บทที่ 1
ความหมายและบทบาทของนักวิเคราะห์ระบบ


1.1 ความหมายการวิเคราะห์ระบบ

1.2 บทบาทของนักวิเคราะห์ระบบ

1.3 ความแตกต่างระหว่างโปรแกรมเมอร์และนักวิเคราห์ระบบ

1.4 การเตรียมตัวเป็นนักวิเคราะห์ระบบ

 
<< กลับหน้าแรก >>
 

1.1 ความหมายการวิเคราะห์ระบบ

ระบบคืออะไร

ระบบคือกลุ่มขององค์การต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันเพื่อจุดประสงค์อันเดียวกัน ระบบอาจจะประกอบด้วยบุคคลากร เครื่องมือ เครื่องใช้ พัสดุ วิธีการ ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องมีระบบจัดการอันหนึ่งเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์อันเดียวกัน ตัวอย่างเช่น
ในร่างกายคนเราจะมีระบบในตัวคือมีความสัมพันธ์ติดต่อกันระหว่างสอง เส้นประสาท เซลล์รับรู้ความรู้สึก เพื่อบรรลุเป้าหมายในการรับรู้ความรู้สึกร้อนหนาว เป็นต้น
ในการใช้ภาษาก็ถือทำอย่างเป็นระบบนั่นระบบนั่นคือ ความสัมพันธ์ติดต่อกันระหว่าง การใช้คำสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายในการตีความให้เข้าใจภาษานั้นๆ
ในธุรกิจก็เป็นระบบอย่างหนึ่ง ซึ่งมีส่วนประกอบคือ การตลาด โรงงาน การขาย การค้นคว้า การขนส่ง การเงิน บุคคล การทำงาน โดยที่ทั้งหมดมีการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายให้เกิดกำไร

องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอน

1. บุคคลากรได้แก่ ครูและนักเรียน
2. เครื่องมือได้แก่ เครื่องฉายแผ่นใส ชอล์ก กระดานดำ
3. พัสดุได้แก่ โต๊ะ เก้าอี้
4. วิธีการได้แก่ เขียนบนกระดานดำ ใช้แผ่นใส หรืออื่นๆ
5. การจัดการได้แก่ โรงเรียนจัดตารางเรียน เก็บเงินค่าเล่าเรียน จ่ายค่าสอนให้แก่ครู

เมื่อเราศึกษาระบบใดระบบหนึ่ง เราควรจะต้องเข้าใจการทำงานของระบบนั้นให้ดีโดย การถามตัวเองตลอดเวลาด้วยคำถามเหล่านี้
1. ระบบทำอะไร ( What )
2. ทำโดยใคร ( Who )
3. ทำเมื่อไร ( When )
4. ทำอย่างไร ( How )

การวิเคราะห์ระบบและการออกแบบ ( System Analysis and Design)
การวิเคราะห์และออกแบบระบบคือ วิธีการที่ใช้ในการสร้างระบบสารสนเทศขึ้นมาใหม่ในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง หรือระบบย่อยของธุรกิจ นอกจากการสร้างระบบสารสนเทศใหม่แล้ว การวิเคราะห์ระบบช่วยในการแก้ไขระบบสารสนเทศเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นด้วยก็ได้ การวิเคราะห์ระบบคือ การหาความต้องการ ( Requirements) ของระบบสารสนเทศว่าคืออะไร หรือต้องการเพิ่มเติมอะไรเข้ามาในระบบและการออกแบบก็คือ การนำเอาความต้องการของระบบมาเป็นแบบแผนหรือเรียกว่าพิมพ์เขียวในการสร้างระบบสารสนเทศนั้นให้ใช้ในงานได้จริง ผู้ที่ทำหน้านี้ก็คือ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ( System Analysis : SA )

นักวิเคราะห์ระบบคือใคร ?
คอมพิวเตอร์เป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้สำหรับเก็บรวบรวมและประมวลผลให้กับผู้ใช้โดยให้ประโยชน์ต่อผู้ใช้คือ ความรวดเร็วและความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญต่อการบริหารของธุรกิจในปัจุบันที่มีการแข่งขันสูง
ผู้ใช้ ( Users ) จึงเป็นผู้กำหนดปัญหาและแนวทางของระบบงานที่นำมาแก้ไขซึ่งปัญหาแต่ผู้ใช้เองไม่ทราบวิธีจะนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้แก้ปัญหา หรือช่วยเหลือในการบริหาร ในทางตรงกันข้ามโปรแกรมเมอร์ ( programmers)และช่างเทคนิค ( technicians)เป็นผู้ที่สามารถจะใช้เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์และป้อนคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ต้องการ แต่โปรแกรมเมอร์หรือช่างเทคนิคมักจะไม่เข้าใจถึงระบบธุรกิจมากนัก ดังนั้น ช่องว่างระหว่างนักธุรกิจหรือระบบงานในหน่วยงานต่างๆ กับโปรแกรมเมอร์หรือกับช่างเทคนิคจึงอาจเกิดขึ้นได้
นักวิเคราะห์ระบบจึงทำหน้าที่เป็นผู้สมานช่องว่างนี้ นักวิเคราะห์ระบบเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงที่จะนำเอาความเข้าใจและเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์มาใช้ในการพัฒนาระบบงานข้อมูลเพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับงานในหน่วยงานต่างๆ
กลับข้างบน

1.2 บทบาทของนักวิเคราะห์ระบบ

นักวิเคราะห์ระบบจะเป็นผู้ที่ศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของนักธุรกิจ โดยนำเอาปัจจัย 3 ประการ คือ คน ( people ) วิธีการ ( method ) และคอมพิวเตอร์เทคโนโลยี ( computer technology ) ใช้ในการปรับปรุงหรือแก้ปัญหาให้กับนักธุรกิจ

เมื่อได้มีการนำเอาพัฒนาการทางเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์มาใช้ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องรับผิดชอบถึงการกำหนดลักษณะของข้อมูล ( data ) ที่จะจัดเก็บเข้าสู่ระบบงานคอมพิวเตอร์ การหมุนเวียน การเปลี่ยนแปลงของข้อมูลและระยะเวลาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้หรือธุรกิจ ( business users )

นักวิเคราะห์ระบบไม่ได้เพียงวิเคราะห์หรือดีไซน์ระบบงานเท่านั้น หากแต่ยังขายบริการทางด้านระบบงานข้อมูล โดยนำเอาประโยชน์จากเทคโนโลยีล่าสุดมาใช้ควบคู่กันไปด้วย

จากบทบาทของนักวิเคราะห์ระบบที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทำให้นักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีความรู้ทั้งทางภาคธุรกิจหรือการดำเนินงานในหน่วยงานต่างๆ และคอมพิวเตอร์ควบคู่กัน นักวิเคราะห์ระบบโดยส่วนใหญ่สามารถที่จะดีไซน์ระบบงานและเขียนโปรแกรมขึ้นได้ด้วยตัวเอง ส่วนนี้เองกลับทำให้บุคคลภายนอกเกิดความสับสนระหว่างโปรแกรมเมอร์กับนักวิเคราะห์ระบบ
 

1.3 ความแตกต่างระหว่างโปรแกรมเมอร์และนักวิเคราะห์ระบบ

โปรแกรมเมอร์ ( programmer ) หมายถึงบุคคลที่รับผิดชอบในด้านการเขียนโปรแกรม สิ่งที่เขาจะเชื่อมโยงนั้น ได้แก่ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติ ( Operating System :OS ) หรือแม้กระทั่งภาษาที่ใช้ในการเขียน เช่น COBOL, BASIC และ C++ งานของโปรแกรมเมอร์จะเป็นไปในลักษณะที่มีขอบเขตที่แน่นอนคือโปรแกรมที่เขาเขียนขึ้นนั้นถูกต้องตามจุดประสงค์หรือไม่ กิจกรรมงานของโปรแกรมจะเกี่ยวข้องกับคนจำนวนน้อย เช่น กับโปรแกรมเมอร์ด้วยกันเอง หรือกับนักวิเคราะห์ระบบที่เป็นผู้วางแนวทางของระบบให้แก่เขา

นักวิเคราะห์ระบบ หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า SA (SYSTEM ANALYSIS) นั้น นอกจากจะต้องรับผิดชอบต่อการโปรแกรมคอมพิวเตอร์แล้ว ยังจะต้องรับผิดชอบงานในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ผู้ที่จะใช้ระบบแฟ้มหรือฐานข้อมูลต่างๆ รวมทั้งข้อมูลดิบที่จะป้อนเข้าระบบงานของนักวิเคราะห์ระบบไม่ได้อยู่ในลักษณะที่แน่นอนแบบโปรแกรมเมอร์ ไม่มีคำตอบที่แน่นอนจากระบบที่เขาวางไม่ว่าผิดหรือถูก งานของเขาเกิดจากการประนีประนอมและผสมผสานของปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบงาน คือ ผู้ใช้ วิธีการ เทคโนโลยี และอุปกรณ์จนได้ผลลัพธ์ที่เหมาะสมออกมาเป็นระบบงาน (APPLICATION SYSTEM) งานของนักวิเคราะห์ระบบจึงมักจะต้องเกี่ยวข้องกับคนหลายระดับ ตั้งแต่ลูกค้าหรือผู้ใช้ นักธุรกิจ โปรแกรมเมอร์ ผู้ตรวจสอบบัญชีหรือแม้กระทั่งเซลล์แมนที่ขายระบบงานข้อมูล

แม้ว่างานของนักวิเคราะห์ระบบจะดูเป็นงานที่ยากและซับซ้อน แต่งานในลักษณะนี้ก็เป็นงานที่ท้าทายให้กับบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์และกว้างไกลเข้ามาอยู่เสมอ ความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้วางระบบงานออกมาเป็นรูปร่างและสามารถใช้ปฏิบัติได้จริง จะฝังอยู่ในสำนึกของเขาตลอดเวลา ความรู้สึกอันนี้คงจะถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือไม่ได้ แต่จะทราบกันเองในหมู่ของนักวิเคราะห์ระบบด้วยกัน

เพื่อให้เข้าใจความหมายของนักวิเคราะห์ระบบมากยิ่งขึ้น ตารางที่ 1 จะแสดงให้เห็นรายละเอียดของหน้าที่ของนักวิเคราะห์ระบบ

Job Description

ตำแหน่งงาน : นักวิเคราะห์ระบบ

รายละเอียดของงาน :

1. รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาระบบงานข้อมูล (INFORMATION SYSTEM) รับผิดชอบในการศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของธุรกิจ เพื่อที่จะหาทางนำเอาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ วิธีการทางธุรกิจ รวมถึงบุคลากรต่างๆ มาใช้ในการพัฒนาเพื่อหาทางแก้ไขซึ่งปัญหา และบรรลุถึงความต้องการของธุรกิจนั้นๆ
2. ดีไซต์และจัดวางระบบฐานข้อมูล รวมทั้งการติดตั้งด้วย
3. ให้คำแนะนำและอบรมทั้งทางด้านเอกสารและการพบปะพูดจา หรือสัมมนาในหัวข้อของระบบงาน

ความรับผิดชอบ :

1. วิเคราะห์และประเมินผล เพื่อหาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ของระบบ
2. วิเคราะห์ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบธุรกิจที่เป็นอยู่
3. แจกแจงถึงสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นจะร้องพัฒนาขึ้นเพื่อใช้หรือทดแทนระบบเดิม
4. กำหนดทางเลือกต่างๆ ที่เป็นไปได้ (Altermative solution) ในการแก้ปัญหา
5. เลือกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ตามความเหมาะสม
6. ดีไซน์และวางระบบงานให้คล้องจองกัน เพื่อแก้ปัญหาของธุรกิจ
7. ให้คำแนะนำต่างๆ เมื่อระบบงานถูกนำมาใช้จริง

หน้าที่ :

1. จัดทำงบประมาณค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมทั้งด้านกำลังคน
2. กำหนดแผนงานและระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนาระบบงาน
3. ดำเนินการสัมภาษณ์และรวบรวมข้อมูลที่สำคัญต่อการพัฒนาระบบงาน
4. จัดทำเอกสารและวิเคราะห์ระบบงานธุรกิจในปัจจุบัน
5. พัฒนาระบบงานโดยใช้เทคโนโลยีปัจจุบันเพื่อปัญหาให้แก่ธุรกิจ
6. วิเคราะห์ถึงความเหมาะสมต่างๆ ของเทคโนโลยี การปฏิบัติการ และฐานทางเศรษฐกิจ
7. ทบทวนและยื่นข้อเสนอของระบบงานเพื่อพิจารณาอนุมัติ
8. ดีไซน์และตรวจสอบความถูกต้องของระบบงาน
9. ดีไซน์แฟ้มหรือฐานข้อมูลและโครงสร้างต่างๆ ที่ใช้ในระบบ
10. ดีไซน์ลักษณะการติดต่อระหว่างผู้ใช้ระบบกับระบบงานคอมพิวเตอร์ ( USERS) กับโปรแกรมเมอร์ (PROGRAMMERS) อย่างไรก็ตามธุรกิจหรือหน่วยงานต่างๆ จึงมักจะมีความคิดที่ว่า
11. ดีไซน์วิธีการเก็บข้อมูลและเทคนิค
12. ดีไซน์ระบบรักษาความปลอดภัย และการควบคุมระบบ
13. ให้คำแนะนำทางด้านการเขียนโปรแกรมเพื่อให้ระบบดำเนินไปได้ตามเป้าหมาย
14. วางแผนงานต่างๆ เพื่อให้ระบบได้พัฒนาขึ้นใหม่ถูกนำมาใช้แทนระบบเดิมโดยให้มีความยุ่งยากน้อยที่สุด (CONVERSION PLANS)

ตารางที่ 1 รายละเอียดหน้าที่ของนักวิเคราะห์ระบบงาน

กลับข้างบน


1.4 การเตรียมตัวเป็นนักวิเคราะห์บทบาทของนักวิเคราะห์ระบบ

หลังจากที่เราได้วิเคราะห์ว่า นักวิเคราะห์ระบบจะทำหน้าที่เป็นแกนกลางระหว่างนักธุรกิจ (BUSINESS PEOPLE) หรือผู้ใช้ระบบ (USERS) กับโปรแกรมเมอร์(PROGRAMMERS) อย่างไรก็ตามธุรกิจหรือหน่วยงานต่างๆ จึงมักจะมีความคิดที่ว่านักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีพื้นฐานการเขียนโปรแกรมเป็นอันดับแรกแนวความคิดนี้ แท้จริงแล้วเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นในคุณสมบัติอันควรมีของนักวิเคราะห์ระบบ
นักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีความสามารถที่จะพัฒนาระบบเพื่อแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้หรือธุรกิจอย่างมีเทคนิคและแบบแผน โปรแกรมเมอร์ที่เก่งมิได้หมายความว่าเขาจะเป็นนักวิเคราะห์ระบบที่ดีได้ในทางตรงกันข้าม โปรแกรมเมอร์ที่ไม่เก่งมิได้หมายความว่าเขาจะเป็นนักวิเคราะห์ระบบที่ดีไม่ได้
หากเราจะพิจารณาถึงคุณสมบัติพื้นฐานที่นักวิเคราะห์ระบบควรมี โดยยึดตามแนวทางของงานที่นักวิเคราะห์ระบบต้องใช้ปฏิบัติ ก็จะเป็นดังต่อไปนี้

1. ความรู้ทางด้านเทคนิคของระบบงานข้อมูลและเทคโนโลยี
นักวิเคราะห์ระบบมักจะถูกมองว่าเป็น "ตัวแทนแห่งความเปลี่ยนแปลง" เหตุที่ว่างงานของนักวิเคราะห์ระบบเป็นงานที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของระบบงานโดยตรง นักวิเคราะห์ระบบจะต้องนำเอาความรู้ทางด้านเทคนิคและเทคโนโลยีมาช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อระบบงานของผู้ใช้หรือธุรกิจ
นักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำตัวเองให้ทันสมัยอยู่เสมอ และทราบถึงแนวโน้มที่จะเป็นไปในอนาคตด้วยการอ่านแม็กกาซีนรายเดือนหรือรายสัปดาห์ ในส่วนของระบบงานข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์แม็กกาซีนจึงเป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์ระบบสมควรต้องติดตามอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้การสัมมนาทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรติดตามเช่นกัน

2.ประสบการณ์ทางด้านการเขียนโปรแกรม
เป็นที่แน่นอนว่านักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำงานใกล้ชิดกับโปรแกรมเมอร์ ความรู้ทางโปรแกรมจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะช่วยให้การสื่อสารระหว่างนักวิเคราะห์ระบบกับโปรแกรมเมอร์ดำเนินไปได้โดยสะดวกและเข้าใจกัน ถึงแม้ว่านักวิเคราะห์ระบบอาจจะไม่ได้ไปนั่งเขียนโปรแกรมด้วยตนเองก็ตาม
นักวิเคราะห์ระบบควรจะมีความรู้ทางด้าน HIGH-LEVEL PROGRAMMING LANGUABE อย่างน้อย 1 ภาษา เช่น FORTRAN, BASIC, COBLO,ADA หรือ ที่เราเรียกกันอย่างย่อๆ ว่า 4GL อย่างน้อย 1 ภาษาเช่น DBASE, FOXPRO,ORACLE,MAGIC, หรือ RBASE เป็นต้น
ภาษาที่เลือกเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาระบบควรจะพิจารณาตามความเหมาะสม เช่น หากเป็นบริษัททีพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อขายโดยตรงก็อาจเลือกใช้ภาษา C เป็นต้น หรือหากระบบงานเกี่ยวข้องกับงานทางด้านวิศวกรรมหรืองานค้นคว้าทางด้านวิทยาศาสตร์ ก็อาจเลือก FORDTRAN เป็นภาษาหลัก อย่างไรก็ตามการเลือกใช้ภาษามิได้จำกัดอยู่เฉพาะว่าภาษานั้นเหมาะสมกับงานชนิดใดหากแต่ควรคำนึงถึงว่าภาษาที่จะใช้นั้นเป็นภาษาที่สามารถนำไปพัฒนาระบบได้อย่างต่อเนื่อง และมีความสามารถที่จะรองรับงานนั้นได้จึงเป็นจุดสำคัญ

3. ความรู้ทั่วไปทางด้านธุรกิจ
คงเป็นไปไม่ได้ว่านักวิเคราะห์ระบบจะเป็นผู้เชี่ยวชาญไปซะทุกเรื่องทั้งทางด้านคอมพิวเตอร์และ ธุรกิจ แต่อย่างไรก็ดีเนื่องจากนักวิเคราะห์ระบบเป็นตัวกลางที่จะเชื่อมต่อระหว่างการใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์มาเป็นประโชน์ต่อธุรกิจหรือผู้ใช้ ดังนั้น นักวิเคราะห์ระบบจึงควรจะมีความรู้ในเชิงธุรกิจบ้าง เช่น การตลาด การบัญชี ระบบงานสินค้าคงคลัง หรือธุรการงานบุคคล
จากความรู้พื้นฐานดังกล่าว อาจได้มาเองในระหว่างการพัฒนาระบบ จากการสัมภาษณ์ หรือสอบถามจากผู้รู้หรือจากหนังสือ
4. ความสามารถในการแก้ปัญหาและวิธีแก้ปัญหา
นักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีความสามารถที่จะตีปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นแก่ธุรกิจเป็นส่วนๆ และวิเคราะห์ซึ่งปัญหาเหล่านั้นเพื่อที่จะหาวิธีการแก้ปัญหา นักวิเคราะห์ระบบจะต้องรู้จักวิเคราะห์ปัญหาในแง่ของการหาเหตุและผล อย่างมีขั้นตอน และรู้จักที่จะใช้ความสามารถของตนเพื่อหาวิธีการต่างๆ เพื่อแก้ปัญหา (ALTERNATIVE SOLUTIONS) แม้ว่าความสามารถอันนี้จะเป็นพรสวรรค์ที่มีมาในแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ความสามารถที่จะแก้ปัญหาต่างๆ ก็สามารถที่จะพัฒนาและเรียนรู้ได้

หัวใจสำคัญของการหาวิธีการแก้ปัญหานั่นก็คือ พยายามมองภาพของปัญหาให้กว้างอย่าคิดว่าวิธีการแก้ปัญหาวิธีแรกที่ตนคิดเป็นวิธีที่ดีที่สุดและเป็นวิธีเดียวเท่านั้น อย่าคิดว่าวิธีการแก้ปัญหาที่คนอื่นคิดเพื่อแก้ปัญหาที่คล้ายๆ กันกับของตนจะเป็นวิธีมาตรฐาน และใช้ได้กับกรณีของเรา เราควรจะพิจารณาจุดแข็งและจุดอ่อน (STRONG AND WEAK POINTS) ของแต่ละวิธีโดยละเอียดก่อนตัดสินในที่จะนำวิธีการนั้นมาพัฒนาเป็นระบบใช้จริง

5. มนุษย์สัมพันธ์และความสามารถในการติดต่อสื่อสาร
เนื่องจากนักวิเคราะห์ระบบจะต้องพบปะกับบุคคลหลายประเภท หลายอาชีพ และหลายระดับ เช่น ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ ช่างเทคนิค โปรแกรมเมอร์ เลขานุการ และนักบัญชี การสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้บุคคลต่างๆ ที่นักวิเคราะห์ระบบติดต่อผู้นั้นได้เข้าใจสิ่งที่นักวิเคราะห์ต้องการ

มนุษย์สัมพันธ์และความสามารถในการสื่อสาร ในที่นี้หมายรวมถึงความสามารถที่จะสัมภาษณ์ (INTERVIEWING) ความสามารถที่จะอธิบายหรือชี้แจงในที่ประชุม (PRESENTATION) รวมทั้งความสามารถในการรับฟัง (LISTENING) ด้วย

นอกจากนี้ ความสามารถที่จะทำงานเป็นกลุ่ม (GROUP WORK OR TEAM) ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่นักวิเคราะห์จะขาดเสียไม่ได้ เนื่องจากงานของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่จะต้องกระจายให้กับโปรแกรมเมอร์ หรือถัดลงไปการทำงานเป็นกลุ่มหรือทีมจึงย่อมส่งผลต่อความสำเร็จและความเชื่อถือต่อนักวิเคราะห์ระบบเองโดยตรง

นักวิเคราะห์ระบบควรเล็งเห็นความสำคัญของการทำงานเป็นกลุ่ม ไม่ใช่เฉพาะแต่กับฝ่ายของตนเองหรือกับโปรแกรมเมอร์เท่านั้น หากแต่ต้องแฝงตัวเองเป็นสมาชิกในกลุ่มของผู้ใช้ระบบหรือธุรกิจที่ตนวางระบบให้อีกด้วย การทำเช่นนั้น หากแต่ต้องแฝงตัวเองเป็นสมาชิกในกลุ่มของผู้ใช้ระบบหรือธุรกิจที่ตนวางระบบให้อีกด้วย การทำเช่นนั้นจะทำให้ผู้ใช้ระบบรู้สึกเป็นนักวิเคราะห์และจะทำให้การติดตั้งระบบงานคอมพิวเตอร์เป็นไปโดยสะดวกขึ้น พร้อมกับลดแรงกดดันหรือต่อต้านจากผู้ใช้ระบบที่มีแนวความคิดว่า ตนโดนยัดเยียดระบบงานใหม่ให้แทนระบบงานแบบดั้งเดิม

นักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำตัวเองให้ทันสมัยอยู่เสมอ และทราบถึงแนวโน้มที่จะเป็นไปในอนาคตด้วยการอ่านแม็กกาซีนรายเดือนหรือรายสัปดาห์ ในส่วนของระบบงานข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์แม็กกาซีนจึงเป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์ระบบสมควรต้องติดตามอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้การสัมมนาทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรติดตามเช่นกัน
 
กลับข้างบน

 
Hosted by www.Geocities.ws

1