สมุนไพรใช้ในช่องปาก                         

โดย  ชมรมทันตสาธารณสุขภูธร และ หมอเมย์

 

 Caraway oil 

เป็น volatile oil ที่ได้จากการนำผล Caraway Carum carvi L.มากลั่นด้วยไอน้ำ volatile oil มี carvone 50-60% สารนี้เป็นสารหลัก สารที่พบปริมาณน้อยมี carveol, dihydrocarveol, deshydrocarvone, thujone, pinene, phellandrene, &-thujene, B-fenchene น้ำมัน Caraway มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์เป็น antispasmodic และ antihistaminic ต่ออวัยวะของสัตว์ที่แยกออกมาจากตัวสัตว์แล้ว 
ประโยชน์ ใช้เป็นยาขับลม บำรุงธาตุ และระบายอ่อนๆ ใช้แต่งกลิ่นยา เครื่องสำอาง รวมทั้งยาสีฟันด้วย


Chamomile (German and Roman)

German เป็นดอกแห้งจาก Matricaria chamanilla L. Roman chamomile เป็นดอกแห้งจาก Anthemis mibilis L. German chamomile ประกอบด้วย Volatile oil 0.24-1.9% flavonoid, coumarin, proazulenes, plant acids Roman chamomile มี Volatile oil 1.75% Bitter sesquitorpene lactones, flavonoids, coumarins 
ประโยชน์ Volatile oil มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา โดยเฉพาะฆ่า Gram-positive bacteria สาร Chamazulene มีฤทธิ์ระงับความเจ็บปวด และ สมานแผลแก้อาการอักเสบ Chamomile ทั้งสองชนิดใช้ทาสมานแผลในปากและเหงือก สิ่งสกัดใช้ผสมในยาอมบ้วนปาก ในยาพื้นบ้านของยุโรปใช้ยาชงหรือยาต้มจากดอก Chamomile ทาแก้เหงือกบวม ระงับอาการปวดฟัน


น้ำมันอบเชยเทศ (Cinnmon bark oil)

Cinnamomum verum J.S. Presl ชื่อพ้อง C. Zeylanicum Garc. ex Bl. เป็น volatile oil ที่ได้จากการนำเปลือกอบเชยเทศ (inner bark) มากลั่นด้วยไอน้ำ น้ำมันอบเชยเทศมี cinnamaldehyde อยู่ 60-75% สารอื่นๆมี eugenol, eugenol acetate, cinnamyl acetate, cinnamyl alcohol, methyl eugenol, benzaldehyde, cuminaldehyde, benzyl benzoate linalool, monoterpene, hydrocarbons ฯลฯ น้ำมันอบเชยเทศมีฤทธิ์ antifungal, antiviral, antibacterial และ lavicidal สิ่งสกัดด้วย liquid carbon dioxide ของเปลือกอบเชยเทศมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลชีพหลายชนิด ซึ่งรวมเชื้อ Escherichia coli , Staphylococcus aureus และ Candida albicans และมีฤทธิ์ทำให้ไขมันสลายตัว 

ประโยชน์ ขับลม บำรุงธาตุ แต่งกลิ่นยา เครื่องสำอาง เช่น ยาอมบ้วนปาก ยาสีฟัน

ผักเบี้ยใหญ่ (Common Purslane)

Portulaca oleracea Linn. ผักเบี้ยใหญ่มีรสเปรี้ยว กินไดทั้งดิบและสุก หรือใส่ในแกงจืด หรือทำผักดอง ควรระวัง ไม่ให้แกะ วัว ควาย และหมูกินพืชนี้ในปริมาณสูง เพราะจะทำให้เกิดพิษ เนื่องจากการเป็นพิษ ของ oxalic acid เพราะพืชนี้มี oxalic acid ในปริมาณสูง ก่อนพืชนี้มีดอก มีปริมาณของวิตามินซีสูงในใบ แต่หลังจากมีดอกแล้ว ปริมาณของวิตามินซีลดลง นอกจากนี้ยังพบว่าผักเบี้ยอุดมด้วยโซเดียมและโปแตสเซียม พืชนี้ใช้เป็นยาเย็น ใส่บาดแผล แก้เลือดออกตามไรฟัน ยาระบายและขับปัสสาวะ การที่ขับปัสสาวะเพราะมีโปแตสเซียมในปริมาณมาก น้ำคั้นจากพืชบางครั้งใช้แก้ปวดหูและปวดฟัน ในแผนโบราณพืชนี้ใช้ฟอกโลหิต กระตุ้นกระเพาะให้หลั่งน้ำย่อยอาหารออกมามาก ใบตำใช้ทาแก้แผลถูกไฟหรือน้ำร้อนลวก อักเสบบวม ไฟลามทุ่ง สิ่งสกัดด้วยน้ำหรือ ether มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ Gram-negative bacteria กินผักเบี้ยจะลดน้ำตาลในเลือด ของกระต่ายที่ทำให้เป็นเบาหวานโดย alloxam ให้เป็นปกติได้ พบว่ามี 1-noradrenaline, dopamine และ dopa ในพืชนี้ นอกจากนี้ยังพบว่า พืชนี้มี Biflavonoid liquiritin เมล็ดกินได้ มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ใช้ทาแผลไฟหรือน้ำร้อนลวกได้เช่นใบ เนื่องจากอุดมด้วยแร่ธาตุใช้ทำปุ๋ยหมักได้ แต่เนื่องจากมี Sodium สูง ถ้าใช้นานๆ ทำให้ดินเค็ม 

Creosote

Creosote เป็นส่วนผสมของ phenols ได้จาก wood tar มีกลิ่นคล้ายควันและฉุน สารจำพวก phenols ที่มีใน creosote คือ guaiacol, cresol methyl cresol และ phlorol 
ประโยชน์ ใช้เป็นยาขับเสมหะ ฆ่าเชื้อโรค ใช้เป็นยาขับเสมหะในโรคหลอดลมอักเสบและวัณโรค ใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ในทางทันตกรรม

ยางขุนนก (Gutta Percha)

เป็นยางที่ทำให้แข็งและบริสุทธิ์ จากพืชในสกุล Paraquium และ Pauena ที่นำมาขายมักเตรียมเป็นแผ่น หรือแท่งในขนาดต่างๆกัน ยางมีสีนวล ไม่ละลายน้ำ ละลายได้บางส่วนใน Carbondisulphide, Chloroform, Fetroleum benzene หรือน้ำมันสน Gutta Percha ประกอบด้วย gutta ซึ่งละลายได้ใน ether chloroform, petroleum ether volatile oil และ fixed oil ซึ่งเมื่อสัมผัสกับอากาศจะเปลี่ยนเป็นสีแดง
ประโยชน์ ใช้ทำ Dental cement ในการอุดฟัน

Mastic

Mastic เป็น resinous ที่ได้จากการกรีดลำต้นของ Pistacia lentiscus Linn. มีลักษณะเป็นก้อนเล็กๆใส มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 - 7 มม. สีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว ประมาณ 90 % ของ resin เป็น &-resin ของ mastichic acid ละลายได้ในแอลกอฮอล์ ส่วน B-resin ไม่ละลายในแอลกอฮล์ นอกจากนี้ก็มี & และ B masticonic acid &และ B masticoresene volatile oil ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วย &-pinene และรสขม 
ประโยชน์ Mastic นำมาละลายเป็น solution ใช้อุดฟัน

มดยอบ (Myrrh)

มดยอบเป็น oleogum resin ซึ่งได้จากต้น Consmiphora molmol Engl,Oleogum resin อาจได้โดยเปลือกของพืชมีรอยแตกเอง ตามธรรมชาติหรือโดยการกรีดเปลือกต้นให้ เป็นแผล Myrrh มี Volatile oil 1.5-1.7%Volatile oil ประกอบด้วย heerabolene, limonene, dipentene, pinene, eugenol, cinnamaldehyde, cuminaldehyde, cumic alcohol, m-cresol และ cadinene resin ประกอบด้วย &-,B- และ &-commiphoric acid, commiphorinic acid, &-& B-heerabomyrrhols, heeraboresene, commiferin, campesterol, B-sitosterol, cholesterol, &-amyrone, 3-epi-&-amyrin gumประมาณ 60% ซึ่งเมื่อสลายตัวให้ arabinose, galactose, xylose และ 4-o-methylglucuronic acid 
ประโยชน Myrrh มักผสมในน้ำยาอมบ้วนปากและกลั้วคอ เพราะมีฤทธิ์ฝาดสมาน


น้ำมันสาระแหน่ (Peppermint oil)

Peppermint oil ได้จากการนำใบและต้นสาระแหน่มากลั่นด้วยไอน้ำ น้ำมันประกอบด้วย menthol 29-48% menthone 20-31%, methyl acetate 3-10 % , menthofuran 7% และ limonene สารอื่นที่พบอีกก็มี flavonoid, phytol, tocopherol, carotenoid, betaine, choline, azulene, tosmarinic acid และ tannin Peppermint oil มีฤทธิ์เป็น antimicrobial ในหลอดทดลอง menthol ซึ่งเป็นสารหลักใน peppermint oil ทำให้เกิดความระคายเคืองที่ผิวหนังทำให้เกิดเป็นผื่นแดง ปวดศีรษะในบางคนการทาขี้ผึ้งที่มี menthol ที่รูจมูกของเด็กอ่อนเนื่องจากการใช้แก้หวัด อาจทำให้เด็กอ่อนหมดสติได้ 
ประโยชน์ ใช้แต่งกลิ่น ขับลม ฆ่าเชื้อโรค ทำให้ชาเฉพาะที่ ใช้แต่งกลิ่นยาสีฟัน ยาอมบ้วนปาก ยากลั้วคอ สบู่ ครีม และน้ำอบ ใช้แต่งกลิ่นอาหารและเครื่องดื่มหลายชนิด

หัวไชเท้า (Radish)

Raphanus sativus Linn. หัวไชเท้ามีรูปร่างได้ต่างกัน มีหัวยาวรูปกระสวยหรือสั้น เปลือกขาวหรือแดง เป็น source ที่ดีของ ascorbic acid และ meneral salts แต่ถ้าเก็บไว้หุงต้ม หรือทำให้แห้ง ปริมาณของ ascorbic acid จะลดลง กลิ่นฉุนของหัวไชเท้า เนื่องจาก isothiocyanates ซึ่งอยู่ในรูปของ glycosides ใบใช้เป็นอาหารได้ทั้งดิบและที่หุงต้มแล้ว อุดมด้วยแร่ธาตุและ ascorbic acid และมีวิตามินเอสูงด้วย 

Tannic acid

ชื่อพ้อง Tannic , Gallotannic acid Tannins เป็นสารจำพวก complex polyphenclio ได้มาจาก Nutgalis เป็น Leaf gall ของต้น Querous infectoria และ Querous species อื่น โดยแมลง Cynips gallae - tinctoriae เจาะที่ใบของต้น oak จะต้องเก็บ gall ก่อนที่แมลงจะเจาะรูของ gall ออกไป ถ้าแมลงเจาะรูแล้วทำให้ปริมาณของ tannin ใน gall ลดลง ที่มาของ tannin ในแหล่งอื่น ก็คือ Black catechu , Pale catechu , Chinese nutgalls ซึ่งเกิดโดยแมลงทำให้เกิด gall ในพืชสกุล Rhus ในประเทศจีน Tannic acid มีขายในท้องตลาด เป็นส่วนผสมของ glycosides ของ phenolic acid ซึ่งส่วนใหญ่เป็น gallic acid สารนี้มีสูตรโครงสร้างที่สลับ กล่าวคือประกอบด้วยตั้งแต่ 2, 3 โมเลกุลของ gallic acid ถึงหลายโมเลกุล ต่อ 1 โมเลกุลของน้ำตาล (โดยเฉพาะglucose) Tannic acid ที่นำมาใช้ทางเป็น Pentadigalloyl glucous ประกอบด้วย gallic acid 10 โมเลกุล ต่อ glucous 1 โมเลกุล 
Tannin มีคุณสมบัติฝาดสมานและตกตะกอนโปรตีน นอกจากนี้มีคุณสมบัติเป็น carcinogenic และ anticancer และนำมาซึ่งการเกิด มะเร็งในคนนอกจากคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว tannin ยังมีคุณสมบัติต่อสิ่งมีชีวิตหลายประการ เช่น antiviral , antimicrobial ยับยั้งการเจริญเติบโตของหนู ป้องกันฟันผุ (cariostatic)ใน hamstus ความเป็นพิษของ tannin ในคนซึ่งเกิดจากการใช้ tannic acid ทาผิวหนังที่ไหม้ หรือใช้ tannic acid สวนทางทวารหนักทำให้ cell ของตับถูทำลาย พิษที่เกิดนี้เป็นเพราะ tannin มี digallic acid ปนอยู่ด้วย ถ้ากิน tannin ในขนาดมากทำให้เกิดความระคายเคือง ของกระเพาะอาหาร คลื่นไส้ และอาเจียร ในด้านอุตสาหกรรมอาหาร tannic acid ใช้กรองเบียร์ และเหล้าใส 

Thymol

เป็นสารที่ได้ Thyme oil ซึ่งเป็น volatile oil ได้จากการนำใบแห้งของ Thymus vulgaris Linn. มากลั่นด้วยไอน้ำ Thymol เป็นผลึกสีขาวใส กลิ่นฉุน 
ประโยชน์ ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ (Hook worm) antiseptic ระงับกลิ่นปาก มักผสมในยาอมบ้วนปากและยาอมกลั้วคอ ฆ่าเชื้อโรคทางเดินอาหาร

กะเม็ง

Eclipta alba ( Linn. ) Hassk ใช้เป็นยา tonic และ deobstruent ในตับและม้ามโต และโรคผิวหนัง น้ำคั้นจากพืชใช้รวมกับ พืชที่มีกลิ่นหอมสำหรับโรคดีซ่าน, น้ำคั้นจากใบผสมกับน้ำผึ้ง ใช้แก้อาการอักเสบในเด็กอ่อน,น้ำคั้นจากใบต้มกับน้ำมันงา และน้ำมันมะพร้าวใส่ผม ทำให้ผมดำ พืชสดเข้าใจว่ามีฤทธิ์แก้ปวด ใช้ทาที่เหงือกเพื่อบรรเทาอาการปวดฟันและทาแก้ปวด ศีรษะ ผสมกับน้ำมันงาแก้โรคเท้าช้าง ใช้ในการสักเพื่อให้เกิดเป็นภาพ ตามความต้องการ ที่ผิวหนัง ใบใช้กินต่างผักในชวา บางภาค ของอินเดียนำมาเตรียม chutney รากทำให้อาเจียร และเป็นยาระบาย ใช้ทาภายนอกฆ่าเชื้อโรคในบาดแผลสำหรับวัวควาย สิ่งสกัดจากลำต้นมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ Staphylococous aureus และ Escherichia coli พืชนี้มี nicotine 0.078 % เมื่อคิดจากน้ำแห้งของพืช 

กานพลู

กานพลูเป็นดอกตูมซึ่งได้จากพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Syzygium aromaticum (L.) Merr. Et Perry มีชื่อพ้อง Eugenia aromatica (L.) Bail E. caryophyllata Thumb วงศ์ Myrtaceae ดอกตูมกานพลู (Clove buds) ให้ Volatile oil 15-18% ลำต้นให้ 4-6% ใบให้ 2-3 % นอกจาก Volatile oil แล้ว ใน clove buds ยังประกอบด้วย glucosides ของ sterols เช่น sitosterol, atigmosterol และ campesterol, crategolic acid, methyl ester, oleanolic acid, kaempferol, rhamnetin, protein, lipids, carbohydrates, vitamins และอื่นๆอีก น้ำมันกานพลู (clove bud oil) มีส่วนประกอบ เป็น eugenol 60-90% eugenol acetate 2-27%, B-caryophyllene 5-12% ส่วนสารที่พบในปริมาณน้อยก็มี methyl salicalate, ethyl eugenol benzaldehyde, methyl amyl ketone, &-zlangene และ chavical เนื่องจากสาร eugenol ที่มีอยู่ในน้ำมันกานพลู จึงทำให้มีคุณสมบัติเป็น antimicrobial ได้อย่างกว้างขวาง เช่น สามารถฆ่าเชื้อ Gram-positive, Gram-negative และ Acid-fast bacterial และ Fungi แต่มีรายงานว่า น้ำมันกานพลูทำให้เกิดความระคายเคืองที่ผิวหนัง และทำให้ผิวหนังไวต่อความรู้สึก สิ่งสกัดด้วยน้ำของดอกกานพลู น้ำมันการพลู eugenol, eugenyl acetate และ methyl eugnol เพิ่มฤทธิ์ของ trypsin 
ประโยชน์ น้ำมันกานพลูใช้ระงับอาการปวดฟัน โดยใส่ไปที่รูฟันโดยตรง ใช้เป็นส่วนผสมของยาเตรียมที่ใช้ทาเหงือกภายหลัง การถอนฟัน (บ่อฟัน) แต่งกลิ่นยาสีฟัน

กำยาน (Benzoin,Gum benzoin)

กำยานเป็น balsamic resin ได้จาก styrax หลาย species กล่าวคือ กำยานสุมาตรา (Sumatra Benzoin)ได้จาก Styrax benzoin Dry. และจาก S. paralleloneurus Perkins กำยานญวณ หรือกำยานหลวงพระบาง (Siam Benzoin) ได้จาก Styrax tonkinensis (Pierre) Craib ex Hartwich กำยานสุมาตราประกอบด้วย resinous matter 90 % ซึ่ง resinous matter ส่วนใหญ่เป็น sumaresinolic acid 10 - 20 % และ cinnamic acid 10 - 30 % phenylpropyl cinnamate 2 - 3 % vanillin 1 % กำยานหลวงพระบาง มี resinous matter อยู่ 70 - 80 % ส่วนใหญ่เป็น sumaresinolic acid และ coniferyl benzoate , benzoic acid 11.7 % cinnamyl benzoate 2.3 % vanillin 0.3 % กำยานทั้งสองชนิดเข้าอยู่ในเภสัชตำรับของหลายประเทศ แต่กำยานสุมาตราใช้ในทางยามากกว่ากำยานหลวงพระบาง ซึ่งขนิดหลังนี้มักใช้ในเครื่องสำอาง 
ประโยชน์ กำยานฆ่าเชื้อโรค ฝาดสมาน ขับเสมหะ ไอระเหยจาก Tincture Benzoin ใช้สูดดม เพื่อฆ่าเชื้อโรคในทางเดินหายใจ ทำให้หายใจสะดวกขึ้น Tincture Benzoin ในทางทันตแพทย์ใช้ทาเหงือกแก้อาการอักเสบและเหงือกเป็นหนอง

ครอบฟันสี

Abutilon indicum (Linn.) Sweet ใบ - มี mucilage, tannin, otganic avid และ asparagin เพียงเล็กน้อย ยาชงของใบหรือราก - ใช้เป็นยาเย็นแก้ไข้ ยาต้มจากใบใช้เป็นยาอมบ้วนปาก เพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน 

ข่อย (Siamese Rough - Bush)

Streblas asper Lour กิ่งข่อยนำมาทุบใช้แปรงฟันเพื่อทำความสะอาดฟัน และแก้เหงือกเป็นหนอง เมื่อนำเปลือกต้น มาวิเคราะห์พบว่า มี &-amyrin, lupeol acetate, B- sitosterol และ diol ใช้เส้นใยของเปลือก นำมาทำกระดาษข่อย ซึ่งกล่าวกันว่า แมลงไม่กิน ใบใช้เป็นยาขับน้ำนม ใช้เป็นยาพอกแก้อาการอักเสบบวม ทำยาชงใช้ดื่มต่างน้ำชาได้ รากทำยาพอกแผลและฝี การอักเสบในช่องจมูก ยาฝาดสมานและฆ่าเชื้อโรค เมื่อนำเปลือกรากมาทำการวิเคราะห์ พบว่ามีสาร cardenolides อยู่หลายชนิดคือ Kamaloside, Asperoside, Streboloside, Indroside และ อื่นๆอีก ซึ่งเหล่านี้มีฤทธิ์ต่อกล้ามเนื้อหัวใจและเป็นพิษ 

ตดหมู ตดหมา 

Paederia foetide Linn. ใบของพืชนี้มีกลิ่น เนื่องจากมีสาร methyl mercaptan แต่เมื่อนำไปหุงต้ม สารนี้จะระเหยไป ใบทำยาพอกแก้งูสวัด ยาต้มจากใบมีมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ชาวเขาบางเผ่านำผลมาทาที่ฟันเพื่อทำให้ฟันดำ และป้องกันมิให้ปวดฟัน 

จามจุรี พฤกษ์ (Siris Tree, East Indian Walnut)

Albizzia lebbek Benth. เปลือกมี tannin 7-11 %saponin, resin สารที่ใกล้เคียงกับ catechin และสารสีแดง ผงเปลือกและผงราก
ใช้ทาทำให้เหงือกแข็งแรง และทาแผลที่เหงือก, รากฝาดสมาน ใช้แก้ท้องเสียและใช้ใส่แผล 

นิลบล 

Monochoria vaginalis (Burm.f.) Presl 
ใบ - กินเป็นอาหารต่างผักได้ทั้งดิบและสุก ทำยาพอกฝีโดยผสมกับขมิ้น 
น้ำคั้นจากราก - ในชวาใช้อมแก้ปวดฟัน และใช้น้ำคั้นจากใบกินแก้ไอ
ราก - ในอินเดียใช้แก้ปวดฟัน

หมาก (Areca Nut, Betel Nut)

Areca catechu Linn. เนื้อในเมล็ด (kernel) ของหมากมี catechin ในเมล็ดมี alkaloid อยู่หลายชนิด แต่ชนิดที่แสดงฤทธิ์คือ arecoline เป็น liquid alkaloid alkaloid ชนิดอื่นๆที่พบในหมาก คือ arecaidine, guvacoline, guvacine หมากใช้เป็นของขบเคี้ยว ในหลายประเทศ เช่น อินเดีย พม่า ศรีลังกา มาเลเซีย เขมร ไทย ฯลฯ โดยเคี้ยวรวมกับพลู ปูนแดง เครื่องเทศ และยาสูบ บางท่านเชื่อว่าการกินหมากป้องกันฟันผุได้ แต่ถ้ากินติดต่อเป็นเวลานาน ทำให้ฟันดำและมีหินปูนจับที่ฟันมาก การเคี้ยวติดต่อ เป็นเวลานานทำให้เกิดความระคายเคืองที่เยื่อบุปาก อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งได้ หมากสดทำให้เกิดอาการมึนงงได้ หมากนำมาย่างไฟ ป่นให้เป็นผลละเอียดใช้ถูฟัน หมากใช้เป็นยาถ่ายพยาธิในอินเดียและจีน Arecoline มีพิษ มีฤทธิ์ที่แสดงต่อ Central และ Peripheral nervous system ทำให้เกิดการ paralyse และอาจถึง convulsion 

พิกุล

Mimusops elengi Linn. เมล็ด มี saponin เปลือกต้นและดอก มี saponin นอกจาก saponin แล้วเปลือกพิกุลยังมี tannin อยู่ประมาณ 7% มีรายงานจากฟิลิปปินส์ว่า ลำต้นพิกุลฝาดสมาน ทำยาต้มกินแก้ท้องร่วง และอมกลั้วคอเจ็บ ทำเป็นยาอมบ้วนปาก เพื่อทำให้เหงือกแข็งแรง 

มะพร้าว (Coconut)

Cocus nucifera Linn. มะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจ ทุกส่วนของมะพร้าวใช้เป็นประโยชน์ได้ รากมะพร้าวเมื่อนำมาทำยาต้ม ใช้ทาที่เหงือกทำให้เหงือกแข็งแรง ในอินเดียนำรากอ่อนมาทำเป็นยาอมกลั้วคอแก้คอเจ็บ กล่าวกันว่าฝาดสมาน ใน Gold Coast นำเปลือกต้นใส่ฟันเพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน เถ้าที่ได้จากการเผาเปลือกต้นมะพร้าวนำมาทำยาสีฟันและฆ่าเชื้อโรคในช่องปาก Tar ที่ได้จากการเผากะลามะพร้าวใช้แก้ปวดฟัน ในอินเดียนำ Tar มาทาแก้หิด ขี้กลาก 

หางนกยูงไทย (Peacook Flower, Barbadoes Pride)

Gaesalpinia pulcherima (Linn.) SW เปลือกต้นฝาดสมาน ยาชงจากเปลือกต้นใช้ล้างฟันและเหงือก เมื่อนำดอกมาทำ การวิเคราะห์ พบว่าในดอกมี gallic acid, resins, benzoic acid, tannin และสารสีแดง ผลมี tannin ในปริมาณสูง ใบและเปลือก ใช้เป็นยาถ่าย ยาขับระดู และยาบำรุง 

มะแว้งต้น (Poison Berry)

Solanum indicum Linn. ผลที่แก่แต่ยังไม่สุกใช้กินกับผักจิ้ม นอกจากนี้มีบางท่านกล่าวว่าผลเป็นพิษ มีฤทธิ์ระบาย และช่วยย่อยอาหาร ควันที่ได้จากการเผาเมล็ดใช้สูดดมเพื่อระงับอาการปวดฟัน สิ่งสกัดด้วยแอลกอฮอล์ของผลฆ่าเชื้อ Staphylococcus aureus และ Escherichia coli สิ่งสกัดจากใบก็มีฤทธิ์เช่นเดียวกัน ผลและใบมี glycoalkaloid solasannine alkaloids รวมของผลมีได้ตั้งแต่ 0.2-1.8%นอกจากนี้ยังพบว่าในผลมี Enzymes carbohydrases, maltase, saccharase และ meliiase enzymes ที่ย่อยโปรตีนซึ่งคล้ายคลึงกับ pancreatic trypsin เมล็ดมีจำนวนมากคิดเป็น 65 %ของผล เมล็ดให้ semi-drying oil สีเหลืองอ่อน และพบสาร hydrocarbon, sitosterol และ carpestorol ในส่วนที่เป็น unsaponifiable fraction 

ผักคราด ผักคราดหัวแหวน

Spilanthes acmella Murr. ชื่อพ้อง S.mauritiana DC ทุกส่วนของพืชนี้มีกลิ่นหอม แต่ช่อดอกเป็นส่วนที่ มีกลิ่นฉุนแรงกว่า ส่วนอื่นๆใช้เคี้ยวช่อดอกเพื่อบรรเทาอาการปวดฟันและเหงือกบวม ถ้าเคี้ยวติดต่อเป็นเวลานาน ทำให้ลิ้นชา Tincture ของดอกผักคราดใช้แทน Tinture จากดอก Pyrethrum เพื่อแก้อาการอักเสบที่ขากรรไกร 
นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์กระตุ้น ให้น้ำลายไหลออกมามาก เมล็ดใช้เคี้ยวโดยมีจุดประสงค์เช่นเดียวกัน ยาต้มจากพืชทั้งต้น ใช้อาบแก้โรคปวดบวมตามข้อ โรคผิวหนังและโรคเรื้อนกวาง น้ำคั้นจากพืชใช้ทาบาดแผล พืชสดใช้เป็นยาพอก รากเป็นยาถ่าย พืชนี้ใช้เป็นยาเบื่อปลา สิ่งสกัดด้วย ether มีฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำ (Anopheline mosquito larvae) สาร Spilanthol ซึ่งได้จาก orther fraction ของดอกผักคราดเป็นสารที่มีกลิ่นฉุน มีฤทธิ์ขับน้ำลาย ทำให้ชาเฉพาะที่และฆ่าแมลงได้ สารนี้เป็นพิษอย่างมากกับแมลงวัน แต่ถ้าเมื่อเทียบกับ DDT แล้ว ฤทธิ์อ่อนกว่าในการฆ่าลูกน้ำหรือตัวอ่อนของแมลง นอกจาก Spilanthol แล้ว ในดอกยังพบสาร non-reducing polysac-charide, white solid acid 

สีเสียด 

สีเสียดมี 2 ชนิด คือ Black catechu สีเสียดเหนือได้จากการนำแก่นของต้นเสียด Acacia catechu ( L. f. ) willd . วงศ์ Mimosacese มาสกัดด้วยน้ำเดือดกรองระเหยให้แห้ง จะได้เสียดเหนือเป็นก้อนสีดำเป็นมัน pale catechu สีเสียดเทศ ได้จากการนำใบและกิ่งก้านของพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ Uncaria gambir ( Hunter ) Roxb. วงศ์ Rubiaceae มาสกัดด้วยน้ำเดือด กรองระเหยให้แห้ง ได้สีเสียดเทศสีน้ำตาลอ่อนถึงดำ Black catechu มีชื่อเรียกได้หลายชื่อ เช่น dark catechu , Black cutch , cutch Pale catechu หรือ cambir catechu , gambir, Gambier นอกจากนี้ก็ยังมี Bombay catechu , Borneo catch ซึ่งได้จาก Areca catechu และจากเปลือกพวกโกงกาง Black catechu ประกอบด้วย 2 - 20 % ของ L- และ dl- catechin 20 ถึง 50 % catechutannic acid L- และ dL- epicatechin quercetin , fisetin , pigment สีแดง Pale catechin ประกอบด้วย d- และ dl- catechin ( 30 ถึง 35 %) catechutannic acid 24 % quercetin , gallic acid , ellagic acid , catechol นอกจากนี้ Pale catechu ยังประกอบด้วย indole allkaloids หลายชนิด เช่น gambirtannine , dihydrogambirtannine และ oxogambirtannine เป็นต้น
เนื่องจากสีเสียดทั้ง 2 ชนิด มีปริมาณของ tannin สูง จึงมีคุณสมบัติฝาดสมาน ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รวมทั้งการเป็นพิษของ tannin ที่มีปริมาณมากในสีเสียดด้วย มีรายงานว่า d - catechu ทำให้เส้นเลือดที่หูกระต่ายซึ่งแยกออกมาจากตัวกระต่ายแล้วบีบตัว 
ประโยชน์ ทั้ง Black และ Pale catechu ใช้เป็นยาฝาดสมานแก้ท้องเสียและฝาดสมานในยาอมบ้วนปากและเป็นแหล่งที่มาของ tannic acid

น้ำมันเขียว (Cajeput oil)

น้ำมันเขียวได้จากการนำใบสดของต้นเสม็ด Melaleuca leucadendeon L. หรือพืชชนิดอื่นซึ่งอยู่ในสกุล Melaleuca วงศ์ Myrtaceae มากลั่นด้วยไอน้ำ น้ำมันเขียวมี Cineole อยู่ 14-65%ซึ่งเป็นสารหลัก สารชนิดอื่นๆ ที่พบคือ 3,5 -dimethyl- 4,6-di-0-methylphlro cetophenone, pinene, terpineol, merolidol และ traces ของ benzaldehyde และ valeraldehyde 
ประโยชน์ น้ำมันเขียวใช้ขับลม ขับเหงื่อ ใช้เป็นส่วนผสมในยาขับเสมหะ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคได้ ใช้ทาที่เหงื่อภายหลังการถอนฟัน ใช้แต่งกลิ่นสบู่

ลำโพง

Datura metel Linn., D.fastuosa Linn., D. alba Mees , D.fastuosa var, alba (Nees) C.B. Clarke ในอินเดียถือว่าพืชนี้เป็น narcotic และแก้อาการเกร็ง Alkaloid หลักของ D.metel คือ scopolamene ส่วน hyoscyamine,atropine และ nor hyoscyamine มีน้อยมาก เมล็ดของ D.metel มี fixed oil 12% กลิ่นและรสไม่ชวนกินและดม ส่วนประกอบของ fatty acid ในน้ำมันมี solid fatty acid 6.18%, oleic acid 60.8%, &-linolic acid 23.55%, B-linolic acid 2.92%, caproic acid 1.0% และ unsapon matter 2.9% มีรายงานว่าเมล็ดมี allantoin ลำโพงเป็นยาเสพติด แก้อาการเกร็ง (antispasmodic) และระงับความเจ็บปวด ใช้แก้อาการเกร็งของ bronchioles ในหืด มีฤทธิ์ต่อ acetyl choline จึงทำให้เกิด paralysis ที่ปลายของ vagi ใน bronchioles ยังผลให้ bronchioles relax Ointment ของ Stramonium ใช้บำบัด Haemorrhoids ใบพอกฝีและแผลและปลาผัก น้ำคั้นจากดอกใช้หยอดหูเพื่อบรรเทาอาการปวดหู น้ำคั้นจากผผลใช้ทาหนังศีรษะเพื่อกันรังแคและผมร่วง ถ้ากินขนาดมากทำให้พูดมาก ไม่หลับนอน และเพ้อ Hyoscine sedative มากกว่า hyoscyamine 

สบู่ดำ มะหุ่งฮั้ว ( Physio Nut , Furging Nut )

สบู่ดำมีถิ่นกำเนิดใน Tropical America ชาวโปรตุเกสเป็นผู้นำพืชนี้เข้ามาในเอเชียและอาฟริกา มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Jatropha curoas Lim . เมล็ดคล้ายเมล็ดระหุ่งแต่ขนาดเล็กกว่าและมีสีน้ำตาลเข้ม เมล็ดมีฤทธิ์เป็นยาถ่าย แต่ไม่ใช่เพราะเป็นพิษ แต่ถ้าใช้เป็นยาถ่ายต้องนำมาคั่วก่อน อาการเป็นพิษทำให้คลื่นไส้ อาเจียน และเกิดอาการระคายเคืองอย่างมาก ในกระเพาะอาหาร เพราะมีสารพิษชื่อ curcin หรือ curcasin ซึ่งเป็น toxalbumin คล้ายกับ ricine ที่พบในเมล็ดระหุ่งและ พวก resinous substance ในบราซิลใช้เมล็ดเป็นยาถ่ายพยาธิ ใน Gsbon นำเมล็ดมาบดกับ Palm oil ใช้เบื่อหนู 
ใน Travancore นำเมล็ดมาคั่วบดกับ Molasses ให้เป็นผงใช้แก้อาการปวดท้องและแก้พิษ เมล็ดสบู่ดำให้น้ำมัน 30 - 40 % น้ำมันที่ยังใหม่ ไม่มีสีและไม่มีกลิ่น แต่ถ้าตั้งทิ้งไว้ จะเป็นสีเหลืองอ่อนหรือน้ำตาลปนเหลือง และกลิ่นไม่ชวนดม น้ำมันที่ได้จากการบีบ หรือสกัดด้วยตัวทำละลาย ในทางการค้าเรียกว่า curcas oil น้ำมันสบู่ดำ( curcas oil ) ต่างกับน้ำมันระหุ่งตรงที่ มีความข้นน้อยกว่า และละลายได้เล็กน้อย ( slightly solubie ) ในแอลกอฮอล์แต่ผสมได้เป็นเนื้อเดียวกับ light petrolem และเป็น optically inactive สารที่เป็นพิษเป็นสารที่ละลายในแอลกอฮอล์ เมื่อถูก saponify ให้ fatty acid , plytosterol และ resin และไม่เป็นพิษ 
น้ำมันสบู่ดำมีคุณสมบัติ กึ่งน้ำมันซักแห้ง Semi drying oil ใช้จุดตะเกียงให้แสงสว่าง กล่าวกันว่าไม่เป็นควัน ใช้เป็นน้ำมันหล่อลื่น ใช้ทำสบู่หรือเทียนไข ใช้ทาภายนอกในโรคผิวหนังและโรคปวดบวมตามข้อ มีรายงานว่าน้ำมันมีคุณสมบัติเป็นน้ำมันซักแห้ง 
ในชวาใช้เป็นน้ำมันใส่ผมซึ่งช่วยกระตุ้นทำให้ผมดก ใช้ทาแผลของสัตว์เลี้ยง ทุกส่วนของพืชมียาง ( latex ) ซึ่งมีส่วนประกอบเป็น resin แต่ไม่มี rubber ยางเมื่อแห้งเป็นสีน้ำตาลอมแดง เปราะ คล้าย shellac ใช้ต่างหมึกได้ เปลือกมี tannin, wax, resin , saponin , educing suggar และ trace ของ volatile oil wax ประกอบด้วยส่วนผสมของ melissyl alcohol และ melissyl melissate เปลือกให้สีย้อมสี้น้ำเงินเข้ม 
ในพิลิปปินส์ใช้ย้อมผ้า แห และด้าย สีนอกจากพบในเปลือกต้น แล้วยังพบในใบและต้นอ่อน ซึ่งเมื่อนำมาทำให้เข้มข้น จะได้เป็นก้อนสีน้ำตาลปนดำ เมื่อนำมาย้อมผ้าฝ้ายให้สีน้ำตาลและสีคงทน กิ่งอ่อนใช้สีฟัน น้ำจากกิ่งใช้แก้ปวดฟัน และทำให้เหงือกแข็งแรง มีรายงานว่าในชวาและมาเลเชีย นำใบอ่อนมาต้ม แล้วกินเป็นอาหาร น้ำคั้นจากพืช 
ในชวาใช้เป็นยาถ่ายและห้ามโลหิต ในพิลิปปินส์ใช้เบื่อปลา เข้าใจว่าใบเมื่อทาแล้วทำให้ร้อนมีเลือดมาเลี้ยงเพิ่มขึ้นและขับน้ำนม มีรายงานว่าใบเป็นยาฆ่าแมลง ใน Ghana ใช้ควันจากการเผาใบรมบ้าน เพื่อฆ่า beb-bugs น้ำคั้นจากใบใช้ทาภายนอก สำหรับริดดวงทวาร ใช้ทาที่ลิ้น เพื่อแก้อาการ พืชนี้ผสมกับ benzyl benzoate ใช้ทาแก้โรคผิวหนัง wet eczema และ dermatitis ใบและราก ทำยาต้มแก้ diarrhoea มีรายงานว่ารากมีน้ำมันสีเหลือง ซึ่งมีฤทธิ์แรงในการถ่ายพยาธิ เปลือกรากใช้ทาแผล ใน konkan เปลือกฝนรวมกับมหาหิงส์และเนย ใช้กินแก้ธาตุไม่ปกติและท้องเสีย 

พลู ( Betel leaf )

Piper betle Linn. พลูมีกลิ่นฉุนใช้เป็นของขบเคี้ยว ในหลายประเทศทางตะวันตกและเชื่อว่ากินหมากทำให้มีกลิ่นหอม ช่วยย่อยและขับลม ในทางยาใช้ในเยื่อเมื่ออักเสบ การกินหมากผสมยาพลู ปูน และของแต่งกลิ่นอีกหลายชนิด ทำให้เกิดความระคายเคืองของเยื่อบุปาก Arecoline ซึ่งมีอยู่ในปาก กระตุ้น Central nervous system ปูนช่วย liberate alkaloid จากหมาก Essential oil ที่มีอยู่ในพลูช่วยเสริมฤทธิ์ของ arecoline ที่มีต่อ Central nervous system แต่การกินหมากติดต่อกัน เป็นเวลานานย่อมทำให้ฟันผุ (dental caries) เยื่อหุ้มบ่อฟันเป็นหนอง (Pyorrhoea alveolaris) ปากเน่า ธาตุไม่ปกติ หัวใจเต้นเร็ว มีรายงานว่าการกินหมากอาจทำให้เกิดมะเร็งในช่องปาก แต่บางท่านว่าเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งนั้นเป็นเพราะยาสูบ (Tobacco) มากกว่า การกินหมากทำให้ร่างกายได้ธาตุแคลเซียมในราคาถูก แต่มีบางท่านกล่าวว่า Calcium จากการกินหมากประมาณ 94 % เป็น Calcium oxalate เพราะในพลูมี free oxalic acid อยู่มาก ซึ่งขัดขวางการดูดซึมของแคลเซียมในร่างกาย สารสำคัญในใบพลูคือ Essential oil และน้ำตาล Essential oil มีกลิ่นหอมและฉุน น้ำมันประกอบด้วย Phenols และ Terpenes สารพวก Phenol ที่พบในใบพลู คือ chavibetol และ eugenol น้ำมันพลู (oil of Betel) ใช้เมื่อมีการอักเสบของทางเดินหายใจ ใช้เป็นยาอมบ้วนปาก และสูดดม นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ขับลม น้ำมันทำให้เกิดความระคายเคืองต่อผิวหนังและ mucous membrane ถ้าฉีดเข้าใต้ผิวหนัง หรือเข้ากล้ามเนื้อทำให้เกิดอาการอักเสบ ในขนาดปานกลางมีฤทธิ์เป็น antispasmodic ใน involuntary muscle tissue ทำให้ perstallic movement ของ intestine ลดลง นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์เป็น depresant ที่ central nervous system ของสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม Essential oil และสิ่งสกัดจากใบมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ Gram-positive และ Gram-negative bacteria เช่น Micrococcus pyogens var. albus และ var. aureus bacillus subtilis และ B.megaterium, Diplococcus pneumoniae, Streptococcus pyogens, Easherichia coli, salmonella typhosa, Vibrio comma, Shigella dysenteriae,Proteus vulgaris, Pseudomonas solanacaerum, Sarcina lutea & Erwinia carotovora การที่พลูมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อโรคคงเนื่องจาก chavicol นอกจากนี้ Essential oil หรือสิ่งสกัดจากพลู ยังแสดงฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา Aspergillus niger , A.oryzae, Curvularia lunata และ Fusarium oxysporum Essential oil ทำให้ protozoa ตายภายใน 5 นาที Protozoa คือ Paramoecium candatum ในความแรง 1:10,000 ยับยั้งความเจริญของ Vibrio cholerae ในขนาด 1:4,000 Salmonella typhosum และ Shigella flexneri ในขนาด 1:3,000 Escherichia coli para A และ Micrococcus pyogens var. aureus ในขนาด 1:2,000 นอกจากนี้ยังพบว่า ใบพลูมีคุณสมบัติเป็น antioxidant เมื่อนำมาใส่น้ำมันและอุ่นให้ร้อนจะป้องกันมิให้น้ำมันหืนช้าลง ใช้ใส่ในน้ำมันถั่วลิสง งา มะพร้าว น้ำมันเมล็ดคำฝอย เพื่อกันหืน คุณสมบัติที่เป็น antioxidant ของใบพลูก็เนื่องจากมีสารจำพวก phenol โดยเฉพาะ hydroxy-chavicol (4-allyl pyrocatechol) Hydroxy-chavicol เป็นสารที่ละลายได้ดีในขนาด 0.03% ไม่ทำให้เกิดกลิ่นในน้ำมัน Ascorbic acid ที่มีในใบช่วยเสริมฤทธิ์ของสาร phenol 

มะเขือพวง

Solanum torvum Sw. ผลกินได้ต่างผัก ยาต้มจากผลใช้กินแก้ไอ ผลที่ยังไม่สุกและใบมี glucoalkaloid solasonine และ มี steroidal sapogenin chlorogenin ไอจากการเผาเมล็ดมะเขือพวงใช้สูดดมแก้ปวดฟัน 

ฝรั่ง (Common Guava)

Psidum guajava Linn. ฝรั่งเป็นผลไม้ที่มีปริมาณของวิตามินซีสูง มีวิตามินมากกว่าส้ม 4-10 เท่า และยังมี pectin สูง แต่มีวิตามินเอน้อยเมื่อเทียบกับมะม่วง Citric acid เป็นกรดอินทรีย์ที่มีในฝรั่ง แต่ tararic และ 1-malic acid มีน้อย นอกจากนี้ ก็ยังมีน้ำตาลอยู่ด้วย ยาต้มจากใบกินแก้ท้องเสีย แก้อาเจียร ยาต้มของใบใช้อมกลั้วคอ (gargle) เพื่อระงับอาการปวดฟัน Extract ของใบ ฆ่าเชื้อ Micrococcus pyogenes var, aureus & Escherichis coli 


โหระพา (Basil & Common basil, Sweet Basil)

Ocimum basilicum L. โหระพามี Volatile oil ได้จากการนำใบมากลั่นด้วยไอน้ำ ประกอบด้วย d-linallo 55 % และ methyl chavicol 70 % ส่วนประกอบชนิดอื่นมี methyl cinnamate น้ำมันโหระพาไม่เป็นพิษ 
ประโยชน์ Volatile oil มีฤทธิ์ขับพยาธิ (antiwormol activities) น้ำคั้นจากใบสดใช้รักษา magots-infested nasal disease ในอินเดีย ใช้แต่งกลิ่น dental creams และยาอมบ้วนปาก (mouth wash)

น้ำมันอบเชยจีน (Cassia oil)

เป็น volatile oil ที่ได้จากการนำเปลือกอบเชยจีน Connamomum aromaticum Nees ชื่อพ้อง C.cassia Nees ex Bl. มากลั่นด้วยไอน้ำ Cassia oil มี cinnamaldehyde 75-90% ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลัก ส่วนสารอื่นๆก็มี salicylaldehyde, methylsalicydehyde และ methyl eugenol Cinnamaldehyde ซึ่งเป็นสารหลักใน Cassia oil มีฤ*ธิ์เป็นยาระงับ (sedative) ในสัตว์ ลดความร้อนและแก้ไข้ 
ประโยชน์ ใช้เป็นยาขับลม บำรุงธาตุ ใช้แต่งกลิ่นยาและเครื่องสำอาง เช่น ยาพ่นจมูก ยาอมบ้วนปาก ยากลั้วคอ ยาสีฟันฯลฯ

Asarum (Wild ginger)

รากและเง่าของ Assrum canadense Linn. มี volatile oil resin ซึ่งมีรสเผ็ดคล้ายขิง และมีสารซึ่งมีกลิ่นฉุนชื่อ asaral สารสีเหลืองเรียกว่า asarin แป้งและ gum 
ประโยชน์ ใช้แช่แอลกอฮอล์ ทาที่เหงือกแก้ปวดฟัน จีนใช้ราก Asarum sieboldi Mig. (โชยชิน) ทาที่เหงือกแก้ปวดฟัน

แก้ว (Orage Jasmine)

Murraya paniculata (Linn. Jack) ใบแก้วมี Volatile oil 0.01% Volatile oil มี 1 - candinene และ sesquiterpene 
ประโยชน์ ยาชงของใบแก้ว ใช้เป็นยาบำรุงในสิงคโปร์ โดยเฉพาะในหญิงสาว ในชวาก็ใช้เช่นเดียวกับในสิงคโปร์ ยาชงใช้ทาภายนอกแก้งูสวัด ใบฝาดสมานใช้แก้ท้องร่วงและโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ใบใช้เคี้ยวและอมแก้ปวดฟัน

น้ำยาบ้วนปากสูตรคนเมือง (เมืองเหนือเจ้า)

ส่วนประกอบ ใบฝรั่ง 10 ใบ (ใช้ฝรั่งขี้นก ดีที่สุด) น้ำสะอาด 2 ลิตร เกลือ 3 ช้อนโต๊ะ น้ำหญ้าหวานเข้มข้น(แทนน้ำตาลให้ได้รสหวาน) 3 ช้อนโต๊ะ ดอกกานพลู 3 ช้อนโต๊ะ น้ำมันสระแหน่ 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ นำในฝรั่งมาล้างให้สะอาด บดแล้วต้มกับน้ำ 2 ลิตร เมื่อน้ำฝรั่งออกสี ให้ต้มต่ออีก 10 นาที กรองเอากากออก ใส่เกลือ น้ำหญ้าหวาน ดอกกานพลู แล้วต้มต่อไปอีกสักพักแล้วยกลง เมื่ออุ่นให้เติมน้ำมันสระแหน่
หมายเหตุ อาจใช้ใบฝรั่งสด บดแล้วคั้นเอาน้ำแทนการต้มซึ่งยาจะมีรสฝาดกว่า และอาจใช้ใบสระแหน่ สด(มินท์) แทนน้ำมันสระแหน่ ก็ ได้ และยานี้สามารถดื่มได้ด้วย สรรพคุณคล้ายยาธาตุ ช่วยขับลม ช่วยย่อยอาหาร และใบฝรั่งยังช่วยลดอาการท้องเสียอีกด้วย

ลั่นทม (Temple or Pagoda Tree)

Plumeria acuminata Ait. ยาง (latex) ทำให้เกิดความระคายเคืองที่ผิวหนัง ทำให้เลือดมาเลี้ยงที่บริเวณนั้นมาก เป็นยาถ่าย ใช้ทาภายนอกแก้หิด โรคปอดบวมตามข้อ และทาที่เหงือกแก้ปวดฟัน latex มีเกลือแคลเซียมของ plumeric acid และ cerotic acid และ acetyl lupeol รากเป็นยาถ่ายอย่างแรง พืชนี้เป็นพิษแก่สัตว์ 

จาก (Nipa palm)

จากเป็นพืชเศรษฐกิจ เพราะเกือบทุกส่วนใช้ประโยชน์ได้ ใบมี tannin 10.2 % 
ประโยชน์ น้ำคั้นจากต้นอ่อนใช้ทาแก้งูสวัส ใบใช้ตำพอกแผล เถ้าจากใบและรากใส่ฟันเป็นรูเพื่อระงับอาการปวดฟัน เถ้าจากใบใช้แต่งสีขนมเปียกปูนให้ดำ ใบอ่อนใช้มวนบุหรี่

ว่านน้ำ (Calamus, Sweet flag)

Acorus calamus L. เง่าของว่านน้ำมี Volatile oil อยู่ (0.5-10%) แต่ส่วนใหญ่แล้วมีตั้งแต่ 1.5-3.5% ซึ่งแล้วแต่แหล่งที่มา ว่านน้ำจากเอเชียมี Volatile oil มากกว่าว่านน้ำจากยุโรป แต่กล่าวกันว่า ว่านน้ำจากยุโรปมีกลิ่นหอมดีกว่าจากเอเชีย Volatile oil มี B-asarone, cis-methylisoeugenol, asarone, asarylaldehyde, calamene, linalool, calamol, calameone, eugenol, methyl eugenol azulene, pinene, cineole, camphor และสารอื่นๆอีก Volatile oil มีฤทธิ์ระงับอาการเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ ที่แยกออกมาจากร่างกายแล้ว ทำให้ความดันโลหิตลดลง ในกระต่ายและแมว กดประสาทส่วนกลาง และแก้อาการชักกระตุก น้ำมันว่านน้ำเป็นพิษ มีรายงานว่าทำให้เกิดมะเร็งในหนู (rat) 
ประโยชน์ ใช้แต่งกลิ่นสบู่ สารชะล้าง ครีม lotions และน้ำอบ ชาวจีนใช้ว่านน้ำเป็นยามากกว่า 2,000 ปี ใช้บำบัด rheumatoid, arthritis ,โรคลมปัจจุบัน (Stroke) ,ลมบ้าหมู เจริญอาหาร ภายนอกใช้ทาโรคผิวหนัง ประเทศตะวันตกก็ใช้ว่านน้ำเป็นยามาหลายร้อยปี ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ ขับลม ยาระงับความเจ็บปวด (Sedative) แก้ไข้ ใช้เคี้ยวเพื่อดับกลิ่นบุหรี่ในปาก ขับเสมหะ มีรายงานว่าเง่าว่านน้ำใช้เคี้ยวเพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน แต่ถ้าเคี้ยวไปนานๆ ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้และอาเจียร และน้ำมันว่านน้ำใช้เป็นยาฆ่าแมลงได้

ตะไคร้ (Lemon grass)

Cymbopogon citratus (DC.) Stapf. ตะไคร้มี Volatile oil 0.2-0.4 % โดยคิดจากน้ำหนักสด unknown alkaolid, saponin, B-sitosterol, hexacosnol, tricontanol, cymbopogonol และ triterpenoid citral เป็นสารหลักที่เป็นส่วนประกอบของ volatile oil นอกจาก citral แล้วก็มี 12-20 ๔ dipentene, methylheptenone, B-dihydropseudoionone , alcohols (linalool, methylheptenol, &-terpineol, geraniol, nerol, farnesol, citronellol) , aldehydes (citronelal, decanal, farnesal), volatile acids (isovaleric, geranic, caprylic, citronellic) และสารอื่นๆอีก 
น้ำมันตะไคร้มีคุณสมบัติเป็น antimicrobial โดยเฉพาะต่อ Gram-positive bacteria และ fungi มีรายงานว่าน้ำมันตะไคร้มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางเป็น analgesic, antipyretic และ antioxidant มีรายงานว่าน้ำมันตะไคร้ทำให้เกิดความระคายเคืองแก่ผิวของสัตว์ทดลองในขนาดปานกลาง แต่ไม่ระคายเคืองต่อผิวหนังคน
ประโยชน์ น้ำมันตะไคร้ใช้แต่งกลิ่นสบู่ สารชะล้าง (detergents) ครีม lotions และน้ำอบ ในด้านอาหาร ใช้แต่งกลิ่นเครื่องดื่มทั้งที่มี alcohol และไม่มี alcohol ขนมหวาน ลูกกวาด เง่าตะไคร้ทำยาต้มอมแก้ปวดฟัน กินเป็นยาขับปัสสาวะ ช่วยย่อยอาหาร ขับระดู ทำยาชงโดยใช้ตะไคร้ 120 กรัม ต่อน้ำครึ่งลิตร ให้เด็กกินเป็นยาบำรุงธาตุ แก้แน่นท้อง ถ้าผสมขิง อบเชย ลงไปเล็กน้อย กินเป็นยาขับเหงื่อ แก้ไข้ ถ้าผสมพริกไทยดำช่วยขับระดู และน้ำตะไคร้กินแก้อาเจียร

Balsam Peru

Peru Balsam, Peruvian Balsam เป็น Pathological product จากการกรีดต้น Myroxylon peraiara (Royale) Klotzschให้เป็นแผล และต้นไม้ให้ยางออกมามีกลิ่นหอม 
Balsam Peru ประกอบด้วย Volatile oil ที่มีจุดเดือดสูง 50-64 องศา และ resin 20-28% Volatile oil มี Benzoic และ cinnamic acid เป็นสารหลักและ ester เช่น benzyl benzoate, benzyl cinnamate และ cinnamyl cinnamate (styracin) กับ nerolidol benayl alcohol ในจำนวนน้อย
Balsam Peru มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรค และเชื่อว่าช่วยให้ epithelial cell เจริญได้รวดเร็ว มีหลักฐานว่าการสัมผัสกับ Balsam ชนิดนี้ ทำให้เกิดการแพ้และผื่นแดง
ประโยชน์ ใช้เตรียมเป็นยาทาแผล ริดสีดวงทวาร และทาแผลกดทับ ในทางทันตกรรมใช้ทาที่เหงือกภายหลังการถอนฟัน

Balsam Canada

Canada Balsam, Canada Turpentine ไม่ใช่ True Balsam เพราะไม่มี Cinnamic หรือ Benzoic acid เป็น Oleoresin ได้จากเปลือกต้น Abies balsaea (L.) Mill. 
Canada Balsam มี Volatile oil 30% เป็น resin ที่ไม่มีกลิ่น Volatile oil ส่วนใหญ่เป็น Monoterpene
ประโยชน์ ใช้แต่งกลิ่นสบู่ ใช้ทาริดสีดวงทวาร ในทางทันตกรรม ใช้เป็นส่วนผสมใน root canal sealers

ยาแก้ปวดฟัน/เหงือกบวม ตามแผนโบราณใช้

1. กานพลู แช่หัวเหล้าหรือเหล้าโรง เอาสำลีชุบน้ำยาทาที่ปวดฟัน 
2.การบูรกับเกลือสะตุและสารส้มสะตุ สีฟันหรือใส่ที่ฟันปวดหรือเหงือกบวม
3.หัวน้ำมันยางกับเกลือ สีฟันแก้เหงือกบวมและปวดฟัน
4. ขมิ้นอ้อยกับเกลือ เคี้ยวอมไว้สักครู่ แก้ปวดฟันเหงือกบวม
5. มหาหิงค์ เคี้ยวอมไว้สักครู่ แก้ปวดฟันเหงือกบวม
6. ใบแก้ว แช่หัวเหล้า ทาเหงือกแก้ปวดฟัน
7. การบูรกับเกล็ดสะระแหน่ ชุบสำลีที่ปวดบวม
8. โชยชิน แช่หัวเหล้า ทาเหงือกหรือที่ปวดฟัน
9. ยามหานิลผสมพิมเสน ทาแก้เหงือกบวม
10. เถาดีปลีป่า แช่เหล้า อมแก้ปวดฟันเหงือกบวม
11. ข่อยกับเกลือ ต้มอมแก้ปวดฟัน เหงือกบวม
12. เปลือกพิกุลกับเกลือ ใช้ต้ม, อมแก้ปวดฟัน
13. เปลือกมะขามเทศกับเกลือ ใช้ต้ม, อมแก้ปวดฟัน
14. เปลือกยางกับเกลือ ใช้ต้ม, อมแก้ปวดฟัน
15. ลั่นทมกับเกลือ ใช้ต้ม, อมแก้ปวดฟัน
16. การบูรบดกับเกลือ สีฟันทำให้หายปวดฟันหรือเหงือกบวม
17. ยางข่อย สีฟันทำให้ฟันทน
18. สะแกแสง สดๆเผาไฟจะมีน้ำปนยางไหลซึมออกอีกข้างที่ยังไม่ได้เผา เอาน้ำยาง นั้นสีฟันทำให้ฟันทน




  กลับบ้านหน้าแรก / ประวัติคลินิก / รู้จักกับเรา / กายวิภาคช่องปาก / โรคช่องปากขากรรไกร / การรักษา / เครื่องมือดูแลสุขภาพช่องปาก / ท่านถามเราตอบ / สมัครสมาชิก
 / WEBSITE COMPUTER


 

 

Hosted by www.Geocities.ws

1