ทฤษฎีสรรค์สร้างนิยม ( ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ )

แนวคิดหลักของทฤษฎีสรรคส์ร้างนิยม (constructivism) คือ การเปลี่ยนแปลง จากเดิมที่เน้นการศึกษาปัจจัยภายนอกมาเป็นสิ่งเร้าภายใน ซึ่งได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ หรือกระบวนการรู้คิด กระบวนการคิด  Alexander Wendt  ได้ยกตัวอย่างด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของ เยอรมนีกับเดนมาร์กในช่วงเวลา ปี ค.ศ. 1940-2000 ทั้งสองประเทศมีความแตกต่างกัน ในเรื่องผลประโยชน์ของประเทศ จึงทำให้ต่างมองกันว่าเป็นศัตรูคู่แข่งในด้านต่างๆ    แต่ในปี ค.ศ. 2000 ทั้งสองประเทศกลับมาเป็นมิตรและช่วยเหลือกัน เราจะเห็นได้ว่า ผลประโยชน์หรืออำนาจเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถอธิบายความสัมพันธ์ของสอง ประเทศนี้ แต่จะต้องมองถึงทัศนคติของแต่ละชาติด้วย  นักคิดแนวสรรค์สร้างนิยมมองว่าความร่วมมือด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นไม่ได้เกิดจากเรื่องของอำนาจและผลประโยชน์เพียงเท่านั้นแต่ยังได้รับ อิทธิพลจากปัจจยัทางสังคมด้านอื่น ๆ ด้วยโดยให้ความสำคัญต่อ 3 ด้านที่สำคัญคือ บรรทัดฐาน (norm) อัตลกัษณ์ (identity) และวัฒนธรรม (culture) เพราะระบบ โครงสร้างทางสังคมภายในของรัฐสามารถ ส่งผลต่อโครงสร้างทางสังคมระหว่าง ประเทศและในเวลาเดียวกันระบบความสัมพันธ์ของสังคมระหว่างประเทศก็สามารถ ส่งผลถึงโครงสร้างสังคมภายในรัฐด้วยเช่นกัน

บรรทัดฐาน (norm)  บรรทัดฐานทางสังคม คือ แบบแผน กฎเกณฑ์ข้อบังคับ มาตรฐาน รวมไปถึง ความเคยชินหรือขนบธรรมเนียมในการปฏิบัติของคนในสังคมที่มนุษย์ได้สรรค์สร้างขึ้นมาเพื่อกำหนดพฤติกรรมและควบคุมผลประโยชน์ของสังคม บรรทัดฐานทาง สังคมจะเป็นตัวกำหนดกรอบ หรือเป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมต่างประเทศของผู้แสดงในสังคมระหว่างประเทศ

อัตลักษณ์ (identity) อัตลักษณ์ทางสังคมคือการมีแนวคิดที่ยึดถือร่วมกัน แนวคิดคิดสรรค์สร้างนิยม (conctructivism) มองว่ารัฐนั้นเป็นผู้แสดงที่มีอัตลักษณ์หลากหลาย โครงสร้างของอัตลักษณ์นั้นเกิดขึ้นจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ต่างก็มีอิทธิพลซึ่งกัน และกันจนทำให้ก่อเกิดการสร้างอัตลักษณ์ขึ้นมา สิ่งที่เป็นปัจจัยในการกำหนด โครงสร้างของสังคมมนุษย์นั้นไม่ใช่พลังทางวัตถุหากแต่เป็นแนวคิดที่ยึดถือร่วมกันที่ เป็นตัวกำหนดอัตลักษณ์และผลประโยชน์ของตัวแสดงต่าง ๆ ในสังคม

วัฒนธรรม (culture) วัฒนธรรมตามความหมายของแนวคิดคิดสรรคส์ร้างนิยมหมายถึงตัวแบบของ การมีวัฒนธรรมร่วมกันหรืออัตลักษณ์ร่วมกันโดยยึดถือโดยข้อบังคับที่กำหนดเป็นมาตรฐานเฉพาะ (บรรทัดฐาน และคุณค่า) และการเรียนรู้กฎระเบียบรวมถึงแบบอย่างที่เป็นมาตรฐาน

ดร.สุปรีชา หิรัญบูรณะ

12 กรกฏาคม พ.ศ.2561