สถานีฐานระบบโทรศัพท์มือถือ


หน้าแรก
BBUและRRU
สายล่อฟ้าและตัวล่อฟ้า
พิกัดที่ตั้งเสาสัญญาณ True กศน.
ผู้จัดทำ

คือ ที่ตั้งอุปกรณ์สำหรับรับ-ส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ประกอบด้วย

เสาส่งสัญญาณมือมือแบ่งได้ 4 ชนิดอันได้แก่

         1.เสาโทรคมนาคมแบบ Self Support

         รูปแบบของเสาโทรคมนาคมประเภทนี้เป็นเสาสูง มีฐานที่กว้างใหญ่ รองรับอุปกรณ์ทุกขนาดได้ดี นิยมใช้ในไทย มีความสูง 30 -120 เมตร มีหลายแบบตามการใช้งาน มีทั้ง 3 ขา 4 ขา มีบันไดให้ปีนด้านในเสา มีแพรตฟอร์มให้พักเป็นระยะ มีความแข็งแรงมั่นคงมาก โดยถูก ออกแบบให้ตั้งยืนได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องมีสายยึดโยงกับโครงเสากับ พื้นที่ติดตั้ง จึงมีความเหมาะสมสำหรับการติดตั้งเสาโทรคมนาคมบน บริเวณที่มีพื้นที่จำกัดตั้งอยู่บนพื้นดินแนวราบ เสาโทรคมนาคมแบบนี้ ต้องสามารถยืนได้อย่างนิ่งและมั่นคง เพื่อรองรับแรงลมพายุ และ สามารถรับน้ าหนักอุปกรณ์ส่งสัญญาณได้มากกว่าเสาโทรคมนาคมคม รูปแบบอื่นๆ ซึ่งจะทำให้การรับและส่งสัญญาณโทรคมนาคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ



         2.เสาโทรคมนาคมแบบ Guyed Tower

         รูปแบบของเสาโทรคมนาคมประเภทนี้เป็นโครงเหล็กที่เชื่อมชิ้นส่วนเหล็กให้เป็นโครงเสาถูกออกแบบมาให้เป็นงานเสาที่ต้องมีสลิงโยงไว้ 3 ด้านยึดโครงเหล็กกับฐานรากอีกทอดหนึ่งเพื่อ ทำหน้าที่ช่วยรับแรงลมดังนั้นเสาโทรคมนาคมแบบ Guyed Tower จึงจำเป็นต้องใช้พื้นที่บริเวณกว้างสำหรับการติดตั้ง ซึ่ง Guyed Tower เป็นเสาสูง ซึ่งอาจจะมีความสูงตั้งแต่ 30 เมตร ถึง 60 เมตรที่ตั้งบนพื้นดินแนวราบ



         3.เสาโทรคมนาคมแบบ Guyed Mast

         รูปแบบของเสาโทรคมนาคมประเภทนี้เป็นโครงเหล็กที่เชื่อมชิ้นส่วนเหล็กให้เป็นโครงเสาถูกออกแบบมาให้เป็นงานเสาที่ต้องมีสลิงยึดโยงไว้ 3 ด้านยึดโยงโครงเหล็กกับฐานรากอีกทอดหนึ่งเหมือนกับ Guyed Tower เสาโทรคมนาคม แบบ Guyed Tower จึงจำเป็นต้องใช้พื้นที่บริเวณกว้างสำหรับการติดตั้งเช่นกันแต่ Guyed Mast จะติดตั้ง บนชั้นดาดฟ้าของอาคารแทน มีความสูงตั้งแต่ 30 เมตร ถึง 60 เมตร



         4.เสาโทรคมนาคมแบบ Pole

         รูปแบบของเสาโทรคมนาคมประเภทนี้ได้ถูกออกแบบมาให้มี เสาหลักที่มีแกนเดียว มีขนาดเล็ก มีลักษณะเสาเป็นแบบ 3 ขา กางออกติดกับพื้น ซึ่งสามารถติดตั้งในบริเวณที่มีพื้นที่จำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิยมใช้บนชั้นดาดฟ้าของอาคารในชุมชนเมือง เนื่องจากสามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็วกว่าเสา โทรคมนาคมประเภทอื่นๆ ทั้งนี้ การเลือกใช้รูปแบบของเสา ประเภทนี้ต้องคำนึงถึงความสูงของอาคารที่ติดตั้งและ ทิศทางการติดตั้งของเสาอากาศเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการรับส่งสัญญาณ ซึ่งโดยปกติเสาอากาศสามารถรับส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ในระดับความสูงประมาณ 20 เมตร จากระดับพื้นดินโดยไม่มีสิ่งกีดขวางทิศทางของสัญญาณ โทรศัพท์เคลื่อนที่ี โดยมีความสูงตั้งแต่ 3 เมตร ถึง 15 เมตร



         โดยเสาส่งสัญญาณที่ทางคณะผู้จัดทำได้ทำการเก็บรูปตัวอย่างมานั้นเป็นเสาส่งสัญญาณชนิด Self Support