สารกึ่งตัวนำชนิด P



             ถ้าเราเติมสารที่มีวาเลนซ์อิเลคตรอน 3 ตัว เช่น โบรอน อลูมิเนียม แกลเลี่ยม ฯลฯ โครงสร้างของผลึกของสารกึ่งตัวนำที่ได้ จะมีโฮล เกิดขึ้นที่ทุก ๆ อะตอมของสารเจือปน ดังนั้นโฮลจึงมีจำนวนมากกว่าอิเลคตรอนอิสระที่มีอยู่ในเนื้อสาร และเราเรียกสารกึ่งตัวนำที่มีการโด๊ป แบบนี้ว่า สารกึ่วตัวนำชนิด P ( P-type semiconductor ) ในที่นี้ P มาจากคำว่า Positive ซึ่งหมายถึงโฮล
             โฮล คือ ที่ว่างที่เกิดขึ้นที่บอนด์ระหว่างอะตอมของสารเจือปนกับอะตอมของซิลิกอน หรือ เยอรมันเนียม ถ้าอิเลคตรอนตัวที่อยู่ ข้างเคียงกับโฮลได้รับพลังงานเพิ่มอีกเพียงเล็กน้อย ก็สามารถข้ามเข้ามาแทนที่ในโฮลเพื่อให้สภาวะของอะตอมอยุ่ในสภาพสมดุลย์ เราสมมุติให้โฮล มีค่าระดับพลังงานค่าหนึ่ง ที่อยู่ใกล้กับพลังงานในแถบวาเลนซ์ อิเลคตรอนที่อยู่ในบอนด์ซึ่งมีพลังงานอยู่ในแถบวาเลนด์ สามารถกระโดดข้ามมา ที่ระดับพลังงานของโฮลเพื่อเข้ามาแทนที่โฮลในบอนด์ได้ง่าย เราเรียกว่าค่าระดับพลังงานของโฮลนี้ว่า ระดับพลังงานผู้รับ
 
 
 

Semiconductor.com
[email protected]
Hosted by www.Geocities.ws

1