ซิลิกอน คอนโทรล เร็กติไฟเออร์ ( SCR )



             ซิลิกอน คอนโทรล เร็กติไฟเออร์ ( SILICON CONTROL RECTIFIER ) หรือนิยมเรียกสั้น ๆ ว่า เอสซีอาร์ ( SCR ) เป็นอุปกรณ์ประเภทสารกึ่งตัวนำเช่นเดียวกับไดโอดและทรานซิสเตอร์ แต่จะมีโครงสร้างของสารกึ่งตัวนำต่อชนกันถัง 4 ตอน
             SCR ถูกแนะนำให้รู้จักครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2499 โดยห้องปฏิบัติการทดลองของบริษัท เบลล์ เทเลโฟน ( Bell Telephone Laboratories )

 

สัญลักษณ์และโครงสร้างของ SCR

             SCR เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำจำพวกไทริสเตอร์ จะมีโครงสร้างประกอบด้วยสารกึ่งตัวนำชนิด P และชนิด N ต่อชนกันทั้งหมด 4 ตอน มีขาต่อออกมาใช้งาน 3 ขา คือ ขาแอโนด ( Anode ) ขาแคโถด ( Cathode ) และขาเกท (Gate ) ดังรูปที่ 4
 
 
 

การจ่ายไบอัสให้ SCR ทำงาน

 
             การจ่ายไบอัสให้ตัว SCR ทำงาน จะต้องจ่ายไบอัสตรงให้ขาทุกขาของ SCR คือ จ่ายบวกให้ขา A และจ่ายลบให้ขา K เรียกแรงดันนี้ว่า Vaa อีกส่วนหนึ่ง จ่ายบวกให้ขา G และจ่ายลบให้ขา K เรียกแรงดันนี้ว่า Vgg
 
 
SCR ที่นำกระแสแล้วจะทำให้ SCR หยุดนำกระแส ทำได้ 2 วิธี คือ
             1. ตัดแหล่งจ่ายแรงดัน ( Vaa ) ที่ป้อนให้ขา A และขา K ของ SCR ออกชั่วขณะ
             2. ลดแรงดันไบอัสที่จ่ายให้ขา K จนทำให้มีกระแสไหลผ่านตัว SCR ต่ำกว่าค่ากระแสโฮลดิ้ง ( Holding Current ) ( กระแสโฮลดิ้ง คือ ค่ากระแสต่ำสุดที่ไหลผ่านตัว SCR แล้ว SCR ยังคงนำกระแสได้
 
 

กร๊าฟคุณสมบัติของ SCR

 
             การนำกระแสหรือการทำงานของ SCR นั้น จะขึ้นอยู่กับการจ่ายแรงดันไบอัสให้ที่ขา A และ K คือ A เป็นบวก K เป็นลบ มีแรงดันกระตุ้น G SCR จึงจะนำกระแสเกิดการทำงาน วิธีการนี้ถือว่าเป็นวิธีการที่นิยมใช้ในการควบคุมการทำงานของ SCR และเป็นวิธีการที่เหมาะสมในการใช้งาน ถ้าจ่ายแรงดันผิด SCR อาจจะไม่นำกระแส หรืออาจจะชำรุดได้
 
 
 
 

การรีเซต SCR

 
             SCR ไม่สามารถจะ turn off โดยการเอากระแสเกตออกได้ ทางเดียวที่จะทำให้ turn off คือลดกระแสแอโนดให้ต่ำกว่าค่ากระแส holding เมื่อ SCR แลทช์มี 2 วิธีที่จะทำได้คือ (1) รบกวนกระแสแอโนด หรือ (2) ใช้การบังคับการติดต่อ รูปที่ 8 SCR สามารถจะ reset โดยการเปิดปุ่มที่อนุกรม หรือปิดปุ่มที่ขนานกับ SCR ตามวิธีที่กล่าวกระแสแอโนดจะถูกบังคับให้ลดลงต่ำกว่ากระแส holding และSCR ก็จะ turn off ส่วนการบังคับการติดต่อนั้นทำโดยการใช้ค่าโวลท์เป็นกลับขั้วให้กับ SCR ซึ่งจะไปขัดขวางกระแสแอโนด ทำให้มีค่าลดลงต่ำกว่ากระแส holding
 
 
 
 

การนำ SCR ไปใช้งาน

 
             SCR จะนำกระแสได้เพียงทางเดียว แต่สามารถนำไปใช้งานได้ทั้งกับแรงดันไฟตรง และแรงดันไฟสลับ เมื่อนำไปใช้กับไฟตรง จะทำหน้าที่เป็นสวิตช์ เมื่อนำไปใช้กับแรงดันไฟสลับ จะทำหน้าที่เป็นวงจรเร็กติไฟเออร์ และเป็นเร็กติไฟเออร์ที่สามารถควบคุมการ เร็กติไฟเออร์ในช่วงเวลาที่นำกระแสต่างกันได้ สามารถนำประยุกต์ใช้งานได้กับวงจรต่าง ๆ มากมาย เช่น วงจรไบสเตเบิล วงจรแจ้งเหตุ เป็นต้น
 
 
 
Semiconductor.com
[email protected]
Hosted by www.Geocities.ws

1