ความผิดปกติของรูปร่างฟัน

      ฟันมนุษย์    มีการสร้างตัวเจริญเติบโตในกระดูกขากรรไกรบนและล่างของมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งมนุษย์มีอายุเข้าเกือบ 10 ปี ในระหว่างการสร้างและเติบโตนี้ เซลอาจแบ่งตัวไม่เป็นปกติ ก่อรูปเป็นฟันที่ผิดรูปได้หลายๆแบบ รวมทั้งอาจไม่ก่อรูปปกติ แต่กลายเป็นเนื้องอกของฟันแทนก็ได้

 ความผิดปกติในการสร้างรูปร่าง มีผลให้ฟันผิดรูปได้หลายลักษณะ เท่าที่พบแล้วมีดังนี้ 

1.ฟันแฝด [ Gemination / Fusion / Concrescene ]

2.ฟันรากบิดโค้ง [ Dilaceration ]

3.ฟันซ้อนตัวในฟัน [ Dens in dente ]

4.ฟันยาว [ Taurodontism ]

5.ยอดฟันขึ้นกลางซี่ [ Den evagination ]

6.ฟันรากเกิน [ supernumerary root ]

7.ฟันสึกกร่อน จากสาเหตุต่างๆ [ Attrition , Abrasion ,Erosion ]

 

 

1.ฟันแฝด

    ฟันแฝด มีหลายลักษณะขึ้นกับหน่ออ่อนของฟันและกระบวนการสร้างฟันในกระดูกขากรรไกร  

      อาจเป็นฟันรากเดียว แต่มี 2 ตัวฟัน [ gemination ] หรืออาจเป็น ฟัน 2 ซี่ที่เชื่อมติดกันกลายเป็นฟันซี่ใหญ่ๆเพียงซี่เดียว  [ Fusion ] หรือเป็นฟันที่มีตัวฟันแยกเป็น 2 ซี่ แต่ราก 2 รากหรือมากกว่าเชื่อมติดกัน [ Concrescene ]

    ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจ กระบวนการสร้างฟันเสียก่อน กล่าวคือ เซลของฟันในกระดูกขากรรไกรจะพัฒนาตนเองสร้างตัวฟันเสียก่อน จากนั้นจะสร้างส่วนรากฟันตามมา ในขณะที่รากฟันสร้างอยู่นั้น ฟันจะดันตัวไปสู่ช่องปากอย่างช้าๆ ตามความยาวรากยาวขึ้นเรื่อยๆ 

    ในระหว่างกระบวนการสร้างตัวฟันหรือรากฟันนี่เอง ที่อาจเกิดภาวะผิดปกติใดๆ ขึ้นก็ได้

    เช่น ในขณะที่กำลังสร้างตัวฟันอยู่นั้น แล้วได้รับผลกระทบจากสาเหตุบางสาเหตุ ที่เรายังไม่รู้ชัด เซลของฟันอาจสร้างตัวฟันเป็น 2 ส่วน แต่ครั้นสร้างรากฟัน กลับสร้างเพียงรากเดียว กรณีเช่นนี้ จะเกิดฟันแฝดแบบรากเดียว 2 ตัวฟัน ที่เรียกว่า gemination

    หรือ หน่ออ่อนของฟัน 2 หน่อ เกิดมาเชื่อมติดกันในระหว่างการสร้างฟัน ฟันที่เจริญขึ้นมาในลักษณะนี้ จะเห็นเป็นฟันแฝดที่มีรูปร่างฟัน 2  ซี่เชื่อมติดกันชัดเจน ฝรั่งเรียกว่า Fusion โดยมีโพรงประสาทฟันและคลองรากฟัน แยกจากกัน สาเหตุที่หน่อฟันมาเชื่อมกันนั้นยังไม่ทราบ

    หรือ ฟัน 2 ซี่ มี่รากฟันยึดติดกัน พบมากในฟันกรามบน สาเหตุอาจมาจากการกระทบกระแทกในระหว่างการงอกของฟัน หรือฟันเบียดกันมาก จนผิวรากฟันชิดติดกันและเชื่อมกันในภายหลัง

2.ฟันรากบิดโค้ง [ Dilaceration ]

    ฟันบางคน อาจมีรากโค้งงอมาก โดยสันนิษฐานว่า ในระหว่างที่มีการสร้างรากฟัน อาจได้รับการกระทบกระแทกรุนแรง จนส่งผลให้รากฟันโค้งงอ หรืออาจมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์  ฟันเช่นนี้หากขึ้นได้ในปากตามปกติ มักไม่มีปัญหาอะไร 

    ปัญหาจะเกิดขึ้นตอนที่ต้องถอนฟันซี่นี้ออก หรือตอนที่ต้องทำการรักษาคลองรากฟัน เพราะจะถอนหรือทำการรักษาได้ยาก

3.ฟันซ้อนตัวในฟัน [ Dens in dente ]

        เป็นฟันซี่เล็กที่ซ้อนตัวอยู่ในฟันซี่ใหญ่อีกทีหนึ่ง มักพบในฟันตัดเล็กหรือฟันตัดข้าง บน ( ดูการเรียกชื่อฟันในกายวิภาคช่องปาก )  ฟันซี่เล็กที่ซ้อนอยู่ภายในฟันซี่ใหญ่ จะมีทั้งเนื้อฟันและโพรงประสาทฟันของตนเอง และง่ายที่จะทะลุจากการบดเคี้ยวอาหารหรือแบคทีเรีย และเจ้าของฟันซี่นั้นจะมีอาการปวดหรือเป็นหนองตามมา ( ดูเรื่องการติดเชื้อของฟัน )

4.ฟันยาว [ Taurodontism ]

       ฟันชนิดนี้จะมีตัวฟันยาวมากกว่าฟันปกติ มีผลให้โพรงประสาทฟันใหญ่และยาวตามด้วย พบในคนใดนั้นก็ขึ้นกับเผ่าพันธ์ เช่น ในพวกเอสกิโม หรือยุโรปกลาง เป็นต้น

5.ยอดฟันขึ้นกลางซี่ [ Den evagination ]

    ฟันลักษณะนี้ จะมียอดฟันปรากฎขึ้นตรงกลางตัวฟัน  ซึ่งปกติยอดฟันจะขึ้นตรงขอบด้านแก้มหรือด้านลิ้น เท่านั้น การที่ยอดฟันขึ้นตรงกลางตัวฟันเช่นนี้ ย่อมต้องรับการบดเคี้ยวจากฟันคู่สบเต็มที่ ปัญหาอยู่ที่ว่า ภายในยอดฟันมีส่วนของโพรงประสาทฟันอยู่ด้วย เมื่อยอดฟันถูกบดจนสึกหมด โพรงประสาทภายในยอดฟันจะทะลุออกมา เชื้อโรคจะเข้าไปและเกิดโรคแก่ฟันซี่นั้น ( ดูเรื่องโรคของฟัน )

6.ฟันรากเกิน [ supernumerary root ]

   ฟันหน้าของมนุษย์จะมีรากเดียว ฟันกรามเล็กจะมี 1-2 ราก ส่วนฟันกรามใหญ่จะมีราก 1-4 ราก  แต่ก็พบว่าในคนบางเผ่าจะมีรากฟันมากกว่าจำนวนปกติ เชน ฟันเขี้ยวมี 2 ราก  ในภาวะปกติที่ฟันยังไม่มีโรค ก็มักไม่มีปัญหาอะไร แต่เมื่อมีโรคฟันเกิดขึ้นและต้องรักษา จำเป็นต้องรักษา

กลับบ้านหน้าแรก / ประวัติคลินิก / รู้จักกับเรา / กายวิภาคช่องปาก / โรคช่องปากขากรรไกร / การรักษา / เครื่องมือดูแลสุขภาพช่องปาก / ท่านถามเราตอบ / สมัครสมาชิก / WEBSITE COMPUTER

Hosted by www.Geocities.ws

1