Benchmarking

Benchmarking เป็นการเปรียบเทียบกระบวนการ สินค้าและบริการ และกิจกรรมต่างๆขององค์การ ที่มีแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศว่าองค์

การเหล่านั้นมีวิธีการอย่างไร และนำมาประยุกต์ใช้ในองค์การของตนให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมการทำงานขององค์การ

รูปแบบของ Benchmarking แบ่งออกได้ 4 กลุ่มคือ

   1. Competitive Benchmarking เป็นการเปรียบเทียบกับองค์การที่เป็นคู่แข่งขันกันโดยตรง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบกับองค์การที่อยู่ตลาดหรืออุตสาหกรรมเดียวกัน ที่มีสินค้าหรือกระบวนการในการทำงานที่แข่งขันกันโดยตรง

    2. Functional Benchmarking การเปรียบเทียบในลักษณะนี้องค์การที่ต้องทำมาตรฐานเเปรียบเทียบจะติดต่อกับองค์กรเป้าหมาย ที่เป็นที่หนึ่งในแต่ละอุตสาหกรรม และขอความร่วมมือในการแบ่งปันความรู้กับทีมงานของตนที่เข้าไปทำมาตรฐานเปรียบเทียบ องค์การเป้าหมายมักจะไม่ใช่องค์การที่เป็นคู่แข่งขันกันโดยตรง จึงมักจะไม่เกิดปัญหาในเรื่องความลับ เพื่อมาสร้างกระบวนการ หรือวิธีการให้มีผลงานได้เท่าเทียมกัน

   3. Internal Benchmarking เป็นการเปรียบเทียบกับหน่วยงานต่างๆภายในองค์การ วิธีการนี้เป็นที่นิยมขององค์การขนาดใหญ่ เพื่อกระจายข้อมูลหรือความรู้เหล่านั้นไปยังกลุ่ม หรือหน่วยงานอื่นๆ ภายในองค์การ และยังเป็นวิธีที่ประหยัดและง่ายที่สุด

    4. Generic Benchmarking เป็นการเปรียบเทียบทั่วไปแม้จะต่างกิจกรรม หรือต่างอุตสาหกรรมก็ตาม

ประโยชน์ของ Benchmarking

   1. การกำหนดช่องว่างระหว่างผลการปฏิบัติงานขององค์การกับองค์การอื่น และต้องการเปลี่ยนแปลงในเชิงสร้างสรรค์

    2. การรวบรวมวิธีการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศเข้าสู่องค์การ

    3. การนำไปสู่วิธีการปฏิบัติงานในรูปแบบใหม่ ที่สามารถส่งเสริมให้องค์การมีผลปฏิบัติการที่ดีขึ้น และมีอัตราความเสี่ยงลดลงจาการลองผิดลองถูก

    4. ส่งเสริมการปฏิบัติงานภายในองค์การให้ดีขึ้น

    5. นำไปสู่การวางแผนเชิงกลยุทธ์ร่วมกัน และการสร้างความร่วมมือที่จะพยายามให้องค์การมีการพัฒนาที่ดีขึ้น

    6. องค์การสามารถสร้างจุดแข็ง เช่นเดียวกับข้อด้อยขององค์การที่ได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้น

    7. การสร้างความร่วมมือทั้งในระดับบุคคลและภาระหน้าที่ของพนักงานภายในองค์การที่ต้องการจะปรับปรุงแก้ไขให้องค์การพัฒนาไปสู่ระดับสากล

 

ไปเมนูหลัก    กลับสู่การบริหารเชิงกลยุทธ์

 

Hosted by www.Geocities.ws

1