ตัวอย่างที่ 3 ประโยคโครงสร้างที่ทำงานตามลำดับและมีการใช้เงื่อนไข Repeat….Until

Repeat
อ่านข้อมูลจาก Employee
คำนวณหาเงินเดือน
ค่าจ้าง = จำนวนชั่วโมงที่ทำงาน X อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง
คำนวณหาเงินเดือน = ค่าจ้าง X อัตราภาษี
พิมพ์รายงานแสดงเงินเดือน
Until ไม่มีข้อมูล Employee
:
:

ตัวอย่างที่ 4 ประโยคโครงสร้างที่ทำงานตามลำดับและมีการใช้เงื่อนไข Do…Case

อ่านข้อมูลคะแนนรวม
Do คะแนนรวม
Case1 คะแนนรวม >=80
เกรด = A< br>
Case2 คะแนนรวม >=70
เกรด = B
Case3 คะแนนรวม >=60
เกรด = C
Case4 คะแนนรวม >=50
เกรด = D
End (ถ้าไม่ตรงกับทุกกรณี)
เกรด = E

การใช้ประโยคโครงสร้างสำหรับกรณีที่มีเงื่อนไข If…ELSE ซ้อนกันมากๆ นั้นไม่สะดวก เราอาจจะเขียนเป็นการตัดสินใจแบบตารางซึ่งจะง่ายกว่า

วิธีการตัดสินใจแบบตาราง (Decision Tables )

วิธีการตัดสินใจแบบตารางเป็นตารางแบบ 2 มิติ โดยที่แถวตั้งด้านซ้ายเป็นเงื่อนไข และแถวนอนเป็นรายละเอียดของเงื่อนไขและผลของการตัดสินใจ เงื่อนไขก็คือ สิ่งที่มีค่าเปลี่ยนแปลงได้ เช่น จำนวนเงินในใบทวงหนี้ ซึ่งเป็นตัวกำหนดว่าควรตัดสินใจอย่างไร เช่น ถ้าจำนวนเงินต่ำกว่า 25,000 บาท ไม่ต้องรอการอนุมัติจ่ายเงิน เป็นต้น

เงื่อนไข
การตัดสินใจ

จำนวนเงินในใบทวงหนี้

< 25,000

อนุมัติจ่ายเงิน

Y


ในตัวอย่างการตัดสินใจแบบตารางข้างบนนี้ แถวตั้งเป็นเงื่อนไข หรือตัวแปรคือ จำนวนเงินในใบทวงหนี้ แถวนอนเป็นค่าตัวแปร คือ น้อยกว่า 25,000 บาท ดังนั้นการอนุมัติจ่ายเงินคือ " Y " ซึ่งหมายความว่า " Yes " คือ ให้จ่ายเงินได้ แต่ที่จริงแล้วค่าของจำนวนเงินที่เป็นไปได้มีมากกว่านี้ และเงื่อนไขก็มีมากว่านี้ด้วย ซึ่งพอสรุปออกมาเป็นตารางเงื่อนไขดังนี้

เงื่อนไข

ค่าที่เป็นไปได้

1. จำนวนเงินในใบทวงหนี้

a. น้อยกว่า 25,000

b. ระหว่างc. 25,000 ถึงd. 250,000

e. มากกว่า 250,000

2. วันค้างจ่าย

a. น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 วัน

b. มากว่า 10 วัน

3. ส่วนลดถ้าจ่ายเร็ว

a. มี

b. ไม่มี



ตารางที่ 4 แสดงตัวอย่างตารางตัดสินใจของการทวงหนี้

ดังนั้นตารางการตัดสินใจจะต้องขยายออกไปอีก หลักการตั้งตารางตัดสินใจเริ่มจากเงื่อนไขก่อนโดยที่จำนวนแถวนอนของตารางจะมีเท่ากับจำนวนเงื่อนไขบวกหนึ่งสำหรับหัวตาราง จากตารางข้างบนนี้เรามี 3 เงื่อนไข เพราะฉะนั้นเราต้องสร้าง 4 แถวนอน สำหรับจำนวนแถวตั้งจะมีเท่ากับผลคูณของค่าตัวแปรที่เป็นไปได้ทั้งหมดบวก 1 แถว สำหรับเขียนคำอธิบาย ดังนั้นจำนวนแถวตั้งจะมีเท่ากับ 3 ( จำนวนค่าที่เป็นไปได้ของจำนวนเงินในใบทวงหนี้ ) คูณ 2 ( ค่าที่เป็นไปได้ของวันค้างจ่าย ) และคูณ 2 ( มีส่วนลดหรือไม่ ) บวกกับอีก 1 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 13 ดังตารางของเราจะมี 13 แถวตั้ง และ 4 แถวนอน

Hosted by www.Geocities.ws

1