9.นโยบายสาธารณะ -กระบวนการนโยบายสาธารณะ, การปฏิรูประบบราชการ, การพัฒนาระบบราชการไทย

โธมัส อาร์. ดาย - นโยบายสาธารณะ หมายถึง Whatever governments choose to do or not to do. อะไรก็ตามที่รัฐบาลตัดสินใจเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำ
อีรา ชาร์คานสกี้ (Ira Sharkansky) นโยบายสาธารณะคือกิจกรรมต่าง ๆ ที่รัฐบาลหรือองค์ของรัฐจัดทำขึ้น

กระบวนการนโยบายสาธารณะ

1. การก่อตัวนโยบาย (Problem Promotion) เกิดจาก
1.1. เมื่อประชาชนส่วนใหญ่ได้รับความเดือดร้อน รัฐบาลก็ต้องกำหนดนโยบายสาธารณะ เช่น ในด้านการเงิน การคลัง การเศรษฐกิจและการส่งออก เพื่อแก้ไขสถานการณ์
1.2 เกิดจากผู้บริหาร เช่น
1) ผู้นำของประเทศกำหนดความต้องการลงมา ถือว่าเป็น Top Down Policy
2) จากนโยบายการหาเสียงของพรรคในช่วงการเลือกตั้งทั่วไป อาจเป็นสิ่งผูกมัดให้กระทำตาม

2. ขั้นกำหนดนโยบาย (Policy Formulation)
ขั้นการกำหนดนโยบาย (Policy Making) ในขั้นตอนจะมาจากการเลือกปัญหามาสู่การตัดสินในเลือกทางเลือกและกำหนดออกมาเป็นนโยบาย
นโยบายนั้นจะมีที่มาจากหลากหลายทำให้เกิดตัวแบบในการกำหนดนโยบายหลายทฤษฎีเช่น
-ทฤษฎีชนชั้นนำ จะมองว่านโยบายมาจากความต้องการของชนชั้นนำ
-ทฤษฎีกลุ่มมองว่านโยบายมาจากการต่อสู้ของกลุ่มต่างๆและกลุ่มที่แข็งแรงที่สุดมักจะถูกกำหนดขึ้นมาเป็นนโยบาย
-ทฤษฎีระบบ มองว่านโยบายเกิดจากความต้องการที่ถูกส่งผ่านไปยังระบบการเมือง และมีการตัดสินใจในกระบวนการทางการเมืองก่อนจะออกมาเป็นโยบาย
-ทฤษฎีสถาบัน มองว่านโยบายมาจากแนวคิดของสถานบันการเมืองต่างๆเช่นรัฐสภา ครม.

          3. ขั้นการพิจารณาอนุมัตินโยบาย (Policy Adoption)
เมื่อรัฐบาลได้ศึกษาในหัวข้อที่ 2 แล้วก็จะเป็นขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติ เป็นการทำงานร่วมกันทั้งฝ่ายรัฐบาล (ครม.) และรัฐสภา เมื่อตกลงได้ว่าความคิดเห็นตรงกันแล้ว ก็ให้มอบหมายนโยบายนั้น ๆไปปฏิบัติต่อไป
การวิเคราะห์นโยบาย คือ การตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยอาจใช้เทคนิคต่าง ๆ เป็นเครื่องมือในการตัดสินมุ่งที่การหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมโดยกำหนดมาเป็นนโยบายที่เป็นรูปธรรมและเป็นระบบที่มาจากการประสานองค์ความรู้ในสาขาต่าง ๆ
องค์ประกอบของการวิเคราะห์นโยบาย   
1. วัตถุประสงค์ - ต้องมีความชัดเจนไม่มากเกิน
2. ทางเลือก -  แนวทางในการดำเนินงาน อาจมีหลายทางเลือกในการบรรลุวัตถุประสงค์
3. ผลกระทบ - ผลที่เกิดจากการเลือก อาจเป็นประโยชน์หรือเสียหาย
4. มาตรฐานหรือบรรทัดฐาน - มาตรฐานของงานที่ตั้งไว้เพื่อเปรียบเทียบวัดผลเพื่อหาทางเลือกที่เหมาะสม
5. ตัวแบบ – กระบวนการที่จะนำทางเลือกที่ตัดสินใจมาดำเนินการ

 

4.การนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) หมายถึงการศึกษาถึงสมรรถนะของระบบราชการในการนำนโยบายไปปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จ ในการนำนโยบายไปปฏิบัติจะมีหลายตัวแบบเช่นกัน เช่นตัวแบบที่นำเสนอโดยแวน มิเตอร์ และแวนฮอร์น บอกว่าการที่นโยบายจะประสบความสำเร็จในการนำไปปฏิบัติต้องประกอบด้วย
-ตัวนโยบายจะต้องมีจุดประสงค์และมาตรฐานของนโยบายที่ชัดเจนมีทรัพยากรที่เพียงพอในการนำไปปฏิบัติ
-การประสานงาน นโยบายที่ประสบความสำเร็จต้องอาศัยการประสานงานที่ดี ทั้งในแง่การประสานงานระหว่างผู้นำนโยบายไปปฏิบัติด้วยกัน
-ทัศนคติของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ

5.การประเมินผลนโยบาย (Policy Evaluation) หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจ การประเมินผลจะทำให้ทราบว่านโยบายนั้นประสบความสำเร็จหรือไม่ หรือก่อนจะนำไปปฏิบัติก็สามารถประเมินผลก่อนได้เช่นกัน เช่นประเมินผลความเป็นไปได้ของนโยบาย เช่นประเมินผลทางการเงิน ประเมินผลกระทบทางด้านสินแวดล้อม ประเมินผลทางการเมือง เป็นต้น

 

 

การปฏิรูประบบราชการ
เป็นนโยบายสาธารณะที่สำคัญ เนื่องจากจะทำให้การดำเนินง่านของภาครัฐมีประสิทธิภาพสามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายและเปลี่ยนแปลงพลวัตรของสังคมปัจจุบัน รวมทั้งการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

การปฏิรูประบบราชการมีเป้าหมายสำคัญร่วมกัน คือ การปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบราชการลดภาระค่าใช้จ่ายของภาครัฐ และปรับปรุงการตรวจสอบการทำงาน ของภาครัฐ โดย กพ.ได้วางแนวทางในการปฏิรูประบบราชการ ประกอบด้วย
1.การปรับเปลี่ยนบทบาทภารกิจ และวิธีบริหารงานภาครัฐ เป็นเรื่องของการทบทวนบทบาทและภารกิจของรัฐให้เหลือเท่าที่จำเป็นโดยใช้เอกชนและประชาชนมีบทบาทมากขึ้น
2.การปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณ การเงิน และการพัสดุเป็นเรื่องการพัฒนาระบบการจัดทำงบประมาณรายจ่าย เป็นงบแบบมุ่งเน้นผลงานและผลลัพธ์
3.การปรับเปลี่ยนระบบบริหารบุคคลจะมีการปรับเปลี่ยนระบบการกำหนดตำแหน่งและเงินเดือนจากระบบการยึดชั้น หรือระดับตำแหน่ง เป็นการยึดความสามารถและผลงานพัฒนารูปแบบการจ้างงานให้มีความหลากหลาย
4.การปรับเปลี่ยนกฎหมายจะมีการพัฒนารูปแบบการจัดทำกฎหมายไปจนถึงการตราและการออกกฎหมายให้มีความรวดเร็วให้กฎหมายมีลักษณะที่เข้าใจได้ง่ายใช้ได้นานไม่ล้าสมัยเร็วและจะทบทวนกฎหมายที่มีอยู่ให้เหมาะสม
5.การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและค่านิยมมุ่งที่การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงาน ทัศนคติของเจ้าหน้าที่ของรัฐจากความคิดความเชื่อเดิม ๆ ไปสู่จรรยาบรรณวิชาชีพที่เน้นการทำงาน เพื่อประชาชนและป้องกันการทุจริตมิชอบ

 

การพัฒนาระบบราชการไทย
การปฏิรูประบบราชการไทย ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันมีเป้าหมายเชิงนวัตกรรมคือ พยายามเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และกลยุทธ์การบริหารองค์กรราชการในเชิงการบริหารธุรกิจ มีการสร้างธรรมาภิบาลเป็นวัฒนธรรมองค์กรราชการตัวใหม่

Good Governance

  1. มีประสิทธิภาพ คุ้มค่าเงิน
  2. มีประสิทธิผล คุณภาพ พร้อมให้ตรวจสอบ
  3. การมีส่วนร่วม
  4. ความโปร่งใส
  5. ความรับผิดชอบ

การกระจายอำนาจ / หลักแห่งกฎหมาย