ตำรับยาสมุนไพรไทย


ยาไทยโบราณซึ่งเป็นยาของหลวงประกาศเป็นยาสามัญประจำบ้าน
เมื่อ พ.ศ. 2498
คณะกรรมการควบคุมการขายยา ได้มองเห็นคุณค่าของยาสมุนไพรไทยโบราณที่ใช้ได้ผลมาแล้ว สมควรอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเป็นยาสามัญประจำบ้านได้ ทั้งนี้ ตามประกาศยาสามัญประจำบ้านได้ ทั้งนี้ ตามประกาศยาสามัญประจำบ้าน ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2498 ออกตามความใน พระราชบัญญัติการขายยา พ.ศ. 2493 ข้อ 34
ลงความเห็นมีคติว่า ยาที่มีชื่อดังต่อไปนี้ รวม 16 ขนาน ซึ่งได้ปรุงขึ้นตามตำราที่กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศเอาไว้ในราชกิจจานุเบกษาให้เป็นยาสามัญประจำบ้าน คือ
1. ยามหานิลแท่งทอง
2. ยาเทพมงคล
3. ยาเหลืองปิดสมุทร์
4. ยาประสะกะเพรา
5. ยาเขียวหอม
6. ยาอัมฤควาที
7. ยาประสะสะแว้ง
8. ยาตรีหอม
9. ยาจันทลีลา
10. ยาประสะจันทน์แดง
11. ยาหอมอินทจักร์
12. ยาหอมเนาวโกฐ
13. ยาวิสัมพยาใหญ่
14. ยาประสะไพร
15. ยาธาตุบรรจบ
16. ยาประสะกานพลู
มีข้อกำหนดว่ายาทั้ง 16 ขนานนี้ จะต้องตั้งชื่อและใช้วัตถุส่วนประกอบทั้งมีปริมาณการผสม รวมตลอดทั้งคำอธิบายของ พระยาพิศณุประศาสตร์เวช และตำราแพทยสาตร์สงเคราะห์ ฉบับหลวงทุกประการด้วย ดังมีตำรายาและละขนานดังต่อไปนี้
1. ยามหานิลแท่งทอง
วัตถุส่วนประกอบ
เมล็ดมะกอก ขมิ้นอ้อย รากมะไฟ รากกระท้อน รากมะปรางหวาน รากละหุ่งแดง รากลำโพงกาสลัก ไม้สัก ยาทั้งนี้เผาเป็นถ่าน ใบทองหลางใบมน ลูกประคำดีควายคั่ว เอาหนักสิ่งละ 1 ส่วน (เสมอภาค)
วิธีทำและขนาดรับประทาน
บดเป็นผงผสมน้ำดอกมะลิ ปั้นเม็ด ปิดทองคำเปลวหนักเม็ดละประมาณครึ่งกรัม รับประทานได้ทุกเวลา ครั้งละ 1 เม็ด
สรรพคุณ
แก้ตัวร้อน ร้อนในกระหายน้ำ ละลายน้ำสุกหรือน้ำดอกมะลิแก้พิษหัด และพิษสุกใส ละลายน้ำรากผักซีต้มทาสมานปากเปื่อย ใช้เบญกานีฝนแทรก เกลื่อนฝีละลายน้ำสุราแทรกพิมเสน

หน้าต่อไป

 Copyright  © www. klaibann.com.All rights reserved

1
Hosted by www.Geocities.ws

1