วิธีการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ

   

     วิธีการในการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศนั้น ผู้บริหารสามารถเลือกได้โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านการควบคุมเหนือกิจกรรมงานในธุรกิจต่างประเทศนั้นว่า ต้องควบคุมมากน้อยแค่ไหน ระดับและรูปแบบความเป็นเจ้าของกิจการ แรงกดดันด้านต้นทุน และปัจจัยเรื่องความสามารถหลัก (Core Competency) ที่องค์การต้องควบคุมหรือรักษาไว้เป็นความลับ
    1.  การส่งออก (Exporting)
       การส่งออกมักจะเป็นวิธีเริ่มต้นของผ็ประกอบการธุรกิจในต่างประเทศ แต่วิธีนี้จะมีข้อด้อยคือ มีค่าขนส่งสูงและอาจถูกกีดกันทางการค้าจากประเทศผู้นำเข้า รวมทั้งอาจเป็นปัญหาที่ตัวแทนจำหน่ายไม่ได้ดูแลสินค้าได้อย่างกิจการต้องการ
     2.  การให้สิทธิบัตร (Licensing)
       เป็นกรณีที่ผู้ประกอบการ ขายสิทธิให้แก่ผู้ผลิตในตลาดท้องถิ่น ทำการผลิตสินค้าตามรูปแบบและข้อกำหนดของเจ้าของสิทธิบัตร โดยต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้แก่เจ้าของสิทธิในเรื่องต่างๆตามที่ตกลง วิธีการนี้ เจ้าของสิทธิจะลดความเสี่ยงในการลงทุนและการบุกตลาดลงได้ แต่มีความเสี่ยงที่ผู้รับสิทธิอาจทำการลอกเลียนแบบ แล้วไปผลิตสินค้าที่คล้ายคลึงได้
      3. การให้สัมปทาน (Franchising)
      แนวคิดนี้จะคล้ายคลึงกับการให้สิทธิบัตร แต่การให้สัมปทานจะมีการควบคุมที่เข้มงวดมากกว่าเพราะการให้สัมปทานมักใช้กรณีอุตสาหกรรทการให้บริการ เช่น โรงแรม ภัตตาคาร ร้านอาหาร ซ่อมรถยนต์ เป็นต้นซึ่งถ้าผู้รับสัมปทานไม่บริหารจัดการให้ดีแล้ว ชื่อเสียงของผู้ให้สัมปทานก็จะเสียหายไปด้วย
     4. การ่วมทุน ( Joint Venture)
      เป็นรูปแบบหนึ่งของการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ โดยการหาผู้ร่วมทุน หรือหุ้นส่วนที่เป็นคนในท้องถิ่น วิธีนี้จะได้ผลดี ถ้าระบุข้อตกลงหรือสัญญาระบุเงื่อนไขและแนวปฏิบัติต่างๆ ให้ชัดเจนตั้งแต่ตอนเริ่มงานกัน มิฉะนั้นจะเกิดความขัดแย้ง และความเสี่ยงที่ผู้ร่วมทุนอาจทำการลอกเลียนแบบแล้วไปผลิตสินค้าที่คล้ายคลึงมาแข่ง
     5. การซื้อหรือครอบครองกิจการ (Take over and acquisition)
       ผู้ประกอบการอาจใช้วิธีซื้อกิจการทำนองเดียวกันกับของตน เป็นกิจการในตลาดประเทศเพื่อใช้เป็นช่องทางในการขยายธุรกิจต่อไป
     6. การตั้งบริษัทย่อยในต่างประเทศ (Wholly Owned Subsidiary)
       วิธีการนี้ผู้ประกอบการสามารถควบคุมกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นได้ เนื่องจากเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด แต่ก็เป็นภาระทางการเงินและยังต้องรับภาระความเสี่ยงต่างๆด้วยตนเองทั้งหมดด้วย แต่ก็รักษาความลับทางการค้าไว้ได้ และไม่ต้องแบ่งผลกำไรกับใคร
 

 

ที่มา : การบริหารเชิงกลยุทธ์ แนวคิดและทฤษฎี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุพานี สฤษฎ์วานิช

คณะ พาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์

ไปเมนูหลัก    กลับสู่การบริหารเชิงกลยุทธ์

 

Hosted by www.Geocities.ws

1