รู้จริงแบบรู้เท่าทันไวรัสคอมพิวเตอร์กับ พช.เชียงใหม่
                ก่อนอื่นต้องขอเรียนว่าสาเหตุที่ทีมเว็บเชียงใหม่นำเรื่องนี้มาเนื่องจากเท่าที่แลกเปลี่ยน พูดคุยกันก็ยังคง
เป็นปัญหาคาใจว่าเรารู้จักไวรัสคอมพิวเตอร์น้อยและหลงเชื่ออะไรบ้างอย่างแบบผิดๆโดยเฉพาะที่โฆษณาโอ้อวด
บนเว็บไซด์ที่มีเยอะแยะมากมายสำหรับสาระเนื้อหานี้ได้พิจารณากลั่นกรองมาระดับหนึ่งแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์
แต่ก็ไม่ลึกมากเกินไป และต้องขออภัยที่ต้องใช้คำศัพท์ที่ค่อนข้างยากและเข้าใจลำบากเพื่อที่เราจะได้
ไม่ต้องกลัวอะไรมากมาย เพื่อให้เราได้เตรียมตัวป้องกันอย่างรู้จริง เรามาเริ่มกันท
ี่

ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์

เพื่อให้สะดวกในการป้องกันและกำจัดไวรัส จึงมีการแบ่งไวรัสคอมพิวเตอร์ออกเป็นหมวดหมู่ดังนี้
บูตเซกเตอร์ไวรัส (Boot Sector or Boot Infector Viruses)
คือไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ของดิสก์ เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานขึ้นมาตอนแรก เครื่องจะเข้าไปอ่านโปรแกรมบูตระบบที่อยู่ในบูตเซกเตอร์ก่อน ถ้ามีไวรัสเข้าไปฝังตัวอยู่ในบูตเซกเตอร์ในบริเวณที่เรียกว่า Master Boot Record (MBR)
ในทุกครั้งที่เราเปิดเครื่อง ก็เท่ากับว่าเราไปปลุกให้ไวรัสขึ้นมาทำงานทุกครั้งก่อนการเรียกใช้โปรแกรมอื่นๆ
โปรแกรมไวรัส (Program or File Infector Viruses) เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่งที่มักจะระบาดด้วยการติดไปกับไฟล์โปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น com, exe, sys, dll สังเกตได้จากไฟล์โปรแกรมจะมีขนาดที่โตขึ้นจากเดิม บางชนิดอาจจะสำเนาตัวเองไปทับบางส่วนของโปรแกรม
ซึ่งไม่อาจสังเกตจากขนาดของไฟล์ได้การทำงานของไวรัสจะเริ่มขึ้นเมื่อไฟล์โปรแกรมที่ติดไวรัสถูกเรียกมาทำงาน ไวรัสจะถือโอกาสไปฝังตัวในหน่วยความจำทันทีแล้วจึงให้โปรแกรมนั้นทำงานต่อไป เมื่อมีการเรียกโปรแกรมอื่นๆ ขึ้นมาทำงานไวรัสก็จะสำเนาตัวเองให้ติดไปกับโปรแกรมตัวอื่นๆ ต่อไปได้อีกเรื่อยๆ
มาโครไวรัส (Macro Viruses)
เป็นไวรัสสายพันธุ์ที่ก่อกวนโปรแกรมสำนักงานต่างๆ เช่น MS Word, Excel, PowerPoint เป็นชุดคำสั่งเล็กๆ ทำงานอัตโนมัติ ติดต่อด้วยการสำเนาไฟล์จากเครื่องหนึ่งไปยังเครื่องหนึ่ง มักจะทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่ขึ้นผิดปกติ การทำงานหยุดชะงักโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือทำให้ไฟล์เสียหาย ขัดขวางกระบวนการพิมพ์ เป็นต้น
สคริปต์ไวรัส (Scripts Viruses)
ไวรัสสายพันธุ์นี้เขียนขึ้นมาจากภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม เช่น VBScript, JavaScript ซึ่งไวรัสคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะทำงานเมื่อผู้ใช้เปิดหรือเรียกใช้งานไฟล์นามสกุล .vbs, .js ที่เป็นไวรัส ซึ่งอาจจะติดมาจากการเรียกดูไฟล์ HTML ในหน้าเว็บเพจบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ม้าโทรจัน (Trojan Horses)
เป็นไวรัสประเภทสปาย (SPY) ที่จะคอยล้วงความลับจากเครื่องของเราส่งไปให้ผู้เขียนโปรแกรม ระบาดกันมาก
บนอินเทอร์เน็ต ความลับที่ม้าโทรจันจะส่งกลับไปยังผู้เขียนโปรแกรมได้แก่ Username, Password หรือเลขที่บัตรเครดิต สำหรับท่านที่ชอบปิ้งออนไลน์ โดยโปรแกรมพวกนี้จะสามารถจับการกดคีย์ใดๆ บนคีย์บอร์ดแล้ว
จัดเก็บเป็นไฟล์ข้อความขนาดเล็กส่งกลับไปยังผู้เขียนโปรแกรม
ไวรัสประเภทกลายพันธุ์
หมายถึง ไวรัสในยุคปัจจุบันนี้ที่มีความสามารถในการแพร่กระจายตัวเองได้อย่างรวดเร็ว เปลี่ยนแปลงลักษณะตัวเองไปเรื่อยๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับ และซ่อนแอบอยู่ได้ในระบบคอมพิวเตอร์ ที่รู้จักกันมากได้แก่ประเภทหนอน (Worm) ชนิดต่างๆ ซึ่งสามารถแพร่กระจายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการแฝงตัวไปกับอีเมล์ กับไฟล์สคริปต์ที่ให้บริการบนอินเทอร์เน็ต
ตัวอย่างของไวรัสประเภทนี้ที่รู้จักกันดีก็ได้แก่ Love bug จะแพร่กระจายผ่านทางอีเมล์ เมื่อผู้รับเปิดอ่านจดหมายนั้น
ไวรัสจะแฝงตัวเข้าในเครื่องและค้นหารายชื่อที่อยู่อีเมล์ใน Addrees book โดยเฉพาะผู้ใช้งาน Outlook Express แล้วทำการส่งจดหมายไปยังผู้รับตามรายชื่อพร้อมไฟล์ไวรัสนั้นด้วย

       เมื่อเราเรียนรู้พอสมควรแล้วว่าประเภทของไวรัสคอมฯมีอะไรบ้าง เรามาต่อกันที่การป้องกันกำจัด
ไวรัสคอมฯกันเลย


การป้องกันและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์

โปรแกรมไวรัสเป็นโปรแกรมที่สามารถสร้างได้ง่าย แต่ตรวจจับได้ยาก เปรียบเหมือนเชื้อโรคร้ายที่คอยทำลายบรรดา
โปรแกรมและข้อมูลสำคัญบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากความสามรถในการสำเนาตัวเอง แฝงตัวและแพร่กระจาย
ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เราต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากในการใช้งานคอมพิวเตอรเพื่อความปลอดภัยของบรรดาข้อมูลต่างๆ
ไวรัสคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาให้สร้างความเสียหายสูงขึ้นไปทุกขณะ และแฝงตัวไปกับไฟล์ได้ทุกชนิดไม่เว้นแม้แต
่ไฟล์รูปภาพ การ์ดอวยพร เพลง และภาพยนตร์ ในอนาคตสิ่งที่น่ากลัวคือผ่านทางระบบเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ (เทคโนโลยีโทรศัพท์ปัจจุบันนี้ไม่ต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์แต่อย่างใด เพราะสามารถรับส่งภาพ เพลง เกมและเล่นอินเทอร์เน็ตได้) จึงเป็นเป้าหมายใหม่สำหรับแฮกเกอร์และบรรดาผู้ที่พัฒนาไวรัสคอมพิวเตอร์ทั้งหลาย
การรับมือกับไวรัสคอมพิวเตอร์

มีคำถามที่ผมต้องตอบอยู่เสมอเกี่ยวกับไวรัสว่าควรจะระวังป้องกันอย่างไร เพื่อไม่ให้เข้าไปทำลายระบบและไฟล์ข้อมูลอันสำคัญของเรา ง่ายๆ ถ้าคุณทำได้โอกาสที่ไวรัสจะสร้างความเสียหาย
ให้ก็น้อยลง วิธีการมีดังนี้
- ทุกครั้งที่ได้รับซอฟท์แวร์ที่ไม่ทราบแหล่งผลิต หรือได้รับแจกฟรี หรือดาวน์โหลดมาใช้ฟรีๆ ต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนนำมาใช้งาน
- การทำสำเนาแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างเครื่องต้องตรวจสอบก่อนทุกครั้ง อย่ามั่นใจแม้จะมีโปรแกรมป้องกันไวรัสติดตั้ง
อยู่ในเครื่องแล้วก็ตาม ควรสำรองข้อมูลที่สำคัญไว้เสมอๆ
- ไม่อนุญาตให้คนอื่นมาใช้เครื่องของท่าน โดยปราศจากการควบคุมอย่างใกล้ชิด (โดยเฉพาะการนำโปรแกรมต่างๆ มาติดตั้งในเครื่อง)
- พยายามสังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเครื่องอย่างสม่ำเสมอ เช่น การทำงานที่ช้าลง ขนาดไฟล์โตขึ้นหรือเนื้อที่ฮาร์ดดิสก์ลดลงมากผิดปกติ หน้าจอแสดงผลแปลกๆ ไฟฮาร์ดดิสก์ติดสว่างไม่ยอมดับ
- ควรหาโปรแกรมป้องกันไวรัสติดตั้งไว้ในเครื่องและหมั่นอัพเดทซิกเนเจอร์ไวรัสอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไวรัส
ชนิดใหม่ๆ (ปกติจะมีการอัพเดททุกๆ สัปดาห์) เช่น McAfee, Norton, PC-Cillin, Panda เลือกใช้กันเองนะครับ
- สำหรับนักท่องเน็ตทั้งหลาย ต้องระมัดระวังเพิ่มขึ้น ด้วย ไม่เปิดไฟล์ที่แนบมากับอีเมล์จากคนที่คุณไม่เคยรู้จักมาก่อน
ส่วนใหญ่จะมีข้อความเชิญชวน เช่น ข้อมูลสำคัญที่คุณต้องการ ภาพเด็ดๆ เพื่อคุณ หรืออื่นๆ (ถ้าติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสไว้จะช่วยตรวจสอบให้คุณได้ ถ้าโปรแกรมได้รับการอัพเดทบ่อยๆ)
- หลีกเลี่ยงการคลิกป้ายโฆษณาเชิญชวนในลักษณะที่บอกว่าจะทำให้คุณท่องเน็ตได้เร็วและนาน สามารถเข้าดูภาพ
ลับเฉพาะได้ เพราะนั่นคือกับดักที่ล่อให้คุณติดกับ
- หลีกเลี่ยงการดาวน์โหลดโปรแกรมที่ไม่ทราบที่มา หรือไม่ทราบว่าโปรแกรมนั้นใช้ทำอะไร หรือในแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ

*โปรแกรมป้องกันไวรัสสามารถหามาใช้งานได้จากเว็บไซต์ผู้ผลิต หรือแหล่งดาวน์โหลดใหญ่ๆ เช่น Download.com, Tucows.com, Thaiware.com ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโปรแกรมประเภทแชร์แวร์ให้
ทดลองใช้ 30 วัน

*แห่งอัพเดทซิกเนเจอร์ไวรัส มีอยู่ที่ไหน ก็สังเกตุง่ายๆก็ www.ตามด้วยชื่อยี่ห้อหรือบริษัทโปรแกรมไวรัสฯที่เราใช้นั่นแหละ
และอีกแห่งหนึ่งที่อยากแนะนำที่ผมเข้าไปใช้บริการค่อนข้างบ่อยที่ห้องสมุด มช.ที่ http://www.med.cmu.ac.th/library/ITCorner/VirusAlert/VirusAlert.htm

การที่เราอัพเดทก็หมายถึงการเพิ่ม
ประสิทธิภาพของโปรแกรมในการตรวจจับและกำจัดไวรัส และการเพิ่มรายชื่อไวรัสหรือที่ผมชอบพูดเสมอว่าปาร์ตี้ลิสต์
เพื่อที่จะให้โปรแกรมทราบว่ามีรายชื่อไวรัสอะไรบ้างที่จะต้องกำจัด ถ้าเราไม่อัพเดทก็หมายความว่าไวรัสชื่อใหม่ๆ โปรแกรม
ป้องกันไวรัสของท่านก็ป้องกันกำจัดไม่ได้เพราะไม่มีชื่อไวรัสในปาร์ตี้ลิสต์ หาไปก็ไม่รู้จัก อย่างไรก็ตามถ้าเราช้าและไม่ได้
สนใจก้มหน้าก้มตาใช้อย่างเดียว เราอาจจะสายเกินสำหรับการป้องกันและกำจัด เครื่องคอมฯเราอาจจะพังหรือแก้ไขไม่ได้
ก็เหลือวิธีสุดท้ายก็คือฟอร์แมทต์ล้างฮาร์ดดิสต์ แล้วหาโปรแกรมใหม่ดีๆไว้ใจได้ลงใหม่ หรือเปลี่ยนฮาร์ดดิสต์ใหม่เลย
นั่นหมายถึงเสียเงินแน่นอนและหลายตังค์ด้วย สุดท้ายในข้อเสนอส่วนตัวจริงๆครับและเป็นส่วนตัวของผม อยากขอร้องให้เรา
อย่าเชื่ออะไรที่ไม่เข้าท่า ไม่เข้าที ไม่อย่างนั้นเราก็จะเป็นเหยื่อรายแล้วรายเล่า ศึกษาให้รู้เท่าทัน อย่าปิดตัวเอง ท่านจะตาม
ไม่ทัน แก้ไม่ได้แล้วต้องเสียเงินมากมาย ที่สำคัญที่สุดอย่าปิดหัวใจ ที่จริงผมจะปิดท้ายตรงนี้แต่ผมนึกขึ้นได้อีกอย่างหนึ่ง
ว่าท่านควรจะรู้ลึกไปอีกหน่อยว่าชื่อไวรัสคอมฯที่เราเจอกันมันคืออะไร บ่งบอกอะไรได้บ้างปิดท้ายก็แล้วกัน ขออนุญาตลิงค์
หน้าใหม่
                                                      เรื่องชื่อไวรัสบ่งบอกอะไรเราได้บ้าง

25 / 12 / 46 lek

Hosted by www.Geocities.ws

1