดค้านฮอบส์ที่รวมอำนาจไว้ที่คนๆเดียว

                -  มนุษย์รวมตัวกันจัดตั้งรัฐบาล  ซึ่งมีหน้าที่คอยปกป้องผลประโยชน์ของ
ประชาชนและมีอำนาจจำกัด
                -  เป็นที่มาอำนาจทางการเมือง  ประชาชนจึงทีสิทธิล้มล้างรัฐบาลได้  ส่ง
อิทธิพลต่อการปกครองของอังกฤษ  การประกาศอิสรภาพของอเมริกา  การ
ปฏิวัติฝรั่งเศส
จอห์น ล็อค เป็นนักคิดที่ความคิดและงานเขียนของเขา "Treatises of Government" ก็มีอิทธิพลต่อพัฒนาการและเหตุการณ์ทางการเมืองในยุคนั้นมากที่สุดคนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น”ยุคแห่งแสงสว่าง”ของฝรั่งเศส และการประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา

      ในทัศนะของล็อค มนุษย์เป็นสัตว์สังคมและสามารถมีเหตุผลได้ เมื่ออยู่ในสภาวะธรรมชาติที่ไม่มีอำนาจร่วมส่วนกลางคอยดูแล ก็จะรู้สึกได้ว่าตนเองไม่ปลอดภัย แต่เหตุผลก็บอกได้ด้วยว่า ต้องยอมรับสิทธิ์โดยธรรมชาติว่า แต่ละคนมีสิทธิ์ที่จะมีชีวิต แสวงหาทรัพย์สิน และมีอิสรภาพได้เสมอกัน และทุกคนมีสิทธิ์ที่จะปกป้องสิ่งเหล่านี้ โดยที่ข้อขัดแย้งและความไม่ยุติธรรมจะเกิดขึ้นได้แน่ และสภาวะธรรมชาติก็จะกลายเป็นสภาวะสงครามได้โดยง่าย ความมีเหตุผลของมนุษย์ทำให้มนุษย์ตกลงที่จะสร้าง "ชุมชน" ขึ้น และโอนสิทธิ์โดยธรรมชาติในการปกป้องสิทธิ์ของตนนี้ให้แก่อำนาจร่วมส่วนกลาง โดยที่รูปแบบจะเป็นอย่างไรนั้นจะได้ตกลงกันในระบบเสียงข้างมากต่อไป ไม่ใช่ว่า "รัฐบาล"จะทำสัญญากับพลเมือง แต่พลเมืองมอบฉันทะให้รัฐบาลไปทำหน้าที่ปกป้องสิทธิ์อื่นๆที่ยังมีอยู่ของประชาชนต่อไป รัฐบาลมีหน้าที่อันจำกัด หากรัฐบาลไม่ทำหน้าที่ หรือทำไม่ถูกต้อง ประชาชนในชุมชนจะกลับมาพิจารณาใหม่ว่า จะยังคงให้รัฐบาลทำหน้าที่ต่อไป หรือเปลี่ยนรัฐบาล ทุกอย่างดำเนินไปในระบบเสียงข้างมาก ในส่วนของรูปแบบการปกครอง ล็อคได้เสนอเรื่องการแบ่งแยกอำนาจไว้ด้วย และให้ความสำคัญแก่ฝ่ายนิติบัญญัติมากกว่า “รัฐ” หรือชุมชนในทัศนะของล็อค เป็น “นิติรัฐ” โดยแท้

ฌอง ฌาคส์ รุสโซ่ ( ชาวฝรั่งเศษ, ค.ศ.1712-1778 )
คำสอนของเขาสอนให้คนหันกลับไปหาธรรมชาติ (back to nature) มนุษย์เกิดมาอย่างเป็นอิสระเสรี (Man is born free) แต่ต่อมา มนุษย์ก็ได้ถูกสังคมพันธนาการไว้ แต่เมื่อปล่อยมนุษย์กลับคืนสู่ธรรมชาติ มนุษย์จะมีความสุขมาก แม้จะอยู่ในความป่าเถื่อนของธรรมชาติก็ตาม (return to nature) เพราะในสังคมมนุษย์ไม่มีอิสรภาพ ถูกกดขี่ และไม่ได้รับความยุติธรรม
Noble Savage ( ทฤษฎีคนเถื่อนใจธรรม ) คือคำที่รุซโซใช้อธิบายมนุษย์ในสภาวะธรรมชาติ Noble Savage คนป่าผู้ทรงเกียรติ มีเสรีภาพเต็มร้อย ไม่ต้องพึ่งพาใคร เพราะสามารถตอบสนองความต้องการของตัวเองได้อย่างพอเพียง มนุษย์ในสภาวะตั้งเดิมมีความต้องการอันน้อยนิด เพราะเป็นความต้องการทางชีวภาพ มนุษย์เมื่อเห็นต้นไม้ต้นหนึ่งมีผลไม้เมื่อยามหิวก็เด็ดผลไม้นั้นมากิน เมื่อกระหายน้ำก็ดื่มจากลำธารสายแรกที่เห็น และก็เอนกายลงนอนใต้ต้นไม้ต้นเดิม
ข้อดีของการเกิดสังคมคืออะไรของรุซโซ คือการที่เรามาอยู่ด้วยกันไม่ว่าจะมิตรหรือศัตรูก็จะทำให้เสรีภาพลดลง พอเรามีเพื่อนก็เกิดความเกรงใจทำให้เสรีภาพลดลง ถ้าเรามีศัตรูก็จะแกล้งเรากีดกันเรา เมื่อเกิดสังคมขึ้นมาแล้ว มนุษย์จะกลับสู่ธรรมชาติก็ไม่ได้ จึงสมควรมาสร้างสังคมให้ดีขึ้นดีกว่า ด้วยการทำสัญญาตกลงจัดตั้งอำนาจรัฐขึ้น ด้วยความยินยอมพร้อมใจของทุกคน สะท้อนถึงการมีเจตจำนงร่วมกัน (General will) การทำสัญญานี้ ไม่ได้แปลว่าทุกคนจะต้องเสียเสรีภาพ หรือสละเจตจำนงร่วมนี้ให้แก่องค์อธิปัตย์ไป แต่มอบเสรีภาพให้แก่ชุมชนเป็นส่วนรวม และที่ชุมชนจะแบ่งแยกไม่ได้ ก็คือเจตจำนงร่วมกันนี้เอง ทุกคนต้องต้องให้ความเคารพ ซึ่งก็คือ Will ของตนเอง ในทางปฏิบัติ คือ มติมหาชน นั่นเอง

การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ.1789
การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ อันเป็นที่มาของหลักสิทธิเสรีภาพและระบอบรัฐธรรมนูญ เพื่อนำมาสุ่การสถาปนารัฐทุนนิยม ก็คือการปฏิวัติฝรั่งเศส เป็นการเปลี่ยนแปลงทางการ เมืองการปกครองที่สำคัญเพราะเป็นการโค่นล้มอำนาจการปกครองของกษัตริย์ใน ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และสถาปนาการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญขึ้นแทน

 สาเหตุของการปฏิวัติใหญ่ฝรั่งเศส ค.ศ.1789 สรุปได้3ประการคือ
                1 ปัญหาทางเศรษฐกิจ  ฝรั่งเศสกำลังประสบภาวะฝืดเคืองทางเศรษฐกิจ ซึ่งเกิดจากการใช้จ่ายเพื่อการ ทำสงครามต่าง ๆ โดยเฉพาะในสงครามประกาศอิสรภาพของ ชาวอเมริกัน ระหว่าง ค.ศ.1776–1781เพื่อสนับสนุนให้ชาวอาณานิคมต่อสู้กับอังกฤษ
                2. ความเหลื่อมทางสังคม  ฝรั่งเศสมีโครงสร้างทางสังคมแบบชนชั้น โดยฐานะของผู้คนในสังคมมีสองกลุ่มใหญ่ๆคือ ชนชั้นอภิสิทธิ์และชนชั้นสามัญชน
                3. ความเสื่อมโทรมของระบอบการปกครองแบบเก่า  กษัตริย์ฝรั่งเศสในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทรงมีพระราชอำนาจเป็นล้นพ้นไม่มีขอบเขตจำกัดและทรงอยู่เหนือกฎหมายของบ้านเมือง

               หลังจากที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกกดดันจากกองทัพ พระองค์ก็ทรงเรียกร้องให้ตัวแทนจาก 2 ฐานันดรแรกเข้าร่วมประชุมสภา Assembl?e Nationale ด้วยเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้เกิดสภาใหม่ในวันที่ 9 กรกฎาคมคือ Assembl?e Nationale Constituanteเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ แต่หลังจากนั้นไม่นาน พระเจ้าหลุยส์ก็ได้รับการกดดันอีกครั้งจากพระนางมารี อองตัวเนต และพี่ชายของพระเจ้าหลุยส์คือ Comte d'Artois ซึ่งจะได้เป็น พระเจ้าชาร์ลส์ที่สิบในอนาคต ทำให้พระองค์ทำการเรียกกองทหารที่จงรักภักดีต่อพระองค์จากต่างประเทศเข้ามา ประจำการในกรุงปารีสและ พระราชวังแวร์ซายส์ทำให้เกิดความโกรธแค้นในหมู่ประชาชน

              วันที่ 14 กรกฎาคม1789 ( พศ.2332) เริ่มการโจมตีคุกบาสติลย์ (Bastille) พวกชาวไร่ชาวนาไม่ยอมเสียภาษี และเริ่มโจมตีบ้านขุนนาง (กรกฎา-สิงหา) และยึดคุกบาสตีย์ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์พระราชอำนาจของกษัตริย์ได้ในวันที่ 14 กรกฎาคม

วันที่ 14 กรกฎาคม ของทุกปี ถือเป็นวันชาติฝรั่งเศสในปัจจุบันนี้
Federalist Papers  “สาส์นสหพันธ์” 1787
Federalist paper เป็นเอกสาร ทางการเมืองของสหรัฐอเมริกาที่เขียนขึ้นโดยกลุ่ม ผู้ใช้นามปากกาว่า "Publius" ในช่วง ปี 1787-1788 ท่ามกลางกระแสวิวาทะว่าจะรับ หรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญที่สภาร่างรัฐธรรมนูญ (Federal Convention) ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนของมลรัฐ 12 มลรัฐ ร่วมกันจัดทำขึ้น Publius เป็นนามปากกาของ Alexander Hamilton James Madison และ John Jay ผู้มีส่วนสำคัญในการก่อร่าง สร้างอเมริกาใหม่ หลังการประกาศอิสรภาพ และการร่างรัฐธรรมนูญ งานเขียนแต่ละชิ้นกล่าวถึงหลักการที่เป็นพื้นฐานในการผลิตสร้างรูปแบบการเมืองการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยแบบสหรัฐอเมริกา และท้าทายความเชื่อเดิม ประเด็นที่กล่าวถึง เช่นการแบ่งแยกอำนาจ และตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ขอบเขตอำนาจและความสัมพันธ์ เชิงอำนาจระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลมลรัฐ เป็นต้น
ใน Federalist paper หมายเลข 10 ซึ่งเป็นบทความที่มีผู้กล่าวถึงและอ้างอิงมากที่สุดชิ้นหนึ่ง James Madison ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาหนึ่งของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน นั่นคือ ปัญหาทรราชของเสียงข้างมาก หรือการที่กลุ่มผลประโยชน์เฉพาะที่ได้รับเสียง ข้างมาก (majority fraction) มีพฤติกรรมใน ทางที่ขัดต่อประโยชน์สาธารณะ และเบียดเบียนสิทธิเสรีภาพของกลุ่มอื่นๆ ที่เป็นเสียงข้างน้อย ซึ่ง Madison ชี้ว่า สถานการณ์ดังกล่าวมีโอกาสเกิดขึ้นมาก ในรัฐขนาดเล็ก ซึ่งมีกลุ่มผลประโยชน์ เฉพาะไม่หลากหลาย และมีความเหลื่อมล้ำทางด้านทรัพย์สินระหว่างคนจนกับคนรวยมากMadison เสนอหลักการเรื่องการควบคุม ผลกระทบด้านลบจากกลุ่มผลประโยชน์เฉพาะโดยเริ่มต้นด้วยการชี้ให้เห็นว่า มีวิธีจัดการปัญหา 2 วิธีที่แตกต่างกัน คือ (1) การจัดการที่ "สาเหตุ" (removing its causes) ของการเกิดกลุ่มผลประโยชน์เฉพาะ และ (2) การควบคุม "ผล" (controlling its effects) ที่เกิดขึ้นจาก กลุ่มผลประโยชน์เฉพาะสำหรับ Madison แล้ว การแก้ปัญหาด้วย วิธีแรก หรือการจัดการที่ต้นเหตุ เป็นวิธีที่ทั้ง "เลวร้าย" และ "เป็นไปไม่ได้"
ดังนั้น การเกิดขึ้นและดำรงอยู่ของกลุ่มผลประโยชน์เฉพาะจึงเป็นธรรมชาติ และจิตวิญญาณของการเมือง ในระบอบประชาธิปไตย
เจเรมี เบนแธม ( Jeremy Bentham ชาวอังกฤษ ค.ศ. 1784  )
แนวคิดอรรถประโยชน์ (Utility) ซึ่งได้ถูกนำมาพัฒนาใช้อธิบายสำหรับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ หัวใจสำคัญของแนวคิดอรรถประโยชน์ตามความคิดของJeremy Bentham คือ มหาสุขสำหรับมหาชน (The greatest happiness for the greatest numbers) และถูกขยายความต่อไปในวลีที่ว่า ความพึงพอใจกับความเจ็บปวด (Pleasure and pain)นั่นคือ ประชาชนจะพึงพอใจและกระทำในสิ่งที่ตนได้รับความสุข แต่จะไม่พอใจแล้วหลีกเลี่ยงต่อสิ่งที่ทำให้ตนได้รับความทุกข์ ตัวอย่างเช่น การลงโทษในเชิงป้องปราม (Deterrence)เพื่อไม่ให้มีการกระทำความผิดในสังคม หรือในด้านเศรษฐศาสตร์นั้นก็นำไปอธิบายได้ว่า ทรัพยากรต่าง ๆ จะถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะผู้ซื้อและผู้ขายต่างก็ต้องการทำการซื้อและขายที่ตนได้รับความพึงพอใจสูงสุด

เอ็ดมันด์ เบิร์ก (  ไอร์แลนด์  1792 – 1797 )
ในหนังสือ Reflections.. เขาประณามเป้าหมายของการปฏิวัติฯ รวมทั้งชาวอังกฤษที่สนับสนุนการปฏิวัติฯนั้นด้วย การที่เบิร์กได้เน้นให้ความสำคัญแก่อุดมคติของรัฐที่ผูกพันกับจารีตประเพณี และแก่พัฒนาการอย่างต่อเนื่องของรัฐธรรมนูญอังกฤษ มากกว่าแนวทางของอุดมการณ์ปฏิวัติ ทำให้ Reflections.. กลายเป็นพื้นฐานที่สำคัญของแนวทางอนุรักษ์นิยมของยุโรปในเวลาต่อมา
ความเห็นที่เบิร์กมีต่อสถาบันกษัตริย์เป็นไปอย่างเป็นประเด็นสำคัญ และค่อนข้าง "อนุรักษ์" นั่นคือ เขามองว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็น "the bond of the union" (หน้า ๒๙) รัฐบาลที่ไม่มีกษัตริย์จะเป็นเหมือนเรือที่เดินทางโดยไม่มีเข็มทิศ (หน้า ๑๑๖) เบิร์กได้เรียกร้องด้วยว่า เมื่อกษัตริย์มีความสำคัญเช่นนั้นแล้ว อำนาจบริหารจะต้องอยู่ในมือของกษัตริย์ด้วย แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า เขาต้องการให้กษัตริย์กลับมามีอำนาจแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ดังเดิม  เบิร์กมองว่า ในฐานะและตำแหน่งของกษัตริย์ก็ควรจะเป็นเพียง ผู้รับมอบอำนาจทางบริหาร และ ที่สำคัญกว่านั้น ควรเป็น ผู้รับใช้ของประชาชน เพราะความสุขสงบของประชาชนจะต้องเป็นเป้าหมายเดียวของการทรงอำนาจของกษัตริย์

จอห์น สจ๊วต มิลล์ (ชาวอังกฤษ1806-1873)
จอห์น สจ๊วต มิลล์ ซึ่งบิดาของเขาเป็นเพื่อนสนิทของเจเรมี เบนแทม ตัวของมิลล์เองจึงสนิทสนมกับครอบครัวของเจเรมี เบนแทม งานเขียนที่สำคัญของมิลล์คือ System of Logic (1834) และ Principles of Political Economy (1848) ซึ่งถูกใช้เป็นตำราเศรษฐศาสตร์ในอังกฤษและอเมริกาเป็น หนังสือที่สำคัญที่สุดของมิลล์คือ On Liberty (1859) ซึ่งกลายเป็นข้อเขียนที่สนับสนุนเสรีนิยมของปัจเจกชนที่มีอิทธิพลและถูกใช้อ้างอิงมากที่สุดเล่มหนึ่ง มิลล์เองพยากรณ์ว่าหนังสือของเขาเล่มนี้จะมีความสำคัญในอนาคตอย่างมาก เพราะสังคมอุตสาหกรรมจะคุกคามเสรีภาพของปัจเจกชนมากขึ้นในอนาคต มิลล์ได้ก่อให้เกิดคุณูปการสำคัญ 2 ประการคือ ประการแรก มิลล์ได้แก้ไขปรับปรุงหลักการประโยชน์นิยมไม่น้อย เขาพยายามเพิ่มเติมว่าประโยชน์หรือความพอใจบางอย่าง เช่นความพอใจทางปัญญาหรือจิตวิญญาณนั้น มีคุณค่ามากกว่าความพอใจทางกาย เขายังเสนอว่า ความพอใจสูงสุดคือ เกียรติ์และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และการให้เสรีภาพคือวิธีการส่งเสริมเกียรติ์และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ด้วย ตามทรรศนะของมิลล์นั้น เสรีภาพจึงเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญและเป็นเป้าหมายของสังคมในตัวเอง ซึ่งต่างจากทรรศนะของเบนแทมที่เห็นว่าเสรีภาพเป็นเพียงวิธีการไปสู่เป้าหมายคือ ความสุข ประการที่สอง มิลล์เป็นนักคิดที่ให้ความสำคัญกับเสรีภาพอย่างเต็มที่ เขากล่าวว่าสิ่งที่เป็นศัตรูที่น่ากลัวที่สุดของเสรีภาพไม่ใช่รัฐบาล แต่เป็น “สังคมทรราช” เพราะต่อสู้ด้วยลำบากที่สุด วลีที่สำคัญของเขาคือ “ถ้ามนุษย์ทุกคนยกเว้นเพียงคนเดียวมีความเห็นอย่างหนึ่ง และคนคนเดียวนั้นมีความเห็นตรงกันข้าม มนุษยชาติก็ไม่มีความชอบธรรมที่จะทำให้บุคคลคนเดียวนั้นเงียบเสียงมากไปกว่าบุคคลนั้น ถ้าเขามีอำนาจมีความชอบธรรมที่จะทำให้มนุษยชาติเงียบเสียง”

 

คาร์ล มาร์กซ ( เยอรมนี  1818  )
คาร์ล ไฮน์ริช มาร์กซ์ ( Karl Heinrich Marx; 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2361 — 14 มีนาคม พ.ศ. 2426)
ปรัชญาของคาร์ลมาร์ก
แนวคิดหลักของมาร์กซวางอยู่บนความเข้าใจเกี่ยวกับ แรงงาน โดยพื้นฐานแล้ว มาร์กซ กล่าวว่ามนุษย์มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลงสิ่งรอบข้าง เขาเรียกกระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ว่าการ ใช้แรงงาน และความพลังในการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า กำลังแรงงาน สำหรับมาร์กซแล้ว การใช้แรงงานนี้นอกจากจะเป็นความสามารถโดยธรรมชาติของกิจกรรมต่างๆ ทางกายภาพแล้ว แรงงานยังเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับความคิดและจินตนาการของมนุษย์ด้วย:
นอกเหนือจากการที่อ้างว่าความสามารถของมนุษย์คือการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติแล้ว มาร์กซมิได้ใช้ข้ออ้างอื่นๆ เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์อีกเลย.
มาร์กซสืบทอดแนวคิดแบบวิภาษวิธีของเฮเกิล ดังนั้นเขาจึงมักจะหลีกเลี่ยงความคิดที่ว่ามนุษย์มีธรรมชาติบางอย่างที่ไม่เปลี่ยนแปลง บางครั้งมาร์กซิสจะอธิบายแนวคิดนี้โดยการเปรียบเทียบระหว่าง "ธรรมชาติ" กับ "ประวัติศาสตร์" หลายครั้งพวกเขาจะกล่าวว่า "สภาพการมีอยู่นำหน้าสำนึก" นั่นคือใครคนหนึ่งจะเป็นอย่างใดนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งแห่งหนและเวลาที่เขาอยู่ -- สภาพทางสังคมมีอำนาจมากกว่าพฤติกรรมดั้งเดิม หรืออาจกล่าวได้ว่าลักษณะสำคัญของมนุษย์คือการปรับตัวให้เขากับสิ่งต่างๆ รอบตัว
มาร์กซไม่เชื่อว่าคนทุกคนจะทำงานในลักษณะเดียวกัน แต่เขาก็ไม่เชื่อเช่นเดียวกันว่าลักษณะที่ใครสักคนทำงานนั้นถูกกำหนดด้วยความคิดส่วนตัวไปทั้งสิ้น เขากลับอธิบายว่าการทำงานนั้นเป็นกิจกรรมทางสังคม และเงื่อนไขรวมถึงรูปแบบของการทำงานนั้นถูกกำหนดโดยสังคมและเปลี่ยนแปลงตามเวลา
เราสามารถสรุปแนวคิดของคาร์ล มาร์กซได้คร่าวๆดังนี้

  1. ประวัติศาสตร์ของมนุษย์เป็นการต่อสู้ระหว่างชนชั้น โดยนับต้องแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน เช่น ทาสกับนาย ไพร่กับผู้ดี นายจ้างกับลูกจ้าง โดยจะมีคนนึงเป็นผู้ข่มเหง และอีกคนหนึ่งเป็นผู้ถูกข่มเหง
  2. โลกของนายทุน ในโลกปัจจุบันเกิดชนชั้นใหม่ที่มีบทบาทในสังคมมาก ได้แก่พวกนายทุน นายทุนเอาเปรียบชนชั้นแรงงานทุกวิถีทาง อำนาจของนายทุนคืออำนาจทางศรษฐกิจและการเมือง โดยกษัตริย์และผู้ปกครองก็อยู่ภายใต้อิทธิพลนายทุนด้วย
  3. พวกนายทุนทั้งหลายมักเรียกร้องเสรีภาพ เช่น การค้าขายอย่างเสรี การแข่งขันเสรี แต่แท้จริงแล้วเป็นการเรียกร้องให้ตัวเองเอาเปรียบผู้อื่น
  4. นายทุนเป็นพวกไร้ศีลธรรม มองเห็นความสัมพันธ์ของมนุษย์เป็นเพียงการสะสมเงินทอง ส่วนคุณค่าทางจิตใจ ความเมตตาปรานีหรือมนุษยธรรมแทบจะไม่มีอยู่ในสำนึกของนายทุน
  5. ชนชั้นกรรมาชีพจะชนะนายทุนในที่สุด ในตอนแรกสังคมอาจมีหลายชนชั้น แต่สุดท้ายจะเหลือเพียง นายทุน และ กรรมาชีพ ซึ่งจะถูกนายทุนข่มเหงตลอดเวลา จนต้องรวมตัวเป็นสหภาพกรรมกร และกลายมาเป็นพรรคการเมือง จนมีอำนาจเอาชนะนายทุนได้
  6. ไม่มีทรัพย์สินส่วนตัว ลักษณะที่สำคัญที่สุดของระบอบคอมมิวนิสต์คือ การล้มล้างทรัพย์สินส่วนตัว เพราะสิ่งนี้คือ สัญลักษณ์แห่งความเห็นแก่ตัว ของนายทุน