ความมั่นคงเชิงความร่วมมือในภูมิภาคเอเชีย-ตะวันออกเฉียงใต้

การทำความเข้าใจในเรื่องของความมั่นคงเชิงความร่วมมือในภูมิภาคเอเชีย-ตะวันออกเฉียงใต้จำเป็นต้องศึกษาทำความเข้าใจถึงพัฒนาการความร่วมมือตั้งแต่จุดเริ่มต้น ย้อนไปในช่วงทศวรรษ 1960 แนวคิดการรวมตัวของอาเซียนนั้นเกิดจากภัยคุกคามจากสงครามเย็น (cold war) อันเป็นการแข่งขันกันระหว่างค่ายเสรีนิยมประชาธิปไตยกับค่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ก่อให้เกิดการปะทะกันในหลายพื้นที่รวมถึงในหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้รัฐบาลหรือผู้นำประเทศของกลุ่มประเทศที่โน้มเอียงไปทางสนับสนุนการปกครองแบบทุนนิยมเสรีประชาธิปไตยตระหนักถึงภัยคุกคามร้ายแรงที่สามารถสร้างความเสียหายร้ายแรงต่อการถูกรุกรานจากประเทศภายใต้การสนับสนุนของประเทศในระบอบคอมมิวนิสต์ จากการวิเคราะห์ตามแนวทฤษฎีโดมิโน (Domino theory) ของสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐอเมริกาแสดงให้เห็นว่าหากประเทศในอินโดจีน ที่ประกอบด้วย เวียดนาม ลาว และ กัมพูชากลายเป็นระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์แล้วประเทศที่เหลือในภูมิภาคก็จะกลายเป็นคอมมิวนิสต์ด้วย ดังนั้น รัฐบาลสหรัฐฯ กับรัฐบาลกลุ่มประเทศที่ไม่ได้เป็นคอมมิวนิสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มมีแนวคิดในการร่วมมือกันด้านความมั่นคงเพื่อต่อต้านภัยคุกคาม ร่วมกัน จึงจัดตั้งเป็นสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations) หรือที่นิยมเรียกแบบสั้น ๆ ว่า อาเซียน ภายใต้ “ปฏิญญา-กรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration) หรือที่เรียกว่าปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1967 สมาชิกเริ่มต้นเพียง 5 ประเทศที่ไม่สนับสนุนลัทธิสังคมนิยมคือ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ทั้งห้าประเทศ  โดยมีฝ่ายทุนนิยมเสรีประชาธิปไตยที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นแกนนำ ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าเหตุผลหลักของความร่วมมือเชิงความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มจากความร่วมมือทางทหารเป็นหลักในการต่อต้านภัยคุกคามจากสังคมนิยมคอมมิวนิสต์

หลังทศวรรษ 1980 การขัดแย้งทางอุดมการณ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตเริ่มลดลง สืบเนื่อง มาจากการล่มสลายของระบบการปกครองคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกและความเปลี่ยนแปลงในสหภาพโซเวียตโดยประธานาธิบดีมิคาอิล กอร์บาชอฟ รัฐต่าง ๆ ในสหภาพโซเวียตต่างแยกตัวเป็นประเทศ-อิสระปกครองตนเอง ทำให้สหภาพโซเวียตต้องล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1991 ส่งผลให้มีการสลายตัวขององค์การร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สังคมนิยมมีผลทำให้การเผชิญหน้าระหว่างประเทศมหาอำนาจตะวันออกตะวันตกได้จบลงถือการสิ้นสุดของยุคสงครามเย็น

บทสรุปของการพัฒนาความมั่นคงเชิงความร่วมมือในภูมิภาคเอเชีย-ตะวันออกเฉียงใต้ว่าหากมองจากวัตถุประสงค์ของการรวมเป็นอาเซียนข้อแรกโดยเฉพาะของด้านทหารเราไม่ได้มีวัตถุประสงค์จะมีกองกำลังอาเซียนที่ปฏิบัติภารกิจในสงครามไม่เคยมีเลย ไม่ถูกบัญญัติไว้ด้วย ความร่วมมือของอาเซียนคือ  ภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่ (non-traditional security) เช่น ปัญหายาเสพติด การก่อการร้าย และอาชญากรรมข้ามชาติถ้า ไม่แก้กติกาตัวนี้ไม่มีทางที่เราจะเป็นกองกำลังเป็นแบบกองกำลังทางทหารขององค์การ-สนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization--NATO) ได้เราพัฒนาเป็นกองกำลังอาเซียนด้านภัยพิบัติที่มีความร่วมมือกันเพิ่มมากขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางด้านมนุษยธรรม แต่ไม่ก้าวก่ายทางด้านการเมือง แต่สิ่งที่เพิ่มเข้ามาในอนาคต คือ ศักยภาพความร่วมมือทางด้านเอกชนที่พัฒนาขึ้นจากความเข็มแข็ง อธิบายถึงการพัฒนาความร่วมมือเชิงความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าเรามีปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยความเป็นหนึ่งเดียวในการตอบโต้ภัยพิบัติทั้งภายในและภายนอกภูมิภาค ที่ทำให้ทุกภาคส่วนสามารถทำงานร่วมกันเมื่อเกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่ ซึ่งอาจยังไม่เห็นภาพเพราะพึ่งออกมาเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว ตอนนี้ก็อยู่ในช่วงของการจัดทำแผนปฏิบัติการ และก็ขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการในระดับรัฐมนตรีระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสต่อไป  การพัฒนาความร่วมมือเชิงความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามแนวคิดของความร่วมมือด้านความมั่นคงระดับภูมิภาคในศตวรรษที่ 21 ได้กล่าวถึงความร่วมมือด้านความมั่นคงในศตวรรษที่ 21 การวิเคราะห์ประสิทธิผลความร่วมมือด้านความมั่นคงในศตวรรษที่ 21 (effectiveness) คำนึงถึงสิทธิมนุษยธรรมภายใต้ระบอบประชาธิปไตยปรับขีดความสามารถในการวางรูปแบบและการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมและสร้าง ความคุ้มค่าของผลตอบแทนที่ได้รับบรรยากาศในทางเศรษฐกิจและ มีเสรีภาพที่ทุกภาคส่วนร่วมมือกันในการเอาชนะต่อภัยคุกคามรูปแบบใหม่ (Bailes& Cotty, 2006)

หลังยุคสงครามเย็นมาจนถึงปัจจุบันอาเซียนได้ให้ความสำคัญและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนมาโดยตลอด โดยมีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องกลไกสิทธิมนุษยชนของภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง และในกฎบัตรอาเซียนได้มีข้อบทในส่วนที่เกี่ยวกับเป้าหมายและหลักการของความร่วมมือระหว่างกันที่ระบุชัดเจนเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ทั้งยังระบุให้อาเซียนจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนของอาเซียน เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนอาเซียนอีกด้วย ส่งผลให้ความมั่นคงภายในประเทศของสมาชิกมีความพยายามสร้างความร่วมมือทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชนอีกทั้งยังสนับสนุนให้ทางานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านกฎระเบียบและนโยบายที่คณะรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนหรือรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนรับมาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมต่อการเมืองเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละประเทศ

ท่ามกลางความหลากหลายทั้งชาติพันธ์ ศาสนาและภาษาในภูมิภาคเอเชีย-ตะวันออกเฉียงใต้ ความขัดแย้งในการแย่งชิงดินแดนและอำนาจในอดีตหรือการถูกแบ่งเป็นประเทศเพื่อการยึดครองของประเทศล่าอาณานิคมและการบิดเบือนทางประวัติศาสตร์เพื่อประโยชน์จากผู้ปกครองและประเทศมหาอำนาจหรือแม้แต่การขยายอำนาจของระบบทุนนิยมและสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในช่วงสงครามเย็น (ค.ศ. 1960-1991) ความร่วมมือของสมาชิกอาเซียนน่าจะมีอุปสรรคมากมาย แต่ปัจจุบันจะเห็นว่าทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถรวมกันและมีความร่วมมือทั้งด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมที่เห็นได้ชัดคือเมื่อเกิดภัยในประเทศสมาชิกทุกประเทศจะร่วมมือกันช่วยเหลือตามกำลังและศักยภาพที่มี หากจะวิเคราะห์ด้วยมุมมองของทฤษฎีสรรค์สร้างนิยม จะเห็นได้ว่าผลประโยชน์หรืออำนาจเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถอธิบายความสัมพันธ์ของประเทศสมาชิก แต่จะต้องมองถึงทัศนคติของแต่ละชาติด้วยถึงจะมีความขัดแย้งกันเพียงใด สิ่งที่ทุกชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่างยอมรับในความสัมพันธ์แบบเครือญาติที่มีวัฒนธรรมแบบผสมผสานที่คล้ายคลึงกันมีประวัติศาสตร์ที่ผูกพันกันมายาวนาน ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ความมั่นคงเชิงความร่วมมือนั้นพัฒนามากขึ้นในส่วนการช่วยเหลือกันมิใช่ด้านการทำสงคราม แต่ความร่วมมือด้านหนึ่งก็สามารถส่งผลต่อความร่วมมืออีกด้านหนึ่ง เมื่อความร่วมมือทางการค้าในภูมิภาคประสบความสำเร็จก็ส่งผลไปยังความร่วมมือเชิงความมั่นคงร่วมกันได้แต่จำเป็นต้องใช้เวลาในการสร้างสรรค์บรรทัดฐาน ร่วมกัอัตลักษณ์ และวัฒนธรรมความร่วมมือเชิงความมั่นคงที่พัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

 

........ดร.สุปรีชา หิรัญบูรณะ (

..09/07/2561

                                                             ...................... ..............................