==== สัตว์ป่าสงวน 15 ชนิดของไทยตา� �.�.�.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่� �.�.2535===
  
 
 
6. ละอง หรือ ละมั่ง
Brown-antlered Deer or Eld’s Deer
 
ชื่อวิทยาศาสตร�    Cervus eldi MaClelland, 1842  
ชื่อพ้อง    Panolia acuticauda Fray, 1843  
                 Rucervus Tthamin Thomas, 1918  
อันดับ    Artiodactyla  
วงศ์    Cervidae  

  • ประวัติทางอนุกรมวิธา�
ละอง หรือละมั่ง เป็นสัตว์กีบคู� (even-toe Ungulate)  อันดับเดียวกับวัวควา� เนื่องจากเท้าม� นิ้วเท้าเจริญด� ข้างละ 2 นิ้วคือนิ้วที่ 3 และนิ้วที่ 4 พัฒนาไปเหมาะสำหรับการเคลื่อนไหวที่รวดเร็� และรับน้ำหนักตัวมากๆ ได� ปลายนิ้วและเล็� เปลี่ยนรูปเป็นกีบนิ้วที่แข็งขนาดใหญ่เท่ากั� 2 กี� ลักษณะเป็นกีบนิ้วยาวปลายเรียวแหล� ต่างจา� กีบนิ้วของวัวควา� ซึ่งปลายกีบมนกลม นิ้วที่สองและนิ้วที่ 5 ลดขนาดไปเหลือเป็นกิ่งกีบเล็ก� อยู่ 2 ข้างเหนือกีบนิ้ว ใหญ่ ส่วนนิ้วโป้งหรือนิ้วที� 1 ขาดหายไป และเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง กระเพาะอาหารมี 4 ตอ� ทำให้สามารถสำรอก อาหารจำพวกพืชที่มีเส้นใยย่อยยา� จากส่วนของกระเพาะพักขึ้นมา บดเคี้ยวในช่องปากได้อี� ช่วยให้การ ย่อยอาหา� มีประสิทธิภาพมากขึ้น  

ละองหรือละมั่ง จัดอยู่ในสัตว์จำพวกกวา� ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกแรกที่มีเขาบนหัวลักษณะเป็นคู่แบ� "Antlers" หรือเรียกว่า เขากวา� เนื่องจากเป็นเขาที่มีลักษณะเฉพาะของสัตว์จำพวกกวา� ตัวเขาตั� ไม่มีปลอกเขาและแกนอย่างเขาวัวควา� งอกติดกันส่วนของกะโหลกศรีษ� ชิ้นหน� ลำเขามีการแตกกิ่งก้า� จำนวนกิ่งก้านและรูปร่างเขาขึ้นกับชนิดของกวาง มีการผลัดเขา โดยเขาเก่าจะผลัดหลุดไปเมื่อเขาแก่เต็มที่ เขาใหม่จะงอกขึ้นแทนที่เป็นประจำทุกปี เขาจะเจริญใหญ่และมีการแตกกิ่งก้านออกไปตามอายุและ ขนาดของกวา�  

 เขากวา� เป็นลักษณะแสดงของกวางเพศผู� ตัวเมียไม่มีเข� เขาช่วงที่งอกใหม่เรียกว่� "เขาอ่อ�"  ลักษณะเป็นเข� ที่มีชีวิต มีหนังหุ้มเขานุ่มคล้ายกำมะหยี่ และมีเส้นเลือดเส้นประสาทมาเลี้ยง เมื่อเขาแก่เต็มที่หนังหุ้มเข� จะแห้ง ลอกหลุดไ�  เส้นเลือดเส้นประสาทตายหม� คงเหลือแต่ลำเขาแข็งที่ตายแล้� และจะผลัดหลุดไปในที่สุ� เขาชุดใหม่จะงอกขึ้นแทนที่เป็นวงจรทุกปีตลอดชีวิ�  
   
สัตว์จำพวกกวางและสัตว์กีบทั่วๆ ไป จะไม่มีเขี้ยวและฟันหน้าบนเป็นซี่� แต่กระดูกกรามบนจะดัดแปลงเป็นสันค� ใช้ร่วมกับฟันหน้าล่างเล็มกัดจำพวกใบพืชใบหญ้า คล้ายเคียวตัดหญ้� โดยทั่วไปจะมีถึงน้ำตาเป็นแอ่งลึก ขนาดใหญ่บริเวณหัวต� ตัวเมียมีเต้าน� 4 เต้า ไม่มีถุงน้ำด�  

  • ลักษณะเด่น
          แต่เดิมมาคำว่า� "ละอง" มักใช้เรียกตัวผู้ขนาดใหญ� ที่มีขนคอยาว สีค่อนข้างดำ ส่วนตัวเมี� มักเรียกว่� ละมั่ง  บางคนมักเรียกรวมกันไปว่า ละองละมั่ง แต่ส่วนใหญ่นิยมเรียกสั้น� ว่� "ละมั่ง" ทั้งตัวผู้และตัวเมีย  ซึ่งชื่อ "ละมั่ง" นี� น่าจะมีต้นตอเรียกเพี้ยนมาจากชื่อเรียกในภาษาเขมรว่า "ล่าเมียง"  
   
ลักษณะของละองหรือละมั่� เป็นกวางค่อนข้างขนาดใหญ่ ตัวเล็กและเพรียวบางกว่ากวางป่า  ซึ่งเป็นกวางขนาด ใหญ่ที่สุดของไทย เส้นขนตามตัวละเอียดแน่นอย่างขนเก้ง สีน้ำตาลแกมเหลือ� ช่วงคอยา� ใบหูกางใหญ� โดยเฉลี่ยแล้วตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย มีเส้นขนรอบคอหยาบยาว และสีขนตามตัวเข้มคล้ำกว่� ลูกเกิดใหม่จ� มีแต้มจุดขาว� ตามตัว เมื่อโตขึ้นจะจางหายไ�  

 ลักษณะเขาของละมั่งตัวผู้ มีลักษณะเฉพาะต่างไปจากเขาของกวางไทยชนิดอื่นๆ เขากิ่งหน้าหรือกิ่งรับหม� ยาวยื่นโค้งทอดไปบนหน้าผา� ทำมุมแคบกันสันหน้าผา� ปลายกิ่งเรียวแหล� ดูคล้ายกวางมีเขาที่หน้าผาก จึงได้ชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า "Brow-antlered Deer" ส่วนตัวลำเขาทอดโค้งลาดไปทางด้านหลั� ช่วงปลายเขาวกงอกกลับมาด้านหน้าคล้ายกับตะขอ ส่วนโค้งของกิ่งรับหมากับลำตัวเขารับกันพอดีที่ตรงฐานเขา จนดูเหมือนเป็นลำเขาเดียวกั� ไม่ตั้งทำมุมกันอย่างเขากวางทั่วๆ ไป ช่วงปลายลำเขาจะบิดถ่างแยกจากกั� ปลายเขาที่งอเป็นตะขอจะแตกออกเป็นแขนงเขาแยกกั� คล้ายนิ้วมือหลายแขนง เขาบางคู้มีแขนงเขาปลายกิ่งมา� จะทำให้ปลายเขามีลักษณะแบนใหญ่ออกไป นอกจากนี้บริเวณช่วงต่อของกิ่งรับหมากับลำเข� จะมีแขนงเขายื่นขึ้นมาคล้ายนิ้วมือข้างล� 2-3 กิ่งอีกด้ว�  

 ละมั่งพันธุ์ไท� จำแนกเป็นชนิดย่อ� Cervus eldi siamensis Lydekker, 1915 มีลักษณะปลายลำเข� แบนใหญ� แตกเป็นแขนงเล็กๆ หลายแขนงคล้ายมือ และบริเวณรอยต่อกิ่งรับหมากับลำเขามีแขนงเขาเล็ก� ยื่นขึ้นมา 2-3 กิ่ง ส่วนอีกชนิดพันธุ์หนึ่ง เป็นพันธ์พม่� ที่เรียกว่� "ทมิน" ในภาษาพม่า เป็นชนิดย่อย Cervus eldi thamin Thomas, 1918 มีลักษณะสีขนตามลำตัวเข้มกว่าพันธุ์ไท� ปลายลำเขาค่อนข้า� มีแขนงเข� น้อยกว่า และส่วนใหญ่จะไม่มีแขนงเยายื่นขึ้นมาบริเวณลำตัวเข� ละมั่งทั้ง 2 ชนิดมีพบในประเทศไทยทั้งคู่  

 ขนาดของละมั่งในประเทศไทย ขนาดตั� 1.5-1.7 เมตร หางยาว 0.22-0.25 เมตร ส่วนสูงที่ช่วงไหล่ 1.2-1.3 เมตร ใบหูยา� 0.15-0.17 เมตร น้ำหนั� 95-150 กก.  

  •  การกระจายพันธุ�
           ละมั่งมีการค้นพบครั้งแรกโดยนาย Lieutenant Percy Eld ในปี �.�.1841 เป็นกวางพื้นเมืองที่พบ ในเมืองมณีปุระ (Manipur) ในรัฐอัสสั� ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย มีชื่อเรียกเป็� ภาษาอินเดียว่า "ซันไ� (Sangai) " เป็นกวางประหลาดชนิดใหม่ที่มีเขาบนหัว ยื่นออกมาที่หน้าผา� ต่างจา� กวางทั่ว� ไป จึงตั้งชื่อภาษาอังกฤษว่า "Brow-antlered Deer" แต่มักนิยมเรียกกันว่� "Eld’s Deer" ตามชื่อผู้ค้นพบคนแรก ต่อมาจึงได้มีการศึกษาจำแนกและตั้งชื่อกวางที่พบชนิดใหม่ นี้ตามหลักอนุกรม วิธา� เป็น Cervus eldi McClelland, 1842 และถือเป็นพันธุ์ต้นแบบของละมั่� (Cervus eldi eldi) ซึ่งแตกต่างจากชนิดพันธุ์ไทยและชนิดพันธุ์พม่า ที่ส่วนปลายของลำเขาไม่โค้งงอหักเป็นตะขอมาข้างหน้� และมีแขนงกิ่งปลายเขาเพีย� 2 แขนงเท่านั้น  

 เขตการกระจายพันธุ์ขอ� มีพบในแถบตะวันอออกเฉียงเหนือของอินเดีย พม่า ไท� ลา� กัมพูช� เวียตนาม และเกาะไหหลำของประเทศจีน  ไม่พบแพร่กระจายลงทางใต� แถบภาคใต้ของไท� ตลอดแนวแหลมมลายู ทั้งนี� ชนิดพันธุ์พม่ามีพบในแถบประเทศพม่าและภาคตะวันตกของไทย ส่วนชนิดพันธุ์ไทยมีกระจายพันธุ์ในแถบ ประเทศอินโดจีน ไหหล� และทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไท�  

 ประเทศไทยจึงถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการกระจายพันธุ� ของละมั่� แต่เดิมเคยมีชุกชุมตามป่าโปร่งเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ต่อมาในช่ว� 50 ปีที่ผ่านม� ละมั่งถูกล่าจนสูญพันธุ์หมดไปเกือบทุกแหล่� ปัจจุบันคาดว่ายังคงม� เหลืออยู่บริเวณเทือกเขาพนมดงรั� ชายแดนไท�-กัมพูช� ซึ่งเป็นถิ่นชนิดพันธุ์ไท� และบริเวณเทือกเขาตะนาวศร� ชายแดนไท�-พม่า ซึ่งเป็นถิ่นชนิดพันธุ์พม่าหรือทามิ�  

  • อุปนิสัยและการสืบพันธุ�
          ความเป็นอยู่ตามธรรมชาติของละมั่ง ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ในอดีตครั้งยังมีละมั่งชุกชุมทั่วไป มีรายงานพบฝูงละมั่งขนาดใหญ่มีจำนวนถึ� 50 ตั� แต่ปัจจุบั� เนื่องจากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไ� และจำนวนประชากรละมั่งลดน้อยลงมาก จึงพบแต่ละมั่งอยู่ตัวเดียว หรือฝูงเล็กๆ  

โดยทั่วไปชอบอาศัยตามป่าเต็งรัง ป่าโปร่ง หรือทุ่งใกล้� หนองน้� ตอนกลางวันที่อากาศร้อนละมั่ง จะหลบร้อนไ� อยู่ใต้ร่วมไม้ชายป่า ถ้าเป็นตัวผู้ขนาดใหญ่ซึ่งขี้ร้อนกว่า มักจะลงนอนแช่ปลักโคล� ตามหนองน้ำอย่างพวกควาย ปกติไม่ชอบอยู่อาศัยตามป่ารกทึบ โดยเฉพาะตัวผู้ เนื่องจากเขาบนหัวมีกิ่งรับหมายาวปลายแหลมยื่นมาข้างหน้า อีกทั้งปลายลำเขาที่โค้งงอมาด้านหน้�  และแตกปลายออกเป็นแขนงกิ่งเล็กๆ  ทำให้เวลาเข้าป่ารกทึ� กิ่งและแขน� จะ ไปขัดเกี่ยวกิ่งไม้ และเถาวัลย์ต่างๆ คาดว่าด้วยสาเหตุนี� จึงไม่พบละมั่งตามป่าทางภาคใต้และมาเลเชีย ซึ่งสภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าดิบทึบ ไม่เหมาะเป็นที่อยู่อาศัยของละมั่�  

นิสัยการกินอาหารของละมั่งคล้ายพวกวัวควาย ปกติชอบกินหญ้าและลูกไม้ต่างๆ ตามพื้นทุ่งโล่� หรือป่าโปร่ง ไม่ค่อยชอบกินใบไม้นั�  
   
ฤดูผสมพันธุ์ของละมั่งไทยตามธรรมชาต� พบอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ�-เมษายน ส่วนละมั่งที่เพาะเลี้ยงอยู่ตาม สวนสัตว์ต่าง� มักจะไม่มีฤดูผสมพันธุ์ที่แน่นอ�  แต่ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกาย�-มิถุนายน ระยะตั้งท้อง นา� 240-244 วั� ออกลูกท้องละ 1 ตั� ลูกแรกเกิดจะมีลายจุดขาวๆ ตามตัว โตขึ้นจะค่อยจางหายไป แต่ตัวเมียบางตัวจะยังคงมีลายจุดจาง� นี้ให้เห็นจนโต วัยเจริญพันธุ์ของละมั่งตัวผู้อายุประมา� 1 ปีขึ้นไป ส่วนตัวเมียประมา� 2 ปีขึ้นไป  

  • สาเหตุการใกล้สูญพันธุ์ 
สาเหตุที่ทำให้ประชากรของละมั่งในธรรมชาติลดน้อยลงจนใกล้สูญพันธุ� มาตากการถูกล่า และป่าที่เป็นที่อาศั� ถูกทำลายไป ทั้งนี้เนื่องจากหนังและเขาละมั่งมีความสวยงามและราคาสูง เป็นที่ต้องการของนักสะสมซากสัตว์ป่� ประกอบกับนิสัยของละมั่งที่ชอบอาศัยอยู่ตามทุ่งโล่งหรือป่าโปร่�  จึงถูกล่าได้ง่าย และป่าเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหลั� ซึ่งเป็นทุ่งโล่งและป่าโปร่งมักเป็นพื้นที่แรก� ที่จะถูกบุกรุกเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศั� ทำให้ประชากรละมั่ง ในป่าธรรมชาติลดน้อยล� กระจัดกระจายเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย ไม่สามารถแพร� ขยายพันธุ์ เป็นปกติตามธรรมชาติได้  
   
นอกจากนี� อหล่งที่อยู่อาศัยสำคัญที่ยังมีละมั่งอยู่ในแถบประเทศกัมพูชา และแถบประเทศพม่า ล้วนอยู่ในสถาณ การณ� สู้รบต่อเนื่องมาโดยตลอ� ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อความปลอดภั� และการดำรงชีวิตของละมั่ง ในพื้นที่ดงกล่าว ทำให้สถานการณ์ของละมั่งในป่าล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์เป็นอย่างยิ่�  

ปัจจุบันมีการนำเอาละมั่งมาเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ในสวนสัตว์ ฟาร์มปศุสัตว์ต่างๆ และหน่วยงานเพาะเลี้ย� สัตว์ป่าของกรมป่าไม้ ได้อย่างแพร่หลาย แต่ส่วนใหญ่เป็นละมั่งพันธุ์พม่าหรือทามิน มีละมั่งพันธุ์ไทยน้อยมาก  

  • สถานภา� CITES     �ัญชี Appendix I 

  • เรื่องโด� สวัสดิ� วงศ์ถิรวัฒน์ กรมป่าไม� 2539
    • เอกสารอ้างอิ�
    • บุญส่ง เลขะกุ�. 2538. ละองละมั่งรุ่นสุดท้ายของเมืองไทย. ธรรมชาตินานา สัตว� 3.  พิมพ์รวมเล่มครั้งที่ 2.   สำนักพิมพ์สารคดี กรุงเทพฯ หน้า 149-152
    • สวัสดิ� วงศ์ถิรวัฒน์. 2527 เขากวา� (�.244). ฝ่ายส่งเสริมและเผยแพร่ กองอนุรักษ์สัตว์ป่� กรมป่าไม� 14 หน้า
    • สาขาวิจั� นิเวศน์วิทยา. 2534. พืชและสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ในประเทศไทย. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี  แห่งประเทศไท� โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้า� หน้า 74-75.
    • Honacki, J.H.K.E. Kinman and J.W. Koeppl. 1982. Mammal Species of the world" A Taxonomic and Geographic   Reference. The Association of Systematics Collections. Lawrence, Kaksas, U.S.A. p.320
    • Humphrey,S.R. and J.R.Bain 1990. Endangered Animals of Thailand. Flora & Fauna Handbook No.6 Sandhill  Crane Press Florida p.391-394
    • Lekagul, B. and J.A.McNeely. 1977. Mammals of Thailand. Kurusapha Ladprao Press p.688-691
    • Modell, W. 1969. Horns and Antlers. Scientific American. Vol. 220 p"114-122
    • The Manipur Brow-antlered Deer-Sangai (Cervus eldi eldi) (Printing Matterial in color)
 
กด เพื่อปิดหน้าต่างนี�
 
 
Hosted by www.Geocities.ws

1