Balanced Scorecard      

The Balanced Scorecard 
     - คือ ระบบการจัดการ
     - มาตรการอย่างเดียวไม่พอสำหรับการปรับปรุงทางการทำงาน
     - พัฒนาเป็นระบบการประเมิน
      

       Balanced Scorecard เป็นแนวคิดของ Robert S. Kaplan และ David P. Norton ได้เสนอแนวคิด ในการวัดผลของกิจการที่จะทำให้ผู้บริหารระดับสูงเห็นภาพรวมของธุรกิจได้ชัดเจนขึ้น ให้ได้ภาพรวมขององค์การอย่างสมดุลขึ้น โดยการวัดผลนอกจากการวัดทางด้านการเงินที่เป็นผลของการดำเนินงานที่เกิดขึ้นมาแล้ว ต้องมีการวัดผลด้านกระบวนการบริหารงาน การสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้า ตลอดจนสร้างนวัตกรรมและการเรียนรู้ให้แก่องค์การเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการสร้างอนาคตให้แก่องค์การด้วย ด้วยแนวคิดนี้ผู้บริหารสามารถประเมินศักยภาพโดยรวมขององค์การและความสามารถในการแข่งขันและอนาคตขององค์การนั้นๆได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ขอบเขตหรือองค์ประกอบในการวัดผลตามแนวคิดของ Balanced Scorecard
      ภายใต้มุมมองแต่ละด้านนั้นจะประกอบด้วยประเด็นต่างๆดังนี้
       (1)  วัตถุประสงค์ (objective) เพื่อเป็นการกำนดวัตถุประสงค์ของแต่ละมุมมองที่ต้องการจะชี้วัด
       (2)  ตัวชี้วัด (Performance Indication) คือ ตัวชี้วัดนั้นจะแสดงให้เห็นว่าองค์กร ได้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ในแต่ละด้านหรือไม่
       (3)  เป้าหมาย (Target ) คือ เป้าหมายหรือค่าตัวเลขที่ตั้งไว้ เพื่อให้องค์กรบรรลุถึงค่านั้นๆ
       (4)  แผนงาน โครงการที่ตั้งใจ (Initiatives) คือ แผนการปฏิบัติงานที่มีการลำดับเป็นขั้นๆ ในการจัดทำกิจกรรม
     โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ
      1. ทางด้านการเงิน
          เป็นการมุ่งวัดผลประกอบทางการเงิน เพื่อตอบสนองความต้องการของเจ้าของหรือผู้ลงทุนเป็นสำคัญ เช่น ความสามารถในการทำกำไรของกิจการ การเจริญเติบโตของสินทรัพย์ ผลกำไร ยอดขาย สภาพคล่องของกิจการ หรือมูลค่าสุทธิของผู้ถือหุ้น ซึ่งจะดูได้จาก
         -  ลดต้นทุน       
         -  การเพิ่มคุณภาพในการผลิต
         -  การใช้สินทรัพย์ให้เป็นประโยชน์มากขึ้น
      2. ทางด้านมุมมองของลูกค้า หรือความพอใจของลูกค้า
          ลูกค้าคือใคร
          -  ลูกค้าต้องการอะไร(อาจแบ่งตามอายุ อาชีพ หรือ รายได้) 
          การเป็นผู้นำด้านสินค้าและบริการ(Product/Services Leadership)
          การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด (Operation Efficiency)
          ความสัมพันธ์กับลูกค้า (Customer Relationship)
      3.  ทางด้านกระบวนการบริหารภายในขององค์การ
         -  กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบ ในการจัดเก็บ การบริหารวัตถุดิบในคลังสินค้า
         -  กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงวัตถุดิบให้ออกมาเป็นสินค้า
         -  กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดจำหน่ายสินค้ารวมถึงบริการไปยังผู้บริโภค
         -  การให้บริการหลังการขาย เช่นการอบรมการใช้สินค้า การติดตั้ง หรือ การซ่อมบำรุง
      4.  มุมมองด้านการเรียนรู้และพัฒนาบุคคลขององค์กร
         บุคคลากร
          -  ทักษะความสามารถ
          -  ทัศนคติของพนักงาน
          -  การ turnover
         ระบบข้อมูลสารสนเทศ
         แรงจูงใจ

ประโยชน์และความสำคัญของ    Balanced Scorecard

        1.  ช่วยทำให้วิสัยทัศน์ ภารกิจ และกลยุทธ์ของององค์การมีความชัดเจน และสามารถแปรไปสู่แนวทางดำเนินการต่างๆ ที่ชัดเจนเป็นที่เข้าใจร่วมกันได้
        2. ทำให้เกิดการสื่อสารวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ และเชื่อมโยงกับมาตรการที่จะใช้วัดผลได้ชัดเจน
        3.  ทำให้เกิดการวงแผนและการกำหนดเป้าหมาย และสร้างสรรค์กิจกรรมเชิงกลยุทธ์ในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งกิจกรรมที่จะใช้วัดผล หรือ ตัวชี้วัดสำคัญ  ด้วย ทั้งมาตรการที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินด้วย
        4. ทำให้เกิดการย้อนกลับและการเรียนรู้ให้ผู้บริหาร นอกจากเพื่อให้ทราบว่าได้มีการปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์ที่ได้วางไว้หรือไม่ และผลเป็นอย่างไรแล้ว ระบบนี้ยังช่วยให้ข้อมูลเพื่อให้ทราบว่ากลยุทธ์ที่ได้วางไว้นั้นยังคงเป็นกลยุทธ์ที่จะประสบความสำเร็จและทำให้องค์การอยู่รอดได้ต่อไปได้หรือไม่
 
 

ที่มา  เอกสารการบรรยาย วิชา รอ.701 การจัดการปฏิบัติการ

   ผศ.ดร. อัญชนา ณ ระนอง

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์   

ไปเมนูหลัก    กลับสู่การบริหารเชิงกลยุทธ์

 

Hosted by www.Geocities.ws

1