Fiber Optic หรือ เส้นใยแก้วนำแสง คืออะไร?



Fiber Optic คืออะไร?

            Fiber Optic คือ สายนำสัญญาณข้อมูลชนิดหนึ่งที่สามารถเดินสายได้ไกลหลายกิโลเมตรและรองรับความเร็วสูง ( Bandwidth สูง ) โดยมีค่าสูญเสียของสัญญาณที่ต่ำมาก ( ค่า loss ) เมื่อเทียบกับนำสายสัญญาณแบบอื่นๆ ทำให้ในปัจจุบันสายไฟเบอร์ออฟติกนั้นมีความนิยมอย่างมมากในงานเดินระบบใหญ่ๆ หรืองานระบบที่ต้องการความเสถียรสูง

Fiber Optic นั้นดียังไง ?

  1. ส่งผ่านข้อมูลด้วยความเร็วสูง ( Bandwidth สูง ) แม้ระยะทางไกล เพราะสานไฟเบอร์ออฟติก หรือ เส้นใยแก้วนำแสงนั้นใช้ "ใยแก้วนำแสง" ในการนำสัญญาณโดยจะแตกต่างจากสายนำสัญญาณชนิดอื่นที่ใช้ "สายแลน UTP" ในการนำสัญญาณ จึงทำให้สายไฟเบอร์ออฟติกนั้นสามารถส่งผ่านข้อมูลได้ไม่ต่ำกว่า 2.5 ล้านบิท (2.5 กิกะบิต) ในระยะทางไม่เกิน 20 กิโลเมตร
  2. สามารถนำสัญญาณได้ไกล สายไฟเบอร์ออฟติกนั้นสามารถเดินได้ระยะทางสูงสุดถึง 20 กิโลเมตร โดยสามารถเดินได้ไกลกว่าสายแลนถึง 200 เท่า!!!!!
  3. มีค่าสูญเสียของสัญญาณที่ต่ำ ( ค่า loss ) สายไฟเบอร์ออฟติกนั้นมีคุณสมบัติที่สามารถให้แสงวิ่งผ่านได้จึงทำให้ "ค่าลอส" ของสัญญาณที่ต่ำมากแม้จะเดินสายสัญญาณในระยะทางไกล โดยจะแตกต่างกับทองแดงซึ่งจะมีค่าลอสที่สูงขึ้นเรื่อยๆถ้าหากเดินสายสัญญาณเกิน 100 เมตร
  4. มีความปลอดภัยจากการโจรกรรมข้อมูล สายไฟเบอร์ออฟติกนั้นมีลักษณะการทำงานคือ ส่งผ่านข้อมูลภายในเครื่อข่ายโดยใช้แสงเป็นตัวนำ จึงยากที่จะดักจับข้อมูลระหว่างทาง (การTAB)
  5. มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สายไฟเบอร์ออฟติกนั้นทำมากจากวัสดุที่เป็นฉนวนไฟฟ้า จึงไม่มีการนำกระแสไฟฟ้าและไม่เกิดการลัดวงจร อีกทั้งสายไฟเบอร์ออฟติกยังทำมากจากวัสดุที่ไม่ลามไฟอีกด้วย




ชนิดของสาย “Fiber Optic”

  1. สายไฟเบอร์ออฟติกแบบซิงเกิลโหมด (Single Mode)[SM] : มีเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นใยแก้วนำแสง (Core) อยู่ที่ 9 ไมครอน และมีเส้นผ่าศูนย์กลางของเปลือกหุ้มอยู่ที่ 125 ไมครอน ด้วยขนาดใยแก้วนำแสงที่เล็กจึงทำให้สามารถส่งสัญญาณได้ไกล มีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 2,500 ล้านบิทต่อวินาที ในระยะทางไม่เกิน 20 กิโลเมตร โดยการใช้งานจริงจะสามารถส่งข้อมูลได้ไกล 100 กิโลเมตร โดยความเร็วที่ได้นั้นจะไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบิทต่อวินาที
  2. สายไฟเบอร์ออฟติกแบบมัลติโหมด (Multi Mode)[MM] : มีเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นใยแก้วนำแสง (Core) อยู่ที่ 50 ไมครอน และมีเส้นผ่าศูนย์กลางของเปลือกหุ้มอยู่ที่ 125 ไมครอน ด้วยขนาดใยแก้วนำแสงที่เล็กจึงทำให้สามารถส่งสัญญาณได้ใกล้และมีแบนวิทที่ต่ำกว่าสายไฟเบอร์ออฟติกแบบซิงเกิลโหมด โดยมีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 100 ล้านบิทต่อวินาที ในระยะทางไม่เกิน 200 เมตร แต่สายไฟเบอร์ออฟติกแบบมัลติโหมดนั้นจะผลิตง่ายกว่าสายไฟเบอร์ออฟติกแบบซิงเกิลโหมด

[หน้าแรก ]