ระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐศาสตร์

การวิจัย คือ การค้นหา โดยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการพิสูจน์ ตรวจสอบความจริวอย่างมีหลักการและสามารถอธิบายได้ด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ เป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือเข้าใจองค์ความรู้เดิมที่มีมาอย่างลึกซึ้ง ทำให้เกิดปัญญา และแก้ปัญหาต่างๆได้ตามเป้าหมายที่กำหนด


ประเภทของการวิจัย
1. การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการวิจัยที่เน้นหารายละเอียดต่างๆ ของกลุ่มประชากรที่ทำการศึกษา ข้อมูลที่ได้จากการค้นพบ อาจได้มาจากหน่วยที่ต้องการศึกษาไม่กี่หน่วย หรือเพียงไม่กี่กลุ่มหรือชุมชน ให้ความสำคัญกับความรู้สึก โลกทัศน์ความหมายและวัฒนธรรม เน้นการเข้าไปสัมผัสกับข้อมูลหรือปรากฎการณ์โดยตรง ไม่เน้นสถิติตัวเลขในการวิเคราะห์ และมุ่งที่จะกระตุ้นให้ก่อเกิดสมมุติฐานและข้อสรุปใหม่ ๆ มากกว่าพิสูจน์สมมุติฐานเดิม วิธีนี้สนใจความรู้สึกนึกคิด ความหมาย ค่านิยมหรืออุดมการณ์ของบุคคลนอกเหนือไปจาก ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์ เจาะลึก เป็นวิธีการหลักในการรวบรวมข้อมูล และเน้นการวิเคราะห์ และตีความข้อมูลและอุปนัยเป็นหลัก

2. การวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการวิจัยที่เน้นข้อมูลที่เป็นตัวเลขเป็นหลักฐานยืนยัน ความถูกต้อง ของข้อค้นพบ และข้อสรุปต่างๆ ของเรื่องที่จะทำการวิจัย การวิจัยประเภทนี้ จะสามารถใช้ได้อย่างกว้างขวาง ถ้าสามารถพิสูจน์ได้ว่า ใช้ระเบียบที่เหมาะสมและได้คำตอบที่ถูกต้อง

ความแตกต่างระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณกับการวิจัยเชิงคุณภาพ

วิธีแสวงหาความรู้

1.เหตุผลเชิงอุปนัย (Inductive Reasoning) เป็นวิธีที่เริ่มต้นจากข้อเท็จจริงเฉพาะ ซึ่งได้จากประสบการณ์หรือเหตุการณ์ที่ศึกษา และนำไปสู่ข้อสรุปหรือกฎเกณฑ์ เป็นการหาจากส่วนย่อยไปสู่ส่วนใหญ่ เช่นการวิจัยเชิงคุณภาพ

2. เหตุผลเชิงอุปมาน (Deductive Reasoning) เป็นวิธีการที่เริ่มจากหลักเกณฑ์ หรือข้อเท็จจริง ทั่วไปและนำไปทดสอบ ยืนยันด้วยการรวบรวมข้อเท็จจริง เป็นการหาจากส่วนใหญ่ไปสู่ส่วนย่อย เช่นการวิจัยเชิงปริมาณ

กระบวนการในการดำเนินการวิจัย

1.ขอบข่ายของการวิจัยและการตั้งปัญหาการวิจัย เป็นการกำหนดหัวเรื่องที่ต้องการศึกษาเป็นจุดเริ่มต้นในการศึกษา

2.การสำรวจและทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่จะได้มาซึ่งคำตอบของปัญหาการวิจัย

3.การกำหนดสมมติฐานเพื่อการทดสอบ เป็นการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
4.การเลือกรูปแบบการวิจัย เป็นการกำหนดวิธีการศึกษาที่สัมพันธ์กับปัญหา กรอบความคิดและเลือกวิธีการเก็บข้อมูล ที่สอดคล้องกับสมมติฐาน เช่น
-แบบสำรวจ
-แบบสนาม
-แบบทดลอง
ฯลฯ
5.การกำหนดประชากร เป้าหมาย และการสุ่มตัวอย่าง
6.การนิยามปฏิบัติการและการสร้างเครื่องชี้วัด
7.การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีวิธีการต่างๆทั้ง การได้ข้อมูลปฐมภูมิ เช่นการสังเกต การสัมภาษณ์ ฯลฯ การได้ข้อมูลทุติยภูมิ เช่น การรวบรวมเอกสาร หรืองานวิจัย ฯลฯ
8.การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการนำข้อมูลที่รวบรวมมาได้มาวิเคราะห์ โดยการเปรียบเทียบพรรณนา หรือใช้สถิติเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์
9. การสรุปผลการวิจัย
10.การเขียนรายงานการวิจัย

การกำหนดวัตถุประสงค์
1. ชัดเจน
2. เฉพาะเจาะจง
3. วัดผลได้

ตัวอย่างของการกำหนดวัตถุประสงค์
1. วัตถุประสงค์ในการศึกษาเชิงพรรณนา
-เพื่อศึกษาคุณลักษณะของประชากร
-เพื่อศึกษาความรู้ของกลุ่มตัวอย่าง
-เพื่อศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง
-เพื่อศึกษาทัศนะของกลุ่มตัวอย่าง
ฯลฯ
2. วัตถุประสงค์ในเชิงเปรียบเทียบ
-เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคุณสมบัติของประชากรกับพฤติกรรมในเรื่อง.....
-เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ของประชากรกับพฤติกรรมในเรื่อง....
-เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชากร
-เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของประชากร ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่......


องค์ประกอบหลัก
1. การสร้างกรอบแนวคิด (conceptualization)
2. ระเบียบวิธีที่ใช้ในการศึกษา (Methodology)

กรอบแนวคิด

กรอบแนวคิด เป็นสิ่งสำคัญในการศึกษา เสมือนแนวทางในการศึกษาเป็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ทำให้ผู้วิจัยมีกรอบหรือทิศทางในการศึกษา

การกำหนดตัวแปรในการศึกษา

1.ตัวแปรหลักหรือตัวแปรอิสระ

ตัวแปร(Variable)หมายถึง แนวคิดที่มามากกว่า1ค่า เช่น เพศ แบ่งเป็น เพศชาย หญิง เป็นต้น

แนวคิด (concept) หมายถึงชุดของตัวแปร ที่มีความสัมพันธ์กนตามกรอบของทฤษฎี ภายใต้แนวคิดหนึ่งจะประกอบด้วยตัวแปรหลายต่างๆ

สมมติฐาน ( Hypothesis) คือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตามกรอบของทฤษฎี ที่ผู้วิจัยคาดว่าจะเกิดขึ้นและริการพิสูจน์ต่อไป

รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร


3. ความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัว โดยที่ตัวแปรตัวหนึ่งเป็นสาเหตุหรือตัวแปรอิสระ และมีผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อตัวแปรตาม ผู้วิจัยสามารถกำหนดความสัมพันธ์ดังกล่าวจากโครงสร้างทฤษฎี และความสัมพันธ์ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข 3 ประการ คือ
(1) ตัวแปรสาเหตุ(X) จะต้องเกิดก่อนตัวแปรที่เป็นผล (Y)
(2) จะต้องมีความสัมพันธ์กันทั้งสองตัวแปร
(3) ในความสัมพันธ์ดังกล่าวจะต้องไม่มีสิ่งใดมาแทรกซ้อน

ตัวแบบในการศึกษา

หมายถึง การสร้างความสัมพันธ์กันของตัวแปรต่างๆตามทฤษฎี โดยที่ตัวแปรข้างต้น ที่พัฒนามาจากวัตถุประสงค์สามารถสร้างความสัมพันธ์ ได้ดังนี้

การสร้างเครื่องมือวัด

ระดับของการวัด

Nominal scale เป็นการวัดแบบกลุ่ม เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด เพียงแต่การกำหนดเกณฑ์แบ่งแยกประชากรที่ศึกษาออกเป็นกลุ่มแล้วตั้งชื่อให้ต่ละกลุ่ม ทีมีคุณสมบัติเหมือนกันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน คุณสมบัติที่สำคัญ คือ มีความเท่าเทียมกัน คือ สมาชิกในกลุ่มเดียวกันจะต้องเหมือนกัน แต่ละกลุ่มต้องมีคุณสมบัติไม่ซ้ำซ้อนกัน แยกออกจากกันได้โดยเด็ดขาด ตัวเลขหรือสัญลักษณ์เป็นเพียงแต่ชื่อไม่สามารถเอามาคำนวณทางเลขคณิตได้ เช่น เพศ สถานภาพการสมรส ภูมิลำเนา เป็นต้น

Ordinal scale เป็นการวัดแบบเรียงลำดับ ต้องสามารถจัดอันดับ อัตราความแตกต่างระหว่างกันและกันได้ ในระบบ นี้ อาจจะใช้ข้อความว่า มากกว่า น้อยกว่า ปานกลาง สูงกว่าหรือต่ำกว่า เช่น มากที่สุด ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด หรือระดับการศึกษาตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่แสดงไม่มีผลต่อการคำนวณ แต่จะบอกความสำคัญเท่านั้น ไม่สามรถบอกปริมาณและความแตกต่างได้

Interval scale เป็นการวัดแบบช่วง คือสามารถกำหนดช่วงห่างของความแตกต่างได้อย่างแน่นอน ดังนั้นจึงสามารถบวก ลบ กันได้ เช่นระดับอุณหภูมิ คะแนนในส่วนความรู้ด้านต่างๆ I.Q

Ratio scale เป็นการวัดที่มีคุณสมบัติของมาตรวัดแบบช่วงทุกประการ แต่มีคุณสมบัติเพิ่มเติมคือ มีจุดเริ่มต้นที่ศูนย์ที่แท้จริง เช่น เงิน น้ำหนัก ความสูง และอายุ ดังนั้นจึงสามารถใช้สถิติได้ทุกประเภท

แนวทางการสร้างเครื่องมือวัด

เครื่องมือในการวัดจะถูกนำมาใช้ในการตรวจสอบความเป็นจริงๆต่างๆ เพื่อตอบปัญหาการวิจัยตามที่กำหนดไว้ เครื่องมือดังกล่าวอาจเป็นสิ่งที่จัดทำขึ้นมาเพื่อใช้เฉพาะงานวิจัยหนึ่งๆ หรืออาจนำเครื่องมือที่ผู้วิจัยคนอื่นเคยใช้มาแล้วในงานวิจัยที่ต้องการตรวจสอบในลักษณะเดียวกันมาใช้อีก หรือนำมาปรับปรุงเพิ่มเติมเพื่อความเหมาะสม ในการจัดทำเครื่องมือในการวัดผลนอกจากจะต้องการทราบว่าคำถามในการวิจัยคืออะไรแล้ว ยังจะต้องทราบก่อนว่า ประชากรในการศึกษาคือใคร จะวัดผลในเรื่องใด และจะวัดผลในตัวแปรใดบ้าง ในการจัดทำเครื่องมือการวัดผลที่เหมาะสม ผู้วิจัยควรจะนำรายละเอียดทั้งหลาย มาสร้างเป็นแบบในการศึกษา ซึ่งจะทำให้สามารถเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าจะต้องสร้างเครื่องมือใดบ้าง จึงจะสามารถวัดผลที่ต้องการได้ครบถ้วน

เกณฑ์ในการพิจารณาคุณภาพของเครื่องมือวัด

1.ความเชื่อถือได้ (Reliability)
2.ความแม่นตรง (Validity)


ระเบียบวิธีวิจัย

1.รูปแบบการวิจัย
2.แหล่งข้อมูล
3.เครื่องมือในการจัดเก็บ
4.วิธีการจัดเก็บ
5.วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

รูปแบบการวิจัย

1.การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เป็นการวิจัยทางสังคมที่เหมาะต่อการศึกษาเกี่ยวกับการสื่อความเข้าใจของมนุษย์ นอกจากจะใช้ในการศึกษาขบวนการสื่อความเข้าใจ นอกจากจะใช้ในการศึกษาขบวนการสื่อความเข้าใจแล้วยังใช้ในการศึกษาพฤติกรรมทางสังคมรูปแบบอื่นด้วย วิธีการในการสื่อข้อความ เช่น คำพูด ข้อความ หนังสือ จัดเป็นหน่วยในการศึกษาเกี่ยวกับ Content Analysis ( ส่วนนี้จะแยกเป็นของ อ.สมิหรา อีกที )

2.การวิจัยแบบสำรวจ (Survey Research) การจัดทำแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของหน่วยในการศึกษาเหมาะในการพรรณนาคุณสมบัติของประชากร ที่ถูกศึกษาที่มีขนาดใหญ่ และข้อมูลยังสามารถใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ด้วย การอธิบายหรือการบรรยายประกอบการอธิบายโดยใช้แบบสอบถาม

การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม
-ส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์
-ให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเองโดยตรง
-การสอบถามโดยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
-การสอบถามโดยการสัมภาษณ์แบบพบปะส่วนตัว

3.การวิจัยสนาม (Field Research) เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยเลือกหมู่บ้านใดหมู่บ้านหนึ่ง หรือพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเพื่อทำการศึกษา โดยการวิจัยประเภทนี้มีข้อจำกัดอยู่ว่า ไม่สามารถนำมาขยายผลในพื้นที่อื่นได้ เพราะผลการวิจัย เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่ ซึ่งข้อดีของการศึกษาประเภทนี้ คือเข้าใจตัวอย่างที่ศึกษาได้อย่างละเอียด ครอบคลุมในทุกประเด็นที่ต้องการศึกษา

4. การวิจัยเอกสาร (Documentary Research ) เป็นการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารโดยกำหนดประเด็นที่ต้องการศึกษา และทำการค้นคว้าข้อมูล จากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ตำรา เอกสารการวิจัย เอกสารทางราชการ หนังสือพิมพ์ และหนังสือสารสารต่างๆ เป็นต้น

5.การวิจัยทดลอง (Experimental Research) เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลภายใต้สถานการณ์ที่ผู้วิจัยสามารถควบคุมตัวแปรต่างๆได้ โดยวิธี Randomization and matching แยกเป็นรูปแบบต่างๆได้ดังนี้
-การวิจัยแบบเตรียมทดลอง เป็นการศึกษาโดยใช้การทดลองที่ไม่เข้มงวดนัก ซึ่งอาจจะควบคุมตัวแปรได้บางส่วน
-การวิจัยกึ่งทดลอง เป็นการวิจัยที่ผู้วิจัยสามารถควบคุมตัวแปรต่างๆได้มากขึ้น แต่ไม่ทั้งหมด
6.การวิจัยเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง
-การวิจัยแบบบุกเบิก
-การวิจัยเชิงอธิบาย
-การวิจัยเชิงสาเหตุและผล
-การวิจัยเชิงพรรณนา
-การวิจัยระยะยาว

หน่วยการวิเคราะห์ แยกเป็น6 ประเภท

1.หน่วยระดับปัจเจกบุคคล (Individual Unit) คือใช้หน่วยเป็นบุคคล และคุณสมบัติต่างๆของบุคคลมาวิเคราะห์ (****การวิจัยเชิงโครงสร้างปลายปิด 99% เป็นการวิจัยคน)
2.หน่วยระดับกลุ่ม (Group Level) เป็นการนำคุณสมบัติของกลุ่มบุคคล ที่มิใช่ของแต่ละบุคคลมาวิเคราะห์ คือสถานที่เป็นตัวแปรเกี่ยวกับกลุ่ม คือ อัตราส่วนต่อประชากรทั้งหมด รายได้เฉลี่ย อายุเฉลี่ย อัตราการใช้สิทธิเลือกตั้ง
3.หน่วยระดับองค์การ (Organizational Unit) อาจเป็นโรงงาน บริษัท สำนักงาน กรมกองของส่วนราชการ มหาวิทยาลัย ที่มีโครงสร้างเสถียรภาพ
4.หน่วยระดับสถาบัน (Institutional Unit) เป็นการวิเคราะห์สถาบันต่างๆ ที่ทำการศึกษา อาจจะเปรียบเทียบระหว่างสถาบัน
5.หน่วยระดับพื้นที่ (Spatial Unit) เป็นการวิเคราะห์วิจัยคุณสมบัติของเขต หรือพื้นที่ต่างๆ เช่น หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด เช่น อัตราการใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ฯลฯ
6.หน่วยระดับสังคม (Social Unit) เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของสังคม เช่น อาจใช้คุณสมบัติของประเทศ ในจุดเวลามาวิเคราะห์

ประชากรที่ใช้ในการศึกษา

การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง (Sampling)

การกำหนดกลุ่มตัวอย่างของประชากร เป็นขบวนการของการเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากร ที่ต้องการศึกษา เมื่อประชากรมีขนาดใหญ่ การศึกษาจากทั้งหมดต้องใช้เวลา เสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก สิ้นเปลืองทรัพยากร ก็จะศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของประชากรในขนาดที่เหมาะสม


วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
1.การสังเกต
2.การสัมภาษณ์
3.การทอดแบบสอบถาม
รูปแบบของแบบสอบถาม
-แบบคำถามปลายเปิด (Open end Question) เป็นรูปแบบของคำถามในลักษณะที่ถามอย่างกว้างๆ เปิดโอกาสให้ผู้ตอบตอบได้อย่างเสรี
-แบบคำถามปลายปิด (Close end Question)เป็นรูปแบบของคำถามที่มีจุดมุ่งหมายแน่นอน จัดเตรียมคำตอบไว้ล่วงหน้า และผู้ตอบเลือกคำตอบจากที่กำหนดไว้เท่านั้น


การวิเคราะห์ข้อมูล

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์

การวิเคราะห์ทางสถิติทำหน้าที่สำคัญ 2 ประการ คือ การพรรณนา และการอนุมาน

สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics)เป็นวิธีการทางสถิติที่ใช้ในการคำนวณหาดัชนี ซึ่งสรุปหรือบรรยายลักษณะของกลุ่มข้อมูล ขนาดต่างๆจุดมุ่งหมายของสถิติพรรณนาก็คือ การแปลงกลุ่มข้อมูลขนาดใหญ่ให้อยู่ในรูปที่สะดวก และง่ายต่อการทำความเข้าใจและตีความ

-การแจกแจงความถี่ ได้แก่ การกระจายคะแนนหรือค่าของตัวแปรตั้งแต่หนึ่งตัวแปรขึ้นไปออกเป็นกลุ่มตามเกณฑ์บางประการที่กำหนดไว้ ตามปกติการแจกแจงความถี่มักนิยมใช้ควบคู่ไปกับค่าร้อยละ และรูปกราฟ
-แนวโน้มสู่ส่วนกลาง ได้แก่การแจกแจงของข้อเท็จจริงที่ได้ศึกษา โดยมุ่งศึกษาเฉพาะค่าที่อยู่ตรงกลาง ซึ่งสถิติที่นิยมใช้กันได้แก่ มัธยฐาน คือค่าที่เป็นการแจกแจงของตัวแปรออกเป็นสองส่วนเท่าๆกัน ฐานนิยม ค่าสังเกตที่พบได้มากที่สุดในการแจกแจง และค่าเฉลี่ยเลขคณิต ได้แก่ค่าเฉลี่ยของจำนวนค่าทั้งหมดที่ปรากฎภายใต้การแจกแจงของตัวแปร

สถิติอนุมาน (Inferential Statistics) สถิติที่ใช้ทดสอบมีอยู่ 3 อย่าง
1.การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (กลุ่ม-ช่วง)
สมมติฐาน :คุณสมบัติ(ของค่าเฉลี่ย) ในกรณีนี้ คือ นศ.ผู้นำภาครัฐและเอกชนที่แตกต่างกัน จะมีทัศนะปัญหาในเชิงจริยธรรมของรัฐบาลแตกต่างกัน
กรณีนี้สถิติที่ใช้ ได้แก่ t-Test (ในตัวแปรต้นที่มี 2 กลุ่ม ตัวแปรตามเป็นค่าเฉลี่ย)
หากตัวแปรต้นมีมากกว่า 2 กลุ่ม ใช้ F-Test หรือ อีก ชื่อคือ oneway ANOVA

t-Test ,F-test เป็นสถิติเชิงอนุมาน ที่ใช้หาความแตกต่างของค่าเฉลี่ย

1.การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างข้อมูล 2 กลุ่ม ใช้สถิติ t-Test

เงื่อนไขในการใช้
1.)การแจกแจงต้องมีลักษณะเป็นโค้งปกติ
2.)ข้อมูลของตัวแปรตามต้องมีระดับการวัดเป็น interval scale
3.)เพื่อทดสอบสมมติฐานความแตกต่างระหว่างตัวแปร

2.การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างข้อมูลมากกว่า 2 กลุ่ม ใช้ สถิติ F-Test หรือ oneway ANOVA เงื่อนไขในการใช้เหมือน t-Test แต่ไม่จำเป็น

2.การเปรียบเทียบเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ตัวแปรที่นำมาวัดจะต้องมีระดับการวัดเป็นช่วงทั้งคู่ จะต้องมีค่าเฉลี่ย ( เอ็กซ์บาร์) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ทั้งคู่ ใช้ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ ( r) หรือ Correlation

ค่า r หรือ ค่าความเข้ม จะมีค่า ระหว่าง 0-1
การทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรโดยใช้ Correlation

เงื่อนไขการใช้
1.ข้อมุลทั้งตัวแปรอิสระและตัวแปรตามต้องมีระดับการวัดเป็น Interval scale
2. เพื่อทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
3.ไม่สามารถบอกได้ว่าตัวใดเป็นเหตุหรือตัวใดเป็นผลทราบแต่เพียงความสัมพันธ์ของตัวแปรเท่านั้นและขนาดของความสัมพันธ์
4.ค่า r (Correlation) มีค่าเท่ากับ -1,0,1 โดยที่
4.1 ค่าที่ใกล้ 0 แสดงว่าไม่มีความสัมพันธ์กัน
4.2ค่าที่ใกล้ 1 และมีค่าเป็นลบแสดงว่ามีความสัมพันธ์แต่ในทิศทางตรงกันข้ามกล่าวคือ เมื่อตัวแปรหนึ่งเพิ่มขึ้นจะทำให้อีกตัวหนึ่งลดลง
4.3ค่าที่ใกล้ 1 และมีค่าเป็นบวกแสดงว่ามีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ เมื่อตัวแปรตัวหนึ่งเพิ่มจะทำให้ตัวแปรอีกตัวหนึ่งเพิ่มด้วย

***** การวัดสถิติแบบข้อ 1 และ 2 เรียกว่า สถิติ แบบ Parametric

3.การเปรียบเทียบการกระจายความถี่และหาความสัมพันธ์กรณีที่ตัวแปรที่นำมาเปรียบเทียบทั้งคู่มีระดับการวัดเป็นกลุ่ม เช่น ตาราง 2*2,2*3 2*3 เป็นต้น เรียกว่า ตารางไขว้ –Crosstabulation

การทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรโดยใช้ chi-square

เงื่อนไขในการใช้
1.ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้ต้องเป็นความถี่หรือปรับในรูปความถี่ได้
2.ข้อมูลทั้งตัวแปรอิสระและตัวแปรตามต้องมีระดับการวัดเป็น Interval scale
3.เพื่อทดสอบสมมตืฐานความแตกต่างความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร