เทคนิคเบื้องต้นในการออกแบบการแปรขบวนสำหรับวงโยธวาทิต

ฉัตรชัย ผู้ปฏิเวธ

ผู้เขียนได้รับมอบหมายจากผู้จัดการวารสารเพลงดนตรี ให้เขียนเรื่องตามหัวข้อดังกล่าวข้างต้น สืบเนื่องมาจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ได้จัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการออกแบบการแปรขบวนสำหรับวงโยธวาทิต วิทยากรคือ Mr. Gary Brattin ผู้ชำนาญการออกแบบการแปรขบวนจากสหรัฐอเมริกา จัดขึ้นในวันที่ ๒๒–๒๓ มีนาคม ๒๕๔๖ ที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมอบรม ๔๖ คน อายุตั้งแต่ ๑๕ ปี ไปจนถึง ๕๐ กว่า ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ถึงหลักการเบื้องต้นในการออกแบบการแปรขบวน การเขียน Code สำหรับแปรขบวนลงในกระดาษสำหรับออกแบบ ไปจนถึงการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยแสดงผลในการออกแบบก่อนที่จะมาถึงเรื่องของการแปรขบวน เรื่องที่ควรพูดถึงก่อนคือเรื่องของการฝึกทักษะพื้นฐาน ในเรื่องของระเบียบแถว นักเรียนควรจะต้องได้รับการฝึกในเรื่องดังกล่าวมาก่อน ในเรื่องนี้มีรายละเอียดค่อนข้างมาก เข่น ทำอย่างไรให้นักเรียนเดินได้เหมือนกัน ทำอย่างไรนักเรียนสามารถเดินได้ตามระยะทาง และจำนวนก้าวที่กำหนด การเดินถอยหลังทำอย่างไร กลุ่ม Percussion จะเดินอย่างไร การเดินให้ได้ตามระยะต่อระยะเคียงตามที่กำหนด ฯลฯ สมมุติว่านักเรียนได้ผ่านการฝึกพื้นฐานจนเกิดความชำนาญแล้ว ครูจะต้องส่งวงเข้าร่วมการประกวดวงโยธวาทิต จะต้องมีการวางแผนกันล่วงหน้าในการออกแบบการแปรขบวน ตั้งแต่กำหนด รูปแบบ Concept กำหนดเพลง เสร็จแล้วจึงเริ่มการออกแบบรูปแปรขบวน หลักการเบื้องต้นในการออกแบบการแปรขบวนฯ

๑. การออกแบบฯจะต้องคำนึงถึงเรื่องของเสียงดนตรีเป็นอันดับแรก รูปแปรขบวนมีความสำคัญรองลงมา การแปรขบวนที่ดูยิ่งใหญ่อลังการ แต่เสียงดนตรีออกมาไม่ดี แสดงให้เห็นว่าผู้ออกแบบไม่ได้ให้ความสนใจกับ Score เพลงในการวิเคราะห์กลุ่มเครื่องดนตรีที่ควรจะจัดให้อยู่ในตำแหน่งที่จะได้เสียงที่ดีที่สุด

๒. ผู้ออกแบบฯ จะต้องรู้ในระดับความสามารถของวงฯ หมายถึงความสามารถในการเรียนรู้ การฝึกซ้อม การปฏิบัติได้ถูกต้องชัดเจนตามที่กำหนด ความจำ(นักเรียนที่แปรขบวนต้องมีความจำดี) ทักษะในการแปรขบวน หากไม่คำนึงถึงสิ่งเหล่านี้จำทำให้ออกแบบได้ไม้เหมาะสมกับวง เช่นนักเรียนยังเป็นเด็กประถม แต่ออกแบบเหมือนนักเรียนเป็นเด็กโต นักเรียนก็ปฏิบัติได้ไม่ดี

๓. ผู้ออกแบบฯ และผู้สอนจะต้องทำความเข้าใจในรูปการแปรขบวนอย่างแท้จริง ก่อนทำการฝึกซ้อมทุกครั้ง หากผู้สอนไม่เตรียมตัวมาก่อนในการฝึกซ้อมแปรขบวน จะทำให้เสียเวลาในการฝึกซ้อมเป็นอย่างมาก

๔. ในการแปรขบวนอาจเกิดอุบัติเหตุ ทำให้นักเรียนเจ็บตัวได้ ในการออกแบบฯ ผู้ออกแบบต้องสามารถสอนวิธีการต่างในการแสดงที่จะไม่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ ให้กับนักเรียนได้ บางรูปในการออกแบบอาจก่อให้เกิดอันตรายกับนักเรียนได้ ทั้งกลุ่มนักเดนตรี และ ผู้แสดงประกอบ

๕. การให้นักเรียนก้าวยาวเกินไป ทำให้ไม่สะดวกในการบรรเลงดนตรี การออกแบบฯ ให้นักเรียนต้องก้าวยาวเกินไปก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี โดยเฉพาะเรื่องของการควบคุมคุณภาพของเสียงดนตรี

๖. จุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุดในการออกแบบ คือ การทำให้เพลงกับรูปแปรขบวนไปด้วยกัน ต้องคำนึงถึงเรื่องของวลีเพลง ประโยคเพลง การเปลี่ยนของท่อนเพลงอารมณ์เพลง ทำให้ผู้ชมเห็นในการเปลี่ยนรูปแบบการแปรขบวน ในเพลงที่มีความแตกต่างกัน

๗. ก่อนที่จะมาฝึกซ้อมต้องมั่นใจว่านักเรียนมีพื้นฐานเรื่องการเดินดีแล้ว และนักเรียนสามารถบอกตำแหน่ง หรือหาตำแหน่งตามที่ผู้ออกแบบฯกำหนดไว้ได้ถูกต้อง ในสนามกับกระดาษ Code ต้องตรงกัน

๘. ไม่ควรกำหนดให้ ผู้แสดงประกอบ(Color Guard) ทำการเปลี่ยนอุปกรณ์ในการแสดงพร้อมๆ กัน เพราะจะมีผลต่อภาพที่ผู้ชมเห็น คิดหาวิธีว่าทำอย่างไรให้ผู้ชมไม่รู้ว่า Color Guard ได้เปลี่ยนอุปกรณ์ไปแล้ว จะทำให้การแสดงมีความต่อเนื่องไม่ขาดตอน

๙. ควรออกแบบให้ Color Guard อยู่กับผู้บรรเลงแนวทำนองหลัก การแสดงประกอบควรให้มีความสัมพันธ์กับทำนองเพลงด้วย (Color Guard อยู่ใกล้กับ ผู้บรรเลงทำหนองหลัก ทำให้เกิดจุดสนใจที่ชัดเจน)

๑๐. ในเพลงที่รวมทำนองหลักและทำนองรองบรรเลงพร้อมๆกัน ในการออกแบบฯ ควรออกแบบให้เครื่องดนตรีที่บรรเลงในแต่ละแนวทำนอง ได้มีการเคลื่อนไหวสัมพันธ์กัน นอกจากผู้ชมจะได้ยินแนวทำนองหลายแนวแล้วยังได้เห็นภาพด้วย

๑๑. การนำ Percussion มาไว้หน้าวงขณะบรรเลงเพลง จะเกิดผลเสียในเรื่องของเสียงที่ได้ยิน นักดนตรีตรีในกลุ่มเครื่องเป่าจะบรรเลงไม่พร้อมกับ Percussion หากไม่จำเป็นไม่ควรนำกลุ่ม Percussion มาไว้ด้านหน้า ยกเว้นจะเป็น Solo Percussion

๑๒. เครื่องดนตรีกลุ่ม Woodwind ไม่ควรให้อยู่หลังกลุ่ม Brass และ Percussion เสียงเครื่องดนตรีกลุ่ม Woodwind จะทำให้การบรรเลงมีความน่าฟังยิ่งขึ้น หากนำไปไว้ด้านหลังจะทำให้รายละเอียดในกลุ่มของ Woodwind ไม่ชัดเจนเท่าที่ควร เพลงจะขาดความไพเราะไปอย่างมาก

การจัดระยะเคียง (ซ้าย – ขวา) ผู้ออกแบบการแปรขบวนควรคำนึงถึงดังนี้ (ระยะ1 ก้าวประมาณ 22.5นิ้ว)

ระยะห่าง

กลุ่มเครื่องเป่า

กลุ่ม Percussion

ผู้แสดงประกอบ (Guard)

๑ ก้าว

ชิดเกินไปสำหรับ Flute , Tenor sax , Baritone sax , Euphonium , Tuba

ชิดเกินไปสำหรับ Snares ไม่เหมาะกับ

กลองใหญ่และ Quad Toms

เหมาะสำหรับการเต้นที่เกี่ยวแขนกัน ไม่เหมาะกับการใช้อุปกรณ์ต่างๆ

๑.๕ ก้าว

เป็นระยะเคียงข้อศอก

ชิดเกินไปสำหรับ Flute , Tenor sax , Baritone sax , Euphonium , Tuba

เป็นระยะที่ค่อนข้างดีสำหรับ Snares ไม่เหมาะกับ กลองใหญ่และ Quad Toms ในขณะบรรเลง

สามารถใช้อุปกรณ์ขนาดเล็ก หากใช้ธงต้องยกขึ้นตรงๆ ไม่สามารถหมุนได้

๒ ก้าว

เป็นระยะเคียงหนึ่งช่วงแขน

Flute , Tuba ไม่ควรมีระยะเคียงน้อยกว่า ๒ ก้าว ระยะห่างนี้ทำให้ได้ยินเสียงผู้เล่นในแต่ละกลุ่มเครื่องดนตรีได้ดี

จะยากสำหรับการหมุนแถว (Rotating)

เป็นระยะปกติของ Snare และฉาบ ระยะนี้เหมาะสำหรับเด็กที่เริ่มฝึก ในระยะ ๑.๕ ก้าวจะยากเกินไป

แต่ในบางกรณีระยะนี้อาจกว้างเกินไป สำหรับ Snare

สามารถใช้อุปกรณ์ขนาดเล็ก ไม่เหมาะสำหรับการหมุนหรือควงอุปกรณ์ ที่มีขนาดใหญ่

๒.๕ ก้าว

เป็นระยะกว้างปานกลาง

สะดวกสำหรับการหมุนแถว เป็นระยะที่ทำให้วงดูมีขนาดใหญ่ขึ้น

เป็นระยะที่เริ่มกว้างเกินไปสำหรับ Snare

เป็นระยะที่ใกล้ที่สุดสำหรับ Quad tom

Bass Drum ใบเล็กใช้ระยะนี้ได้ แต่ Bass Drum ใบใหญ่ไไม่เหมาะสม

ใกล้เกินสำหรับธง

ดีสำหรับปืนไรเฟิล และดาบ หากมีการหมุนธง อย่าอยู่ในระยะห่างนี้นานเกินไป

๓ ก้าว

เป็นระยะปกติของผู้ฝึกในระดับเริ่มต้น ไปจนถึงผู้ที่ชำนาญแล้ว ง่ายที่จะนับ ง่ายที่จะหมุนแถว โดยเครื่องดนตรีไม่ชนกัน

ตั้งแต่ระยะ ๑.๕ จนถึง ๓ ก้าว เป็นระยะที่ยังชิดที่สามารถจะมองเห็นเส้น หรือส่วนโค้งได้อย่างชัดเจนในการเขียนรูปแปรขบวน

เป็นระยะที่เริ่มกว้างเกินไปสำหรับ Snare

เป็นระยะปกติของ Quad tom , Bass Drum , Cymbals

สำหรับธงสามารถแสดงได้หลายรูปแบบ แต่ไม่แนะนำให้หมุนหรือโยนธง ในระยะนี้

สำหรับปืนไรเฟิล และดาบ สามารถทำการหมุน และโยนได้

๓.๕ ก้าว

ไม่แนะนำในการออกแบบแปรขบวน

ไม่แนะนำในการออกแบบแปรขบวน

ไม่แนะนำ

๔ ก้าว

เป็นระยะที่กว้างเหมาะสำหรับการเคลื่อนที่เป็นกลุ่ม (Block Forms) ไม่เหมาะในการให้เห็นการเคลื่อนไหวที่เป็นเส้นในลักษณะต่างๆ เช่นเส้นตรง เส้นโค้ง ฯลฯ

ระยะนี้ผู้เล่น Snare , Quad tom จะต้องมีความชำนาญในการฝึกมาแล้ว ไม่แนะนำสำหรับผู้เริ่มต้น

เป็นระยะกว้างปกติสำหรับกลองใหญ่

สำหรับธงเป็นระยะชิดที่ดีที่สุด ในการหมุนหรือโยนสำหรับ ไรเฟิล และดาบ เป็นระยะที่สามารถแสดงได้อย่างสะดวก

๕ ก้าว

เป็นระยะที่ดีในการสร้างรูปขนาดใหญ่ในการแปรขบวน แต่จะไม่เกิดผลดีต่อเสียงดนตรี ผู้บรรเลงแต่ละคนจะได้ยินเสียงดนตรีของผู้อื่นไม่ชัดเจน และยากสำหรับการชำเลืองดูในระยะเคียง ในข้างซ้าย และขวา

เป็นระยะที่ดีในการสร้างรูปขนาดใหญ่ในการแปรขบวน แต่จะไม่เกิดผลดีต่อเสียงดนตรี ผู้บรรเลงแต่ละคนจะได้ยินเสียงดนตรีของผู้อื่นไม่ชัดเจน และยากสำหรับการชำเลืองดูในระยะเคียง ในข้างซ้าย และขวา

ดีสำหรับธง

เป็นระยะกว้างสำหรับ

ไรเฟิล และดาบ

๖ ก้าว

เหมือน ๕ ก้าว

ดีสำหรับรูปแบบที่เป็น Block ที่มีการเคลื่อนที่เป็นมุมต่างๆ

ไม่ดีสำหรับเสียงที่จะเกิดขึ้น

แต่สามารถใช้ได้หาก Percussion ไม่ได้เล่น

เป็นระยะปกติสำหรับ Color guard เป็นระยะที่ดีสำหรับธง

๘-๑๖ ก้าว

ไม่ดีสำหรับเสียงดนตรี

แต่สมารถใช้ได้ถ้าต้องการรูปแบบการแปรขบวนที่พิเศษ (Special visual effect)

ไม่ดีสำหรับเสียงที่จะเกิดขึ้น

แต่สามารถใช้ได้หาก Percussion ไม่ได้เล่น

เป็นระยะปกติสำหรับ Color guard เป็นระยะที่ดีสำหรับธง

การจัดระยะต่อ (หน้า-หลัง) ผู้ออกแบบการแปรขบวนควรคำนึงถึงดังนี้

๑. ก่อนที่จะออกแบบในรูปแบบต่างๆ ให้นึกถึงมุมมองของผู้ชม และจัดรูปให้เห็นสิ่งที่ต้องการแสดง ทั้งด้านหน้าและหลัง ต้องเห็นภาพในแนวลึก – ตื้น (ใกล้ – ไกล )

๒. ควรจะมีระยะว่างหน้า Percussion ประมาณ ๘ - ๑๒ ก้าว ถ้าระยะแคบกว่านี้จะทำให้มองเห็นไม่ชัดเจน

๓. ระยะต่อ(หน้า – หลัง)ของ Low Brass ไม่ควรต่ำกว่า ๒ ก้าว ยกเว้นถ้าเครื่องดนตรีมีปากลำโพงที่ชี้สูงขึ้น

๔. ในการเคลื่อนที่ตรงกันข้าม ควรมีระยะห่าง ๔ ก้าว

๕. หลีกเลียงการออกแบบให้ Percussion อยู่ในรูปแบบเส้นตรงแนวตั้ง เพราะจะมีผลอย่างมากต่อเสียงที่ได้ยิน

หลักการต่างๆในการออกแบบรูปแปรขบวนดังกล่าวนี้ เป็นพื้นฐานที่จะทำให้ผู้ออกแบบฯ สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นได้ในส่วนหนึ่ง แต่อาจจะไม่ครอบคลุมทุกปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการนำความคิดที่ออกแบบไว้ ไปปฏิบัติจริง หากเกิดปัญหาขึ้น เราจะเกิดการเรียนรู้ถึงสาเหตุ และวิธีการแก้ไข ในการเขียนโค้ดในครั้งต่อๆไปก็จะทำได้ดีขึ้น การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบทำให้ การออกแบบสะดวกยิ่งขึ้น โปรแกรมที่ใช้ออกแบบได้แก่ Pryware 3D JAVA , Drill Quest , Pryware 3D เป็นต้น โปรแกรมแต่ละตัวมีราคาค่อนข้างแพง หากอยากทดลองใช้ก็สามารถไป Download ได้ใน Internet โปรแกรมเหล่านี้ไม่สามารถหาซื้อได้ที่พันทิพย์ เพราะเป็นโปรมแกรมที่มีผู้ใช้ไม่มากเลยไม่มีการ Copy มาขาย โปรแกรมออกแบบต่างๆ เป็นเพียงเครื่องอำนวยความสะดวกในการออกแบบเท่านั้น ไม่สามารถออกแบบได้ด้วยตัวของมันเองสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ตัวผู้ออกแบบเองที่เป็นผู้คิด มีความคิด มีดินสอ ยางลบ มีกระดาษ ก็สามารถออกแบบแปรขบวนได้ เริ่มต้นที่ความคิด ไปจนถึงการแสดงแปรขบวนของวงโยธวาทิต และอาจไปถึงรางวัลชนะเลิศการประกวดในรายการต่างๆ

๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑

 

 

Hosted by www.Geocities.ws

1