ศัพท์ 10 คำศัพท์

 1.WWW (World Wide Web) World Wide Web 

หรือที่เรามักเรียกสั้นๆว่า Web หรือ W3 (WWW) คือ คอมพิวเตอร์ส่วนหนึ่งบนอินเตอร์เน็ต ที่ถูกเชื่อมต่อกันในแบบพิเศษที่ทำให้คอมพิวเตอร์เหล่านั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาที่เก็บไว้ภายในของแต่ละเครื่องได้ (กลายเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่) โดยผ่านทาง บราวเซอร์ (Browser) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้อ่านและตอบโต้ข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ใน World Wide Web โดยเฉพาะ บราวเซอร์ที่พบเห็นได้มากที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ Internet Explorer ของ และ Firefox การนำเสนอข้อมูลในระบบ WWW (World Wide Web) พัฒนาขึ้นมาในช่วงปลายปี 1989 โดยทีมงานจาก ห้องปฏิบัติการทางจุลภาคฟิสิกส์แห่งยุโรป (European Particle Physics Labs) หรือที่รู้จักกัน ในนาม CERN (Conseil European pour la Recherche Nucleaire) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้มี การพัฒนา ภาษาที่ใช้สนับสนุน การเผยแพร่เอกสารของนักวิจัย หรือเอกสารเว็บ (Web Document) จากเครื่องแม่ข่าย (Server) ไปยังสถานที่ต่างๆ ในระบบ WWW เรียกว่า ภาษา HTML (HyperText Markup Language) การเผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ผ่านสื่อประเภทเว็บเพจ (WebPage) เป็นที่นิยมกันอย่างสูงในปัจจุบัน ไม่เฉพาะข้อมูลโฆษณาสินค้า ยังรวมไปถึงข้อมูลทางการแพทย์ การเรียน งานวิจัยต่างๆ เพราะเข้าถึงกลุ่มผู้สนใจได้ทั่วโลก ตลอดจนข้อมูลที่นำเสนอออกไป สามารถเผยแพร่ ได้ทั้งข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง และภาพเคลื่อนไหว มีลูกเล่นและเทคนิคการนำเสนอ ที่หลากหลาย อันส่งผลให้ระบบ WWW เติบโตเป็นหนึ่ง ในรูปแบบบริการ ที่ได้รับความนิยมสูงสุดของ ระบบอินเทอร์เน็ต ลักษณะเด่นของการนำเสนอข้อมูลเว็บเพจ คือ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลไปยังจุดอื่นๆ บนหน้าเว็บได้ ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บอื่นๆ ในระบบเครือข่าย อันเป็นที่มาของคำว่า HyperText หรือข้อความที่มีความสามารถ มากกว่าข้อความปกตินั่นเอง จึงมีลักษณะคล้ายกับว่าผู้อ่านเอกสารเว็บ สามารถโต้ตอบกับเอกสารนั้นๆ ด้วยตนเอง ตลอดเวลาที่มีการใช้งาน

2.Web site เว็บไซต์ 

คือสื่อนำเสนอข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือคือการรวบรวม หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ซึ่งต้องเปิดด้วยโปรแกรมเฉพาะทางที่เรียกว่า Web Browser โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ และเว็บไซต์นั้นถูกสร้างขึ้นด้วยภาษาทางคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า HTML (Hyper Text Markup Language) และได้มีการพัฒนาและนำภาษาอื่นๆเข้ามาร่วมด้วย เพื่อให้มีความสามารถมากขึ้น เช่น PHP , SQL , Java ฯลฯ เว็บไซต์ นั้นมีคำศัพท์เฉพาะทางหลายคำ เช่น เว็บเพจ (web page) และ โฮมเพจ (home page) เป็นต้น ปัจจุบันการออกแบบ เว็บไซต์ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เนื่องจากมีเครื่องมือในการ ออกแบบ เว็บไซต์ ให้เลือกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมสำเร็จรูป หรือแม้กระทั่ง CMS (Content Management System) อย่าง joomla, wordpress, drupal เป็นต้น โดยเว็บไซต์นั้นมีไว้เพื่อแสดงข้อมูลที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ทำเว็บไซต์นั้นๆ เช่น แสดงข้อมูลข่าวสารต่างๆ , ข้อมูลบริษัท , ขายสินค้า เป็นต้น 

3. Web browser เว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) 

คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการท่องเว็บ และมีการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษา HTML ซึ่งก็เปรียบเสมือนกับเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ นอกจากนี้ยังสามารถดูเอกสารในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้ ไม่ว่าเว็บเหล่านั้นจะแสดงข้อมูลในลักษณะของภาพ ระบบมัลติมีเดีย รูปภาพหรือข้อความ ในปัจจุบันเว็บเบราว์เซอร์ที่รองรับระบบ HTML 5 สามารถอ่าน CSS 3 ได้อย่างสวยงาม และกำลังได้รับความนิยมมากที่สุด ก็มี 4 ประเภทดังนี้ Internet Explorer Mozilla Firefox Google Chrome Safari 

4.Web Hosting(เว็บโฮสติ้ง) เว็บโฮสติ้ง โฮสติ้ง หรือ โฮสต์ 

เป็นรูปแบบของการให้บริการที่ให้ผู้ใช้งานนำเว็บไซต์หรือโฮมเพจของตนเองออนไลน์บนโลกอินเตอร์เน็ต เพื่อให้เว็บไซต์ปรากฏต่อสายตาคนทั้งโลกง่ายๆ เพียงแค่พิมพ์ชื่อเว็บไซต์(Domain Name) ในเว็บบราวเซอร์ทุกเว็บไซต์ที่ออนไลน์บนอินเตอร์เน็ตจะต้องฝากไฟล์เว็บ ฐานข้อมูล และไฟล์อื่นๆ ไว้กับเว็บเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการโฮสติ้งที่ดีควรใช้เว็บเซิร์ฟเวอร์ประสิทธิ์ภาพสูงและเชื่อมต่อกับ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อให้เว็บไซต์สามารถเข้าถึงได้รวดเร็วจากทุกมุมโลก นอกจากความเร็วในการเข้าถึงเว็บไซต์แล้วเสถียรภาพของเซิร์ฟเวอร์และครือข่ายข้อมูล รวมทั้ง ระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กันและที่สำคัญที่สุดผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งที่ดีจะต้องมีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคต่างๆ ในการดูแลระบบ สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้รวดเร็วและติดต่อได้สะดวก 

5. URL URL (Uniform Resource Locator) 

เป็นที่อยู่เว็บที่ให้ตําแหน่งเฉพาะที่ไม่ซ้ํากันสําหรับทรัพยากรเฉพาะบนอินเทอร์เน็ต มันมีข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่คุณกําลังมองหาเช่นเดียวกับโปรโตคอลที่ใช้ในการเข้าถึง โดยทั่วไปแล้ว URL จะใช้เพื่อค้นหาหน้าเว็บ แต่ยังสามารถใช้เพื่อค้นหาทรัพยากรอื่นๆ เช่น รูปภาพ วิดีโอ ไฟล์เสียง และเอกสารได้อีกด้วย กล่าวอีกนัยหนึ่ง URL ทําให้สามารถระบุตําแหน่งที่ออนไลน์ได้เพื่อให้คุณสามารถดูหรือดาวน์โหลดได้ URL ประกอบด้วยหลายส่วน: โปรโตคอล (เช่น http หรือ https) ชื่อโฮสต์ (ชื่อโดเมน) และเส้นทาง (ตําแหน่งเฉพาะของทรัพยากร) ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ Facebook เบราว์เซอร์ของคุณจะใช้ URL ต่อไปนี้เพื่อไปที่นั่น: https://www.facebook.com/ ส่วน https ของ URL จะบอกเบราว์เซอร์ของคุณว่าจะใช้โปรโตคอลใดเมื่อเข้าถึงเว็บไซต์นี้ จากนั้นจะค้นหา www.facebook.com ชื่อโฮสต์หรือชื่อโดเมนของเว็บไซต์ Facebook และในที่สุดก็ขอหน้าเว็บที่เส้นทาง '/' บนเซิร์ฟเวอร์ของพวกเขา - ในกรณีนี้คือหน้าแรกของพวกเขา 

7.DNS (Daman Name System) DNS (Domain Name System หรือ Domain Name Server) 

คือ ระบบที่มีไว้สำหรับบริหารจัดการข้อมูลของชื่อโดเมนเนม (Domain Name) และ ทำหน้าที่ในการแปลงชื่อโดเมนเนมดังกล่าวเป็นหมายเลขไอพีแอดเดรส (IP Address) เพื่อนำหมายเลขไอพีดังกล่าวไปติดต่อยัง Sever อื่น ๆ ที่ต้องการต่างๆ เช่น Sever Email Hosting , Server Web Hosting เป็นต้น แล้ว Domain Name คืออะไร และเกี่ยวข้องกับ DNS อย่างไร สรุปกันง่ายๆ Domain Name ก็คือชื่อเว็บไซต์ของเราที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ แล้วใช้งานได้สะดวก ไม่จำเป็นต้องใช้งานเป็น IP เพราะยากต่อการจดจำ แต่ในทางเทคนิค ระบบการทำงานเชื่อมต่อระหว่าง Server ไม่สามารถใช้ชื่อโดเมนในการสื่อสารได้ จึงต้องมี DNS มาทำหน้าที่การแปลงชื่อโดเมนเนมดังกล่าวเป็นหมายเลขไอพีแอดเดรส (IP Address) นั้นเอง ในขณะที่มีผู้ใช้งาน เรียกใช้งาน URL : Domain เช่น www.sanook.com ระบบจะไม่สามารถพาไปที่ Web ดังกล่าวได้ เนื่องจากการทำงานของ Server จะไม่เข้าใจ URL ดังกล่าว ระบบจะเข้าใจ ตัวเลข IP เท่านั้น จึงต้องมีการแปลง URL : www.sanook.com เป็น IP 203.151.129.219 ก่อน เพื่อให้สามารถเรียกใช้งานเว็บดังกล่าวได้ ซึ่งตัวหลักสำคัญที่จะกล่าวต่อไปนี้คือการทำงานของ Domain Name System (DNS) นั้นเองระบบ DNS จะมี การเก็บชื่อและ IP Address ของ Server ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบลักษณะการทำงานจะเป็นแบบ Client/Server โดยที่ตัว Server จะเป็นตัวเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่เรียกว่าเป็น DNS Server 

7.DNS (Daman Name System) DNS (Domain Name System หรือ Domain Name Server) 

คือ ระบบที่มีไว้สำหรับบริหารจัดการข้อมูลของชื่อโดเมนเนม (Domain Name) และ ทำหน้าที่ในการแปลงชื่อโดเมนเนมดังกล่าวเป็นหมายเลขไอพีแอดเดรส (IP Address) เพื่อนำหมายเลขไอพีดังกล่าวไปติดต่อยัง Sever อื่น ๆ ที่ต้องการต่างๆ เช่น Sever Email Hosting , Server Web Hosting เป็นต้น แล้ว Domain Name คืออะไร และเกี่ยวข้องกับ DNS อย่างไร สรุปกันง่ายๆ Domain Name ก็คือชื่อเว็บไซต์ของเราที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ แล้วใช้งานได้สะดวก ไม่จำเป็นต้องใช้งานเป็น IP เพราะยากต่อการจดจำ แต่ในทางเทคนิค ระบบการทำงานเชื่อมต่อระหว่าง Server ไม่สามารถใช้ชื่อโดเมนในการสื่อสารได้ จึงต้องมี DNS มาทำหน้าที่การแปลงชื่อโดเมนเนมดังกล่าวเป็นหมายเลขไอพีแอดเดรส (IP Address) นั้นเอง ในขณะที่มีผู้ใช้งาน เรียกใช้งาน URL : Domain เช่น www.sanook.com ระบบจะไม่สามารถพาไปที่ Web ดังกล่าวได้ เนื่องจากการทำงานของ Server จะไม่เข้าใจ URL ดังกล่าว ระบบจะเข้าใจ ตัวเลข IP เท่านั้น จึงต้องมีการแปลง URL : www.sanook.com เป็น IP 203.151.129.219 ก่อน เพื่อให้สามารถเรียกใช้งานเว็บดังกล่าวได้ ซึ่งตัวหลักสำคัญที่จะกล่าวต่อไปนี้คือการทำงานของ Domain Name System (DNS) นั้นเองระบบ DNS จะมี การเก็บชื่อและ IP Address ของ Server ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบลักษณะการทำงานจะเป็นแบบ Client/Server โดยที่ตัว Server จะเป็นตัวเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่เรียกว่าเป็น DNS Server 

8.Homepage โฮมเพจ หรือ Homepage 

คือ หน้าแรกสุดของเว็บไซต์เรา เป็นหน้าหลักที่คนเข้ามาแล้วจะเจอเรา Hompage ของเว็บไซต์บางเจ้าก็จะ link ไปยังเว็บเพจอื่น ๆ ด้วย เช่น หน้าร้านค้า หน้าติดต่อเรา เกี่ยวกับเรา ฯลฯ ส่วนตัวแล้วพวกเราชาวมิงมองว่า หน้าโฮมเพจ ควรมีการออกแบบให้สวย ๆ มีข้อมูลที่เป็นภาพรวมของเว็บไซต์ อารมณ์ประมาณว่ามองป๊าดเดียวก็รู้แล้วว่าเป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับอะไร และควรมีการ link ไปยังหน้าเว็บเพจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ส่วนประกอบของ Homepage 

9. ไฮเปอร์ลิงก์ 

หรือที่เรียกว่าลิงก์หรือไฮเปอร์เท็กซ์เป็นองค์ประกอบในเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเอกสารหนึ่งกับอีกเอกสารหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต ช่วยให้คุณสามารถนําทางจากหน้าหนึ่งไปยังอีกหน้าหนึ่งได้ด้วยคลิกเดียว โดยทั่วไป ไฮเปอร์ลิงก์จะปรากฏเป็นข้อความที่ขีดเส้นใต้ แต่ก็สามารถเป็นรูปภาพหรือไอคอนได้เช่นกัน เมื่อคลิก คุณสามารถถูกนําไปยังเว็บเพจอื่นซึ่งอาจมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อหรือให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่กล่าวถึงในเอกสารต้นฉบับ ไฮเปอร์ลิงก์เป็นสิ่งจําเป็นสําหรับการนําทางไปยังเว็บไซต์ต่างๆ และช่วยให้ผู้ใช้สามารถย้ายจากหัวข้อหนึ่งไปยังอีกหัวข้อหนึ่งได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องพิมพ์ที่อยู่เว็บใหม่ทุกครั้ง นอกจากนี้ยังมักใช้ในอีเมลและโพสต์โซเชียลมีเดียเพื่อให้เข้าถึงข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมได้ง่าย ไฮเปอร์ลิงก์ใช้เพื่อให้ผู้ใช้สามารถนําทางจากหน้าหนึ่งไปยังอีกหน้าหนึ่งได้อย่างง่ายดายทั้งภายในเว็บไซต์หรือระหว่างเว็บไซต์ต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เพื่อเชื่อมโยงไปมาระหว่างส่วนต่างๆของเนื้อหาในหน้าเดียวกันทําให้ผู้ใช้สามารถข้ามจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็วด้วยการคลิกเพียงครั้งเดียว นอกจากนี้ไฮเปอร์ลิงก์ยังสามารถใช้ในอีเมลโพสต์โซเชียลมีเดียและเอกสารดิจิทัลอื่น ๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อเฉพาะได้อย่างง่ายดาย ไฮเปอร์ลิงก์ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสําหรับการตลาดทําให้ บริษัท ต่างๆสามารถนําลูกค้าไปยังผลิตภัณฑ์ของตนได้ด้วยการคลิกเพียงครั้งเดียว ด้วยความเก่งกาจและความสะดวกสบายจึงไม่น่าแปลกใจที่ไฮเปอร์ลิงก์ได้กลายเป็นส่วนสําคัญของโลกออนไลน์ที่เราอาศัยอยู่ในปัจจุบัน 

10.)Anchor Anchor Text หรือ Anchor Link 

คือ ข้อความที่สามารถทำเป็นลิงก์เชื่อมโยงไปยังหน้าเว็บไซต์ที่ต้องการทั้งภายในเว็บไซต์หรือภายนอกเว็บไซต์ โดยส่วนใหญ่มักจะทำไว้บนข้อความที่เป็น Keyword เพราะจะช่วยทำให้ Google เข้าใจหน้าเว็บไซต์ที่ทำการลิงก์ไปหานั้นว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร และมีความสัมพันธ์กับหน้าที่กำลังเก็บข้อมูลอย่างไร สำหรับหน้าตาของ Anchor Text ที่เราคุ้นเคยกันก็จะเป็นข้อความตัวสีฟ้าที่มีการขีดเส้นใต้ เมื่อทำการคลิกก็จะพาไปยังหน้าเว็บไซต์อื่น ยกตัวอย่างเช่น ยกตัวอย่างประโยคที่เขียนเกี่ยวกับ Backlink และทำการใส่ Anchor Text ลงไปในคำว่า Backlink เพื่อพาผู้อ่านไปอ่านเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับคำคีย์เวิร์ดนี้  

 HOME