ศำศัทท์เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต

 

 

1.WWW

ความหมายของ www
เป็นบริการข้อมูลข่าวสารแบบสื่อผสมที่ประกอบไปด้วยข้อความ ภาพ  ภาพเคลื่อนไหว  ภาพยนตร์ เสียง ในอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นที่ดึงดูดให้ผู้คนส่วนใหญ่เข้ามาใช้บริการกันอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ เวิลด์ไวด์เว็บยัง เป็นเครื่องมือช่วยให้เราสามารถค้นหารายละเอียดในเรื่องต่าง ๆได้อย่างสมบูรณ์แบบเกือบทุกเรื่อง สามารถเชื่อมโยงไปยังแหล่งต่าง ๆ ได้อย่างไร้ขีดจำกัด ใช้งานง่าย สะดวกและรวดเร็ว ทำให้ประหยัดเวลารวมทั้งเรายังสามารถเผยแพร่เอกสารที่เราจัดทำ ไปให้ผู้คนทั่วโลกโดยผ่านทาง เวิลด์ไวด์เว็บ ได้เช่นกัน โดยเสียค่าใช้จ่ายถูกกว่าการตีพิมพ์บนกระดาษ หรือบนสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เวิลด์ไวด์เว็บ จึงเป็นต้นเหตุสำคัญทำให้สถิติการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้คนทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วรวดเร็ว WWW ย่อมาจาก
ย่อมาจาก world wide web อ่านว่า เวิลด์ไวด์เว็บ หมายถึงสถานที่รวมของกลุ่มคอมพิวเตอร์ที่มีข้อมูลเตรียมพร้อมไว้ให้ผู้คนอ่านผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Internet) โดยใช้ภาษา เอชทีทีพี (HTTP หรือ Hypertext Tranfer Protocol) ทุกหน้าจะมีทั้งเนื้อหาเรื่องราวต่าง ๆมีเมนูพร้อมที่จะให้เราสั่งงานมีคำหลายคำที่มีแถบสีซึ่งเราสามารถกดเมาส์ถามหารายละเอียดต่าง ๆในเรื่องนั้นต่อซึ่งอาจเป็นการเรียกหาจากแหล่งเดียวกัน หรือจากแหล่งคอมพิวเตอร์อื่นได้ทั่วโลกดู internet, HTML, ประกอบ
WWW คืออะไร?
เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web หรือ WWW หรือ W3 หรือ Web) คือ บริการค้นหรือเรียกดูข้อมูลแบบหนึ่ง ในอินเทอร์เน็ต ข้อมูลในเวิลด์ไวด์เว็บ จะอยู่ในแบบสื่อผสมหรือมัลติมีเดีย (multimedia) ที่มีทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวแบบวิดีโอ ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นหน้า ๆแต่ละหน้าสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้เป็นแบบเครือข่ายคล้ายใยแมงมุมจากแหล่งต่าง ๆที่กระจายอยู่ทั่วโลกWWW มีอะไร?
เว็บเพจและโฮมเพจ เอกสารข้อมูลเวิลด์ไวด์เว็บ เรื่องหนึ่ง ๆในเว็บไซต์จะถูกแบ่งเป็นหน้า ๆคล้ายหนังสือ เล่มหนึ่งแต่ละหน้าเรียกว่า เว็บเพจ (web page) ข้อมูลในเว็บเพจเป็นเอกสารแบบ ไฮเปอร์เท็กซ์ เขียนขึ้นด้วยภาษา HTMLแบ่งเป็นสองส่วนคือส่วนที่เป็นตัวข้อมูล และส่วนที่เป็นตัวเชื่อม (link) ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมโยงไปยังข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง (เมื่อนำเมาส์ไปชี้บางครั้งจะปรากฏเห็นเป็นรูปมือ) เราเรียกข้อมูลที่มีตัวเชื่อมนี้ว่าเป็นไฮเปอร์เท็กซ์(hypertext) เว็บเพจหน้าแรกของเอกสารบนเวิลด์ไวด์เว็บ เรียกว่า โฮมเพจ (home page)ซึ่งเปรียบ เสมือนหน้าแรกหรือหน้าปกของหนังสือเป็นส่วนที่ใช้บอกชื่อเรื่องของเอกสารข้อมูล ส่วนสำคัญ ในหน้าที่เป็นโฮมเพจคือหัวข้อเรื่องของเอกสารข้อมูล หรือสารบัญที่มีลักษณะเป็นแบบไฮเปอร์เท็กซ์ที่จะเชื่อมโยงไปยังรายละเอียดที่อยู่ในหน้าอื่น ๆต่อไป นอกจากนี้ก็จะมี ชื่อเจ้าของโฮมเพจพร้อมทั้งที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ และอาจจะมีคำชี้แจงเบื้องต้นด้วย เว็บเซิร์ฟเวอร์
เว็บเซิร์ฟเวอร์ (web server) หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่ให้บริการเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งอาจจะใช้ระบบปฏิบัติการ Unix หรือ Windows NT ก็ได้และมีโปรแกรมประเภท HTTPD ทำหน้าที่คอยบริการจัดส่งเอกสารข้อมูลให้กับผู้ที่ติดต่อขอผ่านมาทางเว็บบราวเซอร์
เว็บไซต์
เว็บไซต์ (web site) หมายถึงตำแหน่งที่เก็บข้อมูลที่เป็นเว็บเพจต่างๆที่เจ้าของระบบได้จัดเตรียมไว้บนเว็บเซิร์ฟเวอร์ แต่ละเว็บไซต์บนเว็บเซิร์ฟเวอร์มีวิธีการระบุที่อยู่ (address) ของตัวเองไม่ให้ซ้ำกับผู้อื่นวิธีการระบุที่อยู่ของเว็บไซต์นี้เรียกว่า รหัสสืบค้น (Uniform Resource Locator หรือ URL) ส่วนแรกของ URLเป็นโปรโตคอล http ที่จะบอกลักษณะของข้อมูลว่าเป็นแบบเวิลด์ไวด์เว็บคั่นด้วยเครื่องหมาย :// และส่วนที่สอง ใช้บอกตำแหน่งที่เก็บข้อมูลนั้น ๆ เช่น http://www.disney.com/
ไฮเปอร์เท็กซ์ ไฮเปอร์ลิงก์ และ ไฮเปอร์มีเดีย
ไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) คือ คำหรือวลีเรืองแสงหรือมีสีแตกต่างจากข้อความธรรมดา หรือ มีการขีดเส้นใต้ในเอกสารเว็บ เมื่อเรียกดูผ่านทางเว็บบราวเซอร์ ถ้าใช้เมาส์ชี้ที่ ไฮเปอร์เท็กซ์จะเห็นเป็นรูปมือ และเมื่อคลิกเมาส์ที่ไฮเปอร์เท็กซ์ โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ จะเชื่อมโยงไปยังเอกสารอื่นซึ่งอาจจะเป็นจุดอื่นในไฟล์เดียวกัน หรืออาจจะเชื่อมโยงไปยัง ไฟล์เอกสารอื่น หรือเว็บไซต์อื่น การเชื่อมโยงดังกล่าว เรียกว่า 
ไฮเปอร์ลิงก์ (hyperlink) ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของเอกสารเว็บ เมื่อเรียกดูผ่านทางเว็บบราวเซอร์ 
ไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) หมายถึง ส่วนที่เพิ่มเติมจากไฮเปอร์เท็กซ์ นั่นคือนอกเหนือ จากการเชื่อมโยงข้อมูลในแบบตัวอักษรแล้ว เรายังสามารถเชื่อมโยงไปยังข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ภาพถ่าย วิดีโอ เสียง ภาพสามมิติ ภาพเคลื่อนไหวได้ด้วย
โปรแกรมเว็บบราวเซอร์
เว็บบราวเซอร์ (web browser) คือโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ที่ทำหน้าที่ติดต่อกับเว็บเซอร์เวอร์ เพื่อขอดูเอกสารข้อมูลเวิลด์ไวด์เว็บ เมื่อได้รับแฟ้มเอกสารที่ขอไปก็นำมาแสดงบนจอภาพ เราเรียกรายละเอียดของเอกสารข้อมูลที่เว็บบราวเซอร์นำมาแสดงบนจอว่า เอกสารเว็บ (web document) ในปัจจุบันมีบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ต่าง ๆหลายรายได้พัฒนาโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ออกมาให้ใช้งานกันมากมาย และเพิ่มขึ้นทุกขณะ เช่น NCSA Mosaic, Cello, Netscape Navigator, Internet Explorer, HotJava, และ Win Web  เป็นต้

 

 

2.Web Site

ความหมายของ Web Site
เว็บไซต์ (Website) หมายถึง หน้าเว็บเพจที่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลต่างๆผ่านทางคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต โดยจะมีหน้าเว็บเพจหลายๆ หน้าที่เชื่อมโยงเข้ากับไฮเปอร์ลิ้งค์ เพื่อให้สามารถเปิดไปยังหน้าเพจต่างๆ ได้อย่างง่ายดายและถูกจัดเก็บไว้ใน www. (เวิลด์ไวด์เว็บ) โดยเว็บไซต์ส่วนใหญ่นั้นก็มีทั้งเว็บไซต์ที่เปิดให้เข้าชมได้ฟรีและเว็บไซต์ที่ต้องสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการ จึงจะเข้าใช้งานเว็บได้ ซึ่งข้อมูลในเว็บก็จะมีหลากหลายแบบขึ้นอยู่กับความต้องการนำเสนอของเจ้าของเว็บไซต์ การเรียกดูเว็บไซต์จะเรียกดูผ่านทางซอฟต์แวร์ ในลักษณะของบราว์เซอร์

 ก็คือหน้าแรกของเว็บไซต์เมื่อเปิดเข้าไปยังเว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่ง โดยหน้าแรกนี้จะรวมเมนูและเรื่องราวต่างๆ ไว้มากมาย ซึ่งก็มีความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะหากหน้าแรกมีการออกแบบได้อย่างสวยงามและจัดหน้าอย่างเป็นระเบียบก็จะทำให้ผู้ชมเกิดความสนใจและอยากเข้าชมเว็บมากขึ้น

เว็บเพจ (Web Page) ก็คือหน้าเอกสารต่างๆที่อยู่ในรูปของ HTML โดยจะนำเสนอข้อมูลหรือเรื่องราวต่างๆ เป็นหน้าๆไป และใช้การเชื่อมโยงเพื่อให้สามารถคลิกไปหน้าเว็บเพจแต่ละหน้าได้ง่ายขึ้น
เว็บ Static คือเว็บที่แสดงผล เพื่อให้ความรู้หรือข้อมูลแก่ผู้เข้าชมเว็บเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถโต้ตอบหรือรับส่งข้อมูลกับผู้ที่เข้าชมเว็บได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเว็บไซต์ประเภทนี้ก็จะเป็นเว็บ Gallery รูปภาพ เว็บของบริษัทหรือองค์กรต่างๆและเว็บให้ความรู้ทั่วไป
เว็บ Dynamic เป็นเว็บไซต์ที่สามารถตอบโต้และรับส่งข้อมูลระหว่างผู้เข้าชมกับเว็บไซต์ได้ ซึ่งเว็บเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็จะมีระบบเว็บบอร์ด รวมไปถึง Social Media ประเภทต่างๆมีการสมัครสมาชิกหรือเป็นเว็บขายสินค้าออนไลน์ที่มีระบบแชทกับผู้ขาย เป็นต้น
Web Service เป็นบริการด้านข้อมูลที่สามารถดึงข้อมูลของอีกเว็บหนึ่งไปแสดงผลในอีกเว็บหนึ่งได้
Hosting เป็นพื้นที่ของคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ที่ทางผู้ให้บริการได้ทำการจัดสรรมาให้เช่า โดยส่วนใหญ่จะมีการให้เช่าเป็นแบบรายเดือนรายปีหรือตามแต่ผู้ให้บริการกำหนด
อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อให้ผู้คนสามารถท่องเว็บไซต์ต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย และช่วยให้กลุ่มองค์กร ธุรกิจหรือบริษัทสามารถนำเสนอข้อมูลของตนลงบนอินเทอร์เน็ต ผ่านทางเว็บไซต์ เป็นการให้ความรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

3.Web Browser

Web Browser คืออะไร? เป็นแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ (Application Software) ที่ผู้ใช้ต้องดาวน์โหลดมาติดตั้งบนคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆเพื่อใช้งาน โดยมันถูกพัฒนาขึ้นโดย Sir Tim Berners-Lee ในโปรเจค ENQUIRE ของ CERN (Conseil Européen pour la Recherche Nucléaire ที่ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น European Organization for Nuclear Research หรือองค์กรวิจัยทางนิวเคลียร์ในทวีปยุโรป) และได้เปิดตัวครั้งแรกในปี ค.ศ. 1990 (พ.ศ. 2533)ซึ่ง Web Browser แรกของโลกนั้นได้แก่ WorldWideWeb” ที่เป็นทั้งเว็บไซต์ค้นหาและเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้ และยังสามารถสร้างเว็บเพจของตนเองขึ้นมาได้ในขณะเดียวกันด้วย แต่ต่อมาได้มีการพัฒนาให้ Web Browser นั้นมีการแสดงผลหน้าเว็บไซต์เพียงอย่างเดียว

การทำงานของ Web Browser คือเมื่อผู้ใช้กรอก URL (Uniform Resource Locator) หรือ Web Address เช่น Facebook.com, Youtube.com หรือ Twitter.com ลงไป มันจะรับข้อมูลของเว็บไซต์นั้นๆ ที่เขียนขึ้นด้วยภาษา HTML (HyperText Markup Language) และส่งผ่านมาจาก Hypertext Transfer Protocol มาประมวลผลโค้ดต่างๆ จากนั้นทำการแสดงผลข้อมูลในเว็บไซต์นั้นๆ ขึ้นบนอุปกรณ์ของผู้ใช้ เช่น คอมพิวเตอร์, แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน

โดย Web Browser จะเก็บ Cache หรือข้อมูลการเข้าใช้งานเว็บไซต์ เอาไว้ในระบบเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งาน เช่น การเรียกใช้งานเว็บไซต์ที่เผลอปิดไปโดยไม่ตั้งใจหรือการดูประวัติการเปิดหน้าเว็บ (History) เพราะข้อมูล Cache บนเว็บไซต์ที่เคยเข้าใช้งานจะช่วยให้ Browser สามารถแสดงผลหน้าเว็บไซต์ได้รวดเร็วกว่าการเปิดหน้าเว็บที่ไม่เคยใช้งานมาก่อน
รวมทั้งมีการเก็บ Cookies หรือข้อมูลการใช้งานเว็บของผู้ใช้ เช่น การล็อคอินเข้าใช้งานเว็บไซต์หรือการคงของค้างในตะกร้าของเว็บ Online Shopping ด้วยซึ่งผู้ใช้สามารถหลีกเลี่ยงการเก็บ Cookies และ Cache ของ Browser ได้โดยการเปิด Web Browser ในโหมดการใช้งานส่วนตัว (Private) หรือโหมดไม่ระบุตัวตน (Incognito)


 

 

4.Web Hosting

เว็บโฮสติ้ง (Web Hosting) คืออะไร?
เว็บโฮสติ้ง (Web Hosting
) คือ รูปแบบการให้บริการที่อนุญาตให้ผู้ใช้บริการ สามารถนำเว็บเพจของตนเอง เพื่อออนไลน์บนอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งเว็บโฮสนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า ' HSP ' ย่อมาจาก Hosting Service Provider หรือผู้ให้บริการโฮสติ้ง เป็นธุรกิจที่นำเอาเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับงานสร้างเว็บไซต์ มาให้บริการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เว็บไซต์นั้นสามารถมองเห็นได้บนอินเตอร์เน็ต
ทุกเว็บไซต์ที่ออนไลน์บนอินเตอร์เน็ตจะต้องได้รับการฝาก หรือเก็บไว้บนคอมพิวเตอร์พิเศษ ที่เรียกว่า เว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเซิร์ฟเวอร์นี้จะทำหน้าที่เป็นตัวติดต่อกับทุกหนทุกแห่งตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้เว็บไซต์ ของคุณสามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ทุกเวลาในโลกที่มีการต่อเชื่อม อินเตอร์เน็ตง่ายๆ แค่พิมพ์ชื่อเว็บไซต์ของคุณ (Domain Name) ตัวอย่างเช่น http://www.yourcompany.com/
ผู้ให้บริการจะทำการติดตั้งระบบทั้งหมดให้คุณ เมื่อมีบุคคลที่พิมพ์ชื่อเว็บไซต์ของคุณ (Web address) ชื่อนั้นจะถูกส่งตามเส้นทางจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งไปเรื่อยๆเซิร์ฟเวอรที่คุณได้ฝากเว็บไซต์ไว้ (Host computer) ในเวลาเพียงเสี้ยววินาที
ดังนั้นการออนไลน์เว็บไซต์ของคุณบนอินเตอร์เน็ต สิ่งแรกที่คุณจำเป็นจะต้องมีคือเซิร์ฟเวอร์  ซึ่งอย่างไรก็ตามการติดตั้งระบบเว็บเซิร์ฟเวอร์เป็นของตนเองสามารถทำได้ แต่มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงมากและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคดูแล ดังนั้นบริษัทส่วนใหญ่จะไม่ดำเนินการลงทุนเพื่อเป็นเจ้าของเอง และนี่คือที่มาของบริการเว็บโฮสติ้ง เว็บโฮสติ้งที่ดีจะต้องให้บริการทั้งเครื่องมืออำนวยความสะดวกและคำแนะนำแก่ผู้ใช้บริการ
บริการโฮสติ้งส่วนใหญ่มีข้อดีอันหนึ่งที่จัดได้ว่าเป็นการให้บริการจะดำเนินการแบบเบ็ดเสร็จ (Outsourced service) ซึ่งผู้ใช้บริการไม่ต้องยุ่งยากกับระบบเซิร์ฟเวอร์แต่อย่างใด ผู้ให้
บริการเว็บโฮสติ้งที่ดีที่สุด จะต้องมีระบบที่ใช้งานง่ายและให้ผู้ใช้งานไม่ต้องรู้สึกวุ่นวายเกี่ยวกับ ฟังก์ชันที่ซับช้อนของระบบ เพื่อให้คุณสามารถเผยแพร่และนำเสนอผลงานได้อย่างง่ายดาย รวดเร็ว ที่สำคัญยังต้องคงไว้ซึ่งระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีเยี่ยม การเลือกเว็บWeb Hosting
เมื่อมีโดเมนแล้วต่อมาคุณก็ต้องเลือกเว็บโฮสติ้งเพื่อนำเว็บไซต์ออนไลน์บนอินเตอร์เน็ต ราคาไม่ใช่ตัวบ่งบอกถึงคุณภาพของโฮสติ้งเสมอไปความเสถียรของโฮสต์และบริการหลังการขายต่างหากที่เป็นตัวชี้วัดคุุณภาพของผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้ง เหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกเว็บโฮสติ้ง
1.ความเร็วและความเสถียรของโฮสต์
นอกจากความเร็วของโฮสต์แล้วความเสถียรของโฮสต์ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน โฮสต์ที่ดีควรมีค่า uptime อย่างน้อย 99% หรือถ้าให้ดีควร 99.5% ขึ้นไป หากเซิร์ฟเวอร์ที่เราใช้นั้นเสีย หรือมีเหตุที่ทำให้ใช้การไม่ได้บ่อยๆแล้ว ก็จะทำให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตไม่สามารถเข้าชมเว็บไซต์ของเราได้ ซึ่งนอกจากจะทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจแล้ว ภาพลักษณ์ และความน่าเชื่อถือของธุรกิจของเราจะแย่ไปด้วย
2.เว็บคอนโทรลพาเนล
ผู้ให้บริการโฮสติ้งที่ดีควรมีเว็บคอนโทรลพาเนลให้ลูกค้า และควรเป็นคอนโทรลพาเนลที่ใช้งานง่ายและมีฟังก์ชันพื้นฐานที่จำเป็นครบถ้วน
3.การบริการหลังการขาย
ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งที่ดีควรจะติดต่อได้ตลอดเวลาเมื่อโฮสต์เกิดปัญหา นอกจากการตอบสนองที่รวดเร็วแล้วผุ้ให้บริการเว็บโฮสติ้งควรจะต้องมีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคพอสมควร คุณคงไม่อยากฝากเว็บไซต์ไว้กับมือสมัครเล่น ที่ขายของเป็นอย่างเดียวแต่แก้ปัญหาอะไรไม่เป็นเลย
4.ระบบที่รองรับ
เว็บของคุณจะใช้โปรแกรมภาษาอะไรในการพัฒนา? ชนิดและจำนวนฐานข้อมูลที่ต้องการ ? จำนวน email account ที่ต้องการ ? สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยในการเลือกเว็บโฮสติ้ง
5. ระบบสำรองข้อมูล
ผู้ให้บริการโฮสติ้งที่ดีควรสำรองข้อมูลให้ลูกค้าอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง
6. ความปลอดภัย
โฮสต์ที่ดีควรมีระบบรักษาความปลอดภัยและป้องกัน spyware, spam, viruses, DDoS attacks หรือ phishers ได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามความปลอดภัยขึ้นกับผุ้ใช้บริการเป็นสำคัญด้วย เช่น ควรตั้งรหัสต่างๆ ให้ปลอดภัย

 

 

5.URL

URL คืออะไร?
URL ย่อมาจากคำว่า Uniform Resource Locator คือ ที่อยู่ (Address) ของข้อมูลต่างๆในInternet เช่น ที่อยู่ของไฟล์หรือเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต

ในปัจจุบันเว็บไซต์เป็นแหล่งที่อยู่ใหม่ของหลายๆธุรกิจช่องทางที่สามารถเข้าถึงได้อย่างง่าย และยังสามารถใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลาเว็บไซต์เป็นแหล่งที่รวมรวบข้อมูลต่างๆไว้และแสดงให้เห็นผ่านเว็บบราว์เซอร์ ปกติแล้วเว็บไซต์จะมีชื่อและที่อยู่ของมันเองเพื่อให้ระบุได้ว่าเป็นเว็บไซต์ของใครโดยชื่อของเว็บไซต์หรือ Domain name(โดเมน เนม) จะไม่ซ้ำกันของแต่ละเว็บซึ่งการเปิดให้บริการเว็บไซต์จะมีการจดโดเมนเนมก่อนจึงจะสามารถให้บริการได้

รูปแบบของ URL จะประกอบด้วย http://www.mindphp.com/support/urlfaq.htm
1.ชื่อโปรโตคอลที่ใช้ (http ซึ่งย่อมาจาก HyperText Transfer Protocol)
2.ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์และชื่อเครือข่ายย่อย (www.mindphp)
3.ประเภทของเว็บไซต์ (.com) ซึ่งมีอยู่หลายประเภทคือเช่น .com (commercial),.edu (Educational),.org (Organizations),.net (Network),.co.th
4.ไดเร็กทอรี่ (/support/)
5.ชื่อไฟล์และนามสกุล (urlfaq.htm)
ความสำคัญของ URL คือเวลาเราเข้าเว็บไซต์เราก็ต้องพิมพ์ URL ลงในช่อง URL address ของ web browser เช่นจะเข้าเว็บ google.com ก็ต้องพิมพ์ http://www.google.com หรือจะพิมพ์ google.com ก็ได้ไม่ต้องมี http://www.ก็ได้เดี๋ยว Browser มันจะเติมให้เราเอง ดังนั้นการอ้างอิงของข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต
ต้องระบุ URL ให้ถูกต้องมิฉะนั้นจะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นได้

 

 

6.FTP

FTP ย่อมาจากอะไร?
FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol (โปรโตคอลการโอนย้ายไฟล์) เรามาลงรายละเอียดกัน โดยพื้นฐานแล้ว “โปรโตคอล” คือชุดของขั้นตอนหรือกฎที่อนุญาตให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สื่อสารกันได้ FTP เป็นชุดของกฎที่อุปกรณ์บนเครือข่าย TCP / IP (อินเทอร์เน็ต) ใช้เพื่อถ่ายโอนไฟล์ เมื่อคุณใช้อินเทอร์เน็ต คุณกำลังใช้โปรโตคอลที่แตกต่างกัน คุณจะใช้ HTTP สำหรับการเรียกดู และใช้ XMPP สำหรับการส่งและรับข้อความโต้ตอบแบบทันที FTP ก็คือโปรโตคอลที่ใช้ในการย้ายไฟล์
เซิร์ฟเวอร์ FTP คืออะไร?
เซิร์ฟเวอร์ FTP เป็นแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ที่เปิดใช้งานการถ่ายโอนไฟล์จากอุปกรณ์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง ซึ่งอาจฟังดูซับซ้อนแต่โดยพื้นฐานแล้ว เซิร์ฟเวอร์ FTP เป็นเพียงคอมพิวเตอร์ที่มีที่อยู่ FTP และมีไว้เพื่อรับการเชื่อมต่อ FTP โดยเฉพาะ เซิร์ฟเวอร์จะทำงานง่ายๆ 2 งาน ได้แก่ "รับ" และ "ใส่" อธิบายสั้นๆ ก็คือ คุณสามารถ "รับ" ไฟล์จากเซิร์ฟเวอร์ FTP หรือ "ใส่" ไฟล์บนเซิร์ฟเวอร์ FTP เมื่อคุณอัพโหลดไฟล์ จะมีการถ่ายโอนไฟล์เหล่านั้นจากอุปกรณ์ส่วนตัวของคุณไปยังเซิร์ฟเวอร์ หรือเมื่อคุณดาวน์โหลดไฟล์ จะมีการถ่ายโอนไฟล์เหล่านั้นจากเซิร์ฟเวอร์ไปยังอุปกรณ์ส่วนตัวของคุณ ในระดับพื้นฐานที่สุด เซิร์ฟเวอร์ FTP จึงเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างผู้รับกับผู้ส่ง
FTP ทำงานอย่างไร?
FTP เป็นโปรโตคอลไคลเอนท์-เซิร์ฟเวอร์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ไคลเอนท์จะร้องขอไฟล์ และเซิร์ฟเวอร์จะจัดเตรียมไฟล์ ด้วยเหตุนี้ FTP จึงต้องใช้ช่องทางพื้นฐาน 2 ช่องเพื่อสร้างการเชื่อมต่อ ได้แก่ ช่องคำสั่ง (เริ่มต้นคำสั่ง เก็บข้อมูลพื้นฐาน กล่าวคือ ไฟล์ใดที่จะเข้าถึง) และช่องข้อมูล (ถ่ายโอนข้อมูลไฟล์ระหว่างอุปกรณ์ทั้งสองเครื่อง) ในการสร้างการเชื่อมต่อ ผู้ใช้จะต้องระบุข้อมูลประจำตัวให้กับเซิร์ฟเวอร์ FTP ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้พอร์ตหมายเลข 21 เป็นโหมดการสื่อสารตามค่าเริ่มต้น สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือมีโหมดการเชื่อมต่อ FTP ที่แตกต่างกัน 2 โหมด ได้แก่ แอกทีฟและพาสซีฟ
ในโหมดแอกทีฟ เซิร์ฟเวอร์จะมีบทบาทแอกทีฟโดยการอนุมัติการร้องขอข้อมูล อย่างไรก็ตาม ในบางครั้ง โหมดแอกทีฟอาจมีปัญหากับไฟล์วอล ซึ่งจะบล็อกเซสชันที่ไม่ได้รับอนุญาตจากบุคคลที่สาม นั่นคือเมื่อโหมดพาสซีฟเข้ามามีบทบาท ในโหมดพาสซีฟ เซิร์ฟเวอร์จะไม่รักษาการเชื่อมต่อไว้ ทำให้ผู้ใช้สร้างทั้งช่องข้อมูลและช่องคำสั่ง โดยพื้นฐานแล้ว เซิร์ฟเวอร์จะ “รับฟัง” แต่ไม่ได้มีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้น ทำให้อุปกรณ์อีกเครื่องจัดการงานจำนวนมากได้

 

 

7.DNS

DNS คืออะไร?
ระบบชื่อโดเมน (Domain Name System : DNS) เป็นระบบการตั้งชื่อแบบลำดับชั้นที่ใช้กับทุกเอกลักษณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายส่วนตัว เช่น อุปกรณ์หรือบริการเทคโนโลยีทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้และเว็บบราว์เซอร์ ซึ่งโดยปกติแล้วจะทำงานร่วมกับแม่แบบชื่อโดเมนที่น่าจดจำในขณะที่ IP addresses ใช้เพื่อสื่อสารกับบริการอื่น ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต ด้วยเหตุนี้ DNS จึงไม่จำเป็นต้องให้ผู้ใช้จดจำ IP addresses ที่ไม่ซ้ำกันซึ่งมักถูกเรียกว่า "สมุดโทรศัพท์ของอินเทอร์เน็ต" DNS ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจำที่อยู่เว็บไซต์ได้ เช่น www.itpro.co.uk แทนที่จะเป็นจำนวนชุดหมายเลข ตัวคั่นด้วยจุดในกรณีของ IPv4 หรือเครื่องหมายทวิภาคในกรณีของ IPv6
DNS ทำงานอย่างไร?
DNS หากพิจารณาอย่างผิวเผินนั้นมันดูเรียบง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ เนื่องจากมันซ่อนกระบวนการการทำงานที่ซับซ้อนหลายอย่างซึ่งอาจอธิบายให้เข้าใจง่ายที่สุดนั่นก็คือการทำงานร่วมกันระหว่างฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกัน กระบวนการจะเริ่มต้นเมื่อผู้ใช้เข้าสู่เว็บไซต์ในบราว์เซอร์ URL ของพวกเขา ซึ่งมันจะแจ้งให้คอมพิวเตอร์ของพวกเขาออกแบบสอบถามผ่านทางอินเทอร์เน็ตไปยังเซิร์ฟเวอร์เป้าหมายที่เรียกว่าตัวแก้ไขแบบเรียกซ้ำ(Recursive resolver) และนี่จะเป็นผลทำให้คอมพิวเตอร์ถามคำค้นหาว่า IP addresses คืออะไร แล้วเซิร์ฟเวอร์จะออกแบบสอบถามเพิ่มเติมผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อพยายามแก้ไขตามคำขอของผู้ใช้
ตัวแก้ไขแบบเรียกซ้ำจะเรียกใช้แบบสอบถามที่เรารู้จักในชื่อว่ารูทเซิร์ฟเวอร์ (Root server) ซึ่งมันจะทำหน้าที่เหมือนกับดัชนี ซึ่งรูทเซิร์ฟเวอร์สามารถกำหนดตัวแก้ปัญหาแบบเรียกซ้ำไปยังโดเมนระดับสูงสุด (Top level domain : TLD) ที่ถูกต้อง (TLD คือ เซิร์ฟเวอร์โฮสต์ที่เป็นส่วนสุดท้ายของ URL เช่น .com, .co.uk หรือ. fr) จากนั้นตัวแก้ปัญหาแบบเรียกซ้ำจะถูกนำไปยังเนมเซิร์ฟเวอร์ (Name server) ที่เชื่อถือได้ ซึ่งจะนำไปสู่ชิ้นส่วนสุดท้ายของปริศนาโดยจับคู่ URL ทั้งหมด เช่น www.itpro.co.uk กับIP addresses ของมัน เพื่อให้สามารถเข้าถึงได้และจะถูกส่งกลับไปยังเว็บบราว์เซอร์ดั้งเดิม กระบวนการทั้งหมดนี้ดูค่อนข้างซับซ้อน หากแต่ใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้นก็เป็นอันเสร็จสมบูรณ์
เซิร์ฟเวอร์ DNS คืออะไร?
เซิร์ฟเวอร์ DNS เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ประกอบเป็นระบบชื่อโดเมน ดังที่แสดงไว้ข้างต้น พวกนี้เป็นตัวแก้ปัญหาแบบเรียกซ้ำ (Recursive Resolver) รูทเซิร์ฟเวอร์ (Root Server) ทีแอลดีเนมเซิร์ฟเวอร์ (TLD Name Server) และเซิร์ฟเวอร์ที่เชื่อถือได้ (Authoritative Server) หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Domain Name serverทมีเซิร์ฟเวอร์ DNS DNS 13 ตัวที่แพร่กระจายไปทั่วโลกซึ่งตัวแก้ไขแบบเรียกซ้ำทุกตัวรู้ องค์กรเหล่านี้ดูแลโดยองค์กรไม่แสวงหากำไรที่รู้จักกันในชื่อ Internet Corporation สำหรับชื่อและหมายเลขที่กำหนด (ICANN) โดยตัดสินใจว่าชื่อไหนของ URL
TLD name server จะเป็นตัวแก้ปัญหาแบบเรียกซ้ำที่ควรติดต่อตาม TLD ของ URL TLD Name Server ซึ่งถูกจัดการโดยสาขาของ ICANN ที่รู้จักกันในชื่อ Internet Assigned Numbers Authority (IANA) จะเป็นหนึ่งในสองประเภทคือที่มีข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่ที่ลงท้ายด้วย TLD ทั่วไปเช่น .com, .org หรือ .net หรือกับอีกอย่างคือที่มีข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่ที่ลงท้ายด้วย TLD รหัสประเทศเช่น .cn, .za หรือ .uk สุดท้ายนี้เซิร์ฟเวอร์ชื่อโดเมนหรือเซิร์ฟเวอร์ชื่อที่เชื่อถือได้จะมีข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวกับชื่อโดเมนที่ให้บริการ ซึ่งนี่เป็นวิธีที่จะแก้ไขส่วนสุดท้ายของปริศนาแบบสอบถาม DNS

 

 

8.Homepage

Home page คืออะไร?
โฮมเพจ คือคำที่ใช้เรียกหน้าแรกของเว็บไซต์ โดยเป็นทางเข้าหลักของเว็บไซต์ เมื่อเปิดเว็บไซต์นั้นขึ้นมา โฮมเพจ ก็จะเปรียบเสมือนกับเป็นสารบัญและคำนำที่เจ้าของเว็บไซต์นั้นได้สร้างขึ้น เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์องค์กรของตน นอกจากนี้ ภายในโฮมเพจก็อาจมีเอกสารหรือข้อความที่เชื่อมโยงต่อไปยังเว็บเพจอื่นๆอีกด้วย

ในหน้าโฮมเพจของเว็บไซต์ มักประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1.โลโก้ (logo) คือสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เข้าชมสามารถจดจำเว็บไซต์ของเราได้ นอกจากนี้แล้วโลโก้ยังช่วยให้เว็บไซต์ของเราดูมีเอกลักษณ์อีกด้วย
2. เมนูหลัก (link menu) 
เป็นจุดที่เชื่อมโยงข้อมูลที่สำคัญ ซึ่งรวบรวมไว้ในรูปแบบของปุ่มเมนู หรือข้อความที่ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์สามารถรับรู้เรื่องราวที่น่าสนใจของเว็บไซต์ได้ ควรมีข่าวใหม่ๆ เนื้อหาใหม่ๆมาตลอด
3. โฆษณา (Banner)
เป็นส่วนที่สำคัญอีกเช่นเดียวกัน  เพราะเว็บไซต์ที่มีโฆษณาจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือ และช่วยกระตุ้นความสนใจเพราะมักใช้ภาพเคลื่อนไหว (Gif Animation)  ประกอบซึ่งจะทำให้เว็บไซต์ของเราดูตื่นตาตื่นใจมากขึ้น จากการวิจัยพบว่าภาพเคลื่อนไหวยังช่วยให้เว็บไซต์ของเราดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้นถึง 30%  แต่ไม่ควรมีโฆษณามากเกินไปและควรจัดวางตำแหน่งให้เหมาะสมอีกด้วย
4. ภาพประกอบและเนื้อหา (content) 
เป็นส่วนที่ให้สาระความรู้กับผู้เข้าชมซึ่งเนื้อหาที่ให้จะต้องมีขนาดพอเหมาะไม่สั้นหรือยาวจนเกินไป ควรมีการปรับเนื้อหาให้ใหม่ทันกับปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา จัดวางเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้ที่เข้ามาชมเนื้อหา และการมีภาพที่เกี่ยวข้องประกอบอยู่ยิ่งจะทำให้เว็บไซต์เป็นที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
5. การใช้สีให้เหมาะสมกับหน้าโฮมเพจ (color)เพราะสีแต่ละสีจะให้ความรู้สึกที่มีผลด้านอารมณ์กับผู้เข้าชมในลักษณะที่แตกต่างกันไป

การสร้างโฮมเพจ สามารถทำได้หลายวิธีเช่น
1.ใช้ Web Hosting ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่ให้บริการจัดเก็บข้อมูล โดยบางเว็บไซต์ให้บริการในการสร้างโฮมเพจสำเร็จรูปกับผู้ต้องการในการมีโฮมเพจ ซึ่งจะมีรูปแบบของโฮมเพจให้เลือกได้ตามที่ต้องการ หรือต้องการให้ออกแบบตามความประสงค์ของผู้ใช้บริการก็ได้
2.ใช้โปรแกรมสร้างเว็บเพจ เป็นการสร้างโฮมเพจโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการสร้าง ทำให้สามารถสร้างตาราง จัดวางตำแหน่งข้อความหรือรูปภาพได้สะดวก ตลอดจนการปรับแต่งแก้ไขจะทำได้ง่าย ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่โปรแกรม Dreamweaver, FrontPage, Go Live หรือ Home Site เป็นต้น
3.โปรแกรมภาษา HTML และ JavaScript การสร้างโฮมเพจโดยใช้โปรแกรมภาษา HTML และ JavaScript นั้น ผู้สร้างโฮมเพจจะต้องมีความสามารถและความชำนาญในการเขียนโปรแกรมได้เป็นอย่างดี เนื่องจากการสร้างโฮมเพจด้วยวิธีนี้ เป็นการพิมพ์คำสั่งและข้อมูลที่ต้องการแสดงบนโฮมเพจพร้อมกัน

 

 

9.Hyperlink

“ไฮเปอร์ลิงก์” หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ลิงก์” เป็นฟังก์ชันพื้นฐานของอินเทอร์เน็ตที่เราใช้ทุกวัน แม้ว่าเราจะไม่ทราบคำศัพท์ก็ตาม ดังนั้นไฮเปอร์ลิงก์คืออะไร? พูดง่ายๆ ก็คือ พวกมันเป็นตัวเชื่อมและเป็นลิงค์ระหว่างหน้าเว็บสองหน้าบนเวิลด์ไวด์เว็บ
เป็นเรื่องปกติที่เราจะคลิกปุ่ม ข้อความ หรือรูปภาพเพื่อย้ายจากหน้าหนึ่งไปยังหน้าถัดไปบนหน้าเว็บที่เราไม่ได้นึกถึง อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งที่เราคลิกบนบางสิ่งและพบว่าตัวเองอยู่ในหน้า Landing Page ใหม่ เราเพิ่งใช้ไฮเปอร์ลิงก์

วิธีใช้ Hyperlink
ลิงก์มีคุณสมบัติที่มีประโยชน์หลายประการ ในทางปฏิบัติ พวกเขาทำหน้าที่เป็นวิธีที่สะดวกในการส่งผู้ใช้ไปยังสิ่งที่พวกเขากำลังมองหา เช่น บล็อกโพสต์ที่มีข้อมูลเพิ่มเติม หรือ e-shop
ไฮเปอร์ลิงก์ยังมีจุดประสงค์ที่ยอดเยี่ยมในแง่ของ SEO ลิงค์เป็นเกตเวย์จากเว็บไซต์หนึ่งไปยังอีกเว็บไซต์หนึ่ง แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง anchor text นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการนำคีย์เวิร์ด SEO ไปใช้เพื่อระบุว่าเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร
เสิร์ชเอ็นจิ้นเช่น Google รวม anchor text เหล่านี้ไว้ในการคำนวณเมื่อเผยแพร่อันดับสูงสุด ดังนั้น การตรวจสอบถ้อยคำของลิงก์ของคุณและการเขียนอย่างรอบคอบจึงเป็นสิ่งสำคัญหากคุณกำลังมองหาอันดับที่สูงในผลการค้นหา
เมื่อคุณสร้างไฮเปอร์ลิงก์ คุณควรใช้ anchor text ที่ช่วยให้ Google เข้าใจได้ดีขึ้นว่าหน้าเว็บที่ลิงก์นั้นชี้ไปนั้นเกี่ยวกับอะไรวิธีสร้าง Hyperlinkการสร้างไฮเปอร์ลิงก์เป็นเรื่องง่าย ในการสร้างไฮเปอร์ลิงก์บนหน้าเอกสารหรือเว็บไซต์ ก่อนอื่นให้ตัดสินใจเลือก URL ที่คุณกำลังเชื่อมโยง คุณควรวางแผนที่จะเชื่อมโยงจากเอกสารปัจจุบันของคุณไปยังหน้าใหม่ ทั้งบนเว็บไซต์ของคุณ หรือหน้าภายนอกสำหรับไฮเปอร์ลิงก์ขาออก
เมื่อคุณทราบแล้วว่าไฮเปอร์ลิงก์ของคุณจะนำผู้ใช้ไปที่ใด ให้พิจารณาไฮเปอร์เท็กซ์หรือแองเคอร์เท็กซ์ คำ รูปภาพ หรือองค์ประกอบอื่นๆ ของเว็บไซต์ที่คุณจะลิงก์เพื่อสร้างบริบทสำหรับลิงก์ของคุณ
ตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังเขียนบทความเกี่ยวกับ SEO คุณอาจต้องการไฮเปอร์ลิงก์ไปยังบทความอื่นที่กล่าวถึงการเขียนเนื้อหา SEO ลิงก์จากหน้าปัจจุบันของคุณไปยังเอกสารอื่นเกี่ยวกับการเขียนเนื้อหาโดยใช้ไฮเปอร์เท็กซ์ เช่น “การสร้างเนื้อหา” หรือ “ค้นหาเนื้อหาที่ปรับให้เหมาะสมที่สุด” สร้างบริบทเพื่อให้เว็บบราว์เซอร์สามารถติดตามจากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่งได้อย่างเป็นธรรมชาติ
ในการสร้างไฮเปอร์ลิงก์ทางกายภาพ ให้เน้นข้อความจุดยึดที่คุณเลือกแล้วคลิกปุ่มไฮเปอร์ลิงก์ ในเว็บไซต์และเอกสารส่วนใหญ่ คุณจะพบปุ่มไฮเปอร์ลิงก์ที่ดูเหมือนลิงก์ลูกโซ่สองลิงก์ คลิกที่นี่ จากนั้นวาง URL ที่คุณต้องการเชื่อมโยงเพื่อสร้างไฮเปอร์ลิงก์ของคุณ
ลิงค์ประเภทต่างๆ บนเว็บไซต์ on
ไฮเปอร์ลิงก์สามารถปรากฏได้หลายวิธีและนำไปใช้กับองค์ประกอบต่างๆ ของเว็บไซต์ของคุณ ลิงก์มักจะปรากฏเป็นข้อความ แต่ก็สามารถอยู่ในรูปแบบของปุ่ม สัญลักษณ์ รูปภาพ หรือแม้แต่วิดีโอได้
เมื่อมีการแทรกไฮเปอร์ลิงก์ลงในข้อความ เฉพาะในบางกรณีเท่านั้นที่จะมองเห็น URL จริง บ่อยครั้ง ลิงก์ถูกซ่อนไว้ในส่วนของประโยคหรือวลี ซึ่งเรียกว่า anchor text ตัวอย่างของ anchor text ได้แก่ "คลิกที่นี่" หรือ "รองเท้าผู้ชายราคาถูก"
ไฮเปอร์ลิงก์จะเปิดใช้งานเมื่อคุณคลิกที่ข้อความ และบางลิงก์จะเปิดในแท็บหรือหน้าต่างเดียวกัน ในขณะที่บางลิงก์เปิดในแท็บอื่นโดยสิ้นเชิง ทำให้หน้าจอก่อนหน้าของคุณเปิดอยู่เพื่อให้เข้าถึงได้ง่าย

 

 

10.Anchor

ลิงค์ Anchor คืออะไร?
ลิงค์ Anchor เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในเว็บไซต์โดยเฉพาะเมื่อหน้าเว็บมีข้อความจำนวนมากในหน้าเดียว ลิงค์เหล่านี้ซึ่งบางครั้งอาจเรียกว่าลิงค์ภายในหรือการข้ามหน้าช่วยให้ผู้ใช้สามารถคลิกที่ข้อความที่เน้นสีและข้ามไปยังส่วนอื่นของหน้า พวกเขาสามารถสร้างขึ้นได้อย่างง่ายดายด้วยการเขียนโค้ดแบบง่าย ๆ และช่วยปรับปรุงการนำทางบนหน้าเว็บ
หลายครั้งที่ผู้คนมีเพจเดี่ยวขนาดใหญ่พวกเขาจะสร้างดัชนีหน้าหรือสารบัญ ดัชนีที่ด้านบนเป็นสถานที่ที่สมบูรณ์แบบในการเพิ่มลิงค์ยึดเพื่อให้รายการแต่ละรายการกลายเป็นจุดกระโดดของตนเองไปยังส่วนอื่นของหน้า สิ่งนี้ช่วยให้ผู้คนที่ดูเว็บเพจคลิกที่ดัชนีหรือสารบัญและย้ายไปทันทีเพื่อเข้าถึงเนื้อหาที่พวกเขาต้องการแทนที่จะต้องสแกนผ่านหลาย ๆ ส่วน ลิงค์ Anchor เป็นผู้ใช้ทั่วไปและมักเป็นที่ต้องการของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีความซับซ้อนและต้องการเข้าถึงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องโดยเร็วที่สุด
มีหลายวิธีในการสร้างจุดยึดลิงก์และวิธีการที่โปรแกรมเมอร์แต่ละคนทำเช่นนั้นอาจขึ้นอยู่กับประเภทของตัวเลือกการเขียนโปรแกรมและโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์สร้างเว็บจริง โดยพื้นฐานแล้วคนที่ใช้ HTML แบบง่ายต้องจัดเตรียมพื้นที่บนหน้าเว็บที่เป็นจุดยึดหรือปลายทางของการกระโดด ส่วนที่สองของรหัสคือลิงค์จริงไปยังจุดยึด จำเป็นต้องใช้ทั้งสองส่วนและเกิดขึ้นกับส่วนต่าง ๆ ของหน้า
ตัวอย่างเช่นหากบุคคลมีส่วนของหน้าชื่อ "วิธีปรุงอาหาร" พวกเขาสามารถสร้างสิ่งนี้เป็นที่ยึดได้ จำไว้ว่านี่คือปลายทาง ในการส่งผู้คนไปยังปลายทาง "วิธีปรุงอาหาร" ผู้เขียนโปรแกรมจะนำชื่อของส่วนนี้มาล้อมรอบด้วยรหัสต่อไปนี้ <a href="howtocook"> วิธีปรุงอาหาร </a> ชื่อของสมอไม่ใช่สิ่งที่สำคัญทั้งหมดมันอาจเป็นชื่อทำอาหารเท่ากันวิธีการคำแนะนำหรือสิ่งอื่นใด
ครั้งเดียวเมื่อชื่อไม่สำคัญคือเมื่อผู้คนต้องสร้างลิงก์ไปยังจุดยึด ชื่อของลิงก์ในใบเสนอราคาจะต้องตรงกับชื่อของสมอ รหัสลิงก์สำหรับการข้ามหน้ามีลักษณะดังนี้: <a href="#howtocook"> วิธีปรุงอาหาร </a> และควรล้อมรอบส่วนของข้อความในดัชนีหรือสารบัญที่ให้การกระโดด ไม่สามารถเครียดได้พอที่โปรแกรมเมอร์จะต้องตรงกับลิงค์และชื่อสมอโดยเฉพาะ ข้อแตกต่างเพียงอย่างเดียวคือเครื่องหมายหมายเลขนำหน้าชื่อลิงก์ในจุดกระโดดในขณะที่รหัสจุดยึด (ปลายทาง) ขาดเครื่องหมายตัวเลข ชื่อที่ล้อมรอบด้วย HTML ในระหว่าง <a> และ </a> ไม่จำเป็นต้องตรงกัน แต่อาจเป็นความคิดที่ดีที่จะให้ชื่อตรงกันเพื่อหลีกเลี่ยงความสับสน
เมื่อโปรแกรมเมอร์คุ้นเคยกับการสร้างลิงค์ยึดพวกเขาควรจำไว้ว่าให้รวมลิงค์กลับไปที่สารบัญหรือดัชนีด้านบน สิ่งนี้อาจมีความสำคัญในกรณีที่มีคนกระโดดข้ามส่วนที่ไม่ถูกต้องโดยไม่ตั้งใจหรือต้องการตรวจสอบเนื้อหาอื่น ๆ มันง่ายกว่าที่จะกระโดดกลับไปที่ด้านบนจากนั้นจะต้องเลื่อนขึ้น