1. WWW
Wold Wide Web ( WWW ) หมายถึง เน็ตเวิร์คที่มีการเชื่อมต่อกันไปทั่วโลก เรียกย่อว่า “เว็บ“ ( Web) ในเว็บมีอะไรหลายอย่างที่น่าสนใจเก็บรวบรวม
ทำให้สามารถดูเอกสารหรือค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้ ซึ่งจะแสดงผลออกมาทีละหน้า แต่ละหน้าเรียกว่า “เว็บเพจ” (Web Page)    
คำว่า web นั้น ไม่ใช่คำเดียวกับเน็ตหรืออินเตอร์เน็ตซึ่งบางครั้งอาจมีการใช้ 2 คำนี้แทนกันจนนึกว่าเหมือนกัน แท้จริงแล้ว www นั้นไม่ใช่ internet แต่เป็นเพียงบริการหนึ่งในอินเตอร์เน็ตเท่านั้น
World แปลว่า โลก
Wide แปลว่า กว้าง, กว้างขวาง
Web  เป็นคำเรียกสั้น ๆ ของเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) ซึ่งหมายถึงสถานที่รวมของกลุ่มคอมพิวเตอร์ที่มีข้อมูลเตรียมพร้อมไว้ให้ผู้คนอ่านผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Internet) โดยใช้ภาษา HTTP หรือ Hypertext Tranfer Protocol เป็นตัวกำหนดลักษณะการสื่อสารระหว่างเว็บเบราว์เซอร์ และเซิร์ฟเวอร์
การรวมกลุ่มคอมพิวเตอร์อย่างกว้างขวางของ WWW ทำให้เว็บกลายเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ มี บราวเซอร์ (Browser) เป็นซอฟต์แวร์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้อ่านและตอบโต้ข้อมูลต่างๆ  ในปัจจุบันบราวเซอร์ที่นิยมใช้ ได้แก่ Internet Explorer  / Firefox  / Chome
อีกคำที่เกี่ยวข้องกับ WWW ก็คือ URL ซึ่งหมายถึงที่อยู่ของไฟล์หรือเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต เช่น http://www.google.com
http เป็นชื่อโปรโตคอลที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนสารสนเทศผ่านอินเตอร์เน็ต โดยการนำไฟล์เอกสารไปเชื่อมต่อเข้ากับ World Wide Web

กลับสู่เมนูย่อย

2. Web Site
เว็บไซต์ (website, web site, หรือ Web site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการ เพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์ขั้นตอนการพัฒนาเว็บไซต์
กำหนดวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์ ว่าจะจัดทำเว็บไซต์เกี่ยวกับอะไร เช่นท่องเที่ยว บันเทิง เป็นต้น
กำหนดกลุ่มผู้ชมเป้าหมาย เพื่อที่จะได้จัดโทนสี รูปภาพ กราฟิก หน้าตาของเว็บเพจให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
เตรียมแหล่งข้อมูล เพื่อที่จะได้นำเนื้อหาสาระมานำเสนอได้อย่างครบถ้วนและสมบูรณ์
เตรียมทักษะหรือบุคลากร เนื่องจากเว็บไซต์ที่มีเนื้อหามากๆ ก็จำเป็นต้องมีบุลลากรเพื่อพัฒนาเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเว็บเซิร์ฟเวอร์ กราฟิกดีไซน์ ทีมีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน เป็นต้น

เตรียมทรัพยากรต่าง ๆ เท่าที่มีความจำเป็น เช่น โปรแกรมต่างๆ ทั้งในด้านระบบฐานข้อมูล และมัลติมีเดีย โปรแกรมสร้างภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น

กลับสู่เมนูย่อย

3. Web browser
“โปรแกรม ที่ใช้สำหรับท่องอินเทอร์เน็ต (sufring the Internet) คือใช้ในการเปิด web page และอย่างอื่นอีกมาก” - http://www.vcharkarn.com/vblog/36733
“โปรแกรมที่ใช้สำหรับเป็นประตูเปิดเข้าสู่โลก WWW (World Wide Web) หรือพูดกันอย่างง่ายก็คือโปรแกรม
ที่ใช้สำหรับเล่นอินเทอร์เน็ตที่เรานิยมใช้กันอยู่ทุกวันนี้ โดยเว็บเบราว์เซอร์์ (Web Browser) จะเข้าใจในภาษาHTML นี้คือเหตุผลว่าทำไมต้องใช้ภาษา HTML ในการสร้างเว็บเพจ เพราะโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์นั่นสามารถเข้าใจ และสามารถทำงานตามคำสั่งของภาษา HTMLได้”
- http://school.obec.go.th/pp_school/html/browser.html
“โปรแกรม คอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บที่ สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่นๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่าย คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ” - http://www.mindphp.com + http://th.wikipedia.org

กลับสู่เมนูย่อย

4. Web Hosting

เว็บโฮสติ้ง โฮสติ้ง หรือ โฮสต์ เป็นรูปแบบของการให้บริการที่ให้ผู้ใช้งานนำเว็บไซต์หรือโฮมเพจของตนเองออนไลน์บนโลกอินเตอร์เน็ต เพื่อให้เว็บไซต์ปรากฏต่อสายตาคนทั้งโลกง่ายๆ เพียงแค่พิมพ์ชื่อเว็บไซต์(Domain Name) ในเว็บบราวเซอร์ทุกเว็บไซต์ที่ออนไลน์บนอินเตอร์เน็ตจะต้องฝากไฟล์เว็บ ฐานข้อมูล และ ไฟล์อื่นๆ ไว้กับเว็บเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการโฮสติ้งที่ดีควรใช้เว็บเซิร์ฟเวอร์ประสิทธิ์ภาพสูงและเชื่อมต่อกับ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อให้เว็บไซต์สามารถเข้าถึงได้รวดเร็วจากทุกมุมโลก
นอกจากความเร็วในการเข้าถึงเว็บไซต์แล้วเสถียรภาพของเซิร์ฟเวอร์และครือข่ายข้อมูล รวมทั้ง ระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กันและที่สำคัญที่สุดผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งที่ดีจะต้องมีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคต่างๆ ในการดูแลระบบ สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้รวดเร็วและติดต่อได้สะดวก
ประเภทของเว็บโฮสติ้ง
เว็บโฮสติ้งโซลูชั่นมีหลายประเภท เราควรเลือกโซลูชั่นให้เหมาะกับเว็บไซต์ของเราประเภทของเว็บโฮสติ้งโซลูชั่นที่พบได้บ่อยมีดังนี้
1. Shared Web Hosting
Shared Web Hosting หรือเรียกอีกชื่อว่า Virtual Hosting เป็นการฝากเว็บไซต์ไว้กับ Web Server ที่ให้บริการเว็บไซต์ของลูกค้าอีกจำนวนหนึ่ง จึงเป็นการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ด้วยเหตุนี้ shared hosting จึงมีข้อจำกัดต่างๆ ทั้งในด้านของ Traffic และชนิดของ software หรือ script ที่สามารถใช้ได้ เช่นผู้ให้บริการหลายๆ รายไม่ให้ติดตั้ง wordpress mu สำหรับ Shared Hosting เป็นต้น แต่ Shared Hosting มีข้อดีคือประหยัดและลูกค้าไม่ต้องดูแล Web Server และระบบ Network เอง เพราะผู้ให้บริการจะทำหน้าที่ดูแลด้านนี้ให้อยู่แล้ว
2. Virtual Private Servers (VPS) Hosting
VPS Hosting ย่อมากจาก Virtual Private Server Hosting เป็นการจำลองแบ่งเครื่อง Server ประสิทธิภาพสูง ออกเป็น Server เสมือนจำนวนหนึ่ง โดย Server เสมือนแต่ละตัวนี้จะถูกเรียกว่า Virtual Machine และทำงานได้เสมือนกับ Dedicated Server 1 เครื่อง VPS แต่ละเครื่องนี้จะแยกการทำงานออกจากกันโดยสิ้นเชิง ถ้า VPS ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย จะไม่มีผลกับการทำงานของ VPS ตัวอื่น ๆ ในระบบ ข้อดีของ VPS Hosting คือสามารถปรับเปลี่ยน Configurations ของซอฟท์แวร์ต่างๆ เช่น Apache, IIS, PHP, Perl modules, MySQL และ อื่นๆ ได้อย่างอิสระนอกจากนี้ ราคาของ VPS Hosting ก็ประหยัดกว่าการติดตั้ง Web Server เอง แต่ข้อเสียของ VPS Hosting คือไม่สามารถรองรับ Traffic ที่เท่าวาง Server เอง
3. Dedicated Hosting and Collocated Hosting
เว็บโฮสติ้งโซลูชั่นนี้เป็นโซลูชั่นที่แพงที่สุด เหมาะสำหรับเว็บที่ Traffic สูงมาก เว็บที่ต้องการ uptime สูงเป็นพิเศษ หรือเว็บที่ต้องการความปลอดภัยของข้อมูลมาก ข้อแตกต่างระหว่าง Dedicated Hosting และ Collocated Hosting คือแบบแรกเป็นการเช่าหรือเช่าซื้อเครื่อง Server ที่วางที่ IDC แต่แบบหลังเป็นการนำ Server ของเราเองไปวางที่ IDC โดยเสียค่าเช่าพื้นที่วางตามที่ตกลง ข้อดีของโฮสติ้งโซลูชั่นนี้คือสามารถลองรับเว็บขนาดใหญ่ได้ มีความปลอดภัยของข้อมูลมากขึ้น เนื่องจากเป็นเจ้าของทั้ง Harddisk แต่ข้อเสียคือมีราคาแพงและอาจจะต้องจ้าง System Admin มาดูแล หากขาดความรู้เรื่องระบบหรือไม่มีเวลา

กลับสู่เมนูย่อย

5.URL
โปรแกรมชี้แหล่งทรัพยากรสากล หรือตัวชี้แหล่งในอินเตอร์เน็ต (อังกฤษ: universal resource locator หรือ uniform resource locator) เรียกโดยย่อว่า “ยูอาร์แอล” (อังกฤษ: URL) หมายถึงตัวระบุแหล่งในอินเตอร์เน็ต โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งและที่อยู่ของเว็บไซต์หนึ่ง ๆ
URL ย่อมาจากคำว่า Uniform Resource Locator คือ ที่อยู่ (Address) ของข้อมูลต่างๆในInternet เช่น ที่อยู่ของไฟล์หรือเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต
รูปแบบของ URL จะประกอบด้วย
http://www.mindphp.com/support/urlfaq.htm
1. ชื่อโปรโตคอลที่ใช้ (http ซึ่งย่อมาจาก HyperText Transfer Protocol)
2. ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ และชื่อเครือข่ายย่อย (www.mindphp)
3. ประเภทของเวบไซต์ (.com) ซึ่งมีอยู่ หลาย ประเภท คือเช่น .com (Commercial),.edu (Educational),.org (Organizations),.net (Network), .co.th (บริษัทในประเทศไทย ดูเพิ่มเติมที่นี่) ฯลฯ
4. ไดเร็กทอรี่ (/support/)
5. ชื่อไฟล์และนามสกุล (urlfaq.htm)
ความสำคัญของ URL คือเวลาเราเข้าเว็บไซต์เราก็ต้องพิมพ์ URL ลงในช่อง url address ของ web browser เช่น จะเข้าเว็บ google.comก็ต้องพิมพ์ http://www.google.com หรือ จะพิมพ์ google.com ก็ได้ไม่ต้องมี http://www.ก็ได้เดี๋ยว Browser มันจะเติมให้เราเอง ดังนั้นการอ้างอิงของข้อมูลบนอินเตอร์เนตต้องระบุ URL ให้ถูกต้อง มิฉะนั้นจะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นได้

กลับสู่เมนูย่อย

6.FTP
FTP ย่อมาจาก (File Transfer Protocol) คือ รูปแบบมาตรฐานบนโครงข่าย (standard network protocol) ชนิดหนึ่ง ที่ใช้สำหรับการส่งไฟล์ หรือรับไฟล์ (receive file) ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นลูกข่ายที่ส่วนใหญ่จะเรียกว่าไคลเอนต์ (client) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่าย
ที่ส่วนใหญ่จะเรียกว่า โฮสติง (Hosting) หรือ เซิร์ฟเวอร์ (server) โดยที่การติดต่อกันทาง FTP เราจะต้องติดต่อกันทาง Port 21 ซึ่งก่อนที่จะเข้าใช้งานได้นั้น จะต้องเป็นสมาชิกและมีชื่อผู้เข้าใช้ (User) และ รหัสผู้เข้าใช้ (password) ก่อน โปรแกรมสำหรับติดต่อกับแม่ข่าย (server) ส่วนมากจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่นโปรแกรม ไฟล์ซิลลา CuteFTP หรือ WSFTP ในการติดต่อ เป็นต้น

โปรแกรมที่ใช้สำหรับส่งแฟ้ม (Send) หรือรับแฟ้ม (Receive) ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ (Client Computer) กับเครื่องบริการ (Web Hosting) ผู้ให้บริการมักเปิดบริการ Port 21 พร้อมสร้างรหัส

ผู้ใช้ (User Name) และรหัสผ่าน (Password) ให้ผู้ใช้แต่ละคนได้เป็นเจ้าของพื้นที่แต่ละห้อง (User Folder) เมื่อส่งแฟ้มชื่อ index.html หรือ default.asp ตามที่เครื่องบริการกำหนด เข้าไปในห้องสำหรับเผยแพร่เว็บเพจ ผู้ใช้ทั่วไปก็จะเข้าถึงข้อมูลได้ตามที่ผู้พัฒนาเว็บเพจคาดหวัง ส่งแฟ้มเข้าเครื่องบริการได้อย่างไร (โดยทั่วไป)
วิธีที่ 1: ใช้ File Manager ใน Control Panel
ผู้ให้บริการ Web Hosting ทุกรายมีระบบ Control Panel เช่น cpanel, direct admin หรือ plesk ผู้ ใช้จะได้รับ e-mail แจ้งว่าเข้าใช้ Control Panel ได้อย่างไร และจะพบกับ File Manager ที่ทำให้ท่านเข้าไปจัดการกับระบบแฟ้ม และห้องต่างๆ ได้ รวมถึงการส่งแฟ้ม หรือนำแฟ้มออกมาจากเครื่อง เป็นต้น
วิธีที่ 2: ใช้ DOS FTP on Command Line
ในคอมพิวเตอร์ทุกระบบปฏิบัติการ มักมีโปรแกรม FTP ที่ทำงานใน Text Mode ท่านสามารถพิมพ์คำสั่ง ftp ตามด้วยชื่อ Host เพื่อเชื่อมต่อกับเครื่องบริการ และส่งแฟ้มได้ทันที ตัวอย่างคำสั่งอยู่ท้ายสุดของเว็บเพจหน้านี้
วิธีที่ 3: FTP Client Program
ต้อง Download โปรแกรม เช่น filezilla หรือ ws_ftp32 เป็นต้น มาติดตั้งในคอมพิวเตอร์ แล้วกำหนดชื่อโฮส ชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่านโปรแกรมจะเข้าเชื่อมต่อกับเครื่องบริการจากนั้นผู้ใช้ก็เลือกแฟ้มที่จะส่ง หรือรับ กับเครื่องบริการได้โดยสะดวก

กลับสู่เมนูย่อย

7.DNS
DNS นั้น ย่อมากจาก Domain Name System คือระบบที่ทำหน้าที่แปลง Domain Name ไปสู่ IP Address ซึ่งเป็นค่าตัวเลขที่ Browsers ใช้ในการโหลดหน้า Internet นั่นเอง ทุกๆ อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีเลข IP Address เป็นของตนเอง ซึ่งใช้สำหรับเป็นชื่อที่ให้อุปกรณ์อื่นๆ ใช้ในการระบุตัวตน
ระบบนี้ ทำให้เราสามารถพิมพ์ข้อความลงบนเบราว์เซอร์เว็บไซต์เป็นคำ หรือชื่อของเว็บนั้นๆ อาทิเช่น google.com, techforteam.com หรือ addin.co.th เป็นต้น เพื่อทำเปิดหน้า Page ที่ต้องการขึ้นมา แทนที่จะต้องมานั่งคอย Track และพิมพ์ IP Address ของทุกๆ Website แทน

ส่วนประกอบ dns คืออะไรและมีหน้าที่อย่างไร
ถ้าจะอธิบายให้เห็นภาพ dns จะทำหน้าที่คล้ายสมุดโทรศัพท์ที่บันทึกข้อมูล ถ้าต้องการหาข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ ก็เปิดสมุดโทรศัพท์หา dns ก็เช่นกัน ถ้าต้องการหาที่อยู่ของเว็บไซต์ dns คือเครื่องมือที่จะใช้หาตำแหน่งปลายทางนั้น โดย dns จะมีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ

1.Name Resolvers ของ dns คือมีหน้าที่หลักในการแปลงชื่อคอมพิวเตอร์ ให้เป็นหมายเลข IP เครื่องลูกข่ายที่ต้องการทราบหมายเลข IP เราจะเรียบว่า resolver จะเป็นซอฟท์แวร์ที่ถูกสร้างมากับเครื่องลูกข่ายหรืออาจจะแอปพลิเคชันหรือไลบรารี่ที่อยู่ในเครื่องนั้นจะเป็นส่วนที่รับข้อมูลไว้
2.Domain Name Space จะเป็นฐานข้อมูลระบบ DNS มีโครงสร้างเป็นต้นไม้ โดยแต่ละ Domain Name Space จะมีชื่อเรียกและสามารถมีโดเมนย่อยหรือที่เรียกว่า subdomain จะใช้จุด เป็นเครื่องหมายของแบ่งระหว่างโดเมนหลักและโดเมนย่อย
3.Name Servers คือเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่มีหน้าที่จัดการฐานข้อมูลในระบบ DNS โดยจะใช้โปรแกรมตอบกลับการร้องขอที่ได้รับมา ด้วยการข้อมูลในฐานข้อมูลตัวเอง หรือการทำงานสำหรับบางที่ก็สามารถเขียนโปรแกรมให้สามารถไปค้นหาข้อมูลที่ฐานข้อมูลอื่นใน Name server อื่นได้ ถ้าพบข้อมูลที่ได้รับร้องขอก็ถือว่าเป็นเจ้าของโดเมนนั้นจะเรียกว่า Authoritative ถ้าไม่พบข้อมูลจะเรียกว่า Non-Authoritative
จะเห็นได้ว่า dns คือส่วนสำคัญในการบ่งชี้ข้อมูลสำหรับการมีเว็บไซต์ ซึ่งจริง ๆ แล้วมันจะถูกแทนค่าตัวเลขที่เรียกว่า IP Address เป็นการระบุที่ตั้งของ server ของเว็บไซต์นั้น ๆ การตั้งชื่อ dns เป็นภาษาละตินหรือภาษาไทย จะทำให้ง่ายต่อการจดจำมากกว่าตัวเลข และมันจะมูลค่าทางการตลาดทำให้ลูกค้าจำชื่อเรียกได้ด้วย

กลับสู่เมนูย่อย

8.Homepage
  โฮมเพจ คือคำที่ใช้เรียกหน้าแรกของเว็บไซต์ โดยเป็นทางเข้าหลักของเว็บไซต์ เมื่อเปิดเว็บไซต์นั้นขึ้นมา โฮมเพจ ก็จะเปรียบเสมือนกับเป็นสารบัญและคำนำที่เจ้าของเว็บไซต์นั้นได้สร้างขึ้น เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์องค์กรของตน นอกจากนี้ ภายในโฮมเพจก็อาจมีเอกสารหรือข้อความที่เชื่อมโยงต่อไปยังเว็บเพจอื่นๆอีกด้วย
     Home page คืออะไร โฮมเพจ คือ หน้าแรกของเว็บไซต์
1.โลโก้ (logo) คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เข้าชมสามารถจดจำเว็บไซต์ของเราได้ นอกจากนี้แล้วโลโก้ยังช่วยให้เว็บไซต์ของเราดูมีเอกลักษณ์อีกด้วย
2. เมนูหลัก (link menu) เป็นจุดที่เชื่อมโยงข้อมูลที่สำคัญ ซึ่งรวบรวมไว้ในรูปแบบของปุ่มเมนู หรือข้อความที่ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์สามารถรับรู้เรื่องราวที่น่าสนใจของเว็บไซต์ได้ ควรมีข่าวใหม่ๆ เนื้อหาใหม่ๆมาตลอด

3. โฆษณา (Banner) เป็นส่วนที่สำคัญอีกเช่นเดียวกัน  เพราะเว็บไซต์ที่มีโฆษณาจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือ และช่วยกระตุ้นความสนใจเพราะมักใช้ภาพเคลื่อนไหว (Gif Animation)  ประกอบซึ่งจะทำให้เว็บไซต์ของเราดูตื่นตาตื่นใจมากขึ้น จากการวิจัยพบว่าภาพเคลื่อนไหวยังช่วยให้เว็บไซต์

ของเราดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้นถึง 30%  แต่ไม่ควรมีโฆษณามากเกินไปและควรจัดวางตำแหน่งให้เหมาะสมอีกด้วย
4. ภาพประกอบและเนื้อหา (content)  เป็นส่วนที่ให้สาระความรู้กับผู้เข้าชม ซึ่งเนื้อหาที่ให้จะต้องมีขนาดพอเหมาะไม่สั้นหรือยาวจนเกินไป  ควรมีการปรับเนื้อหาให้ใหม่ทันกับปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา จัดวางเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้ที่เข้ามาชมเนื้อหา และการมีภาพที่เกี่ยวข้องประกอบอยู่ยิ่งจะทำให้เว็บไซต์เป็นที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
5. การใช้สีให้เหมาะสมกับหน้าโฮมเพจ (color)เพราะสีแต่ละสีจะให้ความรู้สึกที่มีผลด้านอารมณ์กับผู้เข้าชมในลักษณะที่แตกต่างกันไป
การสร้างโฮมเพจ สามารถทำได้หลายวิธีเช่น
1. ใช้ Web Hosting ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่ให้บริการจัดเก็บข้อมูล โดยบางเว็บไซต์ให้บริการในการสร้างโฮมเพจสำเร็จรูปกับผู้ต้องการในการมีโฮมเพจ ซึ่งจะมีรูปแบบของโฮมเพจให้เลือกได้ตามที่ต้องการ หรือต้องการให้ออกแบบตามความประสงค์ของผู้ใช้บริการก็ได้
2. ใช้โปรแกรมสร้างเว็บเพจ เป็นการสร้างโฮมเพจโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการสร้าง ทำให้สามารถสร้างตาราง จัดวางตำแหน่งข้อความหรือรูปภาพได้สะดวก ตลอดจนการปรับแต่งแก้ไขจะทำได้ง่าย ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่โปรแกรม Dreamweaver, FrontPage, Go Live หรือ Home Site เป็นต้น
3.โปรแกรมภาษา HTML และ JavaScript การสร้างโฮมเพจโดยใช้โปรแกรมภาษา HTML และ JavaScript นั้น ผู้สร้างโฮมเพจจะต้องมีความสามารถและความชำนาญในการเขียนโปรแกรมได้เป็นอย่างดี เนื่องจากการสร้างโฮมเพจด้วยวิธีนี้ เป็นการพิมพ์คำสั่งและข้อมูลที่ต้องการแสดงบนโฮมเพจพร้อมกัน

กลับสู่เมนูย่อย

9.Hyper Link
ไฮเปอร์ลิงค์(Hyperlink) เป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างเว็บเพจ จากหน้าหนึ่งไปยังหน้าหนึ่ง หรือจาก  จุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งภายในหน้าเดียวกัน เว็บเพจที่มีเนื้อหายาวๆ จะจัดทำสารบัญไว้ด้านบนเว็บเพจ หรือสร้างเป็นเมนู แล้วสร้างลิงค์ไปยังส่วนต่างๆ เพื่อให้ผู้เข้าชมสะดวกต่อการเข้าใช้งาน
1. ไฮเปอร์ลิงค์ (Hyperlink) เรียกสั้นๆว่า ลิงค์ (link) คือการเชื่อมโยงกันระหว่างเว็บเพจ จากหน้าหนึ่งไปยังหน้าหนึ่ง หรือจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งภายในหน้าเดียวกัน
2. ประเภทของลิงค์
1)    ลิงค์ไปยังเว็บเพจหรือไฟล์ในเว็บไซต์เดียวกัน
2)    ลิงค์ไปยังเว็บไซต์อื่น
3)    ลิงค์เพื่อส่งอีเมล์

3. ลิงค์ไปยังเว็บเพจหรือไฟล์ในเว็บไซต์เดียวกัน เว็บเพจที่มีเนื้อหายาวๆ มักจะสร้างความสับสนให้กับผู้ชม แม้ว่าจะแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนๆ ชัดเจน วิธีที่จะช่วยคือการจัดทำสารบัญไว้ด้านบนเว็บเพจ แล้วสร้างลิงค์ไปยังส่วนต่างๆ การสร้างลิงค์ภายในเว็บเพจเดียวกันประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ
1) สร้าง name anchor คือการกำหนดและตั้งชื่อให้กับจุดปลายทางที่จะลิงค์ไปหา
2) สร้างลิงค์ไปยัง name anchor ที่สร้างไว้

4. สร้างลิงค์ข้อความด้วยคำสั่ง Hyperlink วิธีนี้สร้างได้เฉพาะลิงค์ข้อความเท่านั้น
5. สร้างลิงค์บน Properties inspector           
6. สร้างลิงค์ไปเว็บอื่น เป็นการสร้างลิงค์ไปยังเว็บไซต์, เว็บเพจ, รูป, เอกสาร หรือ อื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือเว็บไซต์ของเรา
7. สร้างลิงค์โดยใช้ลกศรชี้เพื่อลิงค์
8. สร้างลิงค์โดยการค้นหาหรือเลือกไฟล์ที่จะลิงค์
9. สร้างลิงค์เพื่อส่งอีเมล์
10. กำหนดสีของลิงค์

กลับสู่เมนูย่อย

10.Anchor
Anchor คือเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในเว็บไซต์โดยเฉพาะเมื่อหน้าเว็บมีข้อความจำนวนมากในหน้าเดียว ลิงค์เหล่านี้ซึ่งบางครั้งอาจเรียกว่าลิงค์ภายในหรือการข้ามหน้าช่วยให้ผู้ใช้สามารถคลิกที่ข้อความที่เน้นสีและข้ามไปยังส่วนอื่นของหน้า พวกเขาสามารถสร้างขึ้นได้อย่างง่ายดายด้วยการเขียนโค้ดแบบง่าย ๆ และช่วยปรับปรุงการนำทางบนหน้าเว็บ
หลายครั้งที่ผู้คนมีเพจเดี่ยวขนาดใหญ่พวกเขาจะสร้างดัชนีหน้าหรือสารบัญ ดัชนีที่ด้านบนเป็นสถานที่ที่สมบูรณ์แบบในการเพิ่มลิงค์ยึดเพื่อให้รายการแต่ละรายการกลายเป็นจุดกระโดดของตนเองไปยังส่วนอื่นของหน้า สิ่งนี้ช่วยให้ผู้คนที่ดูเว็บเพจคลิกที่ดัชนีหรือสารบัญและย้ายไปทันทีเพื่อเข้าถึงเนื้อหาที่พวกเขาต้องการแทนที่จะต้องสแกนผ่านหลาย ๆ ส่วน ลิงค์ Anchor เป็นผู้ใช้ทั่วไปและมักเป็นที่ต้องการของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีความซับซ้อนและต้องการเข้าถึงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องโดยเร็วที่สุด
มีหลายวิธีในการสร้างจุดยึดลิงก์และวิธีการที่โปรแกรมเมอร์แต่ละคนทำเช่นนั้นอาจขึ้นอยู่กับประเภทของตัวเลือกการเขียนโปรแกรมและโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์สร้างเว็บจริง โดยพื้นฐานแล้วคนที่ใช้ HTML แบบง่ายต้องจัดเตรียมพื้นที่บนหน้าเว็บที่เป็นจุดยึดหรือปลายทางของการกระโดด ส่วนที่สองของรหัสคือลิงค์จริงไปยังจุดยึด จำเป็นต้องใช้ทั้งสองส่วนและเกิดขึ้นกับส่วนต่าง ๆ ของหน้า

กลับสู่เมนูย่อย