เคเรสึ (kerisu)

              เคเรสึ (kerisu) คือ รูปแบบขององค์การธุรกิจแบบเครือข่ายของญี่ปุ่น ซึ่งอาศัยแนวคิดเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างองค์การ (inter organizational relations) และเป็นที่นิยมในองค์การขนาดใหญ่ เช่น กลุ่มเคเรสึ มิตซูบิชิ มิตซุย ซูมิโตโม ฟูโย ซันวา ดีเคบี เป็นต้น

             ลักษณะที่สำคัญของเคเรสึ
            1)  เครือข่ายพันธมิตร เคเรสึ คือ องค์การที่เป็นพันธมิตรกันโดยมีความสัมพันธ์คุ้นเคยกันซึ่งจะสนับสนุนการแลกเปลี่ยนในสิ่งที่ต้องการ และสามาถสร้างเครือข่ายเพิ่มเติม โดยแต่ละองค์การจะมีลูกข่าย(บริษัทในเครือ) ที่มาช่วยในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพิ่มเติมได้          
           2)  ความสัมพันธ์ไม่เป็นทางการ ความสัมพันธ์ระหว่างองค์การในกลุ่มมีการพัฒนามาเป็นเวลานานพอสมควร จึงมีลักษณะไม่เป็นทางการ แต่มีความผูกพันอย่างแน่นแฟ้น เนื่องจากเป็นลักษณะความผูกพันที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติทำให้มีปฏิสัมพันธ์ที่มีความไว้วางใจกัน จึงลดต้นทุนในการติดต่อแลกเปลี่ยนเพราะไม่มีความจำเป็นในการอาศัยข้อตกลงหรือใช้สัญญาต่างๆทางกฎหมาย การสร้างพันธมิตรระหว่างองค์การนี้จะผสมผสานกับสัญลักษณ์ ซึ่งมีรากฐานมาจากวัฒนธรรม พันธกิจ วัตถุประสงค์ร่วมกันขององค์การ ทำให้ข้อตกลงทางกฎหมายมีความจำเป็นน้อยลง
           3)  มีการถือหุ้นข้ามบริษัท ความสัมพันธ์ระหว่างภายในสมาชิกองค์การเคเรสึ มีความสลับซับซ้อนสูง  โดยมีการลงทุนซื้อหุ้นขององค์การอื่นที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน (cross-shareholding) ตามกฎหมายด้านพาณิชย์ มาตราที่ 280 ของญี่ปุ่นมีการป้องกันการถูกคุกคามจากบริษัทต่างประเทศ บริษัทจึงสามารถให้ผู้ถือหุ้นที่เป็นมิตร (ผู้ที่จะไม่ยอมขายหุ้นต่อต่างชาติ) สามารถถือหุ้นได้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงเป็นการยากที่บริษัทข้ามชาติจะซื้อกิจการของบริษัทได้
                นอกจากนี้ยังมีการส่งผู้บริหารขององค์การหนึ่งในเครือข่ายไปเป็นผู้บริหารขององค์การอื่นด้วย (interlocking shares) การจัดการลักษณธเช่นนี้ทำให้มีข้อได้เปรียบเพราะทำให้องค์การในเครือข่ายมีผลประโยชน์ร่วมกัน และเป็นการติดตามการดำเนินงานของบริษัทในเครือด้วย
           4)  เครือข่ายของเคเรสึมีความหลากหลายของประเภทอุตสาหกรรม (wind rage of industries) เช่น ธนาคาร ประกันชีวิต เหล็ก การค้า โรงงาน ไฟฟ้า เคมี เป็นต้น กระทั่งมีสโลแกนกล่าว่าการรวมตัวของเคเรสึมีตั้งแต่ "เส้นบะหมี่จะถึงอะตอมบิคบอมน์" อย่างไรก็ตามกลุ่มเคเรสึจะพยายามหลีกเลี่ยงการแข่งขันระหว่างบริษัทที่เป็นสมาชิก โดยใช้หลัก "หนึ่งธุรกิจหนึ่งบริษัท" (one-set of principle) เช่น ถ้าในเครเรสึมีกิจการประกอบรถยนต์ยี่ห้อใดอยู่แล้ว เช่น นิสสัน เคเรสึจะไม่รับบริษัทยี่ห้ออื่นมาเป็นสมาชิก เช่น โตโยต้า หรือ ฮอนด้า
           5)  ในกลุ่มบริษัทเคเรสึหนึ่งๆอาจมีการหมุนเวียนหรือโยกย้ายพนักงานข้ามบริษัทในเครือข่ายเดียวกัน ซึ่งทำให้การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ประสบการณ์ภายในเคเรสึด้วย

     รูปแบบของเคเรสึ

เคเรสึ มีรูปแบบพื้นฐาน 2 แบบ คือ

          1)    เคเรสึด้านเงินทุน (capita Keiretsu) จะใช้สำหรับเชื่อมโยงปัจจัยการนำเข้าและผลผลิต คือ มีการควบคุมการผลิต บริการ ตลาด จากโรงงานถึงลูกค้า
          2)     เคเรสึด้านการเงิน (financial Keiretsu) เป็นเครือข่ายที่มีธนาคารใหญ่อยู่ตรงกลาง สมาชิกทีสำคัญของเคเรสึด้านเงินทุน จะมาจากบริษัทต่างๆ ร่วมเป็นกรรมการบริหารธนาคาร และขณะเดียวกันก็เป็นกรรมการบริษัทอื่นๆด้วย
         

         ตัวอย่าง Fuyo Keiretsu ซึ่งมีธนาคารฟูจิอยู่ตรงกลาง องค์การที่เป็นสมาชิกประกอบด้วย นิสสัน, ฮิตาชิ, แคนนอน ฯลฯ ผู้อำนวยการของธนาคารฟูจิจะเชื่มโยงกับ สมาชิกที่มีบทบาทสำคัญ นอกจากนี้บริษัทในเครือข่ายแต่ละแห่งก็จะมีบริษัทย่อยด้วย

           

ที่มา : ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่

ผศ.ดร. ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ไปเมนูหลัก    กลับสู่การบริหารเชิงกลยุทธ์

 

Hosted by www.Geocities.ws

1