2.2 ระดับต่างๆ ของผู้ใช้ระบบ

ในทุกธุรกิจจะต้องมีพนักงานหรือบุคคลประเภทหนึ่ง ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการก่อกำเนิดหรือสร้างข้อมูล(CREATION) ประมวลผลข้อมูล (PROCESSINGX และกระจายข้อมูล(DISTRIBUTION OF INFORMATION)
เราสามารถจะยกตัวอย่างเพื่อสนับสนุนประโยคดังกล่าว เช่น พนักงานขาย คนหนึ่งเมื่อลูกค้าของเขาจะต้องการสั่งซื้อสินค้า พนักงานขายคนนั้นก็จะเขียนใบสั่งซื้อขึ้น 1 ฉบับ จากนั้นก็จะนำส่งให้กับทางบริษัท ฯ ได้รับใบสั่งซื้อมาเรียบร้อยแล้ว ใบกำกับสินค้าจะถูกกระจายไปให้กับฝ่ายบัญชีเพื่อบันทึกยอดขาย

1. พนักงานเสมียนและผู้ให้บริการ
โดยทั่วไปจะหมายถึงพนักงานที่จะมีภาระกิจหน้าที่ที่เกี่ยวกับการจัดการกิจกรรมข้อมูลในลักษณะที่เป็นประจำวัน (DAY-TO-DAY INFORMATION ACTIVITIES) ในธุรกิจหรือหน่วยงานที่ตนสังกัดอยู่ ตัวอย่างเช่น การกรอกใบสั่งซื้อ การพิจารณาการให้สินเชื่อสำหรับลูกค้าแต่ละรายบันทึกและตัดสต๊อก หรือแม้กระทั่งการพิมพ์จดหมายโต้ตอบ

2. หัวหน้าหน่วยหรือซูเปอร์ไวเซอร์
หมายถึงผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุม (CONTROL) กิจกรรมที่เกิดขึ้นประจำวันของธุรกิจ หรืออาจจะกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ หัวหน้าหน่วยหรือซูเปอร์ไวเซอร์จะทำหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติภาระกิจ ตัวอย่างเช่น สภาวะการณ์ต่าง ๆ ของการขายประจำวันหรือหัวหน้าหน่วยผลิตต้องการรายงานสรุปว่ายอดผลิตประจำวันของแต่ละผลิตภัณฑ์ที่มีจำนวนเท่าไร เป็นต้น

3. ผู้จัดการหรือผู้บริหารระดับกลาง
มักจะเป็นบุคคลซึ่งยุ่งเกี่ยวกับแผนงานของธุรกิจซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นแผนงานระยะสั้น ผู้จัดการหรือผู้บริหารระดับกลางจะคอยควบคุมและจัดการให้การปฏิบัติงานของหน่วยงานที่ตนควบคุมเป็นไปตามแผนงานระยะสั้นที่ได้วางไว้
ผู้บริหารระดับกลางจะไม่ค่อยสนใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานหรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นประจำวัน หากแต่จะสนใจงานหรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลาต่อเนื่องนานกว่านั้น เช่น ต่อ 1 เดือน หรือต่อไตรมาศ (3 เดือน)
นอกจากนี้ผู้บริหารระดับกลางยังเป็นผู้รวบรวมและกลั่นกรองข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำเสนอต่อผู้บริหารระดับสูงต่อไป ซึ่งเราอาจกล่าวได้ว่าผู้บริหารระดับกลางจะเป็นตัวกันชนที่จะทำให้ผู้บริหารระดับสูงไม่จำเป็นต้องคลุกคลีกับงานระดับล่าง ซึ่งเป็นงานหรือกิจกรรมประจำวัน การทำในลักษณะนี้ จะทำให้ผู้บริหารงานระดับสูงมีเวลามากขึ้นที่จะคิดงานทางด้านนโยบาย (POLICY) และแผนงานระยะยาว (LONG TERM PLAN) ได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่าง ผู้บริหารงานระดับกลางได้แก่ นายช่างวิศวกร ผู้คุมงาน นักบัญชี ผู้จัดการฝ่ายบุคคล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด หรือผู้จัดการฝ่ายผลิต เป็นต้น

4.ผู้บริหารระดับสูง
เป็นบุคคลที่รับผิดชอบต่อการวางแผนงานระยะยาวและออกนโยบาย เพื่อให้ธุรกิจนั้นดำเนินไปได้อย่างมีเป้าหมาย
ผู้บริหารระดับสูงจะเป็นบุคคลที่มองไปข้างหน้าเสมอ ซี่งโดยปกติมักจะเป็นแผนงานที่เป็นระยะเวลายาวกว่าผู้บริหารระดับกลาง คืออาจเป็น 1 ปี หรือมากกว่านั้น ผู้บริหารระดับสูงจะนำข้อมูลในอนาคตมาใช้เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาถึงแนวโน้มต่างๆ เพื่อที่จะกำหนดแผนงานระยะยาวและนโยบายของธุรกิจต่อไป
ผู้บริหารระดับสูงจะทำหน้าที่เป็นผู้ที่คอยควบคุมและจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ที่จำเป็นในการดำเนินกิจการของธุรกิจ เช่น เงินทุน แรงงาน เครื่องจักร ที่ดิน หรืออาคารต่างๆ ผู้บริหารระดับสูงจะต้องคำนึงถึงภาพรวมของธุรกิจทั้งหมด มิใช่จุดใดจุดหนึ่งในธุรกิจเท่านั้น ดังนั้น ผู้บริหารระดับสูงจึงเป็นผู้ที่ต้องการข้อมูลซึ่งได้กลั่นกรองมาแล้วอย่างดีเพื่อที่จะให้เขาสามารถนำมาใช้ในการตัดสินใจและอำนวยการ (BOARD FO DIRECTORS) ประธาน และรองประธาน (PREXIDENT AND VICE PRESIDENT) หรือ CHIEF EXECUTIVE OFFICER (CEO) หุ้นส่วน (PARTNERS) ผู้บริหารงานหรือผู้อำนวยการบัญชีและการเงิน(COMPTROLLERS)


Hosted by www.Geocities.ws

1